สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (17 มีนาคม พ.ศ. 2425 – 8 เมษายน พ.ศ. 2475) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 44 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองและสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ทรงเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอภิรัฐมนตรี ในรัชกาลที่ 7 พระองค์สิ้นพระชนม์วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475 เป็นพระปัยกา (ทวด) ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และทรงเป็นต้นราชสกุลยุคล[1]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นโท
กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง15 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 1 เมษายน พ.ศ. 2471
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยายมราช
ถัดไปสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ประสูติ17 มีนาคม พ.ศ. 2425
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์8 เมษายน พ.ศ. 2475 (50 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
พระราชทานเพลิง2 มีนาคม พ.ศ. 2476
พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
ภรรยา
พระนามเต็ม
ยุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงศ์ อุภัยพงศ์พิสุทธิ วรุตโมกโตสุชาติ บรมนฤนาถราชกุมาร
พระบุตร
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลยุคล
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
ลายพระอภิไธย

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ายุคลทิฆัมพร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2426) ณ พระตำหนักสวนบัว ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งวิมานเมฆภายในพระราชวังดุสิต

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

พระองค์มีพระโสทรกนิษฐภคินี 3 พระองค์ ซึ่งมีพระนามที่คล้องจองกัน ได้แก่ พระองค์เจ้าชายยุคลฑิฆัมพร พระองค์เจ้าหญิงนภาจรจำรัสศรี พระองค์เจ้าหญิงมาลินีนพดารา และพระองค์เจ้าหญิงนิภานภดล ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2431 พระองค์และพระขนิษฐาจึงได้รับเลื่อนพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า[2]

วันที่ 17 มีนาคม ร.ศ. 110 ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงษ์ อุภัยพงษพิสุทธิ วรุตโมภโตสุชาติ บรมนารถราชกุมาร กรมหมื่นลพบุราดิศร ทรงศักดินา 40,000[3][4]

ในปี ร.ศ. 125 ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงษ์ อุภัยพงษ์พิสุทธิ วรุตโมภโตสุชาติ บรมนารถราชกุมาร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ ทรงศักดินา 40,000

พระกรณียกิจ

ภายหลังจากที่พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองและสาขาวิชาประวัติศาสตร์ แล้วทรงเสด็จกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และเจ้ากรมพลังภังค์ (กรมการปกครอง) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล และอุปราชมณฑลปักษ์ใต้[5] ทรงประทับ ณ พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา และ วังโพธิยายรด จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็น โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช) ทรงตั้งกรมเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช

ในขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล และสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ. 2453 - 2458 และอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ระหว่างปี พ.ศ. 2458 - 2468 พระองค์ทรงเลือกเอาเมืองสงขลาเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑล โดยการโปรดให้สร้างพระตำหนักเขาน้อยสำหรับเป็นที่ประทับอย่างถาวร ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งทางการปกครองได้พัฒนาด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษาให้เจริญยิ่งขึ้นอย่างมาก และที่สำคัญพระองค์ทรงช่วยปกป้องแผ่นดินภาคใต้ให้พ้นวิกฤตการจากการคุกคามของอังกฤษ และทรงมีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้แผ่นดินปักษ์ใต้ทั้งหมดยังคงเป็นผืนแผ่นดินในราชอาณาจักรไทยมาได้ตราบเท่าทุกวัน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอุปนายกเสือป่า แทนพลเอกเจ้าพระยารามราฆพ ที่ถวายบังคมลาไปราชการต่างประเทศ เนื่องจากทรงเห็นว่าพระองค์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการเสือป่า สมควรจะฉลองพระเดชพระคุณในตำแหน่งอุปนายกเสือป่าได้

พระตำหนักเขาน้อย ที่ประทับเมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและอภิรัฐมนตรี

ก่อนสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2475 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี องคมนตรี สมุหมนตรี ราชองครักษ์พิเศษ นายทหารพิเศษกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร. และนายทหารพิเศษประจำกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.

สิ้นพระชนม์

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ประชวรพระโรคพระหทัย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475[6] สิริพระชันษา 49 ปี 22 วัน โดยในวันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร. ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สอดสายสะพายจุลจอมเกล้า เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระราชวังดุสิตไปยังวังลดาวัลย์ ประทับบนพระตำหนัก พระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานประโคมกลองชนะ 40 จ่าปี่ 1 จ่ากลอง 1 แตรงอน 8 แตรฝรั่ง 8 สังข์ 1 ตามพระเกียรติยศ พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายใน และข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่ถวายน้ำสรงพระศพต่อไป เจ้าพนักงานภูษามาลาทรงเครื่องสุกรรมพระศพเชิญลงสู่พระลองใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสวมพระชฎาพระราชทานแล้ว เจ้าพนักงานเชิญขึ้นประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้า 3 ชั้น ภายใต้เบญจปฎลเศวตฉัตรประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ประดับพุ่มยอดและเฟื่อง แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 1 สำหรับ ชุมสาย 2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ 40 รูป มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นประธานสดับปกรณ์ แล้วถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระธรรมที่พระแท่นพระสวดอภิธรรม แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมทั้งหลางวันกลางคืน รับพระราชทานฉันอาหารภัตต์เช้า 8 รูป เพล 4 รูป มีประโคมกลองชนะ 20 จ่าปี่ 1 จ่ากลอง 1 แตรงอน 4 แตรฝรั่ง 4 สังข์ 1 ประจำยาม และไว้ทุกข์ในพระราชสำนักมีกำหนด 60 วัน

โดยมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร [7][8] ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองใหญ่ พร้อมด้วยเครื่องพระราชอิสสริยยศ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร มีนาคม พุทธศักราช 2475 และในวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

พระอนุสรณ์

จากคุณงามความดีของพระองค์นานัปการ จังหวัดสงขลามีความตระหนักเป็นอย่างยิ่งในพระกรุณาธิคุณของพระองค์ ผู้ทรงวางแผนการปกครองบ้านเมืองในปักษ์ใต้ จึงได้พร้อมใจกันดำเนินการจัดสร้าง พระอนุสาวรีย์พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ประดิษฐานไว้บนยอดเขาน้อย โดยกำหนดวางศิลาฤกษ์เมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 เวลา 09.29 น. เมื่อการสร้างพระอนุสาวรรีย์พระรูปของพระองค์ท่านได้แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังดำรงพระยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ท่าน คล้ายกับว่าพระองอค์ทรงเสด็จกลับมาประทับอยู่กับชาวสงขลา และชาวปักษ์ใต้ ตลอดไป[9]

ข้าราชการและประชาชนได้มีการจัดพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระอนุสาวรีย์ พลเอกสมเด็จฯ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ในวันที่ 8 เมษายน ของทุกปี เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและพระกรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อประเทศชาติและชาวปักษ์ใต้

พระโอรส-พระธิดา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงเป็นต้นราชสกุลยุคล โดยทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล พระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 มีพระโอรส คือ

พระรูปพระนามประสูติสิ้นพระชนม์คู่อภิเษกสมรสพระบุตร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล27 พฤศจิกายน พ.ศ. 24535 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (84 พรรษา)หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคลพันธุ์สวลี กิติยากร
หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล
รังษีนภดล ยุคล
หม่อมบุญล้อม ยุคล ณ อยุธยาหม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล
ปริม บุนนาคไม่มี
หม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยาหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล
ภานุมา ยุคล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร29 เมษายน พ.ศ. 24561 ตุลาคม พ.ศ. 2534 (78 พรรษา)หม่อมราชวงศ์กุลปราโมทย์ จิรประวัติหม่อมเจ้าจามเทพี ยุคล
สมเชื้อ มุกสิกบุตรหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล
หม่อมทองไพ ยุคล ณ อยุธยาหม่อมเจ้าวิสาขะ ยุคล
หม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยาศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์
หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล
หม่อมบัวทอง ยุคล ณ อยุธยาหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล
ไฟล์:พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ-หม่อมอุบล.jpgพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ1 เมษายน พ.ศ. 24582 มกราคม พ.ศ. 2541 (82 พรรษา)ฟองจันทร์ ศิริวัติจันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ
ภุมรีภิรมย์ เชลล์
หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยามาลินีมงคล อมาตยกุล
ปัทมนรังษี เสนาณรงค์
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล
หม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล

นอกจากนี้ยังทรงมีหม่อมอีกคนหนึ่งคือ หม่อมราชวงศ์หญิงลดา ธิดาในหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ แต่ไม่มีพระโอรสหรือพระธิดา

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ายุคลทิฆัมพร (17 มีนาคม พ.ศ. 2425 - พ.ศ. 2431)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร (พ.ศ. 2431 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2434)[2]
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหมื่นลพบุราดิศร (17 มีนาคม พ.ศ. 2434 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2449)[3]
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2449 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[10]
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2469)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (15 มีนาคม พ.ศ. 2469 - 8 เมษายน พ.ศ. 2475)[11]

ภายหลังการสิ้นพระชนม์

  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระยศและตำแหน่ง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร
กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ นายพลเอก
นายพลเสือป่า

พระยศทหาร

  • 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2469: นายพลเอก[26]

พระยศพลเรือน

  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454: มหาอำมาตย์โท[27]
  • มหาอำมาตย์เอก

พระยศเสือป่า

  • 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2455: นายกองโท[28]
  • นายกองเอก
  • 10 กันยายน พ.ศ. 2459: นายพลเสือป่า[29]

ตำแหน่ง

  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2459: ราชองครักษ์พิเศษเสือป่า[30]

พงศาวลี

อ้างอิง

ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ถัดไป
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
(15 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 1 เมษายน พ.ศ. 2471)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง