การเมืองฝ่ายขวา

ฝ่ายขวา หมายถึง ทัศนะที่ว่าระเบียบสังคมและลำดับชั้นทางสังคมบางอย่างเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เป็นปกติ หรือเป็นสิ่งพึงปรารถนา[1][2][3] ปกติแล้วบุคคลสนับสนุนฐานะดังกล่าวบนพื้นฐานของกฎหมายธรรมชาติ หลักวิชาเศรษฐศาสตร์หรือประเพณี[4]: 693, 721 [5][6][7][8][9] ลำดับชั้นและความไม่เสมอภาคอาจถูกมองว่าเป็นผลลัพธ์ตามธรรมชาติของความแตกต่างทางสังคมที่มีมาแต่เดิม[10][11] หรือการแข่งขันในเศรษฐกิจแบบตลาด[12][13][14] คำว่าฝ่ายขวาโดยทั่วไปหมายความถึงพรรคการเมืองหรือระบบการเมืองอนุรักษนิยมหรือพวกปฏิกิริยา[15]

คำว่าฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวาในทางการเมือง เริ่มใช้มาตั้งแต่ยุคการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่มีการจัดที่นั่งประชุมในสภาสมัชชาแห่งชาติ โดยผู้สนับสนุนเจ้าในระบอบเก่านั่งอยู่ทางขวามือของประธาน[16][17][18][19] อันเป็นผู้ที่สนับสนุนลำดับชั้น ประเพณีและนักบวช[4]: 693 

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชนชั้นทางสังคมในโลกตะวันตกเปลี่ยนจากอภิชน และ ชนชั้นขุนนาง รวมไปถึงชนชั้นกลางที่ขยายตัวเริ่มหันเข้าสู่ระบบทุนนิยม[20] การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากขบวนการฝ่ายขวาอย่างพรรคอนุรักษนิยมในสหราชอาณาจักรหันออกจากความล้มเหลวของพาณิชยนิยม[21][22] คำว่าฝ่ายขวาเดิมทีใช้กับอนุรักษนิยมเดิม นิยมเจ้า และพวกปฏิกิริยา ส่วนขวาจัดหมายถึงลัทธิฟาสซิสต์ นาซี และ กลุ่มที่เชื่อว่าชนชาติหนึ่งสูงส่งกว่าชาติอื่น ๆ[23] ในขณะเดียวกันฝ่ายขวาจัดนั้นไม่ได้มีจุดยืนทางเศรษฐกิจแบบ "ขวา" เสมอไป เนื่องจากฝ่ายขวาเศรษฐกิจโดยทั่วไปถือว่าเป็นพวกเสรีนิยม ที่สนับสนุนการค้าเสรี และ มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเสรีนิยมแบบคลาสสิกที่ต่างจากกระแสขวาฝ่ายขวาจัดที่มีแนวคิดแทรกแซงทางเศรษฐกิจ และ สังคมนิยม เป็นเหตุผลที่ว่านิยามการเมือง "ฝ่ายขวา" นั้นกำกวม และ มีการแยกระหว่างฝ่ายขวาทางสังคมที่เน้นอนุรักษ์นิยม และ ขวาทางเศรษฐกิจความเสรี[24] คำว่าฝ่ายขวาหมายถึงพวกชาตินิยม พวกที่คัดค้านการเข้าเมืองโดยให้ส่งเสริมคนพื้นเมือง (nativist) อนุรักษนิยมทางศาสนา และ ใช้กับขบวนการฝ่ายขวาที่ต่อต้านทุนนิยมที่มีต้นกำเนิดจากลัทธิฟาสซิสต์[25][26] ส่วนในสหรัฐ ฝ่ายขวาหมายความถึงทั้งอนุรักษนิยมทางเศรษฐกิจ และ สังคม[27]

ฝ่ายขวาในแต่ละประเทศ

ในประเทศต่าง ๆ ฝ่ายขวาคือคนที่สนับสนุนความเป็นอนุรักษ์นิยม และ ความเป็นสถานภาพปัจจุบันของการเมือง (political status quo) ทั้งนี้ทั้งนั้นฝ่ายขวาไม่ได้มีความหมายว่าเป็นอำนาจนิยมเสมอไป รวมไปถึงมีนโยบายกับแนวคิดที่สนับสนุนการค้าเสรีระหว่างประเทศ และ ระบบตลาด ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าภายในกลุ่มฝ่ายขวากันเองยังมีการแตกแขนงกันมาก และ ไม่ได้เห็นชอบเหมือนกันไปทุกเรื่อง ยกเช่น ในสหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู. บุช, กองทัพ, ผู้ประกอบกิจกรรม และ นักธุรกิจส่วนใหญ่ ถือเป็นตัวแทนฝ่ายขวาที่มีแนวคิดสนับสนุนสถานภาพปัจจุบัน และ ตีความรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาอย่างตรงไปตรงมาตามแบบบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ[28] ซึ่งฝ่ายที่ว่านี้มีแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับฝ่ายขวาที่เป็นประชาชนผู้ที่สนับสนุนอนุรักษ์นิยม และ ต่อต้านโลกาภิวัตน์ (รวมไปถึงระบบตลาด) ด้วยเช่นกัน กลุ่มนี้มีจุดยืนหลักเด่นชัดในพรรครีพับลิกันคือประชาชนที่อยู่ในชนบทของประเทศ โดยกลุ่มนี้มีจุดยืนต่อต้านการค้าเสรี และ การเปลี่ยนแปลงของนโยบายก้าวหน้าของพรรคเดโมแครตที่มีฐานหลักอยู่แค่ในเมืองใหญ่[29][30] ฝ่ายขวาจัด และ ขวาทั่วไปในยุโรปมีทั้งพรรคนาซี (ข้อพิพาท) ของประเทศเยอรมันที่นโยบายทางเศรษฐกิจรวมสังคมนิยม, การแทรกแซงตลาด และ ระบบตลาดในเวลาเดียวกัน[31] และ พรรคอนุรักษนิยมในประเทศอังกฤษที่นโยบายคล้าย ๆ เป็นต้น ส่วนสำหรับในประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ เช่นประเทศไทย, อังกฤษ และ ญี่ปุ่น ฝ่ายขวาหมายรวมถึงกลุ่มนิยมกษัตริย์ด้วย

ประเทศไทย

ฝ่ายขวาในการเมืองไทยปัจจุบันนั้นเป็นรูปธรรมตั้งแต่สมัยคณะราษฎรเริ่มมีอำนาจในประเทศไทย ฝ่ายขวาไม่ได้มีความหมายว่าจะต้องเป็นฝ่ายนิยมกษัตริย์เสมอไปแต่เป็นฝ่ายที่สนับสนุนความเป็นรัฐชาติของประเทศไทย และ สังคมที่มีความเหนียวแน่นกับการยึดติดต่อระบบที่ก่อร่างขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น การปฏิวัติปี 2479 ที่เพิ่มความหลากหลายให้กับการเมืองไทยโดยเป็นแรงผลักดันทำให้ฝ่ายขวาทางสังคม และ เศรษฐกิจมีความหลากหลายมากขึ้นให้นอกเหนือไปจากฝ่ายขวาที่สนับสนุนนิยมกษัตริย์อย่างเดียว โดยฝ่ายขวาหลากหลายที่เกิดจากคณะราษฎรที่กล่าวนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปธรรมของสังคมไทยในปัจจุบันทั้งในด้านเศรษฐกิจ และ สังคม ซึ่งนโยบายจากฝ่ายนี้นั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายขวานิยมกษัตริย์ มากไปกว่านั้น ฝ่ายนี้มีข้อพิพาท และ ข้อปฏิเสธต่อฝ่ายขวานิยมกษัตริย์ บุคคลที่มีจุดยืนที่ว่านั้นยกตัวอย่างคือ จอมพล ป. ผู้ที่ยึดแนวคิดต่อต้านความนิยมกษัตริย์ในขณะเดียวกันก็ยึดถือลัทธิฟาสซิสต์ในสมัยคราบเกี่ยวสงครามโลก และ สงครามโลกครั้งที่สอง, ประยูร ภมรมนตรี ผู้สนับสนุนการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยในขณะที่เป็นแนวร่วมหลักต่อต้านคอมมิวนิสต์ และ เป็นสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาร่วมกับ จอมพลป. ด้วยแรงสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ส่วนในสมัยร่วมสมัยฝ่ายขวารวมไปถึงพรรคไทยรักไทยที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร, พรรคเพื่อไทย, พรรคพลังประชารัฐ และ พรรคประชาธิปัตย์[32][33]

ทั้งนี้ทั้งนั้นฝ่ายขวาที่นิยมกษัตริย์ภายในประเทศไทยนั้นเป็นฝ่ายที่ยึดกับอำนาจนิยม และ การรวมศูนย์ทางการเมืองโดยฝ่ายนิยมกษัตริย์เป็นหลัก ยกตัวอย่างเมื่อครั้งเหตุการณ์ 6 ตุลา กลุ่มอนุรักษนิยมฝ่ายขวาได้ชูประเด็นเรื่องนักศึกษาหมิ่นราชวงศ์จนเป็นชนวนไปสู่การใช้กำลังสลาย และ สังหารนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มกระบวนการทางการเมืองฝ่ายขวาในเหตุการณ์ 6 ตุลา ที่เป็นรูปธรรมคือ กลุ่มทหาร (กลุ่มนวพล) ลูกเสือชาวบ้าน ชมรมวิทยุเสรี ชมรมแม่บ้าน กลุ่มกระทิงแดง เป็นต้น

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง