ชื่อบุคคลญี่ปุ่น

ชื่อบุคคลญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本人の氏名โรมาจิNihonjin no Shimei) ในปัจจุบันมักมีชื่อตระกูล (นามสกุล) ตามมาด้วยชื่อแรก ชื่อบุคคลญี่ปุ่นมักเขียนด้วย อักษรคันจิ ซึ่งเป็นอักษรจีนแต่สะกดด้วยภาษาญี่ปุ่น ชื่อ คันจิ อาจออกเสียงได้หลายแบบ ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่มักตั้งชื่อลูกด้วยฮิรางานะหรือคาตากานะ

ยามาดะ ทาโร (山田太郎) ชื่อญี่ปุ่นของผู้ถือครอง (ชาย) คู่กับ จอห์น สมิธ (John Smith) ในภาษาอังกฤษ[1] ชื่อที่คู่กับ เจน สมิธ (Jane Smith) น่าจะเป็น ยามาดะ ฮานาโกะ (山田花子).

ชื่อตระกูลญี่ปุ่นมีหลายแบบ ตามรายงานแล้ว มีนามสกุลกว่า 100,000 แบบที่ใช้ในปัจจุบัน[2] โดยสกุลที่ใช้มากที่สุดสามอันคือ ซาโต (佐藤), ซูซูกิ (鈴木) และทากาฮาชิ (高橋)[3] และในไม่นานมานี้ ชื่อญี่ปุ่นมักไม่ค่อยพบกับการสูญพันธุ์ของนามสกุลอย่างที่เกิดขึ้นในจีน[4]

นามสกุลมีความหลากหลายในแต่ละภูมิภาคไม่เหมือนกัน เช่น ชื่อ จิเน็ง (知念), ฮิงะ (比嘉) และชิมาบูกูโระ (島袋) พบได้ทั่วไปในโอกินาวะแต่ไม่ค่อยพบในส่วนอื่นของญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่เกิดจาความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของชาวยามาโตะกับโอกินาวะ ชื่อตระกูลญี่ปุ่นหลายคนมักมาจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น อิชิกาวะ (石川) แปลว่า "แม่น้ำหิน", ยามาโมโตะ (山本) แปลว่า "ฐานภูเขา" และอิโนเอะ (井上) แปลว่า "เหนือบ่อน้ำ"

ในขณะที่ชื่อตระกูลมักตามกฏของภาษา ชื่อแรกมักมีการออกเสียงและตัวอักษรที่แตกต่างกัน ในขณะที่ชื่อทั่วไปมักสะกดและออกเสียงง่าย พ่อแม่หลายคนใช้ชื่อที่มีตัวอักษรหรือการสะกดแบบแปลก ๆ และบางชื่อไม่สามารถสะกดในแบบทั่วไปได้ โดยเป็นกระแสมาตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1990[5][6] เช่น ชื่อผู้ชายที่นิยมใช้คือ 大翔 มักสะกดเป็น "ฮิโรโตะ" แต่ไม่กี่ปีมานี้ มีการสะกดเป็น "ฮารูโตะ", "ยามาโตะ", "ไทงะ", "โซระ", "ไทโตะ", "ไดโตะ" และ "มาซาโตะ"[5]

ชื่อผู้ชายมักลงท้ายด้วย -โร ( "บุตร" หรือ "กระจ่าง, สว่าง"; เช่น "อิจิโร") -ตะ ( "ยิ่งใหญ่, หนา"; เช่น "เค็นตะ") หรือ -โอะ (男 / 雄 / 夫 "ผู้ชาย"; เช่น "เทรูโอะ" หรือ "อากิโอะ")[7] หรือมีคำว่า อิจิ ( "[บุตร]คนแรก"; เช่น "เค็นอิจิ"), คาซุ (อาจเขียนเป็น "[บุตร]คนแรก" คู่กับอักษรตัวอื่นที่เป็นไปได้; เช่น "คาซูฮิโระ"), จิ ( "[บุตร]คนที่สอง" หรือ "ต่อไป"; เช่น "จิโร") หรือ ได ( "ยิ่งใหญ่, ขนาดใหญ่"; เช่น "ไดจิ")

ชื่อผู้หญิงมักลงท้ายด้วย -โกะ ( "ลูก"; เช่น. "เคโกะ") หรือ -มิ ( "ความงาม"; เช่น "ยูมิ") ชื่ออื่นที่มีคำลงท้ายเป็นผู้หญิง ได้แก่ -กะ ( "กลิ่น, น้ำหอม" หรือ "ดอกไม้"; เช่น "เรกะ") และ -นะ ( หรือ หมายถึง "สีเขียว" หรือ "ต้นแอปเปิล"; เช่น "ฮารูนะ")

ลำดับชื่อและนามสกุล

การเขียนชื่อบุคคลญี่ปุ่นในภาษาอื่นมักจะมีปัญหาที่พบบ่อยกันคือ ลำดับของชื่อและนามสกุล

ลำดับของการวางตำแหน่งชื่อและนามสกุลแตกต่างกันของระบบของญี่ปุ่นที่นำ นามสกุลนำหน้าชื่อ ในขณะที่ในรูปแบบอื่นเกือบทุกประเทศทั่วโลกใช้ชื่อนำหน้านามสกุล ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อนามสกุลเขียนในลักษณะตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น Akira TORIYAMA หรือ TORIYAMA Akira เพื่อบอกให้รู้ว่านามสกุลคือ Toriyama (โทริยามะ) บุคคลที่อาศัยและทำงานอยู่นอกประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ชื่อนำหน้านามสกุลเช่น โยโกะ โอโนะ ภรรยาของจอห์น เลนนอน หรือ โยชิทากะ อามาโนะศิลปินชาวญี่ปุ่น นอกจากนี้ในข่าวนอกประเทศญี่ปุ่นที่มีการกล่าวถึงเกี่ยวกับ นักการเมือง นักธุรกิจ นักแสดง และนักกีฬา นิยมเขียนลำดับชื่อนำหน้านามสกุล เช่น จุนอิจิโร โคอิซูมิ หรือ ทาคูยะ คิมูระ

อย่างไรก็ตามการเขียนตามตัวอักษรคันจิ ไม่มีการสลับตำแหน่งของชื่อนามสกุล ยังคงไว้ให้นามสกุลนำหน้าชื่อเสมอ

หนังสือการ์ตูนของประเทศไทยนิยมใช้นามสกุลนำหน้าชื่อ แม้ว่าสำหรับคนไทยแล้วมาตรฐานในการเรียกชื่อญี่ปุ่นจะนำหน้าด้วยชื่อและต่อด้วยนามสกุลเหมือนยุโรป

คำลงท้ายชื่อ

-ซัง

-ซัง (-さん, -san) ใช้ลงท้ายสำหรับชื่อบุคคลเปรียบเหมือนคำว่า "คุณ-" ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใช้สำหรับบุคคลที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ปัจจัยคำว่า -ซัง สามารถใช้ร่วมกับคำนามอื่นชื่อ นิคุยะซัง หมายถึงเจ้าของร้านขายเนื้อ (นิคุยะ แปลว่า ร้านขายเนื้อ)

คำว่า -ซัง -ซะมะ และ -ชิ เป็นคำลงท้ายที่ใช้สำหรับการอ้างถึงบุคคลอื่นอย่างสุภาพและทางการ

-คุง

-คุง (-君, -くん, -kun) ใช้ลงท้ายชื่อผู้ชาย (และผู้หญิงในบางโอกาส) สำหรับการใช้สำหรับคนใกล้ชิด ใช้สำหรับบุคคลที่อายุมากกว่าเรียกคนที่อายุน้อยกว่า หรือในบางครั้งใช้เรียกบุคคลที่มีอายุไล่เลี่ยกัน และนิยมใช้เป็นคำลงท้ายสำหรับชื่อเด็กผู้ชาย ในบางครั้งจะมีการใช้เรียก -คุง สำหรับสาวออฟฟิศ โดยหัวหน้างานที่เป็นผู้ชาย เช่น ปังคุง

อาจารย์มักจะเรียกลูกศิษย์ลงท้ายโดยคำว่า "-คุง" สำหรับเด็กผู้ชายเรียก , "-ซัง" หรือ "-จัง" สำหรับเด็กผู้หญิง

-จัง

-จัง (-ちゃん, -chan) ใช้ลงท้ายสำหรับชื่อคนใกล้ชิดเพศหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กผู้หญิง และคนรัก หรือเพื่อนที่สนิทกันมาก ๆ ผู้หญิงบางคนนิยมเรียกชื่อตัวเองลงท้ายด้วย -จัง ในบางครั้งใช้เรียกชื่อสัตว์เลี้ยงตัวเองลงท้ายด้วยคำว่า "-จัง"

ในบางครั้งจะมีใช้สำหรับเรียกชื่อดารา หรือบุคคลที่ชื่นชอบ เช่น ชุวะจัง เนเน่จัง

เซ็มไป และ โคไฮ

เซ็มไป (先輩, senpai) แปลว่า รุ่นพี่ ใช้ลงท้ายสำหรับชื่อสำหรับบุคคลที่อาวุโสกว่าในกลุ่มของตัวเอง เช่น รุ่นน้องเรียกรุ่นพี่ที่โรงเรียน นักกีฬาใหม่เรียกนักกีฬาที่มาก่อน หรือในธุรกิจใช้เรียกตำแหน่งผู้อาวุโสกว่าว่า เซ็มไป

โคไฮ (後輩, kōhai) แปลว่า รุ่นน้อง ใช้เรียกในทางกลับกัน

เซ็นเซ

เซ็นเซ (先生, せんせい, sensei) ใช้ลงท้ายเรียกชื่อบุคคลที่เป็นอาจารย์ หมอ หรือ ทนาย แสดงถึงการเคารพ

-ซามะ

-ซามะ (-様, -さま, -sama) ใช้ลงท้ายชื่อบุคคล มีความหมายเหมือนกับคำว่า "ท่าน-" ในภาษาไทยโดยการใช้จะมีความหมายเป็นทางการมากกว่าคำว่า "-ซัง" ในทางธุรกิจ คำว่า "-ซามะ" นิยมใช้ในสำหรับเรียกลูกค้า

-ชิ

-ชิ (-氏, -し, -shi) เป็นคำลงท้ายในการเขียนจดหมาย และใช้สำหรับบุคคลที่ไม่เคยเจอตัว คำว่า -ชิ มักจะพบในเอกสารทางกฎหมาย หรือเอกสารทางวิชาการ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

สารานุกรม

  • Power, John. "Japanese names." (Archive) The Indexer. June 2008. Volume 26, Issue 2, p. C4-2-C4-8 (7 pages). ISSN 0019-4131. Accession number 502948569. Available on EBSCOHost.
  • รายละเอียดบางส่วนจาก Kodansha Encyclopedia of Japan, article on "names"
  • Hoffman, Michael. "What's in a (Japanese) name?" Japan Times. Sunday October 11, 2009.
  • "Which names are to be found where?" Japan Times. Sunday October 11, 2009.
  • Koop, Albert J., Hogitaro Inada. Japanese Names and How to Read Them 2005 ISBN 0-7103-1102-8 Kegan Paul International Ltd.
  • Nichigai Associates, Inc. (日外アソシエーツ株式会社 Nichigai Asoshiētsu Kabushiki Kaisha) 1990. Nihon seimei yomifuri jiten (日本姓名よみふり辞典 "Dictionary of readings of Japanese names in Chinese characters"), vols. Sei-no bu (family names) and Mei-no bu (given names). Tokyo: Nichigai Associates.
  • O'Neill, P.G. Japanese Names 1972 ISBN 0-8348-0225-2 Weatherhill Inc.
  • Plutschow, Herbert. Japan's Name Culture 1995 ISBN 1-873410-42-5 Routledge/Curzon
  • Poser, William J. (1990) "Evidence for Foot Structure in Japanese," Language 66.1.78-105. (Describes hypochoristic formation and some other types of derived names.)
  • Throndardottir, Solveig. Name Construction in Medieval Japan 2004 [1] ISBN 0-939329-02-6 Potboiler Press
  • Society of Writers, Editors and Translators. Japan Style Sheet 1998 ISBN 1-880656-30-2 Stone Bridge Press

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง