การผันคำ

ในทางภาษาศาสตร์ การผันคำ (อังกฤษ: inflection หรือ inflexion)[1] หรืออาจเรียกว่า การลงวิภัตติปัจจัย คือการเปลี่ยนแปลงรูปคำในประโยค เพื่อแสดงเพศ พจน์ การก บุรุษ กาล วาจก มาลา ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงรูปคำเช่นนี้ไม่พบในภาษาไทย แต่จะพบในภาษาในหลายๆตระกูล เช่น ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เป็นต้น ภาษาที่อาศัยการผันคำเพื่อเปลี่ยนความหมายในระดับสูงเรียกว่า ภาษามีวิภัตติปัจจัย (Inflectional Language) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ภาษาคำโดด (Isolating Language) ซึ่งมักจะเป็นภาษาที่คำแต่ละคำมีพยางค์เดียวและไม่มีการผันคำ สำหรับภาษาที่จำแนกตามลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language) และ ภาษาคำควบมากพยางค์ (Poly-synthetic Language)

การผันคำนาม

การผันคำนามตามเพศและพจน์ใน
ภาษาสเปน

การผันคำนามจะแสดงเพศ พจน์ และการกของคำนั้นๆในประโยค โดยแต่ละภาษาก็จะมีจำนวนเพศ พจน์ และการกที่ไม่เท่ากัน เช่น ภาษาเยอรมันมีเพียง 4 การก แต่ภาษาสันสกฤตมีถึง 8 การก ภาษาอังกฤษมีเพียง 2 พจน์ แต่ภาษาหลายภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนมีถึง 4 พจน์[ต้องการอ้างอิง]

ตัวอย่างการผันคำนามตามพจน์และการกในภาษาบาลี[2]

นร (คนผู้ชาย)
การกพจน์ (วจน)
เอกพจน์ (เอกวจน)พหูพจน์ (พหุวจน)
ประธาน (ปฐมา) กรรตุการก (กัตตุการก, กตฺตุการก)ร (นร + -สิ วิภัตติ)นร (นร + -โย วิภัตติ)
กรรมตรง (ทุติยา) กรรมการก (กัมมการก, กมฺมการก)นร (นร + -อํ วิภัตติ)ร (นร + -โย วิภัตติ)
เครื่องมือ (ตติยา) กรณการก (นร + -นา วิภัตติ)ภิ, นหิ (นร + -หิ วิภัตติ)
กรรมรอง (จตุตฺถี) สัมปทานการก (สมฺปทานการก)นรสฺส, นราย, นรตฺถํ (นร + -ส วิภัตติ)นรานํ (นร + -นํ วิภัตติ)
แหล่งที่มา (ปญฺจมี) อปาทานการกนรสฺมา, นรมฺหา, นร (นร + -สฺมา วิภัตติ)ภิ, นหิ (นร + -หิ วิภัตติ)
เจ้าของ (ฉฏฺฐี) สัมพันธการก (สมฺพนฺธการก)นรสฺส (นร + -ส วิภัตติ)นรานํ (นร + -นํ วิภัตติ)
สถานที่ (สตฺตมี) อธิกรณการกนรสฺมิํ, นรมฺหิ, นร (นร + -สฺมิํ/สฺมึ วิภัตติ)สุ (นร + -สุ วิภัตติ)
อาลปนะ (อาลปน) สัมโพธนาการก (สมฺโพธนาการก)นร (นร + -สิ วิภัตติ)นร (นร + -โย วิภัตติ)

การผันคำสรรพนาม

การผันคำสรรพนามจะคล้ายคลึงกับการผันคำนาม ซึ่งจะแสดงเพศ พจน์ และการกในประโยค โดยจะแตกต่างจากคำนามที่ว่า คำนามจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มหน่วยเสียงที่ท้ายคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ การก แต่สรรพนามมักจะเปลี่ยนรูปคำไปเลย

ตัวอย่างการผันคำสรรพนามตามเพศ พจน์ และการกในภาษาไอซ์แลนด์[ต้องการอ้างอิง]

การกบุรุษที่ 1บุรุษที่ 2บุรุษที่ 3
เพศชายเพศหญิงเพศกลาง
เอกพจน์กรรตุการกégþúhannhúnþað
กรรมการกmigþighannhanaþað
สัมปทานการกmérþérhonumhenniþví
สัมพันธการกmínþínhanshennarþess
พหูพจน์กรรตุการกviðþiðþeirþærþau
กรรมการกokkurykkurþáþærþau
สัมปทานการกokkurykkurþeim
สัมพันธการกokkarykkarþeirra

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง