การค้าประเวณีในประเทศไทย

การค้าประเวณีเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย[1] แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีการค้าประเวณีอยู่และถูกควบคุมในบางส่วน[2] การค้าประเวณีพบได้ทั่วประเทศ[3][4] เจ้าพนักงานในท้องถิ่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องมักจะปกป้องการค้าประเวณี จำนวนของผู้ค้าบริการทางเพศประมาณให้แน่นอนได้ยาก แต่ละสำนักมีตัวเลขและนิยามที่ต่างกันไป และเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในระดับชาติและนานาชาติ[5] ตั้งแต่สงครามเวียดนามเป็นต้นมา ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศจุดหมายปลายทางสำหรับเซ็กซ์ทัวร์ [6] คนที่มาทำงานนี้ส่วนใหญ่มีเหตุผลมาจากความยากจน, การศึกษาระดับต่ำ, ขาดการจ้างงานในท้องถิ่น, มีภูมิหลังจากชนบท และส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จากชนกลุ่มน้อย หรือจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศพม่าและประเทศลาว[7][8][9][10][11][12][13][14][15][16] โครงการร่วมเอดส์แห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 2019 รายงานว่ามีจำนวนผู้ค้าบริการทางเพศในประเทศไทยประมาณ 43,000 คน[17]

ถนนคนเดินพัทยา ย่านค้าประเวณีในพัทยา
สถานะทางกฎหมายการค้าประเวณีในเอเชีย
  ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการควบคุม
  ถูกกฎหมายแต่ไม่ได้มีการควบคุม มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ซ่องโสเภณี และการค้าของเถื่อน
  การซื้อบริการทางเพศและการมีส่วนร่วมของบุคคลที่สาม การขายบริการทางเพศถูกกฎหมาย
  ผิดกฎหมาย
  แตกต่างกันไปตามกฎหมายท้องถิ่น

ขนาดของการค้าประเวณี

เรื่องจำนวนของผู้ค้าบริการทางเพศในไทยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ การศึกษาของนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2547 ระบุว่ามีผู้ทำงานเกี่ยวกับบริการทางเพศ 2.8 ล้านคน เป็นผู้หญิง 2 ล้านคน เป็นผู้ชาย 2 หมื่นคน และเป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 8 แสนคน อย่างไรก็ดีมีผู้ท้วงติงว่าตัวเลขนี้น่าจะสูงเกินกว่าความเป็นจริงมาก[18] การศึกษาใน พ.ศ. 2546 ประมาณมูลค่าทางเศรษฐกิจไว้ที่ 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือราว 3% ของระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม[19] และประมาณการณ์ว่าอาจมีผู้ค้าบริการทางเพศมากถึง 10,000 คนบนเกาะสมุย และไม่น้อยกว่า 10% ของมูลค่าเงินที่นักท่องเที่ยวนำเข้ามาถูกใช้ในกิจกรรมทางเพศ[20] ส่วนรายงานขององค์การอนามัยโลกใน พ.ศ. 2544 ระบุว่าการประมาณการณ์ที่น่าเชื่อถือที่สุดระบุว่ามีผู้ค้าบริการทางเพศระหว่าง 150,000 ถึง 200,000 คน[21] การสำรวจโดยภาครัฐบาลพบว่ามีการค้าบริการทางเพศที่เป็นผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 76,000 ถึง 77,000 คน ในสถานบันเทิงที่จดทะเบียน ในขณะที่กลุ่ม NGO เชื่อว่ามีผู้ค้าบริการทางเพศระหว่าง 200,000 ถึง 300,000 คน[5]

รูปแบบการค้าประเวณีในประเทศไทย

รูปแบบของการค้าประเวณีในประเทศไทยในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ ที่อาจพบได้ง่ายเช่น

  • อาบอบนวด เป็นสถานบริการทางเพศโดยตรง[22] โดยผู้ขายบริการจะนั่งรอภายในสถานบริการและรอลูกค้าเข้ามาเลือก โดยในสถานบริการจะมีบริการจัดห้องไว้รับรอง สถานบริการอาบอบนวดมีกระจายในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นบางจังหวัด ในกรุงเทพมีมากบริเวณถนนพระราม 9 ถนนเพชรบุรี ถนนรัชดาภิเษก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถพบโฆษณาของอาบอบนวดบางแห่งได้ในอินเทอร์เน็ต หรือในหนังสือพิมพ์กีฬาบางฉบับอีกด้วย
  • ซ่อง คล้ายคลึงกับอาบอบนวด แต่มักไม่เปิดตัวโจ่งแจ้ง และเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย ซ่องบางแห่งอาจลักลอบเปิดโดยใช้ธุรกิจนวดแผนโบราณหรือสปาขึ้นบังหน้าเท่านั้นและมีการบริการนวดกระปู๋
  • สถานบันเทิง คาเฟ่ ร้านคาราโอเกะ สปา หรือร้านตัดผม บางแห่ง มีบริการทางเพศแอบแฝงเพิ่มเติมสำหรับลูกค้า
  • รอลูกค้าที่โรงแรมม่านรูด หรือบริเวณริมถนนบางแห่ง ที่เป็นแหล่งค้าประเวณี
  • การโทรเรียก โดยลูกค้าติดต่อทางนายหน้า (หรือแมงดา หรือมาม่าซัง) เพื่อเรียกมาใช้บริการทางที่พักของลูกค้า หรือทางโรงแรมที่เตรียมไว้ ราคาการให้บริการจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่และชนิด โดยปกติ ผู้ชายที่ให้บริการ จะได้รายได้น้อยกว่าผู้หญิงที่ให้บริการ บางครั้งนายหน้าอาจใช้คำเรียกอาชีพอื่นเพื่อปิดบังการค้าประเวณี เช่น จัดหาพริตตี้ จัดหานางแบบ เป็นต้น
  • การซื้อขายบริการทางเพศผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจซื้อขายผ่านทางการแชต (เมสเซนเจอร์) แคมฟรอก หรือเฟซบุ๊ก เป็นต้น หรือเว็บไซต์ใต้ดินบางแห่งอาจมีโฆษณาการขายบริการทางเพศ
  • การซื้อขายบริการทางเพศแบบซื้อเหมาในระยะยาว เช่นหนึ่งสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือนขึ้นไป โดยในช่วงระยะเวลาที่ตกลงกันนั้น ผู้ซื้อจะผูกขาดการเป็นลูกค้าแต่เพียงผู้เดียว ไม่ยินยอมให้ผู้ขายไปขายบริการหรือไปมีกิจกรรมทางเพศกับบุคคลอื่นอีก ซึ่งอาจถือว่าเป็นการเหมาซื้อทั้งบริการทางเพศและความสัมพันธ์ชั่วคราวในรูปแบบอื่น เช่นแฟนหรือคนรักด้วย บางครั้งเรียกการซื้อแบบนี้ว่า "ผูกปิ่นโต"
  • การล่อลวงเหยื่อให้มาค้าประเวณี ผู้ล่อลวงอาจแอบอ้างตัวว่าเป็นธุรกิจอื่น เช่น โมเดลลิ่ง แมวมองดารา เป็นต้น

บางครั้งผู้ค้าประเวณีหญิงที่มีรูปร่างหน้าตาดีอาจแอบอ้างตัวว่าประกอบอาชีพอื่นบางอาชีพ เพื่อเพิ่มค่าตัว เช่น เป็นนิสิตนักศึกษา หรือพริตตี้ หรือนางแบบ เป็นต้น

ในการซื้อขายบริการทางเพศ ผู้ขายหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอาจใช้คำอื่น หรือชื่ออาชีพอื่นแทน เพื่อเลี่ยงการกล่าวถึงโดยตรง เช่น "ไซด์ไลน์" "ขายน้ำ" "เด็กออฟ" "หมอนวด" "นวดโดยนางแบบ" "นวดโดยพริตตี้" เป็นต้น

ในบางกรณีอาจพบว่ามีชาวต่างชาติ หรือคนต่างด้าว ทั้งที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน[23][24] เช่น พม่า[25] ลาว[26][27] กัมพูชา[28] [29][30] เป็นต้น และจากประเทศอื่น เช่น รัสเซีย[31] อุซเบกิสถาน[32][33] เป็นต้น เข้ามาค้าประเวณีในประเทศไทย โดยมีทั้งที่เต็มใจกระทำ และที่ถูกแก๊งค้ามนุษย์ข้ามชาติล่อลวงหรือบังคับมา

สถานะทางกฎหมายและประวัติศาสตร์

การค้าประเวณีไม่ใช่สิ่งใหม่ในสังคมไทย มีเอกสารทางประวัติศาสตร์ย้อนไปได้กว่าหกร้อยปี เช่น เอกสารของชาวจีน Ma Huan (1433) และชาวยุโรป(Van Neck, 1604; Gisbert Heeck, 1655 และอื่นๆ) อย่างไรก็ดีในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น ที่มีชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกันจำนวนมากเข้ามาอาศัยในประเทศไทยอาจทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น

ในสมัยโบราณกฎศาสนาห้ามการค้าประเวณี ในขณะที่ต่อมาได้มีกฎหมายสมัยใหม่ในการห้ามและป้องปรามการค้าประเวณีมาเป็นลำดับ

ผลกระทบต่อสังคม

ค่ำคืนในซอยคาวบอย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ทราบทั่วไปว่ามีการลักลอบค้าประเวณี เช่นเดียวกับในย่านนานาพลาซ่าและพัฒน์พงษ์

โดยเหตุที่การค้าประเวณีนำมาซึ่งความเสื่อมเสียทางศีลธรรมและปัญหาสังคมต่าง ๆ นานาดังกล่าว รัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัยได้พยายามแก้ปัญหานี้อยู่เสมอ แต่สภาพการณ์ก็ยังทรง ๆ ทรุด ๆ เรื่อยมา

นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีของไทยเพิ่งจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ทรงตราพระราชบัญญัติฉบับหนึ่ง ชื่อ "พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127" เหตุผลในการประกาศใช้มีว่า

"...ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่า ทุกวันนี้หญิงบางจำพวกประพฤติตนอย่างที่เรียกว่าหญิงนครโสเภณี มีหัวหน้ารวบรวมกันตั้งโรงหาเงินขึ้นหลายตำบล แต่ก่อนมาการตั้งโรงหญิงนครโสเภณี นายโรงช่วยไถ่หญิงมาเป็นทาสรับตั๋วจากเจ้าภาษีแล้วตั้งเป็นโรงขึ้น ครั้นต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกทาสเสียแล้ว หญิงบางจำพวกที่สมัครเข้าเป็นหญิงนครโสเภณีก็รับตั๋วจากเจ้าภาษีแล้วมีหัวหน้ารวบรวมกันตั้งขึ้นในท้องที่โรงอันควรบ้างมิควรบ้าง กระทำให้มีเหตุเกิดการวิวาทขึ้นเนือง ๆ อีกประการหนึ่ง หญิงบางคนป่วยเป็นโรคซึ่งอาจจะติดต่อเนื่องไปถึงผู้ชายที่คบหาสมาคมได้ ก็มิได้มีแพทย์ตรวจตรารักษาโรคร้ายนั้น อาจจะติดเนื่องกันไปจนถึงเป็นอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก และยังหาได้มีกฎหมายและข้อบังคับอย่างใดสำหรับจะป้องกันทุกข์โทษภัยแห่งประชาราษฎรทั้งหลายเหล่านี้ไม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัตืขึ้นไว้สืบไปดังนี้..."

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127 มีว่า 1) หญิงนครโสเภณีให้เป็นได้แต่โดยใจสมัคร ใครจะบังคับผู้อื่นหรือล่อลวงมาให้เป็นหญิงนครโสเภณีมิได้เลย มีโทษตามพระราชกำหนดลักษณะข่มขืนล่วงประเวณี รัตนโกสินทรศก 118 ซึ่งโทษนี้ปัจจุบันมีบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา[ลิงก์เสีย]แทนแล้ว 2) หญิงนครโสเภณีทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อนจึงจะเป็นได้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตราคาสิบสองบาท มีอายุสามเดือนต่อใบ ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนับว่าสูงมากในสมัยนั้น แสดงเจตนารมณ์ในการป้องปรามการเป็นโสเภณีอยู่ในตัว 3) ผู้ตั้งโรงหญิงนครโสเภณีต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน และนายโรงก็เป็นได้แต่ผู้หญิง เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลกันเอง 4) หญิงนครโสเภณีต้องไม่สร้างความรำคาญวุ่นวายแก่บุคคลภายนอก เช่น ฉุดลาก ยื้อแย้ง ล้อเลียน เป็นต้น 5) เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในโรงหญิงนครโสเภณีทุกเมื่อ เพื่อนำตัวสมาชิกคนใดของโรงมาตรวจ ถ้าพบโรคก็ให้ส่งไปรักษาจนกว่าจะหาย แลอาจเพิกถอนหรือสักพักใช้ใบอนุญาตในคราวนั้นด้วยก็ได้

ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดมีแนวคิดที่จะปรับสภาพหญิงนครโสเภณีให้กลับเป็นคนดีของสังคม องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการเลิกค้าประเวณีทั่วโลก โดยใน พ.ศ. 2492 ได้มีการประชุมร่างอนุสัญญาเพื่อการนี้ขึ้น ชื่อ "อนุสัญญาฉบับรวม" (อังกฤษ: Consolidated Convention) มีเนื้อหาสาระเป็นการขจัดการค้าสตรีและการแสวงหาประโยชน์จากหญิงนครโสเภณี เพื่อเลิกการทำให้การค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมาย[34] ตลอดจนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่หญิงนครโสเภณีเพื่อกลับเป็นคนดีของสังคมต่อไปด้วย ซึ่งเมื่อประกาศใช้แล้ว ไทยเองก็ได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญานี้

ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามจัดตั้งสำนักโสเภณีเพิ่มขึ้นอีก และใน พ.ศ. 2498 ก็ได้มีการห้ามจดทะเบียนโสเภณีเป็นเด็ดขาด ซึ่งรัฐเองก็มีนโยบายจัดการสงเคราะห์หญิงนครโสเภณีขึ้นด้วย ดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทย ครั้งนั้น รัฐบาลดำริจะจัดตั้งนิคมโสเภณีขึ้นเพื่อการดังกล่าว แต่ขัดข้องด้านงบประมาณ โครงการจึงระงับไว้จน พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ร่าง "พระราชบัญญัติห้ามการค้าประเวณี" ขึ้น แต่ไม่สามารถนำเข้าสู่รัฐสภาได้ ใน พ.ศ. 2503 รัฐบาลจึงเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่แทน คือ ร่างพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาและประกาศใช้ตามลำดับ ปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539[ลิงก์เสีย] แทนที่แล้ว

นอกจากกฎหมายหลักข้างต้น ประมวลกฎหมายอาญายังให้ความคุ้มครองแก่หญิงและเอาโทษชายแมงดาซึ่งเป็นกาฝากเกาะกินอยู่กับหญิงนครโสเภณี เช่น กำหนดโทษการเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งเด็กหญิง เพื่อการอนาจารหรือเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น และกำหนดโทษเอาผิดแก่ชายแมงดาที่ดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงนครโสเภณีด้วย เป็นต้น

โทษที่กฎหมายวางไว้สำหรับความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีนี้อยู่ในระดับสูงมาก เพื่อผดุงคุณธรรมของชาติ และให้ความคุ้มครองแก่กุลบุตรกุลธิดามิให้ตกไปในอบายมุข อย่างไรก็ดี การที่หญิงต้องกลายเป็นโสเภณีนั้นมิได้เกิดจากการล่อลวงหรือชักพาแต่อย่างเดียว แต่มีสาเหตุหลายประการดังกล่าวไว้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและแก้ไขกันไปตราบชั่วชีวิตของสังคม

ความพยายามในการทำให้ถูกกฎหมาย

ใน พ.ศ. 2546 กระทรวงยุติธรรมเคยพิจารณาข้อเสนอในการทำให้การค้าประเวณีเป็นอาชีพถูกกฎหมายเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพและภาษี โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะขึ้น ข้อการทำให้ถูกกฎหมายคาดว่าจะเพิ่มรายได้ภาษี ลดการทุจริต และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ค้าบริการทางเพศ[19] มีการกล่าวถึงอยู่เรื่อยๆ ในสังคมไทย แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอีกนับแต่นั้นมา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Bishop, Ryan; Robinson, Lillian S (1998). Night Market; Sexual Cultures and the Thai Economic Miracle (Paper ed.). New York: Routledge. ISBN 978-0-415-91429-1. สืบค้นเมื่อ 17 July 2016.
  • Travels in the Skin Trade: Tourism and the Sex Industry (1996, ISBN 0-7453-1115-6) by Jeremy Seabrook describes the Thai sex industry and includes interviews with prostitutes and customers.
  • Cleo Odzer received her PhD in anthropology with a thesis about prostitution in Thailand; her experiences during her three years of field research resulted in the 1994 book Patpong Sisters: An American Woman's View of the Bangkok Sex World (ISBN 1-55970-281-8). In the book she describes the Thai prostitutes she got to know as quick-witted entrepreneurs rather than exploited victims.
  • Hello My Big Big Honey!: Love Letters to Bangkok Bar Girls and Their Revealing Interviews by Dave Walker and Richard S. Ehrlich (2000, ISBN 0-86719-473-1) is a compilation of love letters from Westerners to Thai prostitutes, and interviews with the latter.
  • For an informative caricature of the contemporary sexual norms and mores of Thailand (and its Sex Industry) versus the West see the novels of John Burdett including Bangkok 8 for the comparative anthropology of his half Thai-Western (son of a 'bargirl') protagonist detective, Sonchai Jitpleecheep.
  • Dennis Jon's 2005 documentary travelogue The Butterfly Trap provides a realistic and non-judgmental first person viewpoint of sex tourism in Thailand.
  • Jordan Clark's 2005 documentary Falang: Behind Bangkok's Smile takes a rather critical view of sex tourism in Thailand.
  • David A. Feingold's 2003 documentary Trading Women explores the phenomenon of women from the surrounding countries being trafficked into Thailand.
  • Lines, Lisa (July 2015). "Prostitution in Thailand: Representations in Fiction and Narrative Non-Fiction" (PDF). Journal of International Women's Studies. 16 (3): 86–100. สืบค้นเมื่อ 2018-12-01.
  • For a discussion reflecting on the history of prostitution, see Scott Bamber, Kevin Hewison and Peter Underwood (1997) "Dangerous Liaisons: A History of Sexually Transmitted Diseases in Thailand", in M. Lewis, S. Bamber & M. Waugh (eds), Sex, Disease and Society: A Comparative History of Sexually Transmitted Diseases and HIV/AIDS in Asia and the Pacific (ISBN 978-0313294426), Westport: Greenwood Press, Contributions in Medical Studies No. 43, pp. 37–65.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง