คริสเตียน บี. แอนฟินเซน

คริสเตียน โบห์เมอร์ แอนฟินเซน จูเนียร์ (อังกฤษ: Christian Boehmer Anfinsen, Jr.; 26 มีนาคม ค.ศ. 191614 พฤษภาคม ค.ศ. 1995) เป็นนักชีวเคมีชาวอเมริกัน เกิดในครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายนอร์เวย์ที่เมืองโมเนสเซน รัฐเพนซิลเวเนีย เป็นบุตรของโซฟี (นามสกุลเดิม รัสมุสเซน) และคริสเตียน โบห์เมอร์ แอนฟินเซน ซีเนียร์ ช่วงทศวรรษที่ 1920 ครอบครัวของแอนฟินเซนย้ายไปอยู่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย แอนฟินเซนเรียนที่วิทยาลัยสวาร์ธมอร์จนจบปริญญาตรีในปี ค.ศ. 1937 สองปีต่อมาเขาเรียนจบปริญญาโทสาขาเคมีอินทรีย์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปีเดียวกัน ห้องปฏิบัติการคาลส์เบิร์กของมูลนิธิอเมริกัน-สแกนดิเนเวียนที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กมอบตำแหน่งสมาชิกให้แก่แอนฟินเซนในฐานะผู้พัฒนาวิธีการใหม่ในการวิเคราะห์โครงสร้างโปรตีนเชิงซ้อนและการตั้งชื่อเอนไซม์ ในปี ค.ศ. 1941 แอนฟินเซนทำงานที่ภาควิชาชีวเคมีของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด เขาเรียนจบปริญญาเอกสาขาชีวเคมีที่นั่นในอีกสองปีต่อมา[1]

คริสเตียน บี. แอนฟินเซน
แอนฟินเซนในปี ค.ศ. 1969
เกิดคริสเตียน โบห์เมอร์ แอนฟินเซน จูเนียร์
26 มีนาคม ค.ศ. 1916(1916-03-26)
โมเนสเซน รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิตพฤษภาคม 14, 1995(1995-05-14) (79 ปี)
แรนดอลส์ทาวน์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
  • ไรโบนิวคลีเอส
  • ความเชื่อของแอนฟินเซน
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี (ค.ศ. 1972)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี

ในปี ค.ศ. 1950 สถาบันหัวใจ ปอดและเลือดแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสุขภาพแห่งชาติเลือกแอนฟินเซนให้เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาเซลล์ สี่ปีต่อมา เขากลับไปทำงานที่ห้องปฏิบัติการคาลส์เบิร์กและมีโอกาสเรียนที่สถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์แมนน์ที่เมืองเรโฮวอต ประเทศอิสราเอล[2] แอนฟินเซนได้รับเลือกเป็นภาคีสมาชิกของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกาในปี ค.ศ. 1958[3]

ในปี ค.ศ. 1962 แอนฟินเซนเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดและเป็นหัวหน้าภาควิชาเคมี ก่อนจะดำรงตำแหน่งหัวหน้าห้องปฏิบัติการชีวเคมีที่สถาบันโรคข้ออักเสบและโรคทางเมตาบอลิซึมจนถึงปี ค.ศ. 1981 ต่อมาในปี ค.ศ. 1972 แอนฟินเซนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลำดับกรดอะมิโนกับปฏิกิริยาคอนฟอร์เมชันที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ[4] หลังจากนั้นเขาได้ร่วมก่อตั้งสภาวัฒนธรรมโลก[5] ระหว่างปี ค.ศ. 1982–1995 แอนฟินเซนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีเชิงชีวฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์[6]

ด้านชีวิตส่วนตัว แอนฟินเซนแต่งงานครั้งแรกกับฟลอเรนซ์ คีเนนเกอร์ในปี ค.ศ. 1941 มีบุตรด้วยกัน 3 คนแต่หย่าร้างในปี ค.ศ. 1978 ต่อมาเขาแต่งงานใหม่กับลิบบี ชูลแมน เอลีในปี ค.ศ. 1979 และมีบุตรบุญธรรม 4 คน[7] แอนฟินเซนเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มที่เมืองแรนดอลส์ทาวน์ รัฐแมริแลนด์ในปี ค.ศ. 1995[8]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง