ดอลลี (แกะ)

ดอลลี (อังกฤษ: Dolly) (5 กรกฎาคม 2539 – 14 กุมภาพันธ์ 2546) เป็น แกะเลี้ยงเพศเมีย และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตัวแรกที่ถูกโคลนจากเซลล์โซมาติก (somatic cell) ของสัตว์โตเต็มวัย โดยใช้วิธีถ่ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer)[2][3] ดอลลีถูกโคลนโดย เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) คีธ แคมป์เบล (Keith Campbell) และผู้ร่วมงาน ณ สถาบันรอสลิน (Roslin Institute) ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ PPL Therapeutics ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเอดินบะระ เงินทุนในการโคลนดอลลีมาจากบริษัท PPL Therapeutics และกระทรวงการเกษตรของสหราชอาณาจักร[4] มันเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และตายด้วยโรคทางปอดเมื่ออายุได้ 6 ปี 7 เดือน[5] หลายสื่อ เช่น BBC News และ Scientific American ยกย่องให้มันเป็น "แกะดังที่สุดในโลก"[6][7]

ดอลลี
ร่างสตัฟของดอลลี
ฉายาอื่น ๆ6LLS (code name)
สปีชีส์แกะเลี้ยง Finn-Dorset
เพศเมีย
เกิด5 กรกฎาคม 2539
สถาบันรอสลิน เมืองเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์
ตาย14 กุมภาพันธ์ 2546 (อายุ 6 ปี)
สถาบันรอสลิน เอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์
ที่ไว้ซากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ (จัดแสดงซาก)
เป็นที่รู้จักสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโคลนตัวแรกซึ่งถูกโคลนจากเซลล์ร่างกายที่โตเต็มวัย
ทายาทลูกแกะ 6 ตัว (บอนนี่; คู่แฝด แซลลีและโรซี แฝดสาม ลูซี ดาร์ซี และคอตตอน)
ตั้งชื่อตามดอลลี พาร์ตัน[1]

เซลล์ที่ใช้เป็นผู้บริจาคเพื่อโคลนดอลลี ถูกนำมาจาก ต่อมน้ำนม และการที่สามารถสร้างโคลนที่แข็งแรงได้นั้นเป็นตัวพิสูจน์ว่า เซลล์จากส่วนหนึ่งของร่างกายสามารถนำมาสร้างสิ่งมีชีวิตได้ทั้งตัวชื่อของดอลลีว่า "ดอลลีมาจากเซลล์ต่อมน้ำนม และพวกเราไม่สามารถนึกถึงต่อมน้ำนมที่น่าประทับใจมากกว่าของดอลลี พาร์ตัน ได้"[1]

การเกิด

ดอลลีเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และมีแม่ถึงสามตัว (ตัวหนึ่งให้ไข่ อีกตัวให้ดีเอ็นเอ และตัวสุดท้ายเป็นแม่อุ้มบุญซึ่งเป็นที่ฝากตัวอ่อนไว้จนคลอด)[8] มันถูกสร้างโดยใช้เทคนิคการถ่ายฝากนิวเคลียจากเซลล์ร่างกาย โดยนิวเคลียสของเซลล์จากเซลล์โตเต็มวัยถูกถ่ายฝากไปยังเซลล์ไข่ (oocyte) ซึ่งไม่ได้ผสมเชื้อและถูกนำเอานิวเคลียสออกไป จากนั้นเซลล์จึงถูกกระตุ้นให้เริ่มขยายตัวโดยการช็อตไฟฟ้า และเมื่อเริ่มพัฒนาเป็นตัวอ่อนซึ่งเป็นระยะก่อนที่จะฝังตัวกับมดลูก (blastocyst) จึงถูกนำไปฝังไว้ในแม่อุ้มบุญ[9] ดอลลีเป็นร่างโคลนร่างแรกซึ่งนำเซลมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขณะโตเต็มวัย การสร้างดอลลีทำให้เห็นว่ายีนในนิวเคลียสของเซลล์ร่างกายที่โตเต็มวัย ยังสามารถย้อนกลับไปมีศักยภาพอย่างตัวอ่อนซึ่งสร้างเซลล์ที่สามารถพัฒนาเป็นส่วนใดก็ได้ของสัตว์[10] ดอลลีถูกประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ดอลลีได้รับความสนใจจากสื่ออย่างล้นหลาม แม้ดอลลีจะไม่ใช่สัตว์ตัวแรกที่ถูกโคลน มันก็ได้รับความสนใจจากสื่อเนื่องจากเป็นร่างโคลนร่างแรกจากเซลล์โตเต็มวัย[4]

ชีวิต

การโคลนที่สร้างดอลลี

ดอลลีใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่ที่สถาบันรอสลินในเมืองเอดินบะระ[5] มันได้ผสมพันธุ์กับแกะภูเขาเวลส์และให้กำเนิดลูกแกะ 6 ตัว ลูกตัวแรกชื่อว่า บอนนี่ เกิดเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 ปีต่อมี ดอลลีให้กำเนิดลูกแกะแฝด ชื่อ แซลลี่และโรซี่ จากนั้นได้ให้กำเนิดแฝดสาม ลูซี่ ดาร์ซี่ และคอตตอน ในปีต่อมา[11] ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2544 ด้วยวัยสี่ปี ดอลลีเริ่มมีอาการข้ออักเสบ และเดินอย่างแข็งทื่อ จึงได้รับการรักษาด้วยยาแก้อักเสบ[12]

การตาย

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ดอลลีถูกการุณยฆาต เพราะเป็นโรคเกี่ยวกับปอด และอาการข้ออักเสบขั้นรุนแรง[13] ปกติแล้วแกะพันธ์ Finn Dorset อย่างดอลลีมีอายุขัยประมาณ 11 ถึง 12 ปี ทว่าดอลลีมีอายุเพียง 6.5 ปีเท่านั้น หลังการตรวจพบว่าดอลลีมีมะเร็งชนิดต่อมของปอดแกะ (ovine pulmonary adenocarcinoma หรือ Jaagsiekte)[14] ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในแกะ และมีสาเหตุมาจากรีโทรไวรัส JSRV[15] นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันรอสลินกล่าวว่า พวกเขาคิดว่าการที่ดอลลีเป็นร่างโคลนไม่น่าใช่สาเหตุ และแกะหลายตัวในฝูงเดียวกันก็เสียชีวิตด้วยโรคนี้เช่นกัน โรคปอดนี้พบได้ส่วนใหญ่ในแกะที่ถูกเลี้ยงไว้ในร่ม และปกติแล้ว ดอลลีก็ถูกนำมานอนในร่มด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

สื่อบางส่วนคาดว่า อีกต้นตอหนึ่งของการตายของดอลลีอาจเพราะว่ามันเกิดมาด้วยอายุยีนหกปี ซึ่งเท่ากับอายุของแกะที่ถูกโคลน หนึ่งในหลักฐานของข้อคิดนี้ คือ การที่เทโลเมียร์ ของดอลลีนั้นสั้น ซึ่งปกติแล้วเป็นตัวชี้อายุ[16][17] สถาบันรอสลินชี้ว่าการตรวจสุขภาพของดอลลีไม่ได้ชี้ถึงการแก่ตัวที่ผิดปกติ[18]

ใน พ.ศ. 2559 นักวิทยาศาสตร์รายงานว่าไม่พบข้อบกพร่องในแกะโคลนทั้งสิบสามตัว ซึ่งในนั้นมีสี่ตัวที่มาจากเซลล์ไลน์เดียวกับดอลลี งานวิจัยแรกที่รวบรวมผลทางสุขภาพระยะยาวของการโคลน ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับโรคกลุ่มที่ไม่ติดต่อ นอกจากตัวอย่างไม่กี่ตัวอย่างเกี่ยวกับอาการข้ออักเสบ[19][20]

ดูเพิ่ม

การโคลน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง