พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

สมาชิกราชวงศ์ไทย

พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา (เดิม: หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์; 4 กันยายน พ.ศ. 2406 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2472) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี และเจ้าจอมมารดาจีน เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระอรรคชายาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับพระโสทรเชษฐภคินี คือ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์

พระวิมาดาเธอ
พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
พระองค์เจ้าชั้นโท
กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
พระอรรคชายาเธอ
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2421 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
ประสูติ4 กันยายน พ.ศ. 2406
วังท้ายวัดพระเชตุพน กรุงเทพมหานคร
สิ้นพระชนม์24 มิถุนายน พ.ศ. 2472 (65 ปี)
วังสวนสุนันทา จังหวัดพระนคร
พระสวามีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบุตร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
พระมารดาเจ้าจอมมารดาจีน

พระประวัติ

พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าสาย ประสูติเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2405 [1] เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่หม่อมจีน (ต่อมาหม่อมจีนได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าจอมมารดาจีน)[note 1] มีพระนามที่เรียกกันในครอบครัวว่า เป๋า

หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ เมื่อประสูติ ประทับอยู่ที่วังของพระบิดา โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร เป็นผู้อภิบาล มีพระโสทรเชษฐภคินีสองพระองค์ และได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอรรคชายาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกันทั้งสามพระองค์ คือ

พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ทรงรับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าทรงอิสริยยศเป็นพระมเหสี ตำแหน่ง พระอรรคชายาเธอ มีหน้าที่ควบคุมดูแลห้องพระเครื่องต้น ของเสวยคาวหวาน อีกทั้งทรงเป็นผู้ที่ตั้งโรงเลี้ยงเด็กขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย บริเวณตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง อุทิศพระกุศลประทานพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ที่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงรับเด็กกำพร้าและเด็กยากจนมาเลี้ยงดู สอนให้เล่าเรียน และฝึกวิชาชีพทั้งหญิงและชาย ทรงเป็นองค์อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) ในสมัยหนึ่งอีกด้วย[2]

พระองค์ประชวรด้วยพระโรคเนื้อร้ายในช่องพระโอษฐ์ สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักในสวนสุนันทา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2472 สิริพระชันษา 65 ปี ได้รับพระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ[3] และได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ในวันออกพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพ (พระโกศทองใหญ่เป็นพระโกศชั้นสูงสุดสำหรับทรงพระบรมศพ พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระอัครมเหสี) และพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2473 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[4]

พระราชโอรส-ธิดา

พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา มีพระประสูติการพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งหมด 4 พระองค์ เป็นพระราชโอรส 1 พระองค์ เป็นพระราชธิดา 3 พระองค์ ทั้งหมดเดิมมีพระอิสริยยศเป็น "พระองค์เจ้า" ภายหลังได้รับพระราชทานพระอิสริยยศขึ้นเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้า" ดังนี้

ลำดับพระรูปและพระนามเพศประสูติสิ้นพระชนม์คู่อภิเษกสมรสพระบุตร
1
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
ช.17 มีนาคม พ.ศ. 24268 เมษายน พ.ศ. 2475พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
หม่อมราชวงศ์ลดา ยุคล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
2
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา
ญ.5 พฤษภาคม พ.ศ. 242731 สิงหาคม พ.ศ. 2432--
3
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
ญ.31 กรกฎาคม พ.ศ. 242822 ธันวาคม พ.ศ. 2467--
4
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
ญ.4 ธันวาคม พ.ศ. 242929 มกราคม พ.ศ. 2479--

พระอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
กรมพระสุทธาสินีนาฏ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • 4 กันยายน พ.ศ. 2406 – พ.ศ. 2421 : หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์
  • พ.ศ. 2421 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431 : พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย
  • 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2468 : พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ[5]
  • 21 มีนาคม พ.ศ. 2468 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2472 : พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา[6]

พระอิสริยยศสุดท้ายนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามและเลื่อนกรม ทั้งนี้ คำว่า "วิมาดา" แปลว่า แม่เลี้ยง ซึ่งพระองค์ทรงเป็นเจ้านายพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาไว้ในพระอิสริยศักดิ์นี้อย่างเป็นทางการ ส่วนสร้อยพระนาม "ปิยมหาราชปดิวรัดา" นั้น คำว่า "ปดิวรัดา" (อ่านว่า ปะดิวะรัดดา) แปลว่า ภริยาที่ซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พัดรองตราพระนามาภิไธยย่อ "สสภ" สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในการบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษา 5 รอบ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อปี พ.ศ. 2466 ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[3]

พันธุ์พืชอันเนื่องด้วยพระนาม

  • บัวสุทธาสิโนบล บ้างเรียก "ม่วงกษัตริย์" (Royal Purple) บัวสายดอกใหญ่สีม่วงอมน้ำเงินหรือม่วงอมแดงที่เรียกว่าสีกุหลาบแก่ กลิ่นหอมแรง มีถิ่นกำเนิดบนเกาะแซนซิบาร์ ประเทศแทนซาเนีย พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา พระอรรคชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาจากเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2444 จึงได้รับการขนานนามว่า “สุทธาสิโนบล”

พงศาวลี

เชิงอรรถ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง