ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์

ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ (เยอรมัน: Konzentrationslager Auschwitz) หรือ ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนา (เยอรมัน: Konzentrationslager Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีเยอรมนีที่ใช้การระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

เอาช์วิทซ์
ค่ายกักกันและค่ายมรณะของนาซี
บน: ประตูเข้าค่ายเอาช์วิทซ์ 1 มีป้าย "การทำงานนำมาซึ่งอิสรภาพ" (Arbeit macht frei)
ล่าง: ซุ้มประตูเอาช์วิทซ์ 2-เบียร์เคอเนา, รางรถไฟ ซึ่งใช้การระหว่างเดือนพฤษภาคม–ตุลาคม 1944 ตรงเข้าห้องรมแก๊ส[1]
วิดีทัศน์Drone footage, 2015
ภาพGoogle Earth
พิกัดภูมิศาสตร์50°02′09″N 19°10′42″E / 50.03583°N 19.17833°E / 50.03583; 19.17833
ชื่อเยอรมันKonzentrationslager Auschwitz (ออกเสียง: [kɔntsɛntʁaˈtsi̯oːnsˌlaːɡɐ ˈʔaʊʃvɪts] ( ฟังเสียง)); also KL Auschwitz or KZ Auschwitz
ชื่อโปแลนด์Obóz koncentracyjny Auschwitz
เป็นที่รู้จักจากฮอโลคอสต์
ที่ตั้งประเทศโปแลนด์ที่ถูกเยอรมนียึดครอง
ดำเนินการโดยนาซีเยอรมนีและเอ็สเอ็ส
ผบ. ประเดิมรูด็อล์ฟ เฮิส
การใช้งานสถานที่ก่อนหน้าค่ายทหาร
เปิดใช้งานพฤษภาคม 1940 – มกราคม 1945
ผู้ถูกกักกันส่วนใหญ่เป็นยิว โปแลนด์ โรมานี และเชลยศึกโซเวียต
จำนวนผู้ถูกกักกันอย่างน้อย 1.3 ล้าน[2]
เสียชีวิตอย่างน้อย 1.1 ล้าน[2]
ปลดปล่อยโดยสหภาพโซเวียต, 27 มกราคม 1945
ผู้ถูกกักกันที่มีชื่อเสียงอันเนอ ฟรังค์, อิมแร แกร์เตส, แมกซิมิเลียน คอลบี, เอดิท ชไตน์ ฯลฯ
เว็บauschwitz.org/en/
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนAuschwitz Birkenau, German Nazi Concentration and Extermination Camp (1940–1945)
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์vi
ขึ้นเมื่อ1979 (สมัยประชุมที่ 3)
เลขอ้างอิง31
ภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ

ชื่อค่ายมาจากเมือง "ออชฟีแยญชิม" (Oświęcim) โดยหลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ออชฟีแยญชิมของโปแลนด์ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีและเปลี่ยนชื่อเป็นเอาช์วิทซ์ (Auschwitz) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาเยอรมัน[3] ส่วนเบียร์เคอเนา (Birkenau) เป็นชื่อในภาษาเยอรมันที่แผลงมาจาก "บแชชิงกา" (Brzezinka, ต้นเบิร์ช) ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไปไม่ไกลนักที่ต่อมาถูกเยอรมนีทำลายเกือบทั้งหมด

รูด็อล์ฟ เฮิส ผู้บัญชาการของค่าย ให้การในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คว่าประชากรถึงราว 3 ล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ แต่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนาปรับตัวเลขเป็น 1.1 ล้านคน[4][5] ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ถูกสังหารเป็นชาวยิวจากเกือบทุกประเทศในยุโรป[6] ผู้ประสบชะตากรรมเกือบทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมแก๊สโดยใช้แก๊สซือโคลน เบ การเสียชีวิตอื่นมาจากความอดอยาก การบังคับใช้แรงงาน การขาดการดูแลทางสุขภาพ การถูกประหารชีวิตรายคน และ "การทดลองทางแพทย์"ตลอดระยะเวลามีการฆ่าทดลองชาวยิวเป็นจำนวนมาก

ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้เสียชีวิต โปแลนด์ก็ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ณ ที่ตั้งของค่ายกักกันของสองค่าย วันปลดปล่อยค่ายกักกันเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1945 โดยกองทัพโซเวียต เป็นวันที่ระลึกของวันรำลึกฮอโลคอสต์ระหว่างประเทศ (International Holocaust Remembrance Day) ใน ค.ศ. 1979 ยูเนสโกยกให้เป็นแหล่งมรดกโลก

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง