แฟรนเซียม

แฟรนเซียม (อังกฤษ: Francium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 87 สัญลักษณ์ Fr แฟรนเซียมเคยเป็นที่รู้จักในชื่อ เอคา-ซีเซียม และ แอกทิเนียม K[note 1] มันเป็นหนึ่งในสองธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่ำที่สุด อีกหนึ่งคือ ซีเซียม แฟรนเซียมเป็นกัมมันตรังสีอย่างสูง สามารถสลายไปเป็นแอสทาทีน เรเดียม และเรดอนได้ ด้วยที่มันเป็นโลหะแอลคาไล มันจึงมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว

แฟรนเซียม, 00Fr
แฟรนเซียม
Pronunciation/ˈfrænsiəm/ (FRAN-see-əm)
Mass number[223]
แฟรนเซียม in the periodic table
HydrogenHelium
LithiumBerylliumBoronCarbonNitrogenOxygenFluorineNeon
SodiumMagnesiumAluminiumSiliconPhosphorusSulfurChlorineArgon
PotassiumCalciumScandiumTitaniumVanadiumChromiumManganeseIronCobaltNickelCopperZincGalliumGermaniumArsenicSeleniumBromineKrypton
RubidiumStrontiumYttriumZirconiumNiobiumMolybdenumTechnetiumRutheniumRhodiumPalladiumSilverCadmiumIndiumTinAntimonyTelluriumIodineXenon
CaesiumBariumLanthanumCeriumPraseodymiumNeodymiumPromethiumSamariumEuropiumGadoliniumTerbiumDysprosiumHolmiumErbiumThuliumYtterbiumLutetiumHafniumTantalumTungstenRheniumOsmiumIridiumPlatinumGoldMercury (element)ThalliumLeadBismuthPoloniumAstatineRadon
FranciumRadiumActiniumThoriumProtactiniumUraniumNeptuniumPlutoniumAmericiumCuriumBerkeliumCaliforniumEinsteiniumFermiumMendeleviumNobeliumLawrenciumRutherfordiumDubniumSeaborgiumBohriumHassiumMeitneriumDarmstadtiumRoentgeniumCoperniciumNihoniumFleroviumMoscoviumLivermoriumTennessineOganesson
Cs

Fr

Uue
เรดอนแฟรนเซียมเรเดียม
Groupgroup 1: hydrogen and alkali metals
Periodperiod 7
Block  s-block
Electron configuration[Rn] 7s1
Electrons per shell2, 8, 18, 32, 18, 8, 1
Physical properties
Phase at STPของแข็ง presumably
Melting point? 300 K ​(? 27 °C, ​? 80 °F)
Boiling point? 950 K ​(? 677 °C, ​? 1250 °F)
Density (near r.t.)? 1.87 (extrapolated) g/cm3
Heat of fusionca. 2 kJ/mol
Heat of vaporizationca. 65 kJ/mol
Vapor pressure (extrapolated)
P (Pa)1101001 k10 k100 k
at T (K)404454519608738946
Atomic properties
Oxidation states+1 (a strongly basic oxide)
ElectronegativityPauling scale: >0.79
Covalent radius260 (extrapolated) pm
Van der Waals radius348 (extrapolated) pm
Other properties
Natural occurrencefrom decay
Crystal structure ​รูปลูกบาศก์กลางตัว
รูปลูกบาศก์กลางตัว crystal structure for แฟรนเซียม

(extrapolated)
Thermal conductivity15 (extrapolated) W/(m⋅K)
Electrical resistivity3 µ (calculated) Ω⋅m
Magnetic orderingพาราแมกเนติก
CAS Number7440-73-5
History
Namingตาม ประเทศฝรั่งเศส บ้านเกิดของผู้ค้นพบ
Discoveryมาร์เกอไรต์ เปเรย์ (1939)
First isolationมาร์เกอไรต์ เปเรย์ (1939)
Isotopes of แฟรนเซียม
Template:infobox แฟรนเซียม isotopes does not exist
หมวดหมู่ Category: แฟรนเซียม
| references

ยังไม่เคยมีใครเห็นแฟรนเซียมเป็นก้อนในปริมาณมากเลย คุณสมบัติทั่วไปของธาตุอื่น ๆ ในแถวเดียวกัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าแฟรนเซียมเป็นโลหะที่สะท้อนแสงได้สูง ถ้าเก็บแฟรนเซียมมาไว้รวมกันเป็นก้อนหรือของเหลวปริมาณมากพอ การได้สารตัวอย่างดังกล่าวมานั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากความร้อนจากการสลายตัว (ครึ่งชีวิตของไอโซโทปที่ยาวนานที่สุดคือเพียง 22 นาที) จะทำให้ธาตุปริมาณมากพอที่จะมองเห็น กลายเป็นไอได้

แฟรนเซียมถูกค้นพบโดยมาร์เกอริต เปอแรที่ฝรั่งเศส (ซึ่งได้นำมาตั้งเป็นชื่อธาตุนี้) ในปี พ.ศ. 2482 แฟรนเซียมเป็นธาตุสุดท้ายที่ค้นพบครั้งแรกจากในธรรมชาติ แทนที่ได้จากการสังเคราะห์[note 2] นอกห้องปฏิบัติการ แฟรนเซียมหายากมาก พบเป็นปริมาณน้อยมากในสินแร่ยูเรเนียมและทอเรียม ซึ่งแฟรนเซียม-223 เกิดขึ้นและสลายตัวตลอดเวลา ในเปลือกโลกสามารถพบแฟรนเซียม-223 ได้แค่ 20-30 กรัม (1 ออนซ์) ส่วนไอโซโทปอื่น ๆ (ยกเว้นแฟรนเซียม-221) ถูกสังเคราะห์ขึ้นทั้งหมด จำนวนแฟรนเซียมที่ผลิตมากที่สุดในห้องปฏิบัติการคือ 300,000 อะตอม[1]

ลักษณะ

แฟรนเซียมเป็นธาตุที่ไม่เสถียรที่สุดที่เกิดตามธรรมชาติ เนื่องจากไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ แฟรนเซียม-223 มีครึ่งชีวิตแค่ 22 นาทีเท่านั้น เทียบกับแอสทาทีนซึ่งเป็นธาตุที่ไม่เสถียรเป็นอันดับที่ 2 ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีครึ่งชีวิต 8.5 ชั่วโมง[2]ไอโซโทปของแฟรนเซียมทั้งหมดสลายตัวไปเป็นแอสทาทีน เรดอน หรือ เรเดียม อย่างใดอย่างหนึ่ง[2] แฟรนเซียมยังเสถียรน้อยกว่าธาตุสังเคราะห์ทุกธาตุนับจนถึงธาตุที่ 105 ขึ้นไป[3]

แฟรนเซียมเป็นธาตุในหมู่โลหะแอลคาไลซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกับซีเซียม[3] แฟรนเซียมเป็นธาตุหนักที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเดียว[4]มันมีน้ำหนักสมมูลสูงกว่าธาตุอื่นใด[3] แฟรนเซียมเหลว ถ้าสร้างขึ้นได้แล้วควรจะมีแรงตึงผิว 0.05092 นิวตัน/เมตร ที่จุดหลอมเหลว[5] มีการคำนวณว่า จุดหลอมเหลวของแฟรนเซียมมีค่าใกล้เคียงกับ 27 °C (80 ° F, 300 K) [6] จุดหลอมเหลวของแฟรนเซียมนั้นไม่แน่นอน เนื่องจากแฟรนเซียมเป็นธาตุหายากและเป็นกัมมันตรังสีสูง ดังนั้นค่าประมาณของจุดเดือดคืออุณหภูมิที่ 677 °C (1250 °F, 950 K) ก็ไม่แน่นอนเช่นกัน

ไลนัส พอลิงได้ประมาณค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของแฟรนเซียมไว้คือ 0.7 ในพอลิงสเกล เหมือนกับอิเล็กโทรเนกาติวิตีของซีเซียม[7] จากนั้นมีการคำนวณค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของซีเซียมได้เท่ากับ 0.79 แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการทดลองใด ๆ ที่จะมาเป็นค่าของแฟรนเซียม[8] แฟรนเซียมมีพลังงานไอออไนเซชันสูงกว่าซีเซียมเล็กน้อย[9] แฟรนเซียมมีพลังงานไอออไนเซชั่นอยู่ 392.811 (4) กิโลจูล/โมล ส่วยซีเซียมมีค่า 375.7041 กิโลจูล/โมล ดังที่คาดการณ์จากปรากฏการณ์สัมพัทธภาพ และสามารถบอกได้ว่าซีเซียมมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่าแฟรนเซียม แฟรนเซียมควรจะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าซีเซียมและ Fr- ควรจะเป็นขั้วได้มากกว่า Cs-[10] มีการทำนายว่าโมเลกุลของ CsFr มีปลายขั้วลบเป็นแฟรนเซียม ต่างจากโมเลกุลโลหะแอลคาไลที่อะตอมคู่ต่างกัน แฟรนเซียมซูเปอร์ออกไซด์ (FrO2) คาดว่าจะมีพันธะโคเวเลนต์ มากกว่าสารในตระกูลเดียวกัน เกิดจากอิเล็กตรอน 6p ในแฟรนเซียมเกี่ยวพันกับพันธะระหว่างแฟรนเซียมและออกซิเจนมากกว่า[10]

แฟรนเซียมตกตะกอนร่วมกับเกลือซีเซียมหลายชนิด เช่น ซีเซียมเปอร์คลอเรต ได้เป็นแฟรนเซียมเปอร์คลอเรตปริมาณเล็กน้อย การตกตะกอนร่วมนี้สามารถใช้แยกแฟรนเซียม โดยปรับใช้วิธีการตกตะกอนร่วมรังสีซีเซียมของเกล็นเดนิน และเนลสัน มันจะตกตะกอนร่วมกับเกลือซีเซียมชนิดอื่น ๆ เพิ่มอีก เช่น ไอโอเดต พิเครต ทาร์เทรต (รูบิเดียมทาร์เทรต เช่นกัน) คลอโรพลาทิเนต และซิลิโคทังสเตต มันยังตกตะกอนร่วมกับกรดซิลิโคทังสติก และกรดเปอร์คลอริก โดยไม่ต้องใช้โลหะแอลคาไลอื่นเป็นตัวพา ทำให้มีวิธีการแยกสารแบบอื่นด้วย[11][12] เกลือแฟรนเซียมเกือบทุกชนิดละลายน้ำได้[13]

การนำไปใช้

เนื่องจากความไม่เสถียรและหายาก แฟรนเซียมจึงไม่ได้ถูกนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์[14][15][16][17] แต่ส่วนใหญ่จะถูกใช้ไปกับการวิจัยทางชีววิทยา[18] และโครงสร้างอะตอม มีการค้นพบการใช้แฟรนเซียมเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งหลายชนิดแล้วด้วย[2] แต่การกระทำเช่นนี้ยังปฏิบัติจริงไม่ได้[15]

ความสามารถของแฟรนเซียมที่จะสังเคราะห์ ตรวจสอบ และทำให้เย็นลง พร้อมกับโครงสร้างอะตอมที่เรียบง่าย ได้ทำให้มันเป็นเป้าหมายการทดลองสเปกโทรสโกปี การทดลองเหล่านี้ได้นำไปสู่การเพิ่มเติมของข้อมูลเกี่ยวกับระดับพลังงานและค่าคงที่คู่ควบ (Coupling constant) ระหว่างอนุภาคมูลฐานด้วยกัน[19] การศึกษาบนพื้นฐานของแสงที่ปล่อยออกมาโดยการจับด้วยเลเซอร์ของไอออนแฟรนเซียม-210 ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนระหว่างระดับพลังงานของอะตอมซึ่งคล้ายกับผลที่ได้จากการทำนายของกลศาสตร์ควอนตัม[20]

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2413 นักเคมีคิดว่าควรจะมีโลหะแอลคาไลที่เกินซีเซียมที่มีเลขอะตอม 87[2] ในขณะนั้นเรียกกันว่า เอคา-ซีเซียม[21] ทีมวิจัยพยายามที่จะหาตำแหน่งและแยกธาตุที่หายไปนี้ และมีคำกล่าวอ้างอย่างน้อย 4 คำกล่าวเกิดขึ้นก่อนจะเกิดการค้นพบที่แท้จริง

การค้นพบพลาดและไม่สำเร็จ

นักเคมีของสหภาพโซเวียต ดีเค เดอโบรเซอร์ดอฟ เป็นนักวิทยาศาสตร์คนเแรกที่อ้างว่าได้ค้นพบเอคา-ซีเซียม ใน พ.ศ. 2468 เขาสังเกตเห็นกัมมันตรังสีอย่างอ่อนในสารตัวอย่างโพแทสเซียม ซึ่งเป็นโลหะแอลคาไลอีกชนิดหนึ่ง และเขาจึงสรุปว่า เอคา-ซีเซียมปนเปื้อนอยู่ในตัวอย่าง (ส่วนกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนในตัวอย่างนั้น ภายหลังได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นโพแทสเซียม-40) ซึ่งไม่ถูกต้อง[22] หลังจากนั้นก็ได้ตีพิมพ์บทความที่เล่าถึงการพยากรณ์คุณสมบัติของธาตุเอคา-ซีเซียม ให้ชื่อว่า รัสเซียม ซึ่งตั้งชื่อตามประเทศบ้านเกิดของเขา[23] หลังจากนั้นไม่นาน เดอโบรเซอร์ดอฟเริ่มให้ความสำคัญกับอาชีพครูในวิทยาลัยโพลีเทคนิคโอเดสซา และไม่ได้ศึกษาธาตุเอคา-ซีเซียมอีก[22]

ปีถัดมา นักเคมีอังกฤษ เจอรัลด์ เจ. เอฟ. ดรูซ และเฟรดเดอริก เอช. ลอริง ได้วิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีเอกซ์ของแมงกานีส (II) ซัลเฟต[23] พวกเขาสังเกตเห็นเส้นสเปกตรัมซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นของเอคา-ซีเซียม พวกเขาได้ประกาศการค้นพบธาตุที่ 87 นี้และเสนอชื่อว่า แอลคาไลเนียม เนื่องจากมันจะเป็นโลหะแอลคาไลที่หนักที่สุด[22]

ในปี พ.ศ. 2473 เฟรด แอลลิสัน จากสถาบันโพลีเทคนิคแอละแบมา อ้างว่าได้ค้นพบธาตุที่ 87 เมื่อวิเคราะห์แร่โพลูไซต์และเลพิโดไลต์ โดยใช่อุปกรณ์ magneto-optical แอลลิสันขอให้ตั้งชื่อมันว่า เวอร์จิเนียม ตามชื่อรัฐบ้านเกิดของเขา เวอร์จิเนีย และให้สัญลักษณ์ว่า Vi หรือ Vm.[23][24] แต่ใน ค.ศ. 1934 เอช. จี. แมกเฟอร์สัน จากมหาวิทยาลัยเบอร์คีเลย์ได้พิสูจน์แย้งประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่แอลลิสันใช้ และพิสูจน์ว่าสิ่งที่แอลลิสันค้นพบนั้นเป็นเท็จ[25]

ในปี พ.ศ. 2479 นักฟิสิกส์ชาวโรมาเนีย โฮเรีย ฮูลูไบ และเพื่อนร่วมงานชาวฝรั่งเศส อีเวตต์ คาวชอยส์ ได้วิเคราะห์แร่โพลูไซต์อีกครั้ง แต่ในครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือรังสีเอกซ์คุณภาพสูง[22] เขาสังเกตเห็นเส้นที่คล้ายกับแก๊สถูกปล่อยออกมาอย่างอ่อน ทำให้ทั้งคู่สันนิษฐานว่าคือธาตุที่ 87 ฮูลูไบตีพิมพ์รายงานการค้นพบดังกล่าวและเสนอชื่อว่า โมลดาเวียม ตามชื่อของโมลดาเวีย พร้อมด้วยสัญลักษณ์ Ml จังหวัดหนึ่งในโรมาเนียที่ฮูลูไบเกิด[23] ปีถัดมา นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เอฟ. เอช. เฮิร์ช จูเนียร์ ได้วิจารณ์การค้นพบของฮูลูไบ ไม่ยอมรับวิธีการวิจัยของฮูลูไบ เฮิร์ชแน่ใจว่าเอคา-ซีเซียมไม่มีทางพบได้ในธรรมชาติ และสิ่งที่ฮูลูไบค้นพบจริง ๆ นั้น คือรังสีเอกซ์ของปรอท หรือบิสมัท ฮูลูไบยืนหยัดว่าเครื่องมือรังสีเอกซ์และวิธีการของเขาแม่นยำเกินที่จะผิดพลาดได้ ด้วยเหตุนี้ ฌ็อง-บัพติท แปแร็ง ผู้ได้รับรางวัลโนเบลและผู้ช่วยของฮูลูไบ ให้การรับรองว่าโมลดาเวียมเป็นเอคา-ซีเซียมจริง มิใช่แฟรนเซียมอย่างที่มาร์เกอริต เปอแรเพิ่งค้นพบ เปอแรวิจารณ์งานของฮูลูไบจนกระทั่งเธอได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ค้นพบธาตุที่ 87 ได้เพียงคนเดียว[22]

การวิเคราะห์ของเปอแร

เอคา-ซีเซียม ถูกค้นพบใน พ.ศ. 2482 โดยมาร์เกอริต เปอแร จากสถาบันคูรี ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเธอทำให้ตัวอย่างของแอกทิเนียม-227 บริสุทธิ์ ซึ่งเธอได้รับรายงานว่ามีพลังงานสลายกัมมันตรังสี 220 KeV เปอแรเห็นว่าอนุภาคสลายตัวที่ระดับพลังงานต่ำกว่า 80 KeV เปอแรคิดว่ากิจกรรมการสลายตัวนี้อาจเกิดจากการสลายตัวของผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบแน่ชัด ผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งถูกแยกออกระหว่างกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ แต่ปรากฏออกมาอีกครั้งเป็นธาตุอื่นที่ไม่ใช่แอกทิเนียม-227 การทดลองหลายครั้งได้ตัดความเป็นไปได้ว่าธาตุดังกล่าวจะเป็นทอเรียม เรเดียม ตะกั่ว บิสมัท หรือแทลเลียม ผลิตภัณฑ์ใหม่แสดงคุณสมบัติทางเคมีของโลหะแอลคาไล (เช่น การตกตะกอนร่วมกับเกลือซีเซียม) ทำให้เปอแรเชื่อว่ามันคือธาตุที่ 87 เกิดจากการสลายให้อนุภาคแอลฟา ของไอโซโทปแอกทิเนียม-227[21] แล้วเปอแรก็พยายามกำหนดสัดส่วนของการสลายให้อนุภาคบีตา ต่อการสลายตัวให้อนุภาคแอลฟา ในแอกทิเนียม-227 การทดลองครั้งแรกของเธอให้ผลออกมาว่ามีโอกาสเกิดการสลายตัวแอลฟา 0.6 % ซึ่งต่อมาเธอแก้ไขให้เป็น 1 %[26]

เปอแรได้ให้ชื่อไอโซโทปใหม่นี้ว่า แอกทิเนียม-เค (ในภายหลังได้พิสูจน์ว่าคือ แฟรนเซียม-223) [21] และในปี พ.ศ. 2489 เปอแรได้ให้ชื่อว่า คาเทียม สำหรับธาตุที่ค้นพบใหม่ เนื่องจากเธอเชื่อว่าธาตุนี้จะเป็นไอออนประจุบวกที่มีอิเล็กโตรโพซิติวิตีมากที่สุด แต่อีเรน ฌูลีโอ-กูรี หนึ่งในผู้ดูแลของเปอแร ได้แย้งว่าคำว่า cat จะหมายถึงแมว มากกว่า cation (ไอออนประจุบวก) [21] ต่อมาเปอแรเสนอแนะชื่อธาตุใหม่นี้ว่า แฟรนเซียม ตามประเทศฝรั่งเศส เป็นชื่อทางการที่ได้รับการยืนยันโดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2492[2] กลายเป็นธาตุตัวที่สองที่ตั้งชื่อตามประเทศฝรั่งเศส ถัดจากแกลเลียม มีการเสนอสัญลักษณ์ให้ธาตุนี้ว่า Fa แต่ภายหลังก็ถูกเปลี่ยนเป็น Fr หลังจากนั้นไม่นาน[27] แฟรนเซียมเป็นธาตุสุดท้ายที่พบในธรรมชาติ มิได้สังเคราะห์ขึ้น ถัดจากรีเนียมที่ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2468[21] ซิลเวน ไลเบอร์แมน และทีมของเขาได้งานวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างของแฟรนเซียมต่อไปอีกที่องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980[28]

การปรากฏ

ตัวอย่างแร่ยูเรไนต์นี้มีอะตอมของแฟรนเซียมอยู่ในทุก ๆ 100,000 อะตอมของยูเรเนียม[15]

ธรรมชาติ

แฟรนเซียม-223 เป็นผลผลิตที่ได้จากการสลายตัวแอลฟาของแอกทิเนียม-227 และพบได้ในแร่ยูเรเนียมและทอเรียม[3] ในตัวอย่างยูเรเนียมตัวอย่างหนึ่ง จะมีแฟรนเซียมที่ถูกผลิตขึ้นอยู่ทุก ๆ 1 × 1018 อะตอมของยูเรเนียม[15] และยังมีการคำนวณว่า ที่เวลาใด ๆ จะพบแฟรนเซียมในเปลือกโลกอย่างมาก 30 กรัม[29]

สังเคราะห์

แสงที่เปล่งออกจากตัวอย่างแฟรนเซียม 200,000 อะตอม ในกับดัก magneto-optical
ภาพจับความร้อนของแฟรนเซียม 300,000 อะตอม ในกับดัก magneto-optical

แฟรนเซียมสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์:

197Au + 18O → 210Fr + 5 n

ในกระบวนการนี้ ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยสโตนีบรูก แฟรนเซียมที่ผลิตออกมาสามารถเป็นแฟรนเซียม-209 210 และ 211[30] ที่ถูกแยกด้วยกับดัก magneto-optical (MOT)[31] อัตราการผลิตไอโซโทปแฟรนเซียมขึ้นอยู่กับปริมาณพลังงานของลำแสงออกซิเจน-18 ลำแสงออกซิเจน-18จากเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น หรือลิแนก (LINAC) ของสโตนีบรูกนี้ สร้างแฟรนเซียม-210 โดยการยิงไปที่อะตอมของทองคำด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ 197Au + 18O → 210Fr + 5n การผลิตนี้ต้องใช้เวลาพัฒนาและทำความเข้าใจ เนื่องด้วยอุณหภูมิระหว่างการเกิดปฏิกิริยาใกล้เคียงกับจุดหลอมเหลวของทองคำและต้องมั่นใจว่าบริเวณนั้นสะอาดที่สุด ปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้ได้ทำให้อะตอมของแฟรนเซียมฝังลึกเข้าไปในทองคำ และพวกมันจะต้องสลายไปอย่างมีประสิทธิภาพ อะตอมของแฟรนเซียมจะกระจายไปทั่วผิวของทองคำอย่างรวดเร็วและถูกปลดปล่อยออกมาในรูปของไอออน สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้ง ไอออนของแฟรนเซียมถูกนำโดยเลนส์ไฟฟ้าสถิตจนกระทั่งมันลงมาถึงผิวของอิตเทรียมร้อนและกลับมาเป็นกลางอีกครั้ง จากนั้นแฟรนเซียมจะถูกฉีดไปในหลอดแก้ว สนามแม่เหล็กและลำแสงเลเซอร์จะเย็นตัวลงและจำกัดอะตอม ถึงแม้ว่าอะตอมจะอยู่ภายในกับดักเพียงประมาณ 20 วินาทีก่อนที่มันจะหลุดออกมา (หรือสลายตัว) แต่กลุ่มอะตอมใหม่จะมาแทนที่ส่วนที่หลุดไป ทำให้อะตอมที่ติดกับยังอยู่อย่างนั้นนานหลายนาทีหรือนานกว่านั้น ในขั้นต้น อะตอมแฟรนเซียมจำนวน 1,000 อะตอมได้ถูกกักไว้ในการทดลอง และก็มีการพัฒนาจนสามารถกักอะตอมแฟรนเซียมที่เป็นกลางไว้ได้ 300,000 อะตอมในการทดลองเพียงครั้งเดียว[1] ถึงแม้ว่าอะตอมโลหะ ("โลหะแฟรนเซียม") ที่ได้เหล่านี้จะเป็นกลาง พวกมันจะอยู่ในสถานะแก๊สที่ไม่เกาะกลุ่มกัน แฟรนเซียมปริมาณเพียงพอถูกตรวจจับได้จนกล้องวิดีโอสามารถจับแสงที่ออกจากอะตอมเมื่อมันเปล่งแสง อะตอมเหล่านี้จะปรากฏเป็นทรงกลมเรืองแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร และวิธีนี้ทำให้เห็นแฟรนเซียมด้วยตาเปล่าได้เป็นครั้งแรก ปัจจุบัน นักวิจัยสามารถวัดแสงที่เปล่งและดูดกลืนโดยอะตอมที่ถูกกัก และให้ผลการทดลองครั้งแรกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระหว่างระดับพลังงานต่าง ๆ ของแฟรนเซียม การวัดครั้งแรกให้ผลที่ตรงกับค่าและการคำนวณจากการทดลองทฤษฎีควอนตัมเป็นอย่างมาก มีการสังเคราะห์ด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การยิงอะตอมเรเดียมด้วยนิวตรอน และยิงอะตอมทอเรียมด้วยโปรตอน ดิวเทอรอน หรือไอออนฮีเลียม[26] แฟรนเซียมยังไม่เคยถูกสังเคราะห์ในปริมาณมากพอที่จะประเมินได้[2][6][15]

ไอโซโทป

แฟรนเซียมมี 34 ไอโซโทป มีมวลอะตอมตั้งแต่ 199-232[3] แฟรนเซียมมี 7 ไอโซเมอร์นิวเคลียร์กึ่งเสถียร[3] แฟรนเซียม-221 และแฟรนเซียม-223 เป็นเพียงสองไอโซโทปที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ โดยจะพบแฟรนเซียม-221 ได้ง่ายกว่า[32]

แฟรนเซียม-223 เป็นไอโซโทปที่เสถียรที่สุดด้วยครึ่งชีวิต 21.8 นาที[3] และไอโซโทปแฟรนเซียมที่มีครึ่งชีวิตนานกว่านี้จะไม่อาจพบหรือสังเคราะห์ขึ้นได้อีก แฟรนเซียม-223 เป็นผลิตภัณฑ์ลำดับที่ห้าของกระบวนการสลายตัวของแอกทิเนียม โดยได้จากการสลายตัวของแอกทิเนียม-227 [17] จากนั้นแฟรนเซียม-223 จะสลายตัวไปเป็นเรเดียม-223 โดยการสลายให้อนุภาคบีตา (พลังงานสลายตัว 1149 keV) และยังมีโอกาสเล็กน้อน (0.006 %) ที่มันจะสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาไปเป็นแอสทาทีน-219

แฟรนเซียม-221 มีครึ่งชีวิต 4.8 นาที[3] ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ลำดับที่ 9 ของกระบวนการการสลายตัวของเนปทูเนียม โดยได้จากการสลายตัวของแอกทิเนียม-225 จากนั้น แฟรนเซียม-221 สลายตัวเป็นแอสทาทีน-217 โดยการสลายตัวให้อนุภาคแอลฟา (พลังงานสลายตัว 6.457 MeV)[3]

ไอโซโทปที่เสถียรน้อยที่สุดในสถานะพื้นคือแฟรนเซียม-215 ซึ่งมีครึ่งชีวิตอยู่ 0.12 ไมโครวินาที (ใช้พลังงาน 9.54 MeV สลายให้อนุภาคแอลฟาไปเป็นแอสทาทีน-211)[3] ไอโซเมอร์กึ่งเสถียร แฟรนเซียม-215m ก็ยังเสถียรน้อยกว่า มีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 3.5 นาโนวินาทีเท่านั้น[33]

เชิงอรรถ

รายการอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง