การขาดธาตุเหล็ก

การขาดธาตุเหล็ก[1]หรือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก[2](อังกฤษ: Iron deficiency)เป็นการขาดสารอาหารที่สามัญที่สุดในโลก[3][4][5]ธาตุเหล็กมีอยู่ในเซลล์ทั้งหมดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่สำคัญมากหลายอย่าง เช่น การนำเอาออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ จากปอด โดยเป็นองค์ประกอบกุญแจสำคัญของโปรตีนเฮโมโกลบินในเลือด,การเป็นสื่อนำอิเล็กตรอนภายในเซลล์ในรูป cytochrome,การอำนวยการใช้และการเก็บออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อโดยเป็นส่วนของไมโยโกลบิน,และเป็นสิ่งที่จำเป็นในปฏิกิริยาของเอนไซม์ในอวัยวะต่าง ๆการมีธาตุเหล็กน้อยเกินไปสามารถรบกวนหน้าที่จำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้ โดยทำให้เกิดโรค และอาจให้ถึงตายได้[6]

การขาดธาตุเหล็ก
(Iron deficiency )
ธาตุเหล็กในรูปแบบ heme
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10E61.1
ICD-9269.3
DiseasesDB6947
MedlinePlus000584
eMedicinemed/1188

ปริมาณธาตุเหล็กทั้งหมดในร่างกายมีประมาณ 3.8 ก. ในชาย และ 2.3 ก. ในหญิงส่วนในน้ำเลือด เหล็กจะเวียนไปกับเลือดโดยยึดกับโปรตีน transferrin อย่างแน่นมีกลไกหลายอย่างที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเหล็กในมนุษย์ และป้องกันไม่ให้ขาดกลไกควบคุมหลักอยู่ในทางเดินอาหารแต่ถ้าการสูญเสียเหล็กไม่สามารถชดเชยได้จากการทานอาหาร ภาวะขาดเหล็กก็จะเกิดขึ้นในที่สุดและถ้าไม่รักษา ก็จะลามไปเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia)แต่ก่อนจะถึงภาวะโลหิตจาง ภาวะการขาดธาตุเหล็กโดยที่ยังไม่ถึงภาวะโลหิตจางเรียกว่า Latent Iron Deficiency (LID) หรือ Iron-deficient erythropoiesis (IDE)

การขาดธาตุเหล็กที่ไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจากเหตุขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่สามัญ[7]โดยมีเม็ดเลือดแดง (erythrocytes) หรือเฮโมโกลบิน ไม่พอคือ ภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีเหล็กไม่พอ มีผลลดการผลิตโปรตีนเฮโมโกลบินซึ่งเป็นตัวจับออกซิเจนและทำให้เม็ดเลือดแดงสามารถส่งออกซิเจนให้กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

เด็ก หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ และบุคคลที่มีอาหารไม่สมบูรณ์เสี่ยงต่อโรคมากที่สุดกรณีโดยมากของภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเล็กไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่รักษาก็อาจสามารถสร้างปัญหาเช่นหัวใจเต้นเร็วหรือไม่ปกติ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ การโตช้าสำหรับทารกหรือเด็ก[8]

การเสียชีวิตเนื่องจากภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กต่อคนล้านคนในปี 2555
  1–1
  2–3
  4–5
  6–8
  9–12
  13–19
  20–30
  31–74
  75–381
ภาระโรค (DALY) แสดงเป็นจำนวนปีที่เสียไปเพราะเหตุสุขภาพไม่ดี ความพิการ หรือการเสียชีวิตก่อนวัย สำหรับภาวะโลหิตจางเหตุขาดเหล็กต่อคน 100,000 คนในปี 2547[9]
  น้อยกว่า 50
  50–100
  100–150
  150–200
  200–250
  250–300
  300–350
  350–400
  400–450
  450–500
  500–1000
  มากกว่า 1000

อาการ

อาการขาดธาตุเหล็กสามารถเกิดขึ้นก่อนลามเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กแต่อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะเจาะจงต่อการขาดธาตุเหล็กเท่านั้นเหล็กจำเป็นต่อการทำงานที่เป็นปกติของเอนไซม์ ดังนั้น อาจจะเกิดอาการต่าง ๆ มากมายในที่สุด โดยเป็นอาการทุติยภูมิจากภาวะโลหิตจาง หรือเป็นอาการปฐมภูมิจากการขาดธาตุเหล็ก

อาการขาดธาตุเหล็กรวมทั้ง

  • ความล้า
  • อาการเวียนศีรษะ
  • ซีด
  • ผมหลุด
  • กล้ามเนื้อกระตุกรัว (myoclonus)
  • หงุดหงิด
  • ความอ่อนเปลี้ยของกล้ามเนื้อ
  • การทานสิ่งที่ไม่ใช่อาหารในเด็ก (pica)
  • เล็บเปราะหรือเล็บแบนหรือเล็บเว้า
  • Plummer-Vinson syndrome คือ เยื่อเมือกของลิ้น คอหอย และของหลอดอาหาร ฝ่อลงจนเจ็บ
  • ภูมิต้านทานแย่ลง[10]
  • อาการชอบกินน้ำแข็ง (pagophagia)
  • restless legs syndrome คือความรู้สึกผิดปกติที่ทำให้ต้องขยับขา[11]

การขาดธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่องอาจลามเป็นภาวะโลหิตจางและความอ่อนเปลี้ยที่เพิ่มขึ้นภาวะเกล็ดเลือดมากสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการขาดธาตุเหล็กในเลือดเป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้บุคคลไม่สามารถให้เลือด

เหตุ

แม้ว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่เป็นเหตุการขาดธาตุเหล็กในหนู แต่ยังไม่ปรากฏกว่ามีโรคเมแทบอลิซึมของเหล็กสืบทางกรรมพันธุ์ในมนุษย์ ที่เป็นเหตุโดยตรงของการขาดเหล็ก

นักกีฬา

เหตุผลที่เป็นไปได้ว่าการเล่นกีฬาอาจมีบทบาททำให้ขาดธาตุเหล็ก รวมทั้งการสลายของเม็ดเลือดแดงเนื่องจากการกระทบกระแทกทางกาย การเสียเหล็กผ่านเหงื่อและปัสสาวะ การเสียเลือดทางเดินอาหาร และการเสียเลือดในปัสสาวะ (haematuria)[13][14]แม้ว่าจะมีเหล็กจำนวนหนึ่งที่ขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะแต่ก็มองว่าไม่สำคัญแม้ว่านักกีฬาจะมีเหงื่อและปัสสาวะมากขึ้นเมื่อพิจารณาด้วยว่าร่างกายของนักกีฬาดูเหมือนจะปรับเก็บเหล็กไว้ได้ดีกว่า[13]

ส่วนภาวะโลหิตจางเหตุการสลายเม็ดเลือดแดงโดยกล (Mechanical hemolytic anemia) มีโอกาสมากที่สุดในกีฬาที่ต้องกระทบกระแทกมาก โดยเฉพาะในการวิ่งทางไกล ที่เม็ดเลือดแดงสลายเนื่องจากแรงกระแทกที่เท้ากับพื้นเลือดออกทางเดินอาหารที่เกิดจากการออกกำลังกายมีโอกาสมากที่สุดในนักกีฬาแบบอึดนอกจากนักวิ่งแล้ว ผู้ที่กระทบกระแทกเท้า เช่น นักกีฬาเค็นโด หรือกระทบกระแทกมือ เช่น คนตีกลองนักกีฬาที่เน้นการคุมน้ำหนัก (เช่น บัลเลต์ ยิมนาสติก การวิ่งมาราธอน และมวยปล้ำ) และกีฬาที่เน้นการทานอาหารมีคาร์โบไฮเดรตสูง มีไขมันต่ำ อาจมีโอกาสเสี่ยงขาดธาตุเหล็กสูงขึ้น[13][14]

การวินิจฉัย

  • การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์สามารถตรวจพบภาวะโลหิตจางแบบมีเม็ดเลือดเล็ก (microcytic anemia)[15] แม้ว่านี้จะไม่แน่นอน – แม้กระทั่งเมื่อภาวะแย่ลงจนถึงเป็นโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กแล้ว
  • ระดับ ferritin ในเลือดต่ำ ระดับ ferritin เป็นการตรวจที่ไวต่อภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กมากที่สุด แต่ว่า ระดับ ferritin ในเลือดก็ยังสามารถสูงขึ้นเนื่องจากการอักเสบ ดังนั้น ระดับ ferritin ปกติจะไม่สามารถกันการขาดเหล็กออกได้ และผลที่ได้จะชัดเจนยิ่งขึ้นถ้าตรวจระดับ C-reactive protein (CRP) พร้อมกันไปด้วย ระดับ ferritin ที่พิจารณาว่า สูง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ในโรค inflammatory bowel disease เกณฑ์อยู่ที่ 100 แต่ในภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (CHF) เกณฑ์อยู่ที่ 200
  • ระดับเหล็กในเลือดต่ำ
  • ระดับ TIBC (total iron binding capacity) สูง แม้ว่านี้ก็จะสูงขึ้นด้วยในกรณีที่เป็นโลหิตจางเนื่องจากการอักเสบเรื้อรัง
  • อาจจะตรวจเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood) เจอด้วย ถ้าการขาดเหล็กมีเหตุเป็นเลือดออกในทางเดินอาหาร แม้ว่าการทดสอบจะไม่ค่อยไวเพราะว่าในบางกรณีที่มีเลือดออก ก็จะไม่พบอยู่ดี

เหมือนกับอย่างอื่น ค่าที่ได้ต้องเทียบกับค่าอ้างอิงของแล็บเมื่อพิจารณาสถานการณ์ทางคลินิกของบุคคลทุกอย่าง

การรักษา

ก่อนเริ่มรักษา ควรจะวินิจฉัยให้ชัดเจนถึงเหตุขาดธาตุเหล็กนี่สำคัญเป็นพิเศษในคนสูงอายุ ผู้เสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นเหตุให้เลือดออกในทางเดินอาหารในผู้ใหญ่ 60% ของคนไข้ที่มีภาวะโลหิตจางเหตุขาดเหล็กอาจมีโรคในทางเดินอาหารที่เป็นเหตุให้เลือดออกอยู่เรื่อย ๆ[16]เพราะว่า เป็นไปได้ว่าเหตุของการขาดธาตุเหล็กจำเป็นต้องรักษาด้วย

เมื่อได้วินิจฉัยที่สมควรแล้ว อาการสามารถรักษาได้ด้วยการให้ธาตุเหล็กเสริมวิธีการเสริมจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ความจำเป็นให้หายเร็ว (เช่น ถ้ากำลังรอการผ่าตัด) และโอกาสที่วิธีการรักษาจะมีประสิทธิผล(เช่น ถ้าเหตุของอาการมาจาก Inflammatory bowel disease, กำลังล้างไตอยู่, หรือว่ากำลังรักษาโดย erythropoiesis-stimulating agent อยู่)ตัวอย่างของยาทานที่เสริมเหล็กรวมทั้ง ferrous sulfate, ferrous gluconate, และเหล็กที่ยึดกับกรดอะมิโน (amino acid chelate tablets)งานวิจัยปี 2548 แสดงว่า การทดแทนธาตุเหล็ก อย่างน้อยในผู้สูงอายุที่ขาด อาจน้อยแพียงแค่ 15 มก. ต่อวันของธาตุเหล็ก[17]

แบบจำลองแบบแสดงปริภูมิของ heme B เหล็กมีสีเทา (ตรงกลาง) ไนโตรเจนสีน้ำเงิน คาร์บอนมีสีดำ ไฮโดรเจนมีสีขาว ออกซิเจนมีสีแดง

แหล่งอาหาร

การขาดธาตุเหล็กเล็กน้อยสามารถป้องกันและแก้ไขโดยทานอาหารที่สมบูณ์ด้วยเหล็กและการทำอาหารในกระทะเหล็กเนื่องจากธาตุเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นต่อสัตว์และพืชโดยมาก จึงมีอาหารมากมายที่มีเหล็กแต่แหล่งที่ดีของธาตุเหล็กจะเป็นแบบ heme-iron (cofactor ที่มีไอออนเหล็ก [Fe2+] อยู่ตรงกลางวงแหวนอินทรีย์แบบ heterocyclic ที่เรียกว่า porphyrin ดูรูป) เพราะว่านี่ดูดซึมได้ง่ายที่สุด และยาและสารอาหารอื่น ๆ จะไม่สามารถขัดขวางการดูดซึมได้ตัวอย่างอาหารที่มีเหล็กแบบนี้คือ เนื้อที่มีสีแดงเมื่อดิบ (เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ) เป็ดไก่ และแมลง[18][19]

แหล่งอาหารแบบไม่ใช่ heme มีเหล็กเหมือนกัน แต่ร่างกายเอาไปใช้ได้ไม่เท่ากัน (คือมี reduced bioavailability)ตัวอย่างแหล่งเหล็กที่ไม่ใช่ heme รวมทั้งถั่ว ผักใบเขียว พิสตาชีโอ เต้าหู้ ขนมปังเสริมสารอาหาร และธัญพืชเสริมสารอาหารแต่ร่างกายจะดูดซึมและปฏิบัติต่อเหล็กจากอาหารต่าง ๆ ต่างกันยกตัวอย่างเช่น เหล็กในเนื้อแดง (คือ เหล็กแบบ heme) สามารถดูดซึมได้ง่ายกว่าเหล็กในธัญพืชและผักใบเขียว (เหล็กที่ไม่ใช่ heme)[20]

แร่ธาตุและสารเคมีจากอาหารชนิดหนึ่งยังอาจยับยั้งการดูดซึมเหล็กจากอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ทานในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย[21]ยกตัวอย่างเช่น กรดออกซาลิกและกรดไฟเตต จะรวมเป็นสารประกอบที่ยึดกับเหล็กในท้องก่อนเกิดการดูดซึมและเพราะว่าเหล็กจากพืชดูดซึมได้ยากกว่าเหล็กแบบ heme จากสัตว์ คนทานเจหรือทานเจแบบวีแกน ควรจะได้อาหารที่มีเหล็กสูงกว่าบุคคลที่ทานเนื้อแดง ปลา และเป็ดไก่[22]

พืชวงศ์ถั่วและผักใบเขียวเช่น บรอกโคลี ผักวงศ์กะหล่ำปลี และอื่น ๆ เป็นแหล่งเหล็กที่ดีสำหรับคนที่ทานอาหารเจแต่ว่า ผักโขมฝรั่ง (spinach) และบีตรูต มีกรดออกซาลิกซึ่งเข้ายึดกับเหล็ก ทำให้ร่างกายดูดซึมเหล็กไม่ได้แต่เหล็กแบบไม่ใช่ heme จะดูดซึมได้ดีกว่าถ้าทานพร้อมกับอาหารที่มีเหล็ก heme หรือวิตามินซี[23]

ตารางสองตารางต่อไปนี้แสดงอาหารที่สมบูรณ์ด้วยเหล็กแบบ heme และแบบไม่ใช่ heme มากที่สุด[24]ในตารางทั้งสอง ปริมาณอาหารทานต่อครั้งอาจแตกต่างจาก 100 ก.เกณฑ์ปริมาณที่ต้องการตั้งที่ 18 มก.ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงเกษตรสหรัฐแนะนำให้หญิงอายุระหว่าง 19-50 ปีทานทุกวัน[25]

อาหารที่สมบูรณ์ด้วยเหล็กแบบ heme มากที่สุด
อาหารขนาดเหล็ก% USDA
หอยกาบคู่100 ก.28 มก.155%
ตับหมู100 ก.18 มก.100%
ไตแกะ100 ก.12 มก.69%
หอยนางรมสุก100 ก.12 มก.67%
หมึกกระดอง100 ก.11 มก.60%
ตับแกะ100 ก.10 มก.57%
หมึกสาย100 ก.9.5 มก.53%
หอยแมลงภู่100 ก.6.7 มก.37%
ตับวัว100 ก.6.5 มก.36%
หัวใจวัว100 ก.6.4 มก.35%


อาหารที่สมบูรณ์เหล็กแบบไม่ใช่ heme มากที่สุด
อาหารขนาดเหล็ก% USDA
ถั่วเหลืองดิบ100 ก.7 มก.35%
Spirulina15 ก.4.3 มก.24%
ฟาลาเฟล140 ก.4.8 มก.24%
ถั่วเหลือง125มล. = 1/2ถ้วย4.6 มก.23%
ผักโขมฝรั่ง125 ก.4.4 มก.22%
ถั่วเมล็ดแบน125มล. = 1/2ถ้วย3.5 มก.17.5%
กากน้ำตาล (Bluelabel Australia)20มล. = 1ช้อนชา1.8 มก.9%
ขิง15 ก.~3ชิ้น1.7 มก.8.5%
งาย่าง/อบ10 ก.1.4 มก.7%
โกโก้5 ก.~1ช้อนชา.8 มก.4%

การขาดเหล็กอาจมีผลรุนแรงพอที่การทานอาหารจะช่วยแก้ไม่ทันดังนั้น การทานธาตุเหล็กบ่อยครั้งจะจำเป็นถ้าการขาดเหล็กออกอาการแล้ว

การถ่ายเลือด

การถ่ายเลือดบางครั้งใช้รักษาการขาดเหล็กที่คนไข้มีปัญหาทางเลือดบางอย่าง[26]บางครั้งการถ่ายเลือดก็พิจารณาในบุคคลที่ขาดเหล็กเรื้อรังหรือว่าจะเข้าผ่าตัดเร็ว ๆ นี้ แต่แม้บุคคลเช่นนี้จะมีเฮโมโกลบินที่ต่ำ ก็ควรจะได้เหล็กทางปากหรือทางเส้นเลือดด้วย[26]

สภาพพร้อมใช้งานและการติดเชื้อ

แบคทีเรียจะเติบโตได้ต้องอาศัยเหล็ก และดังนั้น การไม่มีเหล็กในสภาพพร้อมใช้งานทางชีวภาพ (bioavailability) เป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการติดเชื้อ[27]ดังนั้น น้ำเลือดจึงส่งเหล็กยึดกับโปรตีน transferrin ที่เข้าไปในเซลล์โดยกระบวนการ endocytosis ระบบจึงสามารถกันไม่ให้เหล็กต่อแบคทีเรียได้[28]

ประมาณ 15-20% ของโปรตีนนมมนุษย์ประกอบด้วย lactoferrin ซึ่งเป็นโปรตีนในตระกูล transferrin[29]ซึ่งยึดกับเหล็กและโดยเปรียบเทียบ มี lactoferrin ในนมวัวเพียงแค่ 2%ดังนั้น การที่มารดาให้นมลูกจึงมีการติดเชื้อน้อยกว่า[28]ยังมี lactoferrin ในน้ำตา น้ำลาย และที่แผลเพื่อช่วยเข้ายึดกับเหล็กเพื่อจำกัดการเติบโตของแบคทีเรียด้วย[28]: 29 

เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ระดับความเข้มข้นของเหล็กจะลดลงในภาวะการอักเสบเป็นระบบ เนื่องจากการผลิต hepcidin มากขึ้นโดยหลักปล่อยมาจากตับ เป็นการตอบสนองต่อ cytokine ที่สนับสนุนสภาวะอักเสบ เช่น Interleukin-6แต่การขาดเหล็กโดยหน้าที่ของร่างกายเช่นนี้จะหายไปเองถ้ากำจัดแหล่งก่อความอักเสบแต่ว่า ถ้าไม่แก้ไข นี่อาจจะลามเป็นภาวะโลหิตจางเหตุการอักเสบเรื้อรัง (Anaemia of Chronic Inflammation)การอักเสบอาจจะมาจากการมีไข้[30]Inflammatory Bowel Disease, การติดเชื้อ, หัวใจวายเรื้อรัง (CHF), มะเร็งเยื่อบุ, หรือจากการผ่าตัด

เมื่อพิจารณาการจำกัดไม่ให้เหล็กกับแบคทีเรียเช่นนี้ การทานธาตุเหล็กเสริมก็จะเป็นเหตุให้มีระดับเหล็กสูงขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งอาจเปลี่ยนชนิดแบคทีเรียที่มีอยู่ในท้องเคยกังวลกันว่าการให้เหล็กผ่านเส้นเลือด (parenteral iron) ในระหว่างภาวะเลือดมีแบคทีเรีย แต่ว่า ในการรักษาจริง ๆ นี่กลับไม่เป็นปัญหาการขาดเหล็กระดับพอสมควร สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อแบบฉับพลัน โดยเฉพาะต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในเซลล์ตับ (hepatocyte) และที่อยู่ในเม็ดเลือดขาวแบบ macrophage เช่น มาลาเรียและวัณโรคซึ่งเป็นประโยชน์ในเขตโลกที่มีโรคเหล่านี้แพร่หลายและการรักษาไม่ดี

เชิงอรรถและอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง