ดาวบริวารของดาวเสาร์

ดาวบริวารของดาวเสาร์มีจำนวนมากและหลากหลาย ตั้งแต่ดวงขนาดเล็กที่มีความยาวเพียงสิบเมตร ไปจนถึงดาวบริวารไททันขนาดมหึมาที่ใหญ่กว่าดาวพุธ นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย

ระบบดาวเสาร์ (ภาพประกอบรวม)
วงแหวนดาวเสาร์ตัดผ่านฉากหลังที่มีดาวบริวารไททัน (รูปเสี้ยวขอบสีขาว) และดาวบริวารเอนเซลาดัส (ขวาล่างสีดำ) ปรากฏอยู่

ปัจจุบัน ดาวเสาร์มีดาวบริวารซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนทั้งสิ้น 83 ดวง[1] ในจำนวนนี้มีเพียง 13 ดวงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 50 กิโลเมตร, เจ็ดดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่สามารถคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลม และสองดวง ได้แก่ ดาวไททันและรีอาที่มีสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ดาวบริวารที่เด่นเป็นพิเศษในหมู่ดาวบริวาร คือ ไททัน ซึ่งเป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นอันดับสองในระบบสุริยะ (รองจากแกนีมีดของดาวพฤหัสบดี) ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายโลกที่อุดมด้วยไนโตรเจนและภูมิประเทศที่มีเครือข่ายแม่น้ำและทะเลสาบไฮโดรคาร์บอน[2] เอนเซลาดัสซึ่งปล่อยไอพ่นของก๊าซและฝุ่นจากบริเวณขั้วโลกใต้[3] และไอแอพิตัสที่มีซีกโลกขาวดำตัดกัน

ดาวบริวาร 24 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดาวบริวารโทรจัน (หมายถึงกลุ่มดาวบริวารเล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดาวบริวารดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดาวบริวารร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก)

ส่วนดาวบริวารที่เหลืออีก 59 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินุอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่

วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดาวบริวารของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดาวบริวารแล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดาวบริวารเล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น

ดาวบริวารที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดาวบริวาร 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อน ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดาวบริวารดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดาวบริวารดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาวร

ตารางรายชื่อดาวบริวาร

ลำดับชื่อ (ตัวหนาคือดาวบริวารที่มีลักษณะทรงกลม)ภาพเส้นผ่านศูนย์กลาง
(กม.)
กึ่งแกนเอก
(กม.)
คาบดาราคติ
(วัน)
ความเอียงของวงโคจร
(°)
ตำแหน่งปีที่ค้นพบ
0(ดาวบริวารเล็ก ๆ)moonlets
0.04 ถึง 0.5~130 000ภายในวงแหวนเอ2006[4][5][6]
1XVIIIแพนPan
30 (35 × 35 × 23) [7]133 584 [8]+0.575 05 [8]0.001°ในช่องแบ่งเองเคอ1990
2XXXVแดฟนิสDaphnis
6 − 8136 505 [8]+0.594 08 [8]≈ 0°ในช่องว่างคีลเลอร์2005
3XVแอตลัสAtlas
31 (46 × 38 × 19) [7]137 670 [8]+0.601 69 [8]0.003°ควบคุมวงแหวนเอด้านนอก1980
4XVIโพรมีเทียสPrometheus
86 (119 × 87 × 61) [7]139 380 [8]+0.612 99 [8]0.008°ควบคุมวงแหวนเอฟด้านใน1980
5XVIIแพนดอราPandora
81 (103 × 80 × 64) [7]141 720 [8]+0.628 50 [8]0.050°ควบคุมวงแหวนเอฟด้านนอก1980
6XIเอพิมีเทียสEpimetheus 113 (135 × 108 × 105) [7]151 422 [8]+0.694 33 [8]0.335°มีวงโคจรร่วมกัน1980
7XเจนัสJanus
179 (193 × 173 × 137) [7]151 472 [8]+0.694 66 [8]0.165°1966
8IไมมัสMimas
397 (415 × 394 × 381) [9]185 404 [10]+0.942 422 [11]1.566° 1789
9XXXIIมีโทนีMethone
3194 440 [8]+1.009 57 [8]0.007°(แอลไคโอนีเดส)2004
10XLIXแอนทีAnthe
~2197 700+1.036 500.1°2007
11XXXIIIพาลลีนีPallene
4212 280 [8]+1.153 75 [8]0.181°2004
12IIเอนเซลาดัสEnceladus504 (513 × 503 × 497) [9]237 950 [10]+1.370 218 [11]0.010°ควบคุมวงแหวนอี1789
13IIIทีทิสTethys
1066 (1081 × 1062 × 1055) [9]294 619 [10]+1.887 802 [11]0.168° 1684
13aXIIIเทเลสโตTelesto
24 (29 × 22 × 20) [7]1.158°โทรจันที่โคจรนำหน้าทีทิส1980
13bXIVคาลิปโซCalypso
21 (30 × 23 × 14) [7]1.473°โทรจันที่โคจรตามหลังทีทิส1980
16IVไดโอนีDione
1123 (1128 × 1122 × 1121) [9]377 396 [10]+2.736 915 [11]0.002° 1684
16aXIIเฮเลนีHelene
33 (36 × 32 × 30)0.212°โทรจันที่โคจรนำหน้าไดโอนี1980
16bXXXIVพอลีดีวซีสPolydeuces
3.5 [12]0.177°โทรจันที่โคจรตามหลังไดโอนี2004
19VรีอาRhea
1529 (1535 × 1525 × 1526) [9]527 108 [13]+4.518 212 [13]0.327° 1672
20VIไททันTitan
51511 221 930 [10]+15.945 420.3485° 1655
21VIIไฮพีเรียนHyperion
292 (360 × 280 × 225)1 481 010 [10]+21.276 610.568° 1848
22VIIIไอแอพิตัสIapetus1472 (1494 × 1498 × 1425) [9]3 560 820+79.321 5 [14]7.570° 1671
23XXIVคีเวียกKiviuq~1611 294 800 [13]+448.16 [13]49.087°กลุ่มอินุอิต2000
24XXIIอีเยรากIjiraq~1211 355 316 [13]+451.77 [13]50.212°2000
25IXฟีบีPhoebe
220 (230 × 220 × 210)12 869 700−545.09[14][15]173.047°กลุ่มนอร์ส1899
26XXพอเลียกPaaliaq~2215 103 400 [13]+692.98 [13]46.151°กลุ่มอินุอิต2000
27XXVIIสกาทีSkathi~815 672 500 [13]−732.52 [11][15]149.084°กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2000
28XXVIแอลบีออริกซ์Albiorix~3216 266 700 [13]+774.58 [13]38.042°กลุ่มแกลิก2000
29 S/2007 S 2~616 560 000−792.96176.68°กลุ่มนอร์ส2007
30XXXVIIเบวีนน์Bebhionn~617 153 520 [13]+838.77 [13]40.484°กลุ่มแกลิก2004
31XXVIIIแอร์รีแอปัสErriapus~1017 236 900 [13]+844.89 [13]38.109°2000
32XLVIIสกอลล์Skoll~617 473 800 [10]−862.37 [13]155.624°กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
33XXIXซีอาร์นากSiarnaq~4017 776 600 [13]+884.88 [13]45.798°กลุ่มอินุอิต2000
34LIIทาร์เคกTarqeq~717 910 600 [16]+894.86 [13]49.904°2007
35 S/2004 S 13~618 056 300 [13]−905.85 [11][15]167.379°กลุ่มนอร์ส2004
36LIเกรปGreip~618 065 700 [10]−906.56 [13]172.666°2006
37XLIVฮีร็อกคินHyrrokkin~818 168 300 [10]−914.29 [13]153.272°กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
38Lยาร์นแซกซาJarnsaxa~618 556 900 [10]−943.78 [13]162.861°กลุ่มนอร์ส2006
39XXIทาร์วัสTarvos~1518 562 800 [13]+944.23 [13]34.679°กลุ่มแกลิก2000
40XXVมูนดิลแฟรีMundilfari~718 725 800 [13]−956.70 [11][15]169.378°กลุ่มนอร์ส2000
41 S/2006 S 1~618 930 200 [10]−972.41 [13]154.232°กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
42 S/2004 S 17~419 099 200 [13]−985.45 [11][15]166.881°กลุ่มนอร์ส2004
43XXXVIIIแบร์เยลมีร์Bergelmir~619 104 000 [13]−985.83 [11][15]157.384°กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2004
44XXXIนาร์วีNarvi~719 395 200 [13]−1008.45 [11][15]137.292°กลุ่มนอร์ส
(นาร์วี)
2003
45XXIIIซูตทุงการ์Suttungr~719 579 000 [13]−1022.82 [11][15]174.321°กลุ่มนอร์ส2000
46XLIIIฮาตีHati~619 709 300 [13]−1033.05 [11][15]163.131°2004
47 S/2004 S 12~519 905 900 [13]−1048.54 [11][15]164.042°2004
48XLฟาร์เบาตีFarbauti~519 984 800 [13]−1054.78 [11][15]158.361°กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2004
49XXXทริมาร์Thrymr~720 278 100 [13]−1078.09 [11][15]174.524°กลุ่มนอร์ส2000
50XXXVIไอเออร์Aegir~620 482 900 [13]−1094.46 [11][15]167.425°2004
51 S/2007 S 3~520 518 500~ −1100177.22°2007
52XXXIXเบสต์ลาBestla~720 570 000 [13]−1101.45 [11][15]147.395°กลุ่มนอร์ส
(นาร์วี)
2004
53 S/2004 S 7~620 576 700 [13]−1101.99 [11][15]165.596°กลุ่มนอร์ส2004
54 S/2006 S 3~621 076 300 [10]−1142.37 [13]150.817°กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
55XLIเฟนรีร์Fenrir~421 930 644 [13]−1212.53 [11][15]162.832°กลุ่มนอร์ส2004
56XLVIIIซัวร์เตอร์Surtur~622 288 916 [10]−1242.36 [13]166.918°2006
57XLVคารีKari~722 321 200 [10]−1245.06 [13]148.384°กลุ่มนอร์ส
(สกาที)
2006
58XIXอีมีร์Ymir~1822 429 673 [13]−1254.15 [11][15]172.143°กลุ่มนอร์ส2000
59XLVIลอยเอLoge~622 984 322 [10]−1300.95 [13]166.539°2006
60XLIIฟอร์นยอตFornjot~624 504 879 [13]−1432.16 [11][15]167.886°2004

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง