ภาษาซีชาร์ป

(เปลี่ยนทางจาก ซีชาร์ป)

ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ

C#
กระบวนทัศน์Multi-paradigm: structured, imperative, object-oriented, event-driven, task-driven, functional, generic, reflective, concurrent
ตระกูลC
ผู้ออกแบบAnders Hejlsberg (Microsoft)
ผู้พัฒนาMads Torgersen (Microsoft)
เริ่มเมื่อ2000; 24 ปีที่แล้ว (2000)[1]
รุ่นเสถียร
12.0[2] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / 14 พฤศจิกายน 2023; 4 เดือนก่อน (14 พฤศจิกายน 2023)
ระบบชนิดตัวแปรStatic, dynamic,[3] strong, safe, nominative, partially inferred
แพลตฟอร์มCommon Language Infrastructure
สัญญาอนุญาต
นามสกุลของไฟล์.cs, .csx
เว็บไซต์learn.microsoft.com/en-us/dotnet/csharp/
ตัวแปลภาษาหลัก
Visual C#, .NET, .NET Framework (discontinued), Mono, DotGNU (discontinued), Universal Windows Platform
ภาษาย่อย
Cω, Polyphonic C#, Enhanced C#
ได้รับอิทธิพลจาก
C++,[6] Cω, Eiffel, F#,[a] Haskell, Scala, Icon, J#, J++, Java,[6] ML, Modula-3, Object Pascal,[7] VB
ส่งอิทธิพลต่อ
Chapel,[8] Clojure,[9] Crystal,[10] D, J#, Dart,[11] F#, Hack, Java,[12][13] Kotlin, Nemerle, Oxygene, Rust,[14] Swift,[15] Vala, TypeScript

ภาษานี้พัฒนาเริ่มแรกโดยโดยมีอนัส ไฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) จากบริษัทไมโครซอฟท์ ในปีพ.ศ. 2543 ต่อมามีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (ECMA-334) ในปีพ.ศ. 2545 และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO/IEC 23270) ในปีพ.ศ. 2546 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวภาษาซีชาร์ปพร้อมกับดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และVisual Studio ซิ่งเป็นผลิตภัณฑ์โคลสซอร์ส (closed-source) ทั้งหมด เนื่องจากตอนนั้นไมโครซอฟต์ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นโอเพ่นซอร์ส. ต่อมาไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Visual Studio Code, Roslyn และ ดอตเน็ตคอร์ ซี่งทั้งหมตนั้นรองรับภาษาซีชาร์ป เป็นซอฟต์แวร์ฟรีและโอเพ่นซอร์ส และทำงานแบบครอสแพลตฟอร์ม

ปัจจุบันภาษาซีชาร์ปมีรุ่นล่าสุดคือ C# 11.0 ที่ออกมาพร้อมกับ .NET 7.0 ในปี พ.ศ. 2565[16][17]

ตัวอย่าง

ตัวอย่างต่อไปนี้ คือตัวอย่างโปรแกรม Hello world ใน C# ซึ่งใช้ฟีเจอร์ top-level statement ที่เริ่มมีให้ใช้ได้ตั้งแต่ C# 9.0

using System;Console.WriteLine("Hello, world!");

แต่สำหรับ C# 8.0 หรือก่อนหน้านั้น การเขียนจะต้องเป็นฟังก์ชันที่อยู่ในคลาสดังทำนองนี้

public class ExampleClass{    public static void Main()    {        System.Console.WriteLine("Hello, world!");    }}

ผลของการทำงานคือมีการแสดงคำว่า Hello, world! ในหน้าต่างคอนโซล โดยในแต่ละบรรทัดมีความหมายดังนี้:

public class ExampleClass

บรรทัดนี้คือการประกาศคลาส โดย public หมายถึงวัตถุที่สร้างในโครงการ (project) อื่น ๆ สามารถเข้าใช้งานคลาสนี้ได้ ไม่จำกัด. ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ผ่านใต้หน่วยของบรรทัดนี้ จะใช้ในการทำงานของคลาสนี้

public static void Main()

บรรทัดนี้เป็นจุดที่ใช้ในการเริ่มการทำงานของโปรแกรม เมื่อโปรแกรมทำงาน โดยสามารถเรียกใช้จากโปรแกรมอื่นได้โดยการใช้ไวยากรณ์ ExampleClass.Main(). (public static void เป็นส่วนที่ใช้ในการทำงาน ซึ่งต้องเรียนรู้ในการเขียนขั้นสูง)

System.Console.WriteLine("Hello, world!");

ในบรรทัดนี้ เป็นการทำงาน เพื่อแสดงผลออกมา Console คือโปรแกรมระบบ, ซึ่งก็คือ โปรแกรมระบบแบบสั่งคำสั่งที่ละบรรทัด (เช่น DOS) ที่สามารถรับข้อมูลและแสดงผลเป็นข้อความได้. จากที่เราเขียนโปรแกรมจะทำการเรียก Console โดยใช้คำสั่ง WriteLine, ซึ่งทำให้สามารถส่งค่าข้อความออกมาแสดงผลได้

มาตรฐาน

ไมโครซอฟท์ส่งมาตรฐานภาษาซีชาร์ปให้กับ Ecma และได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ECMA ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ในชื่อว่า ECMA-334 C# Language Specification ใน ค.ศ. 2003 ภาษาซีชาร์ปได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ISO (ISO/IEC 23270).

มาตรฐาน ISO/IEC 23270:2003 ระบุรูปแบบ และกำหนดการแปล (ตีความ) โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีชาร์ป. โดยตัวมาตรฐานได้ระบุ:

  • รูปแบบการนำเสนอ (the representation of C# programs)
  • ไวยากรณ์ (the syntax and constraints of the C# language)
  • กฎการตีความสำหรับแปลโปรแกรมภาษาซีชาร์ป (the semantic rules for interpreting C# programs)
  • ข้อห้าม และข้อจำกัด ของเครื่องมือที่สร้างตามข้อกำหนดของซีชาร์ป (the restrictions and limits imposed by a conforming implementation of C#)

ISO/IEC 23270:2003 ไม่ได้ระบุ:

  • กลไกในการแปลงโปรแกรมภาษาซีชาร์ป เพื่อใช้ในระบบประมวลผลข้อมูล (the mechanism by which C# programs are transformed for use by a data-processing system)
  • กลไกในการเรียกให้โปรแกรมภาษาซีชาร์ปทำงาน เพื่อใช้ในระบบประมวลผลข้อมูล (the mechanism by which C# applications are invoked for use by a data-processing system)
  • กลไกในการแปลงข้อมูลเข้า เพื่อใช้กับโปรแกรมภาษาซีชาร์ป (the mechanism by which input data are transformed for use by a C# application)
  • กลไกในการแปลงข้อมูลออก หลังจากถูกประมวลผลโดยโปรแกรมภาษาซีชาร์ป (the mechanism by which output data are transformed after being produced by a C# application)
  • the size or complexity of a program and its data that will exceed the capacity of any specific data-processing system or the capacity of a particular processor;
  • all minimal requirements of a data-processing system that is capable of supporting a conforming implementation.

นอกจากนี้ตัวมาตรฐานไม่ได้กล่าวถึงโครงสร้างข้อมูล และตัวไลบรารีกลางของ .NET Framework ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ปเลย[18]

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง