พรรคไทยสร้างไทย

พรรคการเมืองไทย

พรรคไทยสร้างไทย (ย่อ: ทสท.) พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 3/2564 เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีนาย สอิสร์ โบราณ และนาย วัลลภ ไชยไธสง เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก มีที่ทำการพรรคอยู่ที่ 132/2 หมู่ 16 ถนนเจนจบทิศ ตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น[4] ต่อมาได้ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 54/1 ซอยลาดปลาเค้า 60 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[5] กระทั่งวันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 9 นาฬิกา 19 นาที จึงได้ทำการยกเสาเอกเพื่อก่อสร้างที่ทำการสำนักงานใหญ่ของพรรคไทยสร้างไทย ย่านถนนเทิดราชัน แขวงสีกัน เขตดอนเมือง[6][7]

พรรคไทยสร้างไทย
หัวหน้าคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
รองหัวหน้า
เลขาธิการชัชวาล แพทยาไทย
รองเลขาธิการ
  • รัตนมงคล เลิศทวีวิทย์
  • นรุตม์ชัย บุนนาค
  • รณกาจ ชินสำราญ
  • ภัทรดนัย ใหม่พระเนตร
  • ณัฐวัฒน์ พอใช้ได้
  • วรวุฒิ โตวิรัตน์
เหรัญญิกภัชริ นิจสิริภัช
นายทะเบียนสมาชิกศรัณยู คงสวัสดิ์เกียรติ
โฆษกปริเยศ อังกูรกิตติ
กรรมการบริหาร
ดูรายชื่อ
  • ทิวากร สุระชน
  • ฉลอง เทพวิทักษ์กิจ
  • วัลลภ ไชยไธสง
  • วรวุฒิ ศรีนนท์
  • สุนทร ภู่ไพบูลย์
  • ธวัชชัย ทองสิมา
  • มีร์ นุสรัตน์ อาลี คาน
  • สุมนิศร์ ทีฆธนานนท์
  • ตัสนีม เจ๊ะตู
  • วิจักร อากัปกริยา
  • วิชัย หุตังคบดี
  • ศุชัยวุธ ชาวสวนกล้วย
  • สุจินต์ พิทักษ์
  • พิทักษ์ สันติวงษ์สกุล
  • ภวฤทธิ์ กาญจนเกตุ
คำขวัญมาร่วมกันลงมือสร้างประเทศไทยที่ดีที่สุด
สู้เพื่อคนตัวเล็ก
ก่อตั้ง23 มีนาคม พ.ศ. 2564 (3 ปี)
แยกจากพรรคเพื่อไทย
ที่ทำการ54/1 ซอยลาดปลาเค้า 60 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
จำนวนสมาชิก  (ปี 2565)66,526 คน[1]
อุดมการณ์อนุรักษนิยมก้าวหน้า[2]
พิพัฒนาการนิยม
กษัตริย์นิยม[2]
ต่อต้านคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[3]
จุดยืนกลางขวา
สี  สีม่วง
  สีน้ำเงิน
  สีน้ำเงินเข้ม
  สีแดง
สภาผู้แทนราษฎร
6 / 500
สภากรุงเทพมหานคร
2 / 50
เว็บไซต์
www.thaisangthai.org
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ

พรรคไทยสร้างไทยเป็นพรรคการเมืองที่พัฒนามาจาก กลุ่มไทยสร้างไทย กลุ่มการเมืองที่มี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์เป็นแกนนำ ได้ส่งผู้สมัครลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งแรกใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565[8] อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคบางส่วนได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[9][10]

ในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565 พรรคไทยสร้างไทยได้เตรียมจัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ที่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญคือการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 50 คนแทนชุดเก่าจำนวน 8 คนที่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเนื่องจากนายสอิสร์ โบราณ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกลางที่ประชุม พร้อมกับแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค โดยยกเลิกฉบับปี 2564 ทั้งฉบับและใช้ฉบับปี 2565 แทนโดยทำการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ทำการพรรคในปัจจุบันคือ 54/1 ซอยลาดปลาเค้า 60 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน รวมถึงอุดมการณ์และนโยบายพรรค โดยมีกระแสข่าวว่า คุณหญิงสุดารัตน์ ซึ่งเป็นประธานพรรคจะเป็นหัวหน้าพรรค นาวาอากาศตรีศิธา ทิวารี จะเป็นเลขาธิการพรรค[11] ซึ่งที่ประชุมมติเลือก คุณหญิงสุดารัตน์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นาวาอากาศตรีศิธา เป็นเลขาธิการพรรคตามกระแสข่าว[12][13]

วันที่ 24 มกราคม 2566 พ.ต.ท กุลธน ประจวบเหมาะ รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย เปิดตัว ส.ส.เขตตะวันตก ราชบุรี-กาญจนบุรี-ประจวบ-สุพรรณบุรึ ซึ่งบางส่วนย้ายมาจากพรรคเพื่อไทย[14][15] ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคไทยสร้างไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างพร้อมกับยกเลิกข้อบังคับพรรคฉบับปี 2565 ทั้งฉบับและประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับปี 2566 แทน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการกสทช. เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่แทนนาวาอากาศตรีศิธาที่ลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปลงสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามของพรรค นอกจากนี้ยังมีมติเลือกนายดล เหตระกูล อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้าที่ย้ายมาสังกัดพรรคไทยสร้างไทยเป็นรองหัวหน้าพรรค[16][17]

ในวันที่ 20 เมษายน 2567 พรรคไทยสร้างไทยได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก คุณหญิงสุดารัตน์ ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อไป ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของ ชัชวาล แพทยาไทย ส.ส. ร้อยเอ็ด[18]

บุคลากรภายในพรรค

หัวหน้าพรรค

ลำดับรูปรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระตำแหน่งสำคัญ
1 สอิสร์ โบราณ23 มีนาคม พ.ศ. 25649 กันยายน พ.ศ. 2565
2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์9 กันยายน พ.ศ. 2565ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค

ลำดับรูปรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระตำแหน่งสำคัญ
1 วัลลภ ไชยไธสง23 มีนาคม พ.ศ. 25649 กันยายน พ.ศ. 2565
2 นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี9 กันยายน พ.ศ. 256531 มีนาคม พ.ศ. 2566
3 ฐากร ตัณฑสิทธิ์31 มีนาคม พ.ศ. 25666 มกราคม พ.ศ. 2567
4 ชัชวาล แพทยาไทย20 เมษายน พ.ศ. 2567ปัจจุบัน

คณะกรรมการบริหารพรรค

อันดับชื่อตำแหน่ง
1คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์หัวหน้าพรรค
2กิติ วงษ์กุหลาบรองหัวหน้าพรรค
3ชวลิต วิชยสุทธิ์
4ไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์
5พันตำรวจโท กุลธน ประจวบเหมาะ
6พลโท อนุธัช บุนนาค
7อดุลย์ นิลเปรม
8ไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์
9นพดล มังกรชัย
10อุดมเดช รัตนเสถียร
11สุธา ชันแสง
12ธวัชชัย สุทธิบงกช
13นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
14ดล เหตระกูล
15ชัชวาล แพทยาไทยเลขาธิการพรรค
16รัตนมงคล เลิศทวีวิทย์รองเลขาธิการพรรค
17นรุตม์ชัย บุนนาค
18รณกาจ ชินสำราญ
19ภัทรดนัย ใหม่พระเนตร
20ณัฐวัฒน์ พอใช้ได้
21วรวุฒิ โตวิรัตน์
22ภัชริ นิจสิริภัชเหรัญญิกพรรค
23ศรัณยู คงสวัสดิ์เกียรตินายทะเบียนพรรค
24ปริเยศ อังกูรกิตติโฆษกพรรค
25ทิวากร สุระชนกรรมการบริหารพรรค
26ฉลอง เทพวิทักษ์กิจ
27วัลลภ ไชยไธสง
28วรวุฒิ ศรีนนท์
29สุนทร ภู่ไพบูลย์
30ธวัชชัย ทองสิมา
31มีร์ นุสรัตน์ อาลี คาน
32สุมนิศร์ ทีฆธนานนท์
33ตัสนีม เจ๊ะตู
34มูนีเร๊าะห์ ปอแซ
35วิชัย หุตังคบดี
36ศุชัยวุธ ชาวสวนกล้วย
37สุจินต์ พิทักษ์
38พิทักษ์ สันติวงษ์สกุล
39วิจักร อากรัปกริยา

บทบาททางการเมือง

พรรคไทยสร้างไทย เริ่มดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2564 โดยจัดกิจกรรมปล่อยขบวนคาราวาน “สร้างไทย 77 จังหวัด” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564[19] รวมถึงการเปิดตัวนโยบายต่างๆ อาทิ นโยบายบำนาญประชาชน[20] กระทั่งวันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565 ได้มีรายงานข่าวว่าทางพรรคไทยสร้างไทยตัดสินใจส่งนาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมกับเปิดตัวผู้สมัคร ส.ก. ทั้ง 50 เขตในวันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565[21]

ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 พรรคไทยสร้างไทยได้เปิดตัว นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี เป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้ง 50 คน[8] จากการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว พรรคไทยสร้างไทยได้ที่นั่ง ส.ก. 2 ที่นั่ง[22]

ในเดือนกรกฎาคม 2565 หลังมีข่าวสมาชิกพรรคหลายคนย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[9][10] คุณหญิงสุดารัตน์แถลงว่า ไม่เป็นปัญหา และจะเดินหน้าผลักดันร่างพระราชบัญญัติบำนาญประชาชนต่อไป[23]

28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้มีกระแสข่าวว่าพรรคสร้างอนาคตไทยและพรรคไทยสร้างไทย นัดแถลงข่าวเพื่อประกาศการรวมพรรคในวันถัดมา[24] การแถลงข่าวในวันนั้นมีผลสรุปคือ ทั้งสองพรรคตกลงร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองระหว่างกัน แต่ยังไม่มีการควบรวมพรรคแต่ประการใด[25]โดยเหตุผลหลักคือเงื่อนไขทางกฎหมาย จึงไม่สามารถควบรวมพรรคได้ในขณะนั้น รวมไปถึงการตกลงเรื่องตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคที่ยังไม่ลงตัว[26]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 มีการประกาศชื่อสมาชิกเพื่อไทยบางส่วนย้ายมาพรรคไทยสร้างไทย ได้แก่ พันธ์ศักดิ์ เพชรพิทักษ์ชน อดีต สส.พรรคเสรีรวมไทย[27] ประจวบคีรีขันธ์ [28] อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีต สส เพื่อไทย เขตสายไหม [29] [30][31] การุณ โหสกุล อดีต สส เพื่อไทย เขตดอนเมือง [32]

21 กรกฎาคม พรรคก้าวไกลประกาศให้สิทธิ์การเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแก่พรรคเพื่อไทย หลังจากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ก็ได้มีการยุติบันทึกความเข้าใจของ 8 พรรคร่วม พรรคไทยสร้างไทยจึงประกาศจุดยืนว่า จะไม่มีการสลับขั้ว ไม่ย้ายฝั่ง และไม่เป็นที่เหยียบยืนให้กับเผด็จการอย่างเด็ดขาด เพื่อที่จะยุติการสืบทอดอำนาจของระบบเผด็จการ และจะเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญคืนอำนาจให้ประชาชน จากการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ซึ่งพรรคได้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาแล้ว โดยจะไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2[33]

5 ตุลาคม 2566 คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวขอบคุณพรรคก้าวไกล กรณีที่มอบประธานกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเดิมเป็นโควตาของพรรคก้าวไกลให้กับพรรคไทยสร้างไทยเป็นเวลา 2 ปี โดยให้ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ทำหน้าที่เป็นประธาน เพื่อมุ่งหวังให้พรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนหลัก ร่วมกันทำงาน ด้วยบรรยากาศที่เป็นไปได้ด้วยดีนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน ในคณะกรรมาธิการที่ดี และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในมิติต่าง ๆ[34]

การเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคไทยสร้างไทยได้ส่งผู้สมัครทั้งแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ ได้จำนวน สส.แบบแบ่งเขต 5 คน และบัญชีรายชื่อ 1 คน นั่นคือคุณหญิงสุดารัตน์ ต่อมาพรรคไทยสร้างไทยประกาศร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล[35]

11 กรกฎาคม 2566 คุณหญิงสุดารัตน์ประกาศลาออกจาก สส.บัญชีรายชื่อ ทำให้ฐากรขยับมาเป็น สส.บัญชีรายชื่อแทน [36]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้งจำนวนที่นั่งคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงที่นั่งเปลี่ยนผลการเลือกตั้งผู้นำเลือกตั้ง
2566
6 / 500
345,2952.22% 6ฝ่ายค้านสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้งผู้สมัครคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงผลการเลือกตั้ง
2565ศิธา ทิวารี73,7202.75% พ่ายแพ้

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้งจำนวนที่นั่งคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงที่นั่งเปลี่ยนผลการเลือกตั้ง
2565
2 / 50
241,97510.45% 2เสียงส่วนน้อย

ข้อวิจารณ์

คำร้องคัดค้านการเป็น สส.

15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฎว่ามี ว่าที่ ส.ส. ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[37] โดยพรรคไทยสร้างไทยถูกร้องคัดค้านทั้งสิ้น 2 คน ดังนี้

ลำดับรายชื่อ สส.เขตที่ลงเลือกตั้ง
1สุภาพร สลับศรียโสธร เขต 1
2หรั่ง ธุระพลอุดรธานี เขต 3

แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

กลุ่มงูเห่า

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567 เพื่อลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มี สส. ของพรรคไทยสร้างไทยจำนวน 3 คน ลงมติ "รับหลักการ" ร่างพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งสวนกับมติของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ให้ลงมติ "ไม่รับหลักการ" ดังนี้[38]

  1. สุภาพร สลับศรี สส.ยโสธร
  2. หรั่ง ธุระพล สส.อุดรธานี
  3. อดิศักดิ์ แก้วมุงคุณทรัพย์ สส.อุดรธานี

ส่งผลให้ในวันถัดมา (6 มกราคม) นายฐากรได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคเพื่อรับผิดชอบ โดยมีผลทันที[39]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูล

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง