การขาดวิตามินบี12

การขาดวิตามินบี12[1]หรือ ภาวะขาดวิตามินบี12[2](อังกฤษ: Vitamin B12 deficiency, hypocobalaminemia)หมายถึงการมีระดับวิตามินบี12 ในเลือดต่ำ[3]ซึ่งอาจมีอาการหลายอย่างรวมทั้งปัญหาทางความคิด ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น ความซึมเศร้า ความหงุดหงิด โรคจิต (psychosis)ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) รีเฟล็กซ์เปลี่ยน กล้ามเนื้อทำงานไม่ดี ลิ้นอักเสบ (glossitis) ได้รสชาติลดลง (hypogeusia) เม็ดเลือดแดงน้อย (เลือดจาง) การทำงานของหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) และความเป็นหมัน[4]ในเด็กเล็ก ๆ อาการอาจรวมการไม่โต พัฒนาการที่ล่าช้า และความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว (movement disorder)[5]ถ้าไม่รักษา ความเปลี่ยนแปลงอาจจะกลายเป็นปัญหาถาวร[6]

การขาดวิตามินบี12
(Vitamin B12 deficiency)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10E53.8
ICD-9266.2
DiseasesDB13905
MedlinePlus000574

เหตุสามัญรวมทั้งการดูดซึมวิตามินได้ไม่ดีจากกระเพาะหรือลำไส้ การทานอาหารที่มีวิตามินไม่พอ และความต้องการที่เพิ่มขึ้นการดูดซึมได้ไม่ดีอาจมีเหตุจากโรคโลหิตจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) การผ่าตัดเอากระเพาะออก ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง พยาธิในลำไส้ ยาบางชนิด และความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ส่วนการทานอาหารที่มีวิตามินไม่พออาจเกิดกับผู้ที่ทานอาหารเจแบบวีแกน หรือได้สารอาหารไม่เพียงพอความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดในคนไข้เอชไอวี/เอดส์ และในบุคคลที่สลายเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว[4]การวินิจฉัยปกติจะอาศัยระดับวิตามินบี12 ในเลือดที่ต่ำกว่า 120-180 picomol/L (หรือ 170-250 pg/mL) ในผู้ใหญ่การมีระดับกรด methylmalonic ที่สูงขึ้น คือ เกิน 0.4 micromol/L อาจจะเป็นตัวบ่งความขาดวิตามินได้ด้วยการมีภาวะโลหิตจางแบบ megaloblastic anemia (ที่เม็ดเลือดใหญ่เกินปกติเพราะแบ่งตัวไม่ได้) เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่จำเป็น[5]

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐแนะนำให้หญิงทานเจที่มีครรภ์ทานวิตามินเสริมเพื่อป้องกันการขาด[5]เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว สามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยให้วิตามินเสริมไม่ทางปากก็ทางการฉีด[7]ไม่ต้องกังวลว่าจะมีวิตามินบี12 เกินในบุคคลที่มีสุขภาพดี[5]คนไข้บางรายอาจจะดีขึ้นเองถ้ารักษาโรคที่เป็นเหตุ[8]ในบางกรณีอาจจะต้องทานวิตามินชั่วชีวิตเพราะโรคที่เป็นเหตุไม่สามารถรักษาได้[9]การขาดวิตามินบี12 เป็นเรื่องสามัญ[4]ประมาณว่า 6% ของคนที่อายุต่ำกว่า 60 และ 20% ของคนที่อายุมากกว่า 60 จะมีปัญหานี้โดยอัตราอาจสูงถึง 80% ในบางเขตของทวีปแอฟริกาและเอเชีย[4]

อาการ

การขาดวิตามินบี12 อาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจางเหตุขาดวิตามินบี12 และความผิดปกติทางประสาท[10]การขาดอย่างอ่อนอาจไม่เป็นเหตุให้มีอาการอะไร แต่ถ้าเพิ่มขึ้น อาการสำคัญของโลหิตจางอาจเริ่มเกิดขึ้น เช่น ความอ่อนเปลี้ย หัวเบา หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว และผิวซีดอาจเป็นเหตุการมีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย ๆ รวมทั้งเลือดออกที่เหงือกผลเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารรวมทั้งลิ้นบวม ท้องไม่ดี การลดน้ำหนัก ท้องเสีย หรือท้องผูกถ้าไม่แก้ปัญหา อาจเกิดความเสียหายต่อเซลล์ประสาทและถ้านี่เกิดขึ้น การขาดวิตามินบี12 อาจเป็นเหตุให้นิ้วมือนิ้วเท้าชา ปัญหาในการเดิน ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความซึมเศร้า การเสียความจำ งุนงงสับสน และในกรณีที่รุนแรงภาวะสมองเสื่อมอาการหลักของการขาดวิตามินบี12 ก็คือ ภาวะโลหิตจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia)ซึ่งจะมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้

  1. ภาวะโลหิตจางโดยมี megaloblastosis คือเม็ดเลือดแดงในไขสันหลังที่ใหญ่ผิดปกติเพราะแบ่งตัวไม่ได้ ที่มีเหตุจากไม่สามารถสังเคราะห์ DNA (โดยเฉพาะ purine และ thymidine)
  2. อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร การเปลี่ยนการขับถ่ายเช่นท้องเสียหรือท้องผูกอย่างอ่อน ๆ และการควบคุมปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้[11] ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการสังเคราะห์ DNA ที่มีปัญหาโดยยับยั้งการถ่ายแบบ (replication) ในบริเวณที่เซลล์ผันเวียนตายเกิดอย่างรวดเร็ว หรืออาจจะเป็นเพราะภูมิต้านตนเองที่เข้าทำลายเซลล์ผนังของกระเพาะอาหาร โดยมีอาการ Gastric antral vascular ectasia (หรือ GAVE syndrome) คือกระเพาะอาหารส่วนสุดท้ายออกลายสีแดงเหมือนลายแตงโม กับ pernicious anemia[12][13]
  3. อาการทางประสาท คือ ความผิดปกติทางประสาทสัมผัสหรือทางการเคลื่อนไหว (เช่น การขาดรีเฟล็กซ์ การไร้ความสัมผัสกับแรงสั่นหรือการแตะเบา ๆ), ไขสันหลังเสื่อมแบบรวมกึ่งเฉียบพลัน (subacute combined degeneration of spinal cord), การชัก[14][15], หรือแม้กระทั่งอาการต่าง ๆ ของภาวะสมองเสื่อม[16] และ/หรืออาการทางจิตเวชอื่น ๆ การมีอาการผิดปกติทางประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว หรือไขสันหลังเสื่อมแบบรวมกึ่งเฉียบพลัน เป็นตัวชี้ที่ชัดเจนว่า ขาดวิตามินบี12 ไม่ใช่ขาดกรดโฟลิก เพราะว่า กรด methylmalonic ที่ไม่ผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมกับวิตามิน จะคงอยู่ในปลอกไมอีลิน ทำให้เส้นประสาทเปราะ ภาวะสมองเสื่อมและความซึมเศร้าก็สัมพันธ์กับการขาดวิตามินนี้ด้วย น่าจะเป็นโดยการผลิตกรดอะมิโน methionine น้อยเกิน เพราะไม่สามารถผลิตโดยเปลี่ยน homocysteine และ methionine ก็เป็น cofactor ที่จำเป็นในการผลิตสารสื่อประสาทหลายอย่าง

อาการแต่ละอย่างอาจเกิดโดด ๆ หรือเกิดร่วมกันโดยอาการรวม ๆ ทางประสาท ที่เรียกว่า myelosis funicularis มีอาการดังต่อไปนี้

  1. ความบกพร่องของประสาทสัมผัสในการแตะเบา ๆ และแรงสั่น การสูญความสัมผัส และความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) ที่น่ารำคาญและคงยืน
  2. ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (Ataxia) เหตุไขสันหลังด้านหลัง (dorsal chord)
  3. การลดหรือการขาดรีเฟล็กซ์ในกล้ามเนื้อ-เส้นเอ็นลึก
  4. รีเฟล็กซ์แบบเป็นโรค เช่น Babinski, Rossolimo, และอื่น ๆ รวมอาการอัมพฤกษ์ที่รุนแรง

การขาดวิตามินบี12 อาจรุนแรงและทำความเสียหายอย่างแก้ไขไม่ได้ โดยเฉพาะต่อสมองและระบบประสาทคือ อาการที่เกิดจากความเสียหายต่อเซลล์ประสาทอาจจะไม่กลับคืนหลังจากแก้ปัญหาทางเลือดแล้ว และโอกาสฟื้นสภาพอย่างสมบูรณ์จะลดลงตามระยะเวลาที่มีอาการทางประสาทเสียงผิดปกติในหู (Tinnitus) อาจจะสัมพันธ์กับการขาดวิตามินบี12 [17]

อาการทางใจ

การขาดวิตามินบี12 สามารถทำให้เกิดความฟุ้งพล่าน (mania) และอาการโรคจิต (psychosis) ความอ่อนเปลี้ย ความจำไม่ดี ความหงุดหงิด ความซึมเศร้า ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (ataxia) และการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ[18][19][20]ในทารก อาการอาจรวมความหงุดหงิด การไม่โต ความเฉื่อยชา ภาวะเบื่ออาหาร และการถอยกลับทางพัฒนาการ (developmental regression)[21][22]

เหตุ

  • การทานอาหารที่มีวิตามินบี12 ไม่พอ วิตามินมีอยู่ในผลิตภัณฑ์สัตว์ รวมทั้ง ไข่ เนื้อ และนม และงานวิจัยเร็ว ๆ นี้พบว่ามันอาจมีในสาหร่ายบางชนิดเช่นในสกุล Chlorella[23][24][25] และในสาหร่ายญี่ปุ่น Porphyra yezoensis[26][27] วิตามินสามารถสกัดจากแบคทีเรีย ซึ่งใช้เสริมอาหารหลายอย่าง และผลิตเป็นอาหารเสริมด้วย[28] คนทานเจแบบวีแกน และคนทานเจทั่วไปแม้จะในระดับที่น้อยกว่า อาจเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี12 ถ้าไม่ทานอาหารเสริม แต่การขาดวิตามินก็เกิดในบุคคลที่ทานเนื้อวัว ไก่ และปลาด้วย[29] เด็กเสี่ยงสูงกว่าต่อการทานอาหารที่มีวิตามินไม่พอ เพราะว่าสะสมวิตามินในร่างกายน้อยกว่าและต้องการในอัตรา (ต่อแคลอรีที่ทาน) ที่สูงกว่าผู้ใหญ่
  • การดูดซึมวิตามินบี12 โดยเฉพาะได้ไม่ดีเพราะขาด intrinsic factor (เรียกอีกอย่างว่า gastric intrinsic factor) ซึ่งอาจมีเหตุจากการสูญเสียเซลล์ผนังกระเพาะอาหาร (gastric parietal cells) เพราะเหตุกระเพาะอาหารฝ่อ (atrophic gastritis) ซึ่งในกรณีนี้ก็จะเรียกว่า pernicious anemia แทนที่เมื่อไม่มีอาการนี้ที่เรียกว่า megaloblastic anemia หรืออาจจะมาจากการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกมากไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุอะไร หรือโรคทางกรรมพันธุ์ที่มีน้อยที่ทำให้สังเคราะห์ intrinsic factor ผิดปกติ
  • การดูดซึมวิตามินบี12 ที่ไม่ดีโดยเป็นความผิดปกติของการดูดซึมหรือการย่อยอาหารไม่ดีทั่วไป ซึ่งอาจเกิดจากความเสียหายต่อหรือจากการผ่าตัดเอาลำไส้เล็กส่วนปลายออก ซึ่งเป็นจุดดูดซึมวิตามินบี12 หลัก
  • รูปแบบของภาวะไร้กรดเกลือ (achlorhydria) (รวมที่เกิดจากยาเช่น ยายับยั้งการหลั่งกรด [PPI] หรือยาแก้แพ้แบบ histamine 2 receptor antagonists) สามารถทำให้ดูดซึมวิตามินบี12 จากอาหารได้ไม่ดี เพราะว่ากรดจำเป็นในการแยกวิตามินออกจากโปรตีนอาหารและ salivary binding protein[30] นี้เชื่อว่าเป็นเหตุสามัญที่สุดที่ทำให้ขาดวิตามินบี12 ในผู้สูงอายุ ผู้บ่อยครั้งมีภาวะไร้กรดเกลือในระดับหนึ่งโดยไม่มี intrinsic factor ต่ำ แต่เหตุนี้ไม่มีผลต่อการดูดซึมวิตามินบี12 เป็นจำนวนน้อยจากอาหารเสริมเช่น วิตามินรวม เนื่องจากวิตามินไม่ได้ยึดอยู่กับโปรตีน เช่นในอาหาร[31]
  • การผ่าตัดเอาลำไส้ไส้เล็กออก (ยกตัวอย่างเช่นในกรณีคนไข้ Crohn's disease) โดยคนไข้จะปรากฏพร้อมกับอาการ short bowel syndrome คือเพราะขาดลำไส้ที่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างปกติ จึงไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี12 ได้ ซึ่งสามารถรักษาได้โดยฉีดวิตามินบี12 เป็นประจำ
  • การใช้ยาลดกรด คือ แรนิทิดีน เป็นระยะยาวอาจมีส่วนทำให้ขาดวิตามินบี12[32]
  • โรคภาวะภูมิต้านทานตัวเองที่ลำไส้เล็กคือ celiac disease ที่ไม่รักษา อาจมีผลเป็นการดูดซึมวิตามินบี12 ที่ไม่ดี เนื่องจากความเสียหายต่อเยื่อเมือกลำไส้เล็ก ในบางกรณี การขาดวิตามินบี12 อาจคงยืนแม้ให้ทานอาหารที่ไร้โปรตีนกลูเตนแล้ว และดังนั้นจำเป็นต้องได้อาหารเสริม[33]
  • การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (Bariatric surgery) โดยเฉพาะตัดส่วนของกระเพาะอาหารออก เช่นใน Roux-en-Y gastric bypass แต่การรักษาโรคอ้วนโดยใช้ยางรัด (adjustable gastric band) ดูไม่มีผลสำคัญต่อเมแทบอลิซึมของวิตามินบี12[ต้องการอ้างอิง]
  • การมีแบคทีเรียมากเกินไป (Bacterial overgrowth) ในส่วนของลำไส้เล็กที่เชื่อว่าสามารถดูดซึมวิตามินบี12 เช่นใน blind loop syndrome[ต้องการอ้างอิง]
  • ยารักษาโรคเบาหวานคือเมตฟอร์มิน อาจขัดขวางการดูดซึมวิตามินบี12[34]
  • เหตุทางกรรมพันธุ์ เช่น การขาดเอนไซม์ Methylenetetrahydrofolate reductase, cystathionine beta synthase (homocystinuria), และโปรตีน transcobalamin ที่เป็นโปรตีนขนส่งวิตามินบี12 อย่างรุนแรง[ต้องการอ้างอิง]
  • งานศึกษาแบบบอกเล่า (anecdotal) งานหนึ่งแสดงว่า โรคติดโปรโตซัว Giardia lamblia (giardiasis) อาจเป็นเหตุของการขาดวิตามินบี12[35] แต่ว่างานที่ใหญ่กว่าไม่แสดงสหสัมพันธ์[36]
  • ทุพโภชนาการเนื่องจากการติดเหล้า (alcoholism)
  • การใช้ไนตรัสออกไซด์เป็นยาเสพติด (หรือยาบันเทิง)[37]

กลไก

ปริมาณวิตามินบี12 ที่สะสมในร่างกายผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 2-5 มก.ประมาณ 50% อยู่ในตับ แต่ว่าจะเสียไปประมาณ 0.1% ทุกวันเนื่องจากการหลั่งออกในลำไส้ และวิตามินในลำไส้ทั้งหมดไม่ได้รับการดูดซึมทั้งหมดแม้ว่า น้ำดีจะเป็นตัวการหลักในการหลั่งวิตามิน แต่วิตามินบี12 ในน้ำดีจะนำไปใช้ใหม่ผ่านกระบวนการ enterohepatic circulation (การดูดซึมโดย Enterocyte ในลำไส้เล็กแล้วส่งไปที่ตับใหม่)เนื่องจากประสิทธิภาพของกระบวนการนี้ ตับสามารถสะสมวิตามินบี12 ที่ใช้ได้นาน 3-5 ปี ภายใต้สภาวะและการทำงานที่ปกติ[38]แต่ว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับวิตามินบี12 อาจเปลี่ยนไปถ้าทานได้น้อย โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง[39]

เมแทบอลิซึมของกรดโฟลิก บทบาทของวิตามินบี12 อยู่ที่ด้านซ้ายล่าง

เมแทบอลิซึม

การขาดวิตามินบี12 เป็นเหตุเปลี่ยนแปลงเมแทบอลิซึมของสารที่สำคัญสองอย่างในมนุษย์

  1. Homocysteine (การเปลี่ยน homocysteine เป็น methionine โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นเอนไซม์ methionine synthase) ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะ hyperhomocysteinemia (homocysteine เกิน) ซึ่งทำให้เกิดหลอดเลือดดำขอด[ต้องการอ้างอิง]
  2. กรด Methylmalonic (การเปลี่ยน methylmalonyl-CoA เป็น succinyl-CoA ที่ methylmalonyl-CoA ทำมาจากกรด methylmalonic ในปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นก่อน)

ในที่สุด methionine (จากปฏิกิริยาแรก) จะเปลี่ยนเป็น S-adenosyl methionine ซึ่งช่วยสนับสนุนการสังเคราะห์ purine และ thymidine (เพื่อสังเคราะห์ดีเอ็นเอ) การผลิตปลอกไมอีลิน การผลิต โปรตีน/สารสื่อประสาท/กรดไขมัน/ฟอสโฟลิพิด และกระบวนการ methylation ของดีเอ็นเอ โดยมี 5-Methyl tetrahydrofolate (สารอนุพันธุ์ของกรดโฟลิก) เป็นตัวให้กลุ่ม methyl กับปฏิกิริยาร่วมกับ homocysteine ซึ่งมีผลเป็น methionine และปฏิกิริยานี้ต้องได้วิตามินบี12 (cobalamin) เป็น cofactor โดยการสร้าง 5-methyl tetrahydrofolate เป็นปฏิกิริยาที่กลับคืนไม่ได้ และถ้าไม่มีวิตามินบี12 การเปลี่ยน homocysteine ไปเป็น methionine ก็จะไม่เกิดขึ้น และการเติม tetrahydrofolate ก็จะหยุดลง[40]

เพราะว่าทั้งวิตามินบี12 และกรดโฟลิกมีบทบาทในเมแทบอลิซึมของ homocysteine ดังนั้น การมี homocysteine มากเกิน (hyperhomocysteinuria) จึงเป็นอาการที่ไม่เฉพาะอย่างหนึ่งของการขาดวิตามินโดยการวัด Methylmalonic acid จะเป็นการตรวจการขาดวิตามินที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า

สัณฐานของโรค

เนื้อประสาทอาจจะอยู่ในรูปแบบคล้ายกับฟองน้ำพร้อมกับการบวมของเส้นประสาทปลอกไมอีลินจะเสื่อมลง พร้อมกับใยประสาทที่เป็นแกนในระยะหลัง เนื้อเยื่อประสาทอาจจะแข็งเป็น fibric sclerosisโดยเกิดขึ้นที่ด้านหลัง (dorsal) ของไขสันหลัง และใน pyramidal tract ที่ lateral cord โดยเป็นส่วนของข่ายประสาทแขนรูปแบบของโรคเช่นนี้ต่อไขสันหลังเรียกว่า ไขสันหลังเสื่อมแบบรวมกึ่งเฉียบพลัน (subacute combined degeneration of spinal cord)[41]

ในสมอง ความเปลี่ยนแปลงจะรุนแรงน้อยกว่า โดยเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทส่วนย่อย ๆ จะเสื่อมลงและมักจะเกิดการสะสมแอสโทรไซต์โดยปกติจะอยู่ใต้เปลือกสมอง และเกิดเป็นการตกเลือดปรากฏเป็นห่วงวงกลมของเซลล์เกลียความเปลี่ยนแปลงที่เป็นโรคอาจจะเห็นได้ที่ Dorsal root of spinal nerve (รากประสาทที่โผล่ออกจากไขสันหลัง) และที่เส้นประสาทรอบนอก (peripheral) แม้จะในระดับที่น้อยกว่า.ความผิดปกติอาจมองเห็นได้ด้วย MRI[42]

ภาพ MRI ของสมอง โดยระนาบแกนแบบ “precontrast FLAIR image” ให้สังเกตรอยโรค (วงกลม) ผ่านโพรงสมอง ซึ่งแสดงภาวะโรคตรงเนื้อขาวของคนไข้ที่ขาดวิตามินบี12

การวินิจฉัย

ระดับวิตามินบี12 บ่อยครั้งจะต่ำเมื่อขาดวิตามินบี12 ถ้ามีอาการอื่น ๆ แต่ระดับในเลือดปกติ ก็ควรจะตรวจสอบยิ่ง ๆ ขึ้นไปคำอธิบายอย่างหนึ่งสำหรับระดับวิตามินบี12 ที่ปกติในเลือดแต่ขาดวิตามิน ก็คือมี antibody interference คือบุคคลมีระดับ antibody ของ intrinsic factor สูง[43]มีนักวิจัยที่เสนอว่าระดับปัจจุบันที่จัดเป็นปกติของวิตามินบี12 ในเลือดต่ำเกินควร[44]งานศึกษาญี่ปุ่นงานหนึ่งแสดงว่า ระดับปกติอยู่ที่ 500-1,300 pg/mL[45]ส่วนอีกงานหนึ่งเสนอระดับปกติว่า >300 pg/mL การขาดระดับปานกลาง (moderate) ที่ 201-300 pg/mL และการขาดรุนแรงที่ <201 pg/mL[46]

ผลการตรวจเลือดสามารถอยู่ในหน่วย pg/mL (picograms/milliliter) หรือ pmol/L (picomoles/liter)แม้ว่า พิสัยอ้างอิงจากแล็บจะใกล้ ๆ กัน เพราะว่ามวลโมเลกุลของวิตามินบี12 อยู่ที่ประมาณ 1,000 เพราะฉะนั้น 550 pg/mL = 400 pmol/L

ระดับ homocysteine และกรด methylmalonic ในเลือดพิจารณาว่า เป็นตัวบ่งชี้การขาดวิตามินบี12 ที่น่าเชื่อถือกว่าระดับวิตามินในเลือด[47]ระดับของสารสองตัวนี้จะสูงในคนไข้ที่ขาดวิตามินบี12 ซึ่งสามารถเป็นตัวช่วยถ้าวินิจฉัยได้ไม่ชัดเจนการสอดส่องระดับกรด methylmalonic ในปัสสาวะเป็นประจำ อาจใช้ในบุคคลที่ปกติอาจไม่ได้วิตามินบี12 เพียงพอ เพราะว่า ระดับกรดที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นตัวบ่งชี้ก่อนว่าเริ่มขาดวิตามิน[48]

ถ้าสงสัยว่าระบบประสาทเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบวิตามินในน้ำหล่อสมองไขสันหลังได้ แม้ว่าการตรวจที่ทำให้เจ็บเช่นนี้ควรจะทำเมื่อผลเลือดสรุปไม่ได้เท่านั้น[49]

ส่วน Schilling test ส่วนใหญ่ทดแทนโดยการตรวจ antiparietal cell และ intrinsic factor antibodies แล้ว

ผลจากกรดโฟลิก

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) พบว่า"กรดโฟลิกจำนวนมากสามารถซ่อนผลเสียหายของการขาดวิตามินบี12 โดยแก้ภาวะโลหิตจางแบบ megaloblastic ที่เกิดจากการขาดวิตามินโดยไม่ได้แก้ความเสียหายทางประสาทที่เกิดขึ้นด้วย"และยังมีหลักฐานบ้างด้วยว่า"ระดับกรดโฟลิกในเลือดสูงอาจไม่เพียงซ่อนการขาดวิตามินบี12 แต่อาจทำภาวะโลหิตจางให้แย่ลง และทำอาการทางความรู้คิดที่สัมพันธ์กับการขาดวิตามินให้แย่ลง"[5]แต่เนื่องจากว่า กฎหมายสหรัฐอเมริกาบังคับแป้งแบบเสริม (enriched) ให้มีกรดโฟลิกเพื่อลดกรณีของ neural-tube defects ในทารกในครรภ์ ผู้บริโภคอาจจะทานกรดโฟลิกมากกว่าที่ตนเข้าใจ[50]เพื่อแก้ปัญหาการซ่อนผลของการขาดวิตามินบี12 NIH แนะนำ"การทานกรดโฟลิกจากอาหารที่มีการเสริมและจากอาหารเสริมไม่ควรเกิน 1,000 μg ต่อวันในผู้ใหญที่สุขภาพดี"[5]และสำคัญที่สุดก็คือ การขาดวิตามินบี12 ต้องรักษาด้วยการให้วิตามินบี12การจำกัดระดับกรดโฟลิกจะไม่แก้ความเสียหายทางประสาทที่คืนสภาพไม่ได้ที่เกิดจากการขาดวิตามินที่ไม่ได้รักษา[ต้องการอ้างอิง]

การรักษา

ยาฉีดในรูปแบบ hydroxocobalamin มีสีแดงใส

วิตามินบี12 สามารถเสริมได้โดยรับประทานหรือฉีด และดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพพอ ๆ กันสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการดูดซึม[7]เพราะว่าเมื่อทานในระดับมาก การดูดซึมไม่ต้องอาศัย intrinsic factor หรือลำไส้เล็กส่วนปลายที่ไม่มีปัญหาโดยทั่วไปแล้ว 1-2 mg ต่อวันถือว่ามาก[51]แม้ pernicious anemia เองก็สามารถรักษาได้โดยทานยาอย่างเดียว[52][53][54]เพราะว่า วิตามินเสริมพวกนี้มีขนาดเข้มข้นจนกระทั่งว่า ประมาณ 1% - 5% ของผลึกวิตามินที่ทานเข้าไป ที่เป็นอิสระไม่ยึดอยู่กับโปรตีน จะดูดซึมเข้าตามลำไส้ทั้งลำไส้โดยกระบวนการแพร่แบบไม่ต้องทำอะไร (passive diffusion)

วิทยาการระบาด

งานศึกษาปี 2543 แสดงว่า การขาดวิตามินบี12 เป็นเรื่องสามัญกว่าที่เคยคาดไว้งานศึกษาพบว่า 39% ของกลุ่มชนที่ศึกษา 3,000 คนมีระดับต่ำ[29]โดยงานศึกษาที่มหาวิทยาลัยทัฟส์นี้กำหนดระดับที่ต่ำว่าอยู่ที่ 258 pmol/l (= 350 pg/mL)และงานวิจัยปี 2554[55]ยังพบว่า การขาดวิตามินบี12 ก็ยังเป็นไปได้แม้ระดับในเลือดจะอยู่ที่ 500-600 pg/mL ซึ่งสูงกว่ามากดังนั้น จึงมีเหตุผลให้เชื่อว่า มีคนขาดวิตามินบี12 มากกว่า 39% ตามที่รายงานโดยงานศึกษาที่มหาวิทยาลัยทัฟส์

ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา การขาดวิตามินนี้แพร่หลายมาก โดยขาดในระดับสำคัญทั้งในเขตแอฟริกา อินเดีย อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ซึ่งมีทฤษฎีว่าเกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์น้อย โดยเฉพาะในหมู่คนยากจน[56]

การขาดวิตามินบี12 เป็นเรื่องสามัญกว่าในผู้สูงอายุ[56]เพราะว่า การดูดซึมวิตามินลดลงอย่างสำคัญเมื่อเกิดภาวะกระเพาะอาหารฝ่อ(atrophic gastritis) ซึ่งสามัญในคนสูงอายุนอกจากนั้น งานที่มหาวิทยาลัยทัฟส์ปี 2543 ยังไม่พบสหสัมพันธ์ระหว่างการทานเนื้อสัตว์กับความแตกต่างของระดับวิตามินบี12 ในเลือดอีกด้วย[29]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง