เส้นเวลาของอนาคตไกล

สัญลักษณ์ภาพ

หัวข้อ
ดาราศาสตร์ และ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
ธรณีวิทยา และ วิทยาดาวเคราะห์
ฟิสิกส์อนุภาค
คณิตศาสตร์
เทคโนโลยี และ วัฒนธรรม

อนาคตของโลก ระบบสุริยะ และเอกภพ

ปีจากปัจจุบันเหตุการณ์
36,000ดาวแคระแดงขนาดเล็ก Ross 248 ผ่านภายใน 3.024 ปีแสงจากโลก เป็นดาวที่เคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด[1]
44,000อัลฟาคนครึ่งม้า มาเป็นระบบดาวคู่ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดซึ่งมากกว่า Ross 248 ที่ถอยห่างออกไป[1]
50,000(1) จุดสิ้นสุดของช่วงเวลาระหว่างยุคน้ำแข็ง (interglacial period) สืบเนื่องจากการศึกษาโดย Berger และ Loutre[2] ส่งผลให้โลกกลับสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้งตามวัฎจักร โดยไม่นำผลกระทบจากปรากฏการณ์โลกร้อนจากฝีมือมนุษย์มาคำนวณร่วมด้วย

(2) น้ำตกไนแองการา พรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา จะกัดเซาะผาจนน้ำตกถอยร่นไปถึง 32 กิโลเมตร และสูญเข้าไปในทะเลสาบอีรี[3]

50,000ความยาวของวันที่ใช้ในการจับเวลาทางดาราศาสตร์เพิ่มเป็น 86,401 วินาที (ตามระบบเอสไอ) จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ใน 1 วันมี 86,400 วินาที สาเหตุเกิดจากแรงไทดัลของดวงจันทร์หน่วงการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้โลกต้องใช้เวลาหมุนรอบตัวเองครบรอบเพิ่มขึ้น และภายใต้ระบบเวลาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เราจะต้องเพิ่ม 1 วินาทีในทุกวัน[4]
100,000เนื่องจากดาวฤกษ์แต่ละดวงมีการเคลื่อนที่เฉพาะตัวไปในดาราจักร ทำให้ในอีกแสนปีข้างหน้ากลุ่มดาวต่าง ๆ จะเริ่มมีตำแหน่งดาวฤกษ์เปลี่ยนแปลงและผิดเพี้ยนไป จนไม่สามารถยึดถือระบบกลุ่มดาวแบบเดิมได้[5]
100,000[a]ดาวฤกษ์ยักษ์ยิ่งยวด วีวาย สุนัขใหญ่ (VY Canis Majoris) มีโอกาสที่จะระเบิดเป็นไฮเปอร์โนวา[6]
100,000[a]โลกมีโอกาสที่จะเจอกับการปะทุครั้งใหญ่ของมหาภูเขาไฟ (supervolcano) ซึ่งอาจมีแม็กมาปะทุออกมาถึง 400 ลูกบาศก์กิโลเมตร[7]
250,000ภูเขาใต้ทะเลโลอิฮี (Lōʻihi Seamount) ซึ่งเป็นภูเขาไฟอายุน้อยที่สุดในกลุ่มแนวภูเขาใต้ทะเลฮาวายเอ็มเพอเรอร์ (Hawaiian–Emperor seamount chain) จะโผล่พ้นน้ำและกลายเป็นเกาะภูเขาไฟแห่งใหม่[8]
500,000[a]โลกมีโอกาสที่จะถูกอุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 1 กิโลเมตรพุ่งเข้าชนโดยไม่สามารถป้องกันหรือเบี่ยงเบนแนวโคจรได้[9]
1 ล้าน[a]โลกมีโอกาสที่จะประสบกับการปะทุของมหาภูเขาไฟ ที่สามารถพ่นลาวาออกมาได้ถึง 3,200 ลูกบาศก์กิโลเมตร ใกล้เคียงกับการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟโตบาบนเกาะสุมาตรา[7]
1 ล้าน[a]เวลาที่เป็นไปได้อย่างช้าที่สุดที่ดาวยักษ์แดง บีเทลจุส จะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา ซึ่งคาดว่าจะสามารถมองเห็นได้บนพื้นโลกแม้ในเวลากลางวัน[10][11]
1.4 ล้านดาวฤกษ์กลีเซอ 710 (Gliese 710) จะโคจรเข้าใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดที่ 1.1 ปีแสง ก่อนจะโคจรห่างออกไป โดยในขณะนั้นดาวฤกษ์กลีเซอ 710 จะส่งแรงโน้มถ่วงรบกวนวัตถุในเมฆออร์ต ซึ่งเป็นแหล่งรวมวัตถุน้ำแข็งห้อมล้อมระบบสุริยะไว้ ทำให้ระบบสุริยะชั้นในมีความเสี่ยงต่อการชนของเทหวัตถุต่าง ๆ เพิ่มขึ้น[12]
10 ล้านหุบเขาทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) ขยายกว้างขึ้นและถูกน้ำจากทะเลแดงเข้าท่วม เป็นต้นกำเนิดมหาสมุทรใหม่ที่จะแยกทวีปแอฟริกาออกจากกัน[13]
50 ล้านเวลาที่ช้าที่สุดที่ดวงจันทร์โฟบอสจะถูกความหน่วงจากแรงไทดัลดึงเข้าหาดาวอังคาร และในที่สุดก็จะเข้าชนดาวอังคาร[14]
50 ล้าน(1) ชายฝั่งแคลิฟอร์เนียจะจมตัวและมุดตัวลงร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน (Aleutian Trench) จากการเคลื่อนไปทางทิศเหนือตามรอยเลื่อนแซนแอนเดรอัส[15]

(2) ทวีปแอฟริกาจะเลื่อนไปทางเหนือและชนกับยูเรเชีย ซึ่งจะปิดกั้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเกิดเทือกเขาคล้ายเทือกเขาหิมาลัยขึ้นแทน[16]

100 ล้าน[a]โลกมีโอกาสที่จะถูกอุกกาบาตขนาดใกล้เคียงกับที่เคยชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อนชน ซึ่งในครั้งนั้นทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต[17]
230 ล้านหลังจากนี้เป็นต้นไป จะไม่สามารถทำนายวงโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ได้อีกตามเวลาเลียปูนอฟ (Lyapunow time)[18]
240 ล้านหากนับเวลาจากปัจจุบันไปอีก 240 ล้านปี ระบบสุริยะจะโคจรรอบดาราจักรทางช้างเผือกและกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิมในปัจจุบันครบหนึ่งรอบ เรียกว่าหนึ่งปีดาราจักร[19]
250 ล้านทวีปต่าง ๆ บนโลกมีโอกาสที่จะรวมตัวกันเป็นมหาทวีป (supercontinent) ซึ่งเป็นไปได้สามรูปแบบคือ มหาทวีปอมาเชีย (Amasia) โนโวพันเจีย (Novopangaea) และพันเจียอัลติมา (Pangaea Ultima)[20][21]
500–600 ล้าน[a]ระยะเวลาโดยประมาณที่จะเกิดแสงวาบรังสีแกมมา หรือซูเปอร์โนวาพลังงานยิ่งยวด ในระยะห่างภายใน 6,500 ปีแสงจากโลก ซึ่งใกล้พอที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อชั้นโอโซนของโลก และก่อให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้ หากสมมุติฐานที่ว่าการระเบิดดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในอดีตและทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน–ไซลูเรียน นั้นถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การระเบิดดังกล่าวจะต้องส่งพลังงานมีทิศทางมายังโลกโดยตรงเท่านั้นถึงจะเกิดผลกระทบต่อโลกได้[22]
600 ล้านความเร่งไทดัล (Tidal acceleration) จะผลักดวงจันทร์ให้ห่างออกจากโลกไปไกลจนไม่สามารถเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวงได้อีกต่อไป[23]
600 ล้านความสว่างของดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นจะไปทำลายวัฏจักรคาร์บอเนต-ซิลิเกต ความสว่างที่เพิ่มขึ้นจะไปเพิ่มการสึกกร่อนของผิวหิน ซึ่งหินนี้กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ที่พื้นในรูปคาร์บอเนต เมื่อน้ำระเหยไปจากผิวโลกที่เป็นหินแข็งจะทำให้เกิดทวีปเลื่อนอย่างช้าๆและในที่สุดก็หยุดลง เมื่อไม่มีภูเขาไฟช่วยนำคาร์บอนกลับสู่บรรยากาศ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะตกลง[24] ในเวลานี้มันจะตกลงจนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช C3 ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ พืชที่ใช้การสังเคราะห์แสงแบบ C3 (99% ของสปีชีส์ทั้งหมดในปัจจุบัน) จะตาย [25]
800 ล้านระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะลดต่ำจนปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (C4 carbon fixation) ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป[25] ออกซิเจนอิสระและโอโซนจะหายไปจากบรรยากาศ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จะสูญพันธุ์[26]
1,000 ล้าน[b]ความสว่างของดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกมีค่าประมาณ 320 K (47 °C). ชั้นบรรยากาศจะกลายเป็น "ภาวะเรือนกระจกชื้น", เนื่องจากการระเหยของมหาสมุทร[27] น้ำบางส่วนยังคงเป็นของเหลวในบริเวณขั้วโลก และยังสามารถเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตพื้นฐาน.[28][29]
1,300 ล้านสิ่งมีชีวิตจำพวกยูแคริโอตทั้งหมดจะสูญพันธุ์เนื่องจากการขาดแคลนคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนสิ่งมีชีวิตจำพวกโปรคาริโอตจะยังคงมีชีวิตรอด[26]
1,500–1,600 ล้านดวงอาทิตย์สว่างมากขึ้นทำให้เขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้เลื่อนออกจากโลกไป ในขณะเดียวกันทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มอุณหภูมิของพื้นผิวดาวอังคารจนใกล้เคียงกับโลกในยุคน้ำแข็ง[26][30]
2,300 ล้านแก่นโลกชั้นนอกจะเย็นตัวลง หากแก่นโลกชั้นในค่อย ๆ ขยายตัวในอัตราปัจจุบันที่ 1 มิลลิเมตรต่อปี[31][32] และเมื่อแกนชั้นนอกที่เป็นของเหลวเย็นตัวลงกลายเป็นของแข็ง จะทำให้สนามแม่เหล็กของโลกหยุดทำงานและหายไป[33]
2,800 ล้านอุณหภูมิพื้นผิวของโลกเพิ่มสูงขึ้นจนอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 420 เคลวิน (147°C) แม้กระทั่งบริเวณขั้วโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตในขณะนั้น (ซึ่งมีชีวิตรอดเหลือเพียงกลุ่มสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวในสภาพแวดล้อมที่โดดเดี่ยวและกระจัดกระจาย เช่น ตามทะเลสาบบนที่สูง หรือในถ้ำใต้ดิน) สูญพันธุ์โดยสิ้นเชิง[24][34][c]
3,000 ล้านตำแหน่งมัธยฐานที่ซึ่งทำให้ระยะห่างดวงจันทร์กับโลกมากขึ้นจะไปลดความเอียงของแกนโลก ในขณะนี้ ขั้วโลกจริงจะเกิดความวุ่นวายและรุนแรงมากขึ้น[35]
3,300 ล้านมีโอกาส 1 เปอร์เซ็นต์ที่วงโคจรของดาวพุธจะถูกขยายออกจนกระทั่งชนกับดาวศุกร์ ส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนในระบบสุริยะชั้นใน และเพิ่มความเสี่ยงที่โลกจะถูกชนโดยวัตถุระดับดาวเคราะห์[36]
3,500-4,500 ล้านพื้นผิวของโลกจะคล้ายดาวศุกร์ในปัจจุบัน[37]
3,600 ล้านดวงจันทร์ของดาวเนปจูน ไทรทันจะเคลื่อนเข้าหาดาวเนปจูนจนเลยขีดจำกัดของRoche (Roche Limit) จนทำให้เกิดวงแหวนของดาวเนปจูนที่คล้ายกับดาวเสาร์[38]
4,000 ล้านตำแหน่งมัธยฐานที่ดาราจักรแอนดรอเมดาจะชนกับดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งหลังจากนั้นจะดาราจักรจะรวมกันและมีชื่อว่าดาราจักร"Milkomeda".[39]
5,000 ล้านดวงอาทิตย์ใช้ไฮโดรเจนหมดทำให้ดวงอาทิตย์ออกจากแถบลำดับหลัก และเริ่มเข้าสู่ช่วงของ ดาวยักษ์แดง.[40]
7,500 ล้านโลกและดาวอังคารเกิดไทดัลล็อก(Tidal locking) กับดวงอาทิตย์ที่ขยายตัว[30]
7,900 ล้านการขยายตัวของดวงอาทิตย์อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 256 เท่าของดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน หรืออาจจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 358,400,000 กิโลเมตร[40] ซึ่งส่งผลให้ดาวพุธ, ดาวศุกร์และอาจจะรวมถึงโลกถูกทำลาย [41]

ในเวลานี้ ดาวบริวารของดาวเสาร์ ไททัน สามารถมีอุณหภูมิสูงพอที่จะให้กำเนิดชีวิตได้[42]

8,000 ล้านในเวลานี้ ดวงอาทิตย์เป็น ดาวแคระขาวที่ประกอบด้วยคาร์บอน และ ออกซิเจน ด้วยมวล 54.05 เปอร์เซนต์ของมวลดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน[40][43][44][d]
22,000 ล้านจุดจบของจักรวาลในรูปแบบของการฉีกขาดครั้งใหญ่ (Big Rip) รูปแบบของพลังงานมืดเป็นแบบ w = -1.5.[45] การสังเกตกระจุกกาแล็กซี่ที่ถูกเร่งความเร็วโดย Chandra X-ray Observatory บอกว่าสิ่งนี้จะไม่เกิด[46]
50,000 ล้านสมมติว่าถ้าเรารอดจากการขยายตัวของดวงอาทิตย์ ในเวลานี้โลกและดวงจันทร์จะไทดัลล็อก(tidelocked) ซึ่งไม่ว่าจะอยู่บนดาวดวงไหนก็จะเห็นอีกดวงแค่ด้านเดียว[47] หลังจากนั้น ปฏิกิริยาไทดัล(tidal action) ของดวงอาทิตย์จะดึงโมเมนตัมเชิงมุมออกจากระบบ ทำให้วงโคจรของดวงจันทร์เสื่อมลงและโลกจะหมุนเร็วขึ้น[48]
100,000 ล้านการขยายตัวของเอกภพ ทำให้ดาราจักรทั้งหมดเคลื่อนออกไปไกลจากกลุ่มท้องถิ่นของทางช้างเผือกจนเลยออกไปจากแนว cosmic light horizon และถูกลบเลือนไปจากเอกภพที่สังเกตได้[49]
150,000 ล้านรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลจะเย็นลงจากอุณหภูมิประมาณ 2.7 K ถึง 0.3 K ทำให้ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน[50]
450,000 ล้านตำแหน่งมัธยฐานของ ประมาณ 47 ดาราจักร[51] ของกลุ่มท้องถิ่นจะรวมกันเป็นดาราจักรขนาดใหญ่แห่งเดียว[52]
800,000 ล้านเวลาที่คาดการณ์ไว้ที่การปล่อยแสงจากดาราจักร Milkomeda จะลดลง ในขณะที่ดาวแคระแดงข้ามพ้นระยะ"ดาวแคระน้ำเงิน"ซึ่งสว่างที่สุด[53]
1012 (1 ล้านล้าน)เวลาที่น้อยที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อการกำเนิดดาวฤกษ์ไม่มีอีกต่อไปในกาแล็กซี ในขณะที่กาแล็กซี่ใช้กลุ่มแก๊สที่จำเป็นต่อการสร้างดาวฤกษ์ใหม่ไปจนหมด[52]

การขยายตัวของเอกภพที่คาดว่าเป็นความหนาแน่นของพลังงานมืดที่คงตัว จะทำให้ความยาวคลื่นของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลเพิ่ม 1029 เท่า เกินสเกล cosmic light horizon และจะตรวจจับมันซึ่งเป็นหลักฐานของบิกแบงไม่ได้อีก อย่างไรก็ตามสามารถวัดการขยายตัวของเอกภพได้จากการศึกษาดาวที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง[49]

3×1013 (30 ล้านล้าน)เวลาที่ประมาณการไว้ที่ดาวฤกษ์จะผ่านเข้ามาใกล้ดาวฤกษ์อื่นในละแวกเพื่อนบ้าน เมื่อดาวฤกษ์สองดวงผ่านใกล้กัน วงโคจรดาวเคราะห์ของพวกมันจะถูกทำลายและจะหลุดออกจากระบบ โดยเฉลี่ย ยิ่งวงโคจรดาวเคราะห์ใกล้ดาวฤกษ์เท่าไร มันยิ่งใช้เวลานานที่จะหลุด เพราะวงโคจรของมันแน่นเป็นผลจากแรงโน้มถ่วง[54]
1014 (100 ล้านล้าน)เวลาที่มากที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อการกำเนิดดาวฤกษ์ไม่มีอีกต่อไปในกาแล็กซี[52] จุดนี้เป็นจุดเปลี่ยนจาก ยุคแห่งดวงดาว(Stelliferous Era) ไปยัง ยุคเสื่อม(Degenerate Era) ซึ่งเป็นยุคที่ไม่มีไฮโดรเจนอิสระสำหรับสร้างดาวฤกษ์ดวงใหม่อีกแล้ว ดาวฤกษ์ที่เหลือค่อยๆใช้เชื้อเพลิงหมดและตายลง[55]
1.1–1.2×1014 (110–120 ล้านล้าน)เวลาที่ดาวฤกษ์ทุกดวงในเอกภพใช้เชื้อเพลิงจนหมด (ดาวที่อายุยืนที่สุด ดาวแคระแดงมวลน้อยมีช่วงชีวิตประมาณ 10–20 ล้านล้านปี[52] หลังจากจุดนี้ วัตถุที่มีมวลที่ยังเหลืออยู่คือเศษดาว ได้แก่ ดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน และหลุมดำ ดาวแคระน้ำตาลยังคงอยู่เช่นกัน

การชนกันระหว่างดาวแคระน้ำตาลจะสร้างดาวแคระแดงใหม่ โดยเฉลี่ยมีดาวฤกษ์ประมาณ 100 ดวง ที่ยังส่องแสงในที่ที่เคยเป็นทางช้างเผือก การชนกันของเศษดาวมีโอกาสทำให้เกิดซูเปอร์โนวา[52]

1015 (1 พันล้านล้าน)เวลาโดยประมาณที่ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะเราและระบบดาวฤกษ์อื่นจะหลุดออกนอกวงโคจร[52]

ในเวลานี้, ดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวแคระดำและมีอุณหภูมิเหนือศูนย์องศาสัมบูรณ์อยู่แค่ 5 องศาเซลเซียสเท่านั้น.[56]

1019–1020 (10–100 ล้านล้านล้าน)เวลาโดยประมาณที่ 90%–99% ของดาวแคระน้ำตาลและเศษดาว (รวมทั้งดวงอาทิตย์) จะหลุดออกนอกกาแล็กซี เมื่อวัตถุสองชิ้นเข้าไกลกันมากพอ พวกมันจะแลกเปลี่ยนพลังงานของวงโคจรกับวัตถุมวลน้อยกว่าเพื่อที่จะได้รับพลังงาน ด้วยวิธีนี้ซ้ำๆ วัตถุมวลน้อยจะได้พลังงานเพียงพอที่จะหลุดออกจากกาแล็กซี่ กระบวนการนี้ทำให้ดาวแคระน้ำตาลและเศษดาวส่วนใหญ่หลุดออกจากทางช้างเผือก[52][57]
1020 (100 ล้านล้านล้าน)เวลาโดยประมาณที่โลกจะชนกับดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวแคระดำเพราะการเสื่อมของวงโคจรผ่านทางการปลดปล่อยรังสีความโน้มถ่วง[58] ถ้าโลกไม่หลุดจากวงโคจรก่อนเมื่อดาวฤกษ์เคลื่อนใกล้กันหรือดูดกลืนโดยดวงอาทิตย์ระยะดาวยักษ์แดง[58]
1030เวลาโดยประมาณที่ดาวที่ยังไม่หลุดจากกาแล็กซี่ (1% – 10%) จะตกลงไปในหลุมดำมวลยวดยิ่งใจกลางกาแล็กซี ณ จุดนี้ ดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่จะพุ่งเข้าหากัน ดาวเคราะห์จะพุ่งเข้าหาดาวฤกษ์ของมัน ผ่านทางการปลดปล่อยรังสีความโน้มถ่วง (gravitational radiation) มีเพียงวัตถุที่อยู่โดดเดี่ยวได้แก่ เศษดาว ดาวแคระน้ำตาล ดาวเคราะห์ที่หลุดจากวงโคจร และ หลุมดำ ที่ยังคงอยู่ในเอกภพ[52]
2×1036เวลาโดยประมาณของนิวคลีออนทั้งหมดในเอกภพที่สังเกตได้จะสลายตัว เมื่อครึ่งชีวิตของโปรตอนเป็นค่าที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ ก็คือ 8.2×1033 ปี[59][60][e]
3×1043เวลาโดยประมาณของนิวคลีออนทั้งหมดในเอกภพที่สังเกตได้จะสลายตัว เมื่อครึ่งชีวิตของโปรตอนเป็นค่าที่มากที่สุดที่เป็นไปได้ ก็คือ 1041 ปี[52] เนื่องจากว่าบิกแบงทำให้เกิดการขยายตัว และกระบวนการเดียวกันนี้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้แบริออนมีมากกว่าแอนติแบริออนในจักรวาลระยะแรก จะทำให้โปรตอนสลายตัว[60][e] ในช่วงเวลานี้, ถ้าโปรตอนสลายตัว ยุคหลุมดำ(Black Hole Era) ซึ่งหลุมดำเป็นวัตถุชนิดเดียวที่เหลืออยู่ในเอกภพ ได้เริ่มขึ้น[55][52]
1065สมมติว่าโปรตอนไม่สลายตัว นี่เป็นเวลาประมาณการสำหรับวัตถุที่แข็งจะจัดเรียงอะตอมและโมเลกุลใหม่ผ่าน อุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) สสารทุกอย่างจะกลายเป็นของเหลว[58]
5.8×1068เวลาที่ประมาณการไว้ที่หลุมดำมวล 3 เท่าของดวงอาทิตย์จะสลายตัวเป็นอนุภาคเล็กกว่าอะตอมโดยกระบวนการของฮอว์คิง (Hawking process)[61]
1.342×1099เวลาที่ประมาณการไว้ที่ หลุมดำใจกลางของ S5 0014+81,ซึ่งเป็นวัตถุที่มีมวลมากที่สุดที่รู้จักในปี 2015 มีมวล 40 พันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ เหือดหายไปโดยปล่อยรังสีฮอว์คิง (Hawking radiation)[61] โดยโมเมนตัมเชิงมุมเป็นศูนย์(ไม่ใช่หลุมดำที่หมุน) อย่างไรก็ตาม หลุมดำกำลังขยาย เวลาที่ใช้อาจจะนานกว่านี้
1.7×10106เวลาที่ประมาณการไว้เมื่อหลุมดำมวลยวดยิ่งที่มีมวล 20 ล้านล้านเท่าของดวงอาทิตย์ สลายตัวไปโดยกระบวนการของฮอว์คิง (Hawking process)[61] นี่เป็นจุดจบของยุคหลุมดำ(Black Hole Era) หลังจากนี้ถ้าโปรตอนสลายตัว จักรวาลจะเข้าสู่ยุคมืด(Dark Era) ซึ่งเป็นยุคที่วัตถุทางกายภาพทุกอย่างจะสลายตัวไปเป็นอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ค่อยๆเข้าสู่สถานะพลังงานสุดท้าย(final energy state)ในระยะฮีทเดธ(Heat Death)ของจักรวาล[55][52]
10200เวลาที่มากที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อนิวคลีออนในเอกภพที่สังเกตเห็นได้ สลายตัวไป ถ้ามันไม่ผ่านกระบวนการด้านบน มันจะผ่านกระบวนการอื่นๆในฟิสิกส์อนุภาคสมัยใหม่ เช่น higher-order baryon non-conservation processes, virtual black holes, sphalerons และอื่นๆ ในช่วงเวลา1046 - 10200 ปี[55]
101500สมมติว่าโปรตอนไม่สลายตัว นี่เป็นเวลาที่ประมาณการไว้เมื่อสสารแบริออนทั้งหมดรวมกันเป็น เหล็ก-56 หรือสลายจากธาตุมวลมากกว่านี้เป็น เหล็ก-56.[58]
[f][g]เวลาที่น้อยที่สุดที่ประมาณการไว้เมื่อวัตถุทุกอย่างที่เกินมวลของพลังค์ (Planck mass) สลายผ่านอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) เป็นหลุมดำ (ถ้าไม่มีการสลายตัวของโปรตอน หรือ virtual black holes)[58] ในเวลาที่ยาวนานนี้เอง เหล็กที่เสถียรอย่างมากจะถูกทำลายด้วยอุโมงค์ควอนตัม ดาวเหล็กดวงแรกที่มวลเพียงพอจะสลายผ่านอุโมงค์เป็นดาวนิวตรอน ต่อมาดาวนิวตรอนและดาวเหล็กอื่นๆจะสลายผ่านอุโมงค์เป็นหลุมดำ การสลายของหลุมดำในเวลาต่อมาไปสู่อนุภาคเล็กกว่าอะตอม(กระบวนการใช้เวลาประมาณ 10100 ปี) จะเกิดขึ้นในสเกลเวลานี้ด้วย
[a]เวลาที่ประมาณการไว้ที่ Boltzmann brain ปรากฏในสูญญากาศผ่านทางการลดลงของเอนโทรปี[62]
เวลาที่ช้าที่สุดที่ประมาณการไว้ที่ทุกสสารกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ (ถ้าไม่มีการสลายตัวของโปรตอน หรือ virtual black holes)[58] และต่อมาจะสลายเป็นอนุภาคเล็กกว่าอะตอมในสเกลเวลานี้ด้วย
เวลาที่ช้าที่สุดที่จักรวาลจะถึงสถานะพลังงานสุดท้าย(final energy state) หรือแม้แต่การเกิด false vacuum.[62]
[a]เวลาที่ประมาณการไว้ เมื่อการกระเพื่อมแบบควอนตัมแบบสุ่ม (random quantum fluctuation) และอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) จะสร้างบิกแบงใหม่[63]

เพราะจำนวนวิธีที่ทุกอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมในเอกภพที่สังเกตเห็นได้จะรวมตัว คือ คือ วิธี[64][65] จำนวนนี้เมื่อคูณด้วย จึงเกิดการerror นอกจากนี้นี่เป็นเวลาที่การกระเพื่อมแบบควอนตัม (quantum fluctuation) และอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) จะสร้างจักรวาลใหม่คล้ายกับของเรา สมมติว่าทุกจักรวาลประกอบไปด้วยอนุภาคเล็กกว่าอะตอมอย่างน้อยจำนวนเท่านี้ และปฏิบัติตามกฎของฟิสิกส์ที่อยู่ในขอบเขตที่ถูกทำนายโดยทฤษฎีสตริง[66]

อย่างง่าย ภายในเวลานี้ วัฏจักรชีวิตทั้งหมดของจักรวาลจากบิกแบง (Big Bang) ถึงสถานะพลังงานสุดท้าย (final energy state) ถึงการเกิดใหม่ จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นจำนวนครั้งเท่ากับจำนวนวิธีที่เป็นไปได้ของการรวมอนุภาคเล็กกว่าอะตอมในจักรวาลที่สังเกตเห็นได้

การสำรวจอวกาศและยานอวกาศ

ปีจากปัจจุบันเหตุการณ์
10,000ไพโอเนียร์ 10 จะโคจรผ่าน ดาวของเบอร์นาร์ดที่ระยะ 3.8 ปีแสง .[67]
25,000Arecibo message ซึ่งเป็นข้อมูลวิทยุที่ถูกส่งเมื่อ 16 พฤศจิกายน 1974 จะถึงระยะเป้าหมายคือกระจุกดาวทรงกลม Messier 13[68] นี่เป็นเพียง ข้อความวิทยุระหว่างดาว (interstellar radio message) ที่ถูกส่งไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลของกาแล็กซี่ ตำแหน่งของกระจุกดาวจะเปลี่ยนไป 24 ปีแสง ในกาแล็กซี่ ระหว่างที่ข้อความถูกส่งไป แต่ว่ากระจุกดาวมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 168 ปีแสง ข้อความจึงยังคงถึงเป้าหมาย[69] การตอบกลับจะใช้เวลาอย่างน้อยอีก 25,000 ปี
32,000ไพโอเนียร์ 10 เคลื่อนที่ผ่าน Ross 248 ที่ระยะ 3 ปีแสง.[70]
40,000วอยเอเจอร์ 1 เคลื่อนที่ผ่าน AC+79 3888 ที่ระยะ 1.6 ปีแสง, เป็นดาวในกลุ่มดาว Camelopardalis.[71]
50,000คีโอ ยานแคปซูลอวกาศ ได้เดินทางออกไปแล้วกลับมาสู่โลก[72]
296,000วอยเอจเจอร์ 2 เคลื่อนที่ผ่าน ซิริอุส ที่ระยะ 4.3 ปีแสง, เป็นดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้าเวลากลางคืน.[71]
2 ล้านไพโอเนียร์ 10 เคลื่อนที่ผ่าน ดาวสว่าง อัลดิบาแรน.[73]
4 ล้านไพโอเนียร์ 11 เคลื่อนที่ผ่านดาวในกลุ่มดาว Aquila.[73]
8 ล้านวงโคจรดาวเทียมLAGEOSจะถดถอยลง และจะกลับเข้ามาในบรรยากาศโลก จะนำข้อความไปให้มนุษย์ในอนาคต และนำแผนที่ของทวีปตามที่พวกมันคาดหวังว่าจะปรากฏ[74]

เหตุการณ์ทางดาราศาสตร์

ปีจากปัจจุบันวันที่เหตุการณ์
10663 ปีการเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาเต็มดวงและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ[75]
11268 ปีการเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาเต็มดวงและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ[75]
11575 ปีการเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาวงแหวนและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ[75]
13425 ปีการเกิดขึ้นที่ใกล้จะพร้อมกันของการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธและดาวศุกร์[75]
13727 ปีตำแหน่งแกนของโลกในปีนี้จะทำให้ ดาวเวกา เป็นดาวเหนือ[76][77]
13,000 ปี
ในจุดนี้ ความเอียงของแกนโลกจะสลับกัน โดยที่ฤดูร้อน และ ฤดูหนาวจะอยู่ในด้านตรงข้ามกับวงโคจรของโลก [77]
15232 ปีการเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาเต็มดวงและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์[75]
15790 ปีการเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาวงแหวนและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ[75]
14,000-17,000 ปี
ตำแหน่งแกนของโลกในปีนี้จะทำให้ Canopus เป็นดาวใต้ แต่มันจะอยู่ภายใน 10° ของขั้วโลกใต้.[78]
27,000 ปี
ความเยื้องศูนย์กลาง ของวงโคจรโลกจะเปลี่ยนไปถึงจุดต่ำสุดคือ 0.00236 (ปัจจุบัน 0.01671)[79][80][h]
38172 ปีดาวยูเรนัสผ่านหน้าดวงอาทิตย์โดยสังเกตเห็นได้จากดาวเนปจูน เป็นการบังดวงอาทิตย์ที่หายากที่สุด[81][i]
69163 ปีการเกิดขึ้นพร้อมกันของการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธและดาวศุกร์[75]
224508 ปีดาวศุกร์และดาวพุธจะโคจรผ่านดวงอาทิตย์ตามลำดับ[75]
571741 ปีการเกิดขึ้นพร้อมกันของการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์และโลกซึ่งสามารถมองเห็นได้จากดาวอังคาร[75]

การทำนายปฏิทิน

ปีจากปัจจุบันวันที่เหตุการณ์
10,000 ปีปฏิทินเกรกอเรียนจะคลาดเคลื่อนกับตำแหน่งของฤดูกาลไป 10 วัน[82]
20,874จันทรคติของปฏิทินอิสลาม และ สุริยคติของปฏิทินเกรกอเรียน จะมีเลขปีเดียวกัน หลังจากนี้ปฏิทินอิสลามจะเร็วกว่าปฏิทินเกรกอเรียน[83]
48,901ในปีนี้ ปฏิทินจูเลียน (365.25 วัน) และ ปฏิทินเกรกอเรียน (365.2425 วัน) จะเป็นวันเดียวกัน โดยห่างกัน 1 ปี[84][j]

แผนภาพเส้นเวลา

สำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่:

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

รายการอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง