การประมงเกินขีดจำกัด

การประมงเกินขีดจำกัด (อังกฤษ: overfishing) คือ การนำปลาชนิดใดชนิดหนึ่งออกจากแหล่งน้ำ (เช่น การตกปลา) ในอัตราที่มากกว่าความสามารถที่ปลาชนิดนั้นเติมเต็มจำนวนประชากรได้ตามธรรมชาติ ส่งผลให้ปลาชนิดนั้นมีประชากรน้อยลงในพื้นที่ การประมงเกินขีดจำกัดสามารถเกิดขึ้นได้ในแหล่งน้ำทุกขนาด เช่น บ่อน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบ หรือมหาสมุทร และอาจส่งผลให้ทรัพยากรปลาหมดลง อัตราการเติบโตทางชีวภาพลดลง และระดับชีวมวลต่ำ การประมงเกินขีดจำกัดอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ประชากรปลาไม่สามารถคงจำนวนอยู่ได้อีกต่อไป การประมงเกินขีดจำกัดบางรูปแบบ เช่น การประมงฉลามเกินขีดจำกัด ส่งผลเกิดความปั่นป่วนต่อระบบนิเวศทางทะเลทั้งหมด[1]

ปลาในวงศ์ปลาหางแข็งถูกจับโดยเรือประมงของชิลี

การฟื้นตัวประชากรปลาหลังจากการประมงเกินขีดจำกัดขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรที่รับได้ของพื้นที่และสภาวะทางนิเวศวิทยาเหมาะสมสำหรับการฟื้นฟูหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสปีชีส์ในแต่ละพื้นที่ที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ สมดุลที่เปลี่ยนไปนี้อาจทำให้สปีชีส์ในพื้นที่อื่น ๆ อาจเข้ามาแทนที่สปีชีส์เดิมที่อาศัยก่อนถูกจับไป ตัวอย่างเช่น เมื่อปลาเทราต์ถูกจับมากเกินไป ปลาคาร์ปอาจใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงสมดุลนี้และเข้ามาแทนที่ในรูปแบบที่ทำให้ปลาเทราต์ไม่สามารถผสมพันธุ์และฟื้นฟูจำนวนประชากรขึ้นใหม่ได้อีกเลย

นับตั้งแต่การเติบโตของธุรกิจประมงทั่วโลกหลังทศวรรษ 1950 การทำประมงอย่างหนักนี้เริ่มแพร่กระจายจากพื้นที่ที่เพียงไม่กี่แห่งไปจนถึงการประมงเกือบทั้งหมด เกิดการขูดก้นทะเลซึ่งเป็นการทำลายล้างปะการัง ฟองน้ำ และชีวินก้นทะเลอื่น ๆ ที่เติบโตช้าและไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ การทำลายล้างนี้เปลี่ยนการทำงานของระบบนิเวศ และสามารถเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสปีชีส์และความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างถาวร นอกจากนี้ยังมีการจับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจในระหว่างการตกปลา โดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตนั้นจะถูกปล่อยกลับสู่มหาสมุทรและตายจากการบาดเจ็บหรือการสัมผัส สิ่งมีชีวิตอื่นนี้คิดเป็นประมาณหนึ่งในสี่ของการจับสัตว์ทะเลทั้งหมด ในกรณีจับกุ้ง จะเกิดการจับสิ่งมีชีวิตอื่นมากกว่ากุ้งที่จับได้ประมาณ 5 เท่า

รายงานโดย FAO ในปี 2020 ระบุว่า "ในปี 2017 ร้อยละ 34 ของปริมาณปลาในพื้นที่ทำการประมงทะเลของโลกจัดอยู่ในประเภทประมงเกินขีดจำกัด"[2] ทางเลือกในการลดผลกระทบ ได้แก่ กฎระเบียบของรัฐบาล การยกเลิกเงินอุดหนุน การลดผลกระทบจากการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และความตระหนักของผู้บริโภค

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง