ขบวนการเอกราชอินเดีย

ขบวนการเอกราชอินเดีย (อังกฤษ: Indian Independence Movement) เป็นระลอกของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้การปกครองอินเดียของอังกฤษสิ้นสุดลง ขบวนการนี้เริ่มมีตั้งแต่ปี 1857 ถึง 1947[1]

หน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ฮินดูสถานไตมส์ตีพิมพ์ข่าวการได้รับเอกราชของอินเดีย

ขบวนการปฏิวัติเพื่อเอกราชอินเดียระดับชาติครั้งแรกเริ่มมีขึ้นในเบงกอล[2] ละต่อมาได้ฝังรากลึกในพรรคคองเกรสอินเดียที่พึ่งตั้งใหม่ และประกอบด้วยผู้นำคนสำคัญที่ต้องการเพียงสิทธิพื้นฐานเพื่อมีส่วนร่วมในบริการพลเมืองอินเดียในยุคอังกฤษปกครองเช่นเดียวกับสิทธิอื่น ๆ (ส่วนมากเกี่ยวกับเศรษฐกิจ) ให้กับชาวอินเดีย ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้เริ่มมีความพยายามสุดโต่งในการปกครองตนเองของอินเดีย เช่น ระบอบปกครองโดยคนสามคน (triumvirate) ลาล พาล ปาล, เอาโรพินโท โฆษ แลพ วี.โอ. จินทพรัม ปิลไล[3]

ช่วงท้าย ๆ ของขบวนการในช่วงทศวรรษ 1920 เป็นต้นมามีลักษณะสำคัญตามรูปแบบที่พรรคคองเกรสได้ประยุกต์ใช้นโยบายของมหาตมะ คานธีในการไม่ใช้ความรุนแรง และ การดื้อแพ่ง ไปจนถึงแคมเปญอื่น ๆ นักชาตินิยมเช่นสุภาษ จันทร โพส, ภคัต สิงห์, พฆา ชติน, สูรยะ เสนเลือกใช้แนวคิดการปฏิวัติแบบมีกองกำลัง (armed revolution) เพื่อให้ได้มาซึ่งการปกครองตนเอง กวีและนักเขียนเช่นรพินทรนาถ ฐากุร, สุพรมันยา ภารตี, บันกิม จันทระ จัตโตปัธยาย และ กาซี นาซรูล อิสลาส ได้ใช้วรรณกรรม บทกวี และการพูด เพื่อสร้างความรับรู้ในหมู่ประชาชน นักสตรีนิยมเช่นสโรชินี ไนฑู, ปริติลตา วัทเททาร์, เบกุม โรเกยา สนับสนุนการปลดแอกสตรีอินเดียและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในขบวนการและการเมือง[3] และบี.อาร์. อามเพฑกร ถือเป็นผู้นำสำคัญในการนำอินเดียผ่านพ้นการแบ่งชนชั้นซึ่งช่วยรวมพลังในการเรียกร้องเอกราช[4] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองถือเป็นจุดสูงสุดหนึ่งจากทั้งขบวนการควิตอินเดียนำโดยพรรคคองเกรสและขบวนการกองทัพแห่งชาติอินเดียนำโดยสุภาษ จันทระ โพส และโดยความช่วยเหลือของญี่ปุ่น[3]

ท้ายที่สุด ความพยายามและขบวนการย่อยมากมายได้นำไปสู่รัฐบัญญัติเอกราชอินเดีย ค.ศ. 1947 และการเป็นขาติอินเดียโดยชอบด้วยกฎหมายในวันที่ 26 มกราคม 1950 ที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอินเดียซึ่งได้จัดตั้งสาธารณรัฐอินเดีย ตามด้วยในปี 1956 ที่ซึ่งปากีสถานได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญของตนเอง และในปี 1971 ที่ซึ่งปากีสถานตะวันออกประกาศเอกราชเป็นประเทศบังกลาเทศ[5]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Indian independence movement

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง