อิวาเตะ (เมือง)

เมืองในอำเภออิวาเตะ จังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก Iwate, Iwate)

อิวาเตะ (ญี่ปุ่น: 岩手町โรมาจิIwate-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในอำเภออิวาเตะ จังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2020 เมืองนี้มีประชากร 13,111 คน มีความหนาแน่นของประชากร 36 คนต่อตารางกิโลเมตร มี 5,455 ครัวเรือน และมีพื้นที่ทั้งหมด 360.46 ตารางกิโลเมตร (139.17 ตารางไมล์)[1]

อิวาเตะ

岩手町
ศาลาว่าการเมืองอิวาเตะ
ศาลาว่าการเมืองอิวาเตะ
ธงของอิวาเตะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของอิวาเตะ
ตรา
ที่ตั้งของอิวาเตะในจังหวัดอิวาเตะ (เน้นสีเหลือง)
ที่ตั้งของอิวาเตะในจังหวัดอิวาเตะ (เน้นสีเหลือง)
อิวาเตะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
อิวาเตะ
อิวาเตะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 39°58′22″N 141°12′43.8″E / 39.97278°N 141.212167°E / 39.97278; 141.212167
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคโทโฮกุ
จังหวัดอิวาเตะ
อำเภออิวาเตะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโคจิ ซาซากิ (佐々木 光司)
พื้นที่
 • ทั้งหมด360.46 ตร.กม. (139.17 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (29 กุมภาพันธ์ 2020)
 • ทั้งหมด13,111 คน
 • ความหนาแน่น36 คน/ตร.กม. (94 คน/ตร.ไมล์)
สัญลักษณ์
 • ต้นไม้เกี๊ยะ
 • ดอกไม้รินโด
 • นกไก่ฟ้าเขียว
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์0195-62-2111 
ที่อยู่Itsukaichi dai-10 jiwari 44, Iwate-machi, Iwate-gun, Iwate-ken 028-4395
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ภูมิศาสตร์

แม่น้ำทันโดในเมืองอิวาเตะ

เมืองอิวาเตะอยู่ในพื้นที่ภายในแผ่นดินไม่ติดกับทะเล ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดอิวาเตะ

เทศบาลข้างเคียง

ภูมิอากาศ

เมืองอิวาเตะมีภูมิอากาศแบบหนาวชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Dfa) มีลักษณะคือมีฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัด และมีฤดูหนาวที่หนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในอิวาเตะอยู่ที่ 8.4 °C ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1,384 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด และกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่แห้งแล้งที่สุด อุณหภูมิจะสูงที่สุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 22.0 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ −4.1 °C[2]

สถิติประชากร

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] ประชากรของอิวาเตะได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 12,922—    
1930 14,592+12.9%
1940 16,134+10.6%
1950 20,744+28.6%
1960 23,230+12.0%
1970 21,725−6.5%
1980 20,350−6.3%
1990 19,141−5.9%
2000 17,372−9.2%
2010 14,988−13.7%

ประวัติศาสตร์

พื้นที่ของเมืองอิวาเตะในปัจจุบันเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมุตสึ อยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูลนัมบุในสมัยเอโดะ ซึ่งเป็นผู้ปกครองแคว้นศักดินาโมริโอกะภายใต้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ

วันที่ 1 เมษายน 1889 ในช่วงที่มีการจัดตั้งระบบเทศบาลสมัยใหม่ขึ้น ได้มีการก่อตั้งหมู่บ้านนูมากูไน คาวางูจิ อิกกาตาอิ และมิโด ขึ้นกับอำเภอคิตะ-อิวาเตะ ต่อมาวันที่ 29 มีนาคม 1896 อำเภอคิตะ-อิวาเตะ และอำเภอมินามิ-อิวาเตะ ได้ควบรวมกันเป็นอำเภออิวาเตะ และในวันที่ 21 กรกฎาคม 1955 หมู่บ้านทั้งสี่ได้รวมกันเพื่อก่อตั้งเป็นเมืองอิวาเตะ[4]

การเมืองการปกครอง

เมืองอิวาเตะมีการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาเทศบาลเมือง ซึ่งเป็นสภาเดี่ยว มีสมาชิกทั้งหมด 14 คน เมืองอิวาเตะ เมืองคูซูมากิ และนครฮาจิมันไต รวมเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดอิวาเตะจำนวน 2 ที่นั่ง ส่วนในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดอิวาเตะที่ 2 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจท้องถิ่นของเมืองอิวาเตะคือการเกษตรเป็นหลัก โดยมีชื่อเสียงในด้านการผลิตบลูเบอร์รี

การศึกษา

เมืองอิวาเตะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 5 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 3 แห่ง และมีโรงเรียนมัธยมปลายอีก 1 แห่งที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดอิวาเตะ

การขนส่ง

รถไฟ

ทางหลวง

  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 - ที่พักริมทางอิชิงามิโนะโอกะ
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 281

สถานที่ท่องเที่ยว

  • พิพิธภัณฑ์ศิลปะอิชิงามิโนะโอกะ (石神の丘美術館)

บุคคลที่มีชื่อเสียง

  • เซชิโร อิตางากิ (板垣 征四郎) - นายพลกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร