เหงียน ซวน ฟุก

อดีตประธานาธิบดีเวียดนาม

เหงียน ซวน ฟุก (เวียดนาม: Nguyễn Xuân Phúc; เกิด 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2497) เป็นประธานาธิบดีเวียดนาม ตั้งแต่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเวียดนาม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำทำเนียบรัฐบาลเวียดนาม[1]

เหงียน ซวน ฟุก
Nguyễn Xuân Phúc
ประธานาธิบดีเวียดนาม
ดำรงตำแหน่ง
5 เมษายน พ.ศ. 2564 – 18 มกราคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 288 วัน)
นายกรัฐมนตรีฝั่ม มิญ จิ๊ญ
รองประธานาธิบดีดั่ง ถิ หง็อก ถิ่ญ
หวอ ถิ อั๊ญ ซวน
ผู้นำเหงียน ฟู้ จ่อง (เลขาธิการ)
ก่อนหน้าเหงียน ฟู้ จ่อง
ถัดไปหวอ ถิ อั๊ญ ซวน
(รักษาการ)
นายกรัฐมนตรีเวียดนาม
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน พ.ศ. 2559 – 2 เมษายน พ.ศ. 2564
(4 ปี 360 วัน)
ประธานาธิบดีเจิ่น ดั่ย กวาง
ดั่ง ถิ หง็อก ถิ่ญ (รักษาการ)
เหงียน ฟู้ จ่อง
ผู้นำเหงียน ฟู้ จ่อง (เลขาธิการ)
ก่อนหน้าเหงียน เติ๊น สุง
ถัดไปฝั่ม มิญ จิ๊ญ
รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 เมษายน พ.ศ. 2559
(4 ปี 249 วัน)
นายกรัฐมนตรีเหงียน เติ๊น สุง
ก่อนหน้าเหงียน ซิน ฮง
ถัดไปเจิง ฮัว บิ่น
รัฐมนตรีประจำทำเนียบรัฐบาล
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2550 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(4 ปี 1 วัน)
นายกรัฐมนตรีเหงียน เติ๊น สุง
ก่อนหน้าด่วน หมาน ซาว
ถัดไปหวู ดึ๊ก ดัม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
อำเภอเควซอง จังหวัดกว๋างนาม รัฐเวียดนาม (เวียดนามเหนือ)
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
คู่สมรสเจิน ถิ เหงียน ถู
บุตรเหงียน ถิ ซวน จาง
เหงียน ซวน เฮียว

ประวัติ

เหงียน ซวน ฟุก เกิดวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 เป็นชาวตำบลเกว๋ฝู่ อำเภอเกว๋เซิง จังหวัดกว๋างนาม ในสมัยรัฐเวียดนามหรือเวียดนามเหนือ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 เขาได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม และในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 เขาได้รับเป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2522 เขาเป็นหนึ่งในบุคลากรของคณะกรรมการเศรษฐกิจกว๋างนาม - ดานัง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2536 เขาเลื่อนเป็นพนักงาน จากนั้นเป็นรองหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการประชาชนกว๋างนาม - ดานัง

วัยเด็ก

เหงียนเฮียนบิดาของเขาเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2461 และทำงานให้กับสาธารณรัฐเวียดนาม จนถึงปี พ.ศ. 2497 บิดาของเขามุ่งหน้าไปทางเหนือตามเส้นขนานที่ 17 ของข้อตกลงเจนีวา ส่วนเหงียน ซวน ฟุก, แม่และพี่น้องของเขายังคงอาศัยอยู่ที่บ้านเกิดที่จังหวัดกว๋างนาม ซึ่งพวกเขาเรียนที่โรงเรียนในหมู่บ้าน แม่และพี่น้องของเขาแอบทำงานให้กับแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ หลังการสู้รบในปี พ.ศ. 2508 น้องสาวของเขาถูกสังหารโดยกองทัพสหรัฐและรัฐบาลเวียดนามใต้ และในปี 2509 แม่ของเขาก็ถูกสังหารด้วยเช่นกัน ส่วนเขายังอาศัยอยู่กับพี่สาวในบ้านเกิดของเขาระยะหนึ่ง จากนั้นก็ได้ติดตามเพื่อนของพ่อแม่ไปเวียดนามเหนือในปี พ.ศ. 2510 [2]

การศึกษา

  • พ.ศ. 2516 - 2521 : สำเร็จการศึกษาระดับปริญาตรีสาขาวิชาเศษฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งชาติ ฮานอย (NEU)
  • พ.ศ. 2521 - 2522 : สำเร็จการศึกษา สาขาการจัดการด้านการบริหาร สถาบันการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ (NAPA)

ชีวิตการเมือง

  • พ.ศ. 2536 - 2539 : ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและการลงทุนของจังหวัดกว๋างนาม - ดานัง
  • พ.ศ. 2540 - 2544 : เป็นสมาชิกถาวรของคณะกรรมการพรรคประจำจังหวัด (สมัยที่ 17, 18) และเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่งของคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัดกว๋างนามและผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารเขตอุตสาหกรรมของจังหวัดกว๋างนาม และเป็นสมาชิกสภาประชาชนจังหวัด (สมัยที่ 6)
  • พ.ศ. 2544 - 2547 : ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคประจำจังหวัดกว๋างนามและประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว๋างนาม (วาระปี 2542-2547) และเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของเวียดนาม (สมัยที่ 11) หัวหน้าสมาชิกสมัชชาจังหวัดกว๋างนามและเป็นสมาชิกของคณะกรรมการเศรษฐกิจและงบประมาณของสมัชชาแห่งชาติ (สมัยที่ 11)
  • มีนาคม พ.ศ. 2549 : ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าผู้ตรวจราชการ และในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 พรรคได้เลือกให้เขาเป็นคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
  • มิถุนายน พ.ศ. 2549 : ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
  • มิถุนายน พ.ศ. 2549 - สิงหาคม พ.ศ. 2550 : ดำรงตำแหน่งรองรัฐมนตรีประจำทำเนียบรัฐบาล และเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและงบประมาณของสมัชชาแห่งชาติ (สมัยที่ 11)
  • 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 : ได้รับการอนุมัติจากสมัชชาแห่งชาติให้เป็นรัฐมนตรีประจำทำเนียบรัฐบาลเวียดนาม และหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายนายกรัฐมนตรีในการปฏิรูปกระบวนการบริหาร
  • มกราคม พ.ศ. 2554 - กรกฎาคม พ.ศ. 2554 : ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของโปลิตบูโรของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (CPV) สมัยที่ 11
  • 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 7 เมษายน พ.ศ. 2559 : ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม
  • 7 เมษายน พ.ศ. 2559 - 2 เมษายน พ.ศ. 2564 : ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในการประชุมสมัยที่ 11 ของกองประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 13
  • 30 มกราคม พ.ศ. 2564 : ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม สมัยที่ 13 (วาระปี 2021-2026)[3]
  • 31 มกราคม พ.ศ. 2564 : ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของโปลิตบูโรของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (CPV) สมัยที่ 13[4]
  • 5 เมษายน พ.ศ. 2564 : ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเวียดนามคนที่10[5]

เข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี

ในการประชุมครั้งที่ 11 ของสมัชชาแห่งชาติสมัยที่ 14 ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564 เขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานาธิบดีเวียดนามคนที่10 ต่อจากท่านเหงียน ฟู้ จ่อง เพื่อเลือกตั้งในเช้าวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 และนี่เป็นครั้งแรก ที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติจะเลือกนายกรัฐมนตรีขึ้นเป็นประธานาธิบดี[6]

เช้าวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 ในการประชุมครั้งที่ 11 ของสมัชชาแห่งชาติ สมัยที่ 14 ภายใต้การดูแลควบคุมการประชุมของ ท่าน เวิ่น ดิ่ญห์ เฮว้ ประธานสมัชชาแห่งชาติ โดยที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยการลงคะแนนลับ มีมติให้ เหงียน ซวน ฟุก ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 10 หลังจากลงมติเลือกประธานาธิบดี ประธานาธิบดีเหงียนซวนฟุกก็ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง และกล่าวคำมั่นต่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติและประชาชน โดยถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และวิทยุให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและประชาชนทั่วประเทศได้รับชม[7][8]

อ้างอิง

ก่อนหน้าเหงียน ซวน ฟุกถัดไป
เหงียน ฟู้ จ่อง
ประธานาธิบดีเวียดนาม
(5 เมษายน พ.ศ. 2564 – 18 มกราคม พ.ศ. 2566)
หวอ ถิ อั๊ญ ซวน (รักษาการ)
เหงียน เติ๊น สุง
นายกรัฐมนตรีเวียดนาม
(7 เมษายน พ.ศ. 2559 – 2 เมษายน พ.ศ. 2564)
ฝั่ม มิญ จิ๊ญ


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง