โทโมยูกิ ยามาชิตะ

นายพลในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

พลเอก โทโมยูกิ ยามาชิตะ (ญี่ปุ่น: 山下奉文; อังกฤษ: Tomoyuki Yamashita) บ้างเรียก โทโมบูมิ ยามาชิตะ[2]) เป็นนายพลแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยามาชิตะเป็นผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นระหว่างการทัพมาลายาและยุทธการที่สิงคโปร์ ด้วยความสำเร็จในการพิชิตมลายาและสิงคโปร์ใน 70 วัน ทำให้เขาได้รับนามสมญา พยัคฆ์แห่งมาลายา ถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิล ที่เรียกการล่มสลายของสิงคโปร์ต่อประเทศญี่ปุ่นว่าเป็น "ภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุด" และ "การยอมจำนนครั้งใหญ่ที่สุด" ในประวัติศาสตร์การทหารของอังกฤษ[3] ยามาชิตะได้รับมอบหมายให้คุ้มครองฟิลิปปินส์จากกองกำลังพันธมิตรที่จะมาถึงภายหลังในสงคราม และในขณะที่ไม่สามารถหยุดการรุกคืบของพันธมิตร เขาสามารถที่จะยึดครองส่วนหนึ่งของเกาะลูซอนได้จนกระทั่งหลังการยอมจำนนของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945

โทโมยูกิ ยามาชิตะ
山下 奉文
ผู้ว่าการทหารญี่ปุ่นแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน ค.ศ. 1944 – 2 กันยายน ค.ศ. 1945
กษัตริย์สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ
ก่อนหน้าชิเงโนริ คุโรดะ
ถัดไปเลิกล้มตำแหน่ง
(อย่างเป็นทางการโดยมานูเอล โรฮัส ในฐานะประธานาธิบดีฟิลิปปินส์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885(1885-11-08)
โอโตโยะ จังหวัดโคจิ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946(1946-02-23) (60 ปี)
โลสบาโญส จังหวัดลากูนา เครือจักรภพแห่งฟิลิปปินส์
สาเหตุการเสียชีวิตการแขวนคอ
ที่ไว้ศพสุสานทามะไรเอ็ง ฟูจู โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
คู่สมรสฮิซาโกะ นากายามะ (สมรส 1916–1946)
บุตรไม่มี
บุพการี
  • ซากิชิ ยามาชิตะ (บิดา)
  • ยู (มารดา)
รางวัลเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์
ชื่อเล่นพยัคฆ์แห่งมาลายา
เดรัจฉานแห่งบาตาอัน[1]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ญี่ปุ่น
สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประจำการค.ศ. 1905–1945
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพที่ 25
กองทัพสนามที่ 1
กองทัพสนามที่ 14
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สงครามแปซิฟิก

หลังสงคราม ยามาชิตะถูกกล่าวหาสำหรับอาชญากรรมสงครามที่กระทำโดยทหารภายใต้คำสั่งของเขาในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองฟิลิปปินส์เมื่อปี ค.ศ. 1944 ในการพิจารณาคดี ยามาชิตะถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานความทารุณจากกองทัพของเขา แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าเขาเป็นผู้อนุมัติหรือแม้แต่รู้จักพวกเขา และโดยแท้จริงแล้วความโหดร้ายหลายอย่างเกิดขึ้นจากกองกำลังที่ไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งของเขา ยามาชิตะถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอเมื่อปี ค.ศ. 1946 การพิจารณาคดีต่อยามาชิตะ ถือตามผู้บัญชาการที่ต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามแทนผู้ใต้บังคับบัญชา ตราบเท่าที่ผู้บังคับบัญชาไม่ได้พยายามค้นหาและหยุดยั้งพวกเขาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมาเป็นที่รู้จักในฐานะมาตรฐานยามาชิตะ

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง