ความซึมเศร้า (อารมณ์)

ความซึมเศร้า หรือ อารมณ์ซึมเศร้า (อังกฤษ: Depression) เป็นสภาวะอารมณ์หดหู่และไม่ชอบทำอะไร ๆ ที่อาจมีผลต่อความคิด พฤติกรรม ความรู้สึก และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล[1][2]

ความซึมเศร้า
ใบหน้าของคนมีอารมณ์ซึมเศร้า
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F32.8
DiseasesDB3589
MeSHD003863

คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ[3]อับอาย หรือกระวนกระวายอาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตายการนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย[4]

อารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะอาการทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (major depressive disorder)[2]แต่ก็อาจะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ถ้ายังคงเป็นในระยะยาว และอาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกาย หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์บางอย่าง

Melencolia I (ราว พ.ศ. 2057), โดยจิตรกรชาวเยอรมัน อัลเบรชท์ ดือเรอร์

เหตุ

เหตุการณ์ในชีวิต

เหตุการณ์ร้ายในวัยเด็ก เช่น การสูญเสียคนรัก การถูกทอดทิ้ง การถูกทารุณกรรมทางกายหรือทางใจ ทารุณกรรมทางเพศ หรือการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันของพ่อแม่ระหว่างพี่น้อง อาจมีผลเป็นอารมณ์ซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่[5][6]ทารุณกรรมทางกายและทารุณกรรมทางเพศเป็นพิเศษ ถ้าไม่จัดการ จะเพิ่มโอกาสประสบความซึมเศร้าในช่วงชีวิต[7]

เหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่อาจจุดชนวนอารมณ์ซึมเศร้ารวมทั้ง การคลอดบุตร การถึงวัยทอง ปัญหาการเงิน ปัญหาการงาน โรค (เช่นมะเร็ง เอชไอวี) การถูกรังแก การสูญเสียคนรัก ภัยธรรมชาติ การถูกกีดกันในสังคม การถูกข่มขืน ปัญหาความสัมพันธ์ ความอิจฉาริษยา การแยกจากคู่ และความบาดเจ็บสาหัสต่อกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือสมอง[8][9][10]วัยรุ่นมีโอกาสสูงเป็นพิเศษที่จะรู้สึกซึมเศร้าหลังจากถูกเพื่อนไม่ยอมรับ ถูกเพื่อนกดดัน หรือถูกรังแก[11]

การรักษาทางการแพทย์

มียาบางอย่างที่รู้ว่าเป็นเหตุของอารมณ์ซึมเศร้าในคนไข้เป็นจำนวนสำคัญรวมทั้งยาสำหรับไวรัสตับอักเสบชนิดซี (เช่น อินเตอร์เฟียรอน) ยาแก้วิตกกังวล และยานอนหลับ (เช่นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน เช่น alprazolam, คโลนะเซแพม, lorazepam และ diazepam) ยากันความดันสูง (เช่น เบต้า บล็อกเกอร์, methyldopa, และ reserpine) และการรักษาด้วยฮอร์โมน (เช่น corticosteroid และยาคุมกำเนิด)[12][13][14][15]เป็นเรื่องสำคัญที่จะพิจารณาปัจจัยเหล่านี้เมื่อรักษาโรคซึมเศร้า

สารทำให้เกิด

ยาที่ใช้เสพติดหลายจำพวกสามารถเป็นเหตุหรือทำความซึมเศร้าให้แย่ลง ไม่ว่าจะเป็นตอนเมายา ตอนขาดยา และจากการเสพเป็นระยะเวลานาน ๆรวมทั้งสุรา ยาระงับประสาท (รวมทั้งยาที่แพทย์สั่งกลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน) ยากลุ่มโอปิออยด์ (รวมทั้งยาระงับปวดที่แพทย์สั่ง และยาที่ผิดกฎหมายเช่น เฮโรอีน) สารกระตุ้น (เช่น โคเคน และแอมเฟตามีน) สารหลอนประสาท และยาดมยาสูด[12]แม้ว่าคนเป็นจำนวนมากจะใช้สารพวกนี้เพื่อแก้ความซึมเศร้าเอง อาการที่ดีขึ้นมักเป็นเพียงแค่ระยะสั้น ๆ (โดยจะมีอาการซึมเศร้าที่หนักขึ้นในระยะยาว บางครั้งทันทีที่ยาหมดฤทธิ์) และมักจะรู้สึกเกินจริง (เช่น "คนจำนวนมากรายงานความครึ้มใจเมื่อเมา แม้ว่าตอนที่เมาจริง ๆ จะร้องไห้และกระวนกระวาย")[15]

ความเจ็บป่วยที่ไม่เกี่ยวกับจิตเวช

อารมณ์ซึมเศร้าอาจเป็นผลของโรคติดต่อหลายอย่าง การขาดสารอาหาร อาการทางประสาท[16]และอาการทางแพทย์อื่น ๆ รวมทั้ง Androgen deficiency (การทำงานขาดของระบบฮอร์โมนแอนโดรเจน) ในชาย, Addison's disease, กลุ่มอาการคุชชิง, โรคไทรอยด์, โรคไลม์, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, โรคพาร์คินสัน, ความเจ็บปวดเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง[17]เบาหวาน[18]และมะเร็ง[19]

อาการทางจิตเวช

อาการทางจิตเวชจำนวนหนึ่งมีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นหลักอย่างหนึ่งโดยมีความผิดปกติทางอารมณ์เป็นกลุ่มโรคที่มีปัญหาในด้านอารมณ์เป็นหลักซึ่งรวมทั้งโรคซึมเศร้า (MDD) ที่บุคคลมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อยเป็น 2 อาทิตย์และสูญเสียความยินดีในกิจกรรมเกือบทั้งหมดและโรค dysthymia ซึ่งเป็นอารมณ์ซึมเศร้าเรื้อรัง ที่ไม่ถึงเกณฑ์วินิยฉัยของโรคซึมเศร้าความผิดปกติทางอารมณ์อีกอย่างหนึ่งคือโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) ที่มีระยะ/คราวอารมณ์ครึกครื้น มีระดับการรู้คิดและพลังสูง แต่ก็อาจสลับกับคราวซึมเศร้า[20]และถ้าโรคดำเนินไปตามฤดู โรคอาจจะเรียกว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดู (seasonal affective disorder)

นอกจากกลุ่มความผิดปกติทางอารมณ์แล้วความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline personality disorder) บ่อยครั้งมีอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงส่วนความผิดปกติในการปรับตัวที่มีอารมณ์ซึมเศร้า (adjustment disorder with depressed mood) เป็นปัญหาทางอารมณ์ที่ปรากฏเป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือตัวสร้างความเครียดที่ระบุได้ซึ่งอาการทางอารมณ์และพฤติกรรมที่เป็นผลอยู่ในระดับสำคัญแต่ไม่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยของโรคซึมเศร้า[21]และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) ซึ่งเป็นความผิดปกติแบบวิตกกังวลอย่างหนึ่งที่บางครั้งติดตามความบาดเจ็บทางใจ และเกิดร่วมกับอารมณ์ซึมเศร้าอย่างสามัญ[22]นอกจากนั้นแล้ว ความซึมเศร้าบางครั้งยังสัมพันธ์กับความผิดปกติเพราะการใช้สาร (substance use disorder)โดยยาทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายล้วนแต่สามารถเป็นเหตุของโรค[23]

รอยด่างทางมรดก

นักวิจัยได้เริ่มพิจารณากระบวนการที่รอยด่างทางประวัติศาสตร์ในเรื่องการเดียดฉันท์โดยผิวพรรณ หรือการล่าอาณานิคม อาจสร้างเหตุปัจจัยให้เกิดความซึมเศร้า[24][25]

ปัญหาทางเชื้อชาติ

มีความแตกต่างกันระหว่างเชื้อชาติเมื่อเผชิญหน้ากับความซึมเศร้าในสหรัฐอเมริกา ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่ผิวดำมีโอกาสรายงานความทุกข์ที่สร้างปัญหา 20% มากกว่าผู้ใหญ่ผิวขาว[26]นอกจากนั้นแล้ว ชายอเมริกันเชื้อสายแอฟริกายังมีปัญหาโรคเรื้อรังเช่นเบาหวานและมะเร็งในอัตราที่สูงกว่าชายผิวขาว และโรคหรือความผิดปกติเหล่านั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อความซึมเศร้า[27]

แต่ว่าโดยปี 2559 บุคลากรที่เชี่ยวชาญในเรื่องจิตใจในบรรดาคนผิวดำก็ยังขาดแคลนโดยมีคนขาวเป็นหลักที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหรือจิตเวช เพราะว่า มีมืออาชีพสุขภาพจิตที่ได้ใบอนุญาตเพียงแค่ 2% ที่มีเชื้อสายแอฟริกา และ 3/4 ในจำนวนนั้นก็ยังเป็นผู้หญิงอีกด้วยชายอเมริกันเชื้อสายแอฟริกามักจะไม่สบายใจแสดงความรู้สึกของตนกับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่เหมือน ๆ กัน และการขาดแคลนบุคลากรที่เป็นผู้บำบัดเพศชายหมายถึงความขาดแคลนบุคคลตัวอย่าง ที่นักศึกษาในอนาคตผู้ต้องการทำงานอุทิศให้กับสังคมจะสามารถเลียนแบบตาม[28]

งานศึกษาทางจิตเวชแสดงว่า มีคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกามองความซึมเศร้าว่าเป็นความอ่อนแอ ไม่ใช่เป็นปัญหาทางสุขภาพ[29]

การประเมิน

ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตสามารถใช้แบบวัดความซึมเศร้าเช่น Beck Depression Inventory หรือ Children's Depression Inventory เพื่อช่วยตรวจจับ ความรุนแรงของความซึมเศร้า[30]ยกตัวอย่างเช่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขแนะแนวให้ผู้รักษาพยาบาลขั้นปฐมภูมิใช้แบบคำถาม 9 คำถามเป็นขั้นตอนในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า[31]

การรักษา

อารมณ์ซึมเศร้าอาจไม่ต้องรักษาโดยมืออาชีพ เพราะอาจเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เป็นอาการของโรคอื่น ๆ หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์แต่ว่าอารมณ์ซึมเศร้าที่คงยืน โดยเฉพาะเมื่อมีกับอาการอื่น ๆ อาจจะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยทางจิตเวชหรือทางแพทย์แบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถได้ประโยชน์จากการรักษา[32]โดยการรักษาโรคต่าง ๆ ในกลุ่มโรคซึมเศร้าจะแตกต่างกัน[33]

ในสหรัฐอเมริกา ประเมินว่า 2/3 ของผู้ที่มีโรคจะไม่หาวิธีรักษา[34]องค์การอนามัยโลก (WHO) พยากรณ์ในปี 2551 ว่า โดยปี 2573 ความซึมเศร้าจะเป็นโรคที่ทำให้เกิดการพิการในระดับสูงสุดของโลกในบรรดาความผิดปกติทางกายและทางใจ[35]

แนวทางการรักษาปี 2552 ขององค์การสาธารณสุขแห่งสหราชอาณาจักร (NICE) ชี้ว่า ยาแก้ซึมเศร้าไม่ควรใช้เป็นปกติเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าขั้นอ่อน เพราะว่ามีอัตราความเสี่ยง-ประโยชน์ที่ไม่ดี[36]การรักษาโรคจัดการได้ดีที่สุดโดยการเปลี่ยนรูปแบบชีวิต รวมทั้ง การทานอาหาร การหลับนอน และการออกกำลังกายงานวิเคราะห์อภิมานปี 2559 แสดงว่า ยาแก้ซึมเศร้าโดยมากนอกจากฟลูอ๊อกซิติน ดูจะไม่มีประโยชน์ที่ชัดเจนเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นแบบฉับพลัน[37]

ความแตกต่างระหว่างเพศ

หญิงมีอัตราเป็นโรคซึมเศร้าที่สูงกว่าชายหญิงมีอาการทางกายในระดับที่สูงกว่า เช่น ความเปลี่ยนแปลงในความอยากอาหาร การนอน และความอ่อนเปลี้ย ที่มีพร้อมกับความเจ็บปวดและความวิตกกังวล แต่ว่า ความแตกต่างระหว่างเพศในด้านอื่น ๆ อยู่ที่ระดับน้อยกว่ามาก[38]

ส่วนชายฆ่าตัวตายในระดับที่สูงกว่าในประเทศสวีเดน มีหลักฐานแล้วว่า ชายฆ่าตัวตายในอัตราที่สูงกว่าหญิงเป็น 3 เท่า และในสหรัฐอเมริกา องค์กรของรัฐบาลกลาง (CDC และ NCIPC) รายงานว่าชายฆ่าตัวตายในอัตราสูงเป็น 4 เท่าของหญิง โดยอายุที่น้อย สถานะโสด และการศึกษาต่ำ เป็นปัจจัยเสี่ยงสูงในชาย ส่วนอาการป่วยทางจิตและภาวะว่างงานเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงในหญิง[39]ซึ่งความต่างก็คือ ชายเลือกวิธีฆ่าตัวตายที่สำเร็จผลในอัตราสูงกว่าหญิง[40][41]งานวิจัยนี้อาจแสดงว่า หญิงมีโอกาสคุยกับคนอื่นเรื่องความซึมเศร้าของตนมากกว่าเทียบกับชายที่มีโอกาสพยายามซ่อนเรื่องสูงกว่าวัฒนธรรมที่ให้หญิงแสดงออกได้มากกว่าชาย อาจจะเป็นปัจจัยต่อปรากฏการณ์นี้[42]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง