ธรรมจักร

ธรรมจักร (สันสกฤต: धर्मचक्र; บาลี: dhammacakka) หรือ กงล้อแห่งธรรม เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แพร่หลายในศาสนาอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู, ไชนะ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสนาพุทธ[1][2]

"ธรรมจักร" แกะสลักจากหินทราย, พุทธศตวรรษที่ 12, พบที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม, ปัจจุบันเป็นของสะสมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ต้นกำเนิด

สัญลักษณ์กงล้อ/จักรเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดีย นักวิชาการ Madhavan และ Parpola ระบุว่าสัญลักษณ์กงล้อปรากฏมากในโบราณวัตถุจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยเฉพาะบนตราประทับหลาย ๆ ตรา[3] ตัวอย่างชิ้นสำคัญคือเป็นหนึ่งในสิบสัญลักษณ์บนป้ายโธลาวีรา[3] ปรากฏเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ตั้งแต่ราว 2500 ปีก่อน ค.ศ.[4]

นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อมโยงจักรโบราณเข้ากับลัทธิสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์[5] ในพระเวท พระสุริยะอวตารในปางพระมิตรมีการบรรยายว่าเป็น "ดวงตาของโลก" ในแง่นี้พระอาทิตย์จึงอาจมองเป็นดวงตา (จักษุ) ซึ่งให้ความสว่างและการมองเห็นแก่โลก[6] ฉะนั้นจึงมีการเชื่อมโยงแนวคิดจักรเข้ากับแสงสว่างหรือปัญญา

ในศาสนาพุทธ

ประติมากรรมศาสนิกและธรรมจักรจากสถูปสาญจี, หน้าทิศใต้, เสาตะวันตก

ในศาสนาพุทธ ธรรมจักรปรากฏใช้ทั่วไปเพื่อสื่อถึงธรรมของพระพุทธเจ้า, บ้างใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระโคตมพุทธเจ้า และใช้แทนหนทางสู่การตรัสรู้ ปรากฏใช้เช่นนี้นับตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก[7][1][note 1] บางครั้งปรากฏเชื่อมโยงธรรมจักรเข้ากับอริยสัจสี่, อริยมรรคแปด และ ปฏิจจสมุปบาท

ธรรมจักรที่ปรากฏใช้ในยุคก่อนศาสนาพุทธถือว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์อัษฏมงคล[8][note 2] และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปะอินเดีย[7][7][note 1]

ตามธรรมเนียมพุทธระบุว่า พระพุทธเจ้าทรงเริ่มหมุนกงล้อแห่งธรรมครั้งแรกเมื่อทรงแสดงปฐมเทศนา[9] ดังที่ปรากฏใน ธัมมจักกัปปวัตนสูตร การ "หมุนกงล้อแห่งธรรม" นี้เป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่มีผลต่อจักรวาล เข้าใจว่าศาสนาพุทธรับเอาแนวคิดของกงล้อในฐานะสัญลักษณ์มาจาก แนวคิดปรัมปราอินเดียของ จักรวรรติน ("ผู้หมุนกงล้อ", หรือ "จักรพรรดิแห่งเอกภพ")[4][9] แนวคิดนี้ถูกรับมาแทนพระโคตมพุทธเจ้าในฐานะมหาปุริษา ในฐานผู้หมุนกงล้อ ("จักรวรรติน") ในทางจิตวิญญาณ แทนที่จะเป็นการหมุนกงล้อในทางโลกตามความหมายดั้งเดิมของจักรวรรติน[10]

ในการตีความ "การหมุนกงล้อแห่งธรรม" นั้น พระพุทธโฆษาจารย์ ภิกษุองค์สำคัญในธรรมเนียมเถรวาท อธิบายว่า "กงล้อ" ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงหมุนนี้ เข้าใจหลัก ๆ ในแง่ว่าเป็นปัญญา ความรู้ และญาณ ปัญญาที่ว่านี้มีสองแง่มุม คือ ปฏิเวธญาณ (paṭivedha-ñāṇa) หรือปัญญาแห่งการรู้ตนถึงความจริง และ เทศนาญาณ (desanā-ñāṇa) ปัญญาของการประกาศความจริง[6]

ปรากฏการออกแบบธรรมจักรมีซี่ที่แตกต่างกัน โดยที่พบมากคือ 8, 12, 24 หรือมากกว่านั้น การตีความจำนวนนี้แตกต่างกันไปตามธรรมเนียม โดยทั่วไปมักตีความถึงคำสอนต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า เช่น ในธรรมเนียมทิเบตตีความกงล้อ 8 ซี่ว่าแทนมรรคแปด และองค์ประกอบสามส่วนของจักร คือ ตุมล้อ, ขอบ และ ซี่ แทนการปฏิบัติสามประการของพระพุทธเจ้า (ศีล, สมาธิ และ ปัญญา)[11] หรือในคติเถรวาทแบบไทย ตีความจักร 12 ซี่ หมายถึงปฏิจจสมุปบาทสิบสอง หรือ 31 ซี่ หมายถึง ภูมิทั้ง 31 (กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4) เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏการแทนความหมายของวงล้อที่หมุนไปในฐานะวงล้อของการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) ซึ่งเรียกจักรในความหมายนี้ว่า "สงสารจักร" หรือ "สังสารจักร" และ "ภวจักร"[6]

ในการใช้งานแบบอื่น ๆ

ภาพวาดของไชนะแสดง อหิงสา ปรโม ธรรม (อหิงสาคือธรรมสูงสุด)

ปรากฏธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ในศรมัณของศาสนาไชนะ และบางครั้งปรากฏบนเทวรูปของตีรถังกร[12][13][14] และในภควัทคีตา ปรากฏแนวคิดของธรรมจักรและการหมุนกงล้อเช่นกัน[15]

อโศกธรรมจักร 24 ซี่ ปรากฏในธงชาติอินเดีย เพื่อแทนแนวคิดของธรรมในศาสนาอินเดียโดยรวม[16] และตราแผ่นดินอินเดียซึ่งเป็นภาพของหัวเสาอโศกรูปสิงห์จากสาญจีก็ปรากฏธรรมจักรบนนั้น[17] สรเวปัลลี รธากฤษณัน รองประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียระบุว่าอโศกจักรในสัญลักษณ์ของชาติอินเดียนั้นแทน "กงล้อของกฎหมายของธรรม" และ "ความจริงหรือสัตยะ" (ดังที่ปรากฏในคำขวัญประจำชาติ สัตยเมวชยเต), "คุณธรรม" และ "ดารเคลื่อนไหว" ในแง่ของ "พลวัตของการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ"[16]

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52
  • หนังสือศัพท์วิเคราะห์ โดยพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช): แม่บทแห่งธรรม ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง