เต่า

(เปลี่ยนทางจาก ตะพาบน้ำ)

เต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน

เต่า
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคจูแรสซิกตอนปลาย – ปัจจุบัน
เต่าในวงศ์ที่ต่างกัน ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: เต่าคอสั้นท้องแดง, ตะพาบหับอินเดีย, เต่ากระ และเต่ากาลาปาโกส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน:ยูแคริโอตา
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น:สัตว์เลื้อยคลาน
เคลด:Pantestudines
เคลด:Testudinata
เคลด:Perichelydia
อันดับ:เต่า
Batsch, 1788[1]
กลุ่มย่อย

Cryptodira
Pleurodira
†Paracryptodira

ความหลากหลาย
14 วงศ์ที่มีชีวิตอยู่
สีน้ำเงิน: เต่าทะเล, สีดำ: เต่าบก
ชื่อพ้อง[2]
  • Chelonii Latreille 1800
  • Chelonia Ross and Macartney 1802

โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ

เต่าทะเล

ดูบทความหลักที่ เต่าทะเล

เป็นเต่าจำพวกหนึ่งที่ทั้งชีวิตอาศัยอยู่แต่ในทะเลเพียงอย่างเดียว จะขึ้นมาบนบกก็เพียงแค่วางไข่เท่านั้น โดยที่เท้าทั้งสี่ข้างพัฒนาให้เป็นอวัยวะคล้ายครีบ ซึ่งเต่าทะเลทั่วโลกปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิด ใน 2 วงศ์ 5 สกุล ได้แก่ เต่าหัวค้อน (Caretta caretta), เต่าตนุ (Chelonia mydas), เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea), เต่ากระ (Eretmochelys imbricata), เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus), เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii), เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในน่านน้ำไทยพบได้ถึง 5 ชนิด ไม่พบเพียง 2 ชนิดคือ เต่าตนุหลังแบน และ เต่าหญ้าแอตแลนติก

อาหารของเต่า

เต่า กินอาหารได้ทั้ง พืช และสัตว์ โดยเต่าบางชนิดก็จะกินแต่เฉพาะสัตว์ เช่น เต่าอัลลิเกเตอร์, เต่าสแนปปิ้ง (Chelydra serpentina) , เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) เป็นต้น

เต่าจมูกหมู (Carettochelys insculpta)

ตะพาบ

ดูบทความหลักที่ วงศ์ตะพาบ

ตะพาบ หรือ ตะพาบน้ำ (อังกฤษ: Soft-shelled turtle) เป็นเต่าจำพวกหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Trionychidae ลักษณะโดยทั่วไปมีลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น

มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า Rasculavpharyngcal capacity ตะพาบชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกและสวยที่สุดในโลกคือ ตะพาบม่านลาย (Chitra chitra) [3] ที่พบในแหล่งน้ำพรมแดนไทยกับพม่าแต่ก็มีเต่าอยู่ชนิดหนึ่งที่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่แบ่งแยกชัดเจนว่าเป็นเต่าหรือตะพาบ คือ เต่าจมูกหมู (Carettochelys insculpta) หรือที่เรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า เต่าบิน พบที่ทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ ปาปัวนิวกินี

ตะพาบโดยมากแล้วจะมีนิสัยดุกว่าเต่า เป็นสัตว์ที่ชอบกินเนื้อมากกว่ากินพืช ในประเทศไทยพบได้ในหนองน้ำและแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศ ภาษาอีสานเรียกว่า กริว, ปลาฝา หรือ จมูกหลอด เป็นต้น

เต่ากับมนุษย์

โดยปกติแล้ว มนุษย์จะไม่ใช้เนื้อเต่าหรือไข่เต่าเป็นอาหาร แต่ก็มีบางพื้นที่หรือคนบางกลุ่มที่นิยมบริโภคเนื้อเต่าหรือเนื้อตะพาบ โดยเชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงกำลัง เช่น ตะพาบน้ำตุ๋นยาจีน เป็นต้น โดยความเชื่อทั่วไปแล้ว เต่า ถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน คนไทยจึงมีความเชื่อว่าหากได้ปล่อยเต่าจะเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์เชื่อต่ออายุให้ยืนยาว ดังนั้น จึงมักเห็นเต่าหรือตะพาบตามแหล่งน้ำในวัดบางแห่งเสมอ ๆ ในประเทศจีน หลักฐานทางโบราณคดี พบว่า สมัยราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ซาง กระดองเต่า ถูกใช้เป็นเครื่องทำนายทางโหราศาสตร์ ในทางไสยศาสตร์ของไทย มีการใช้เต่าเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ยันต์เต่าเลือน เป็นต้น

เต่า ในทางภาษาศาสตร์ของไทย ยังใช้เป็นพยัญชนะลำดับที่ ๒๑ โดยมักใช้เป็นตัวสะกด คือ ต.เต่า โดยเป็นตัวอักษรเสียงกลาง นอกจากนี้แล้ว เต่า ยังเป็นตัวแทนของความเชื่องช้า โง่งม จึงมีสำนวนทางภาษาในนัยเช่นนี้ เช่น โง่เง่าเต่าตุ่น เป็นต้น

เต่าที่พบในประเทศไทย

เต่าทะเล

เต่าทะเลบนโลกมี 7 ชนิด พบในประเทศไทย 5 ชนิด

ลำดับชื่อไทยสกุลและชื่อวิทยาศาสตร์วงศ์
1เต่าหัวค้อนCaretta carettaวงศ์เต่าทะเล
2เต่าตนุChelonia mydasวงศ์เต่าทะเล
3เต่ากระEretmochelys imbricataวงศ์เต่าทะเล
4เต่าหญ้าLepidochelys olivaceaวงศ์เต่าทะเล
5เต่ามะเฟืองDermochelys coriaceaวงศ์เต่ามะเฟือง

เต่าบกและเต่านา

หรือบางครั้งเรียกเต่าน้ำจืด เนื่องจากส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ตั้งแต่บนภูเขาจนถึงปากแม่น้ำ มีบางชนิดเท่านั้นที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือบริเวณปากแม่น้ำได้ เต่าในกลุ่มนี้พบ 3 วงศ์ ได้แก่ วงศ์เต่าบก, วงศ์เต่านา และวงศ์เต่าปูลู โดยวงศ์เต่าบกไม่สามารถว่ายน้ำได้ ส่วนวงศ์เต่านาสามารถว่ายน้ำได้ชั่วคราว

ลำดับชื่อไทยสกุลและชื่อวิทยาศาสตร์วงศ์
1เต่ากระอานBatagur baskaวงศ์เต่านา
2เต่าลายตีนเป็ดCuora borneoensisวงศ์เต่านา
3เต่าหับCuora amboinensisวงศ์เต่านา
4เต่าห้วยเขาบรรทัดCyclemys artiponsวงศ์เต่านา
5เต่าใบไม้Cyclemys dentataวงศ์เต่านา
6เต่าห้วยคอลายCyclemys tcheponensisวงศ์เต่านา
7เต่าหวายHeosemys grandisวงศ์เต่านา
8เต่าจักรHeosemys spinosaวงศ์เต่านา
9เต่าบัวHeosemys annandaleiวงศ์เต่านา
10เต่าเหลืองIndotestudo elongataวงศ์เต่าบก, วงศ์ย่อย Xerobatinae
11เต่านาหัวใหญ่Malayemys macrocephalaวงศ์เต่านา
12เต่านาอีสานMalayemys subtrijugaวงศ์เต่านา
13เต่าหกManouria emysวงศ์เต่าบก, วงศ์ย่อย Testudininae
14เต่าเดือยManouria impressaวงศ์เต่าบก, วงศ์ย่อย Testudininae
15เต่าปากเหลืองMelanochelys trijugaวงศ์เต่านา
16เต่าทับทิมNotochelys platynotaวงศ์เต่านา
17เต่าปูลูPlatysternon megacephalumวงศ์เต่าปูลู
18เต่าจันPyxidea mouhotiiวงศ์เต่านา
19เต่าดำSiebenrockiella crassicollisวงศ์เต่านา

นอกจากนี้ยังพบ เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta elegans) อยู่ในวงศ์เต่าแก้มแดง มีลักษณะคล้ายวงศ์เต่านา ไม่ใช่เต่าพื้นเมืองของประเทศไทย แต่เป็นเต่าที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาในฐานะสัตว์เลี้ยงสวยงาม ปัจจุบันได้แพร่ขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำจนกลายเป็นสัตว์ประจำถิ่นไปแล้ว

ตะพาบ

ตะพาบน้ำ หรือวงศ์ตะพาบ

ลำดับชื่อไทยสกุลและชื่อวิทยาศาสตร์วงศ์
1ตะพาบสวนAmyda cartiliagineaวงศ์ย่อยตะพาบ
2ตะพาบม่านลายไทยChitra chitraวงศ์ย่อยตะพาบ
3ตะพาบม่านลายพม่าChitra vandijkiวงศ์ย่อยตะพาบ
4ตะพาบแก้มแดงDogania subplanaวงศ์ย่อยตะพาบ
5ตะพาบหับพม่าLissemys scutataวงศ์ย่อยตะพาบหับ
6ตะพาบหัวกบPelochelys cantoriiวงศ์ย่อยตะพาบ

นอกจากนี้ยังพบ ตะพาบไต้หวัน (Trionyx sinensis) ไม่ใช่ตะพาบพื้นเมืองของไทย แต่เป็นของประเทศจีน ถูกนำเข้ามาในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและสัตว์เลี้ยงสวยงาม ปัจจุบันได้แพร่ขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำจนกลายเป็นสัตว์ประจำถิ่นไปแล้ว

อ้างอิง

ข้อมูลทั่วไป

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง