พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

ผู้กำกับภาพยนตร์

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ หรือ พระองค์ชายเล็ก (1 เมษายน พ.ศ. 2458 – 2 มกราคม พ.ศ. 2541)[4] เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (พระธิดาใน สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นพระอนุชาร่วมพระครรโภทรกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ประสูติเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 ที่ตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา ขณะที่พระบิดาทรงรับราชการเป็นอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ มีพระเชษฐา 2 พระองค์[5] คือ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ1 เมษายน พ.ศ. 2458
พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์2 มกราคม พ.ศ. 2541 (82 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พระราชทานเพลิง11 เมษายน พ.ศ. 2541[1]
พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
หม่อม
พระบุตร
ราชสกุลยุคล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
พระมารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
ศาสนาพุทธ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพไทย
ชั้นยศ พลโท[2]
พลเรือโท
พลอากาศโท[3]

พระประวัติ

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ประสูติเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 ณ พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม เป็นพระโอรสในนายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (พระธิดาในจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) ซึ่งเป็นพระโสทรานุชาในรัชกาลที่ 5 มีพระเชษฐา 2 พระองค์ คือ

การศึกษา

ทรงศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในยุคลที่หลวงปิยะวิทยาการ เป็นอาจารย์ใหญ่ และต่อมาได้ประชวรเป็นพระโรคร้ายจนแทบเอาชีวิตไม่รอด จึงทรงต้องออกจากโรงเรียน พระบิดาทรงตั้งการสอนขึ้นที่พระตำหนักเขาน้อย จนกระทั่งพระบิดาทรงย้ายกลับเข้าพระนคร ประมาณปี พ.ศ. 2468 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ประมาณ 2-3 ปี จึงได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่อพระชันษาเพียง 10 พรรษา และพอครบเกณฑ์เข้ารับดับมหาวิทยาลัยได้ทรงเข้าศึกษาที่ Birmingham University นอกจากนี้ยังได้ทรงศึกษาหลักสูตรอื่น ๆ เพิ่มเติม คือ ฝึกการบินพลเรือนจนได้รับปีกวิทยฐานะ รุ่นที่ 26 และทรงฝึกอบรมหลักสูตรบรรเทาสาธารณภัย รุ่นที่ 5 และในปี พ.ศ. 2490 ได้เสด็จไปศึกษาวิชาทหารเพิ่มเติมในหลักสูตรพาหนะและการขนส่งทางทหาร ที่ Fort Eustis, Virginia. USA

สิ้นพระชนม์

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2541 ด้วยพระโรค พระหทัยล้มเหลว สิริพระชันษา 82 ปี 276 วัน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร​ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ไปพระราชทานนํ้าทรงพระศพ พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ในการนี้พระราชทานโกศกุดั่นน้อยทรงพระศพ แวดล้อมด้วยเครื่องสูงตามพระเกียรติยศ และในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร​ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1]

การทรงงาน

หลังจากเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษแล้ว พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ได้เข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยได้รับพระราชทานพระยศว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2481 ประจำกรมพาหนะทหารบก ก่อนจะได้รับพระราชทานพระยศเป็น ร้อยตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482[6]และได้ทรงย้ายไปประจำการหลายแห่งด้วยกัน อาทิเช่น กรมสารวัตรทหารบก กรมทหารสื่อสารในตำแหน่งหัวหน้ากองการภาพ และทรงเป็นที่ปรึกษาสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นต้น และที่สุดครบเกษียณอายุราชการในขณะดำรงพระยศพันเอก สังกัดเหล่าทหารสื่อสาร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานพระยศ พลตรี พลเรือตรี และพลอากาศตรี[7]

นอกจากนี้ยังทรงดำรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือ รักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และ ประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ อีกด้วย[8] และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระยศทหารเป็นกรณีพิเศษ ให้พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ซึ่งได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณในฐานะผู้แทนพระองค์ไปในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะอย่างสูงมาโดยตลอด และได้ทรงช่วยเหลือราชการแผ่นดิน เป็นผลดีแก่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง เป็น พลโท พลเรือโท พลอากาศโท ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป[9]

ความสนพระทัยและการทรงงานด้านภาพยนตร์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ สนพระทัยด้านภาพยนตร์ ตั้งแต่พระชนมายุ 17-18 พรรษา ซึ่งขณะนั้นทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ทรงศึกษาฝึกงานละครที่อังกฤษและภาพยนตร์ที่ฮอลลีวู๊ด โดยทรงรับจ้างเกี่ยวกับงานละครของบริษัทอังกฤษ ชื่อ โกมองห์ บริติส ซึ่งเป็นงานกึ่งรับจ้างกึ่งเรียนในลักษณะฝึกงาน โดยทรงทำตั้งแต่งานเคลื่อนย้ายยกไฟเรื่อยมา จนสุดท้ายได้เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ (มีพระนามปรากฏในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับสองเรื่อง)[10] ทำให้ทรงรู้จักกับนักเขียนบทละครและดาราชื่อดัง คือ ไอเวอร์ โนเวลโล และเป็นผู้สนับสนุนให้พระองค์ทำหน้าที่คอลล์บอย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่ทำหน้าที่เรียกตัวละครมาเข้าฉาก ทำให้ทรงต้องอ่านบทละครจนจำได้อย่างแม่นยำจึงจะสามารถเรียกตัวละครได้ถูกต้อง ซึ่งนับว่าเป็นประสบการณ์พื้นฐานด้านการละครของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ[11]

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ตัดสินพระทัยเสด็จกลับประเทศไทย ซึ่งนอกเหนือจากงานในหน้าที่ราชการทหารแล้ว ยังทรงทำละคร โดยทรงเริ่มต้นจากการเป็นที่ปรึกษาของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ซึ่งทรงทำละครอยู่หลายเรื่องด้วยกัน โดยเรื่องที่ทรงทำถวายพระนางเธอลักษมีลาวัณทั้งหมดด้วยพระองค์เอง คือเรื่อง สังข์ทอง โดยทรงนำมาแปลงเป็นเรื่องสั้นๆ สมัยใหม่เรียกว่า ละครดึกดำบรรพ์ จากละครทรงย้ายไปผลิตผลงานด้านโทรทัศน์ ท้ายสุดได้ทรงก่อตั้ง บริษัทละโว้ภาพยนตร์ (Lavoa Motion Pic. Prod) สัญลักษณ์พระปรางค์สามยอด สร้างเรื่อง หนามยอกหนามบ่ง ของไม้เมืองเดิม เมื่อ พ.ศ. 2483 (เอกสารบางเล่ม กล่าวว่า พ.ศ. 2479)[12]โดยจะทรงเขียนบท ถ่ายทำ และล้างฟิล์มด้วยพระองค์เอง

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาผู้สร้างยุคบุกเบิกและผู้นำความแปลกใหม่มาสู่วงการภาพยนตร์ไทย โดยเฉพาะยุคที่เปลี่ยนจาก 16 มม. มาเป็น 35 มม. มีภาพยนตร์เด่นหลายเรื่อง ได้แก่ นางทาษ, เงิน เงิน เงิน, อีแตน, เกาะสวาทหาดสวรรค์ และ แม่นาคพระนคร

ทรงได้รับรางวัลพิเศษ"ดาราทอง"เนื่องในงานภาพยนตร์แห่งชาติรางวัลพระสุรัสวดี ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2535 และการยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2539

ตำแหน่งท้ายสุดทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของมูลนิธิหนังไทย

ครอบครัว

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ทรงเสกสมรสกับ หม่อมฟองจันทร์ ยุคล ณ อยุธยา[13] และ หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา โดยมีโอรสธิดาดังนี้

ฟองจันทร์ ศิริวัติ

ฟองจันทร์ ศิริวัติ หรือ เจ้าฟองจันทร์ อินทขัติย์ เชื้อสายจากตระกูล ณ เชียงใหม่ (นางงามเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2477) โดยมีพิธีแต่งงานแบบชาวเหนือ มีพิธีผูกข้อมือและบายศรีสู่ขวัญโดยเจ้าแก้วนวรัฐ[14][15] มีพระธิดา ได้แก่

  • ท่านหญิงจันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงจันทรจรัสศรี ยุคล หรือ ท่านหญิงเล็ก (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ ประพันธุ์ ไพบูลย์เลิศ
    • คัจฉพงศ์ ไพบูลย์เลิศ
    • สกลกาจ ไพบูลย์เลิศ
  • ท่านหญิงภุมรีภิรมย์ เชลล์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงภุมรีภิรมย์ ยุคล หรือ ท่านหญิงน้อย (ประสูติ 22 มีนาคม พ.ศ. 2482) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ โรมาโน ลุคโก และ ชอง มารี เชลล์
    • เกอาตอง ลุคโก
    • วาลีลี ลุคโก
    • อเล็กซานเดอร์ ลุคโก
    • ซาเวียร์ ลุคโก
    • ปิแอร์ ลุยจิ ลุคโก

หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา ท.จ.ว.

  • ท่านหญิงมาลินีมงคล อมาตยกุล พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงมาลินีมงคล ยุคล หรือ ท่านหญิงหยอย (24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ อรุณ อมาตยกุล
  • ท่านหญิงปัทมนรังษี เสนาณรงค์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงปัทมนรังษี ยุคล หรือ ท่านหญิงเม้า (ประสูติ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2484) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์
    • ปัทมศักดิ์ เสนาณรงค์
    • ปัทมนิฐิ เสนาณรงค์
    • ปัทมวดี เสนาณรงค์
  • หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านชายมุ้ย (ประสูติ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485) เสกสมรสกับศริยา บุษปวณิช มีหม่อม คือ วิยะดา อุมารินทร์, ภรณี เจตสมมา และหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
    • หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล หรือ คุณหญิงนุ้ย ในหม่อมศริยา
    • หม่อมราชวงศ์เดชาเฉลิม ยุคล ในหม่อมศริยา
    • หม่อมราชวงศ์มงคลชาย ยุคล หรือ คุณชายเอี่ยว ในหม่อมวิยะดา
    • หม่อมราชวงศ์สุทธิภาณี ยุคล ในหม่อมภรณี
    • หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือ คุณชายอดัม ในหม่อมกมลา
    • หม่อมราชวงศ์ศรีคำรุ้ง ยุคล หรือ คุณหญิงแมงมุม ในหม่อมกมลา
  • พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล หรือ ท่านชายใหม่ (ประสูติ 22 มกราคม พ.ศ. 2490) เสกสมรสครั้งแรกกับ หม่อมศิริพร ยุคล ณ อยุธยา (เสนาลักษณ์) (1 สิงหาคม พ.ศ. 2495 – 12 พ.ค. 2532)
    • หม่อมราชวงศ์รังษิพันธ์ ยุคล หรือ คุณชายเหมา ในหม่อมศิริพร
    • หม่อมราชวงศ์จันทรลัดดา ยุคล หรือ คุณหญิงแอร์ ในหม่อมศิริพร
และเสกสมรสครั้งที่สองกับ หม่อมอัญชลี ยุคล ณ อยุธยา (ขัติยสุรินทร์) (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499)

ผลงาน

ภาพยนตร์

ละโว้ภาพยนตร์

หนังเงียบขาวดำ 35 มม.

  • 2479 / 2483: หนามยอกหนามบ่ง (แสดงโดย ยม มงคลนัฏ จาก"นางสาวสุวรรณ"และ โปร่ง แสงโสภณ )

หนังสี 16 มม.พากย์

  • 24---: ม่วยสิ่น
  • 2493: อมตาเทวี
  • 2496: วนิดา
  • 2498: วังนางโลม ,นางทาษ
  • 2499: ไพรกว้าง

หนังสี 35 มม.ไวด์สกรีน เสียง (พากย์ ) ในฟิล์ม

  • 2500: ปักธงไชย - บทพระนิพนธ์ บทภาพยนตร์ และลำดับภาพ (พระนามแฝง ล.อัศวดารา )
  • 2502: เชลยศักดิ์ - บทภาพยนตร์ และลำดับภาพ รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี 2502 (ออกแบบและสร้างฉาก)
  • 2505: นางทาษ - บทภาพยนตร์ กำกับการแสดง และอำนวยการสร้าง รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี 2506 (ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้แสดงประกอบหญิง บทประพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย)

หนังสี 35 มม. ซูเปอร์ซีเนสโคป เสียง (พากย์ ) ในฟิล์ม

  • 2508: เงิน เงิน เงิน / Money,Money,Money - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (หนังซีเนมาสโคปเรื่องแรกของละโว้และของมิตร-เพชรา ครั้งแรกของหนังไทยแนวรีวิวเพลงหลากหลายตลอดเรื่อง รวมดารามากที่สุด ความยาวเกือบ 200 นาที มากที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างกันมาและครั้งแรกที่มีแนวคิดล้ำยุคล้อเลียนการใช้คอมพิวเตอร์สำนักงานซึ่งยังไม่มีใช้กันแพร่หลายในเมืองไทยขณะนั้น รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี 2508 เพลงประกอบ และโล่เกียรตินิยมคู่ดารานำที่ทำรายได้มากที่สุด) คำขวัญ "เพลงพราว ดาวพรู ดูเพลิน"
  • 2511: อีแตน / Miss Tan - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (เรื่องแรกของ อรัญญา นามวงศ์ ในฐานะดารานำ และหนังไทยที่นำเสนอการแสดงชายแต่งหญิง หญิงแต่งชายก่อนแนวคาบาเร่ต์โชว์เป็นที่รู้จักทั่วไปในเวลาต่อมา) คำขวัญ "ดาราเยอะแยะ หัวใจเฮาะแฮะ"
  • 2512: เกาะสวาทหาดสวรรค์ / Paradise Island - บทพระนิพนธ์ กำกับการแสดง ลำดับภาพ และคามีโอ (cameo) บทนักกีต้าร์ ร่วมกับ สง่า อารัมภีร คำขวัญ "หวานชื่น ครื้นเครง เพลงเพราะ"
  • 2513: แม่นาคพระนคร / Bangkokian Ghostly Love Story - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (หนังไทยลงทุนเทคนิคพิเศษ "ทริค" โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และให้ข่าวว่าพิมพ์สีเทคนิค เรื่องแรกของเมืองไทย, เรื่องสุดท้ายของ กิ่งดาว ดารณี)
  • 2513: ฟ้าคะนอง - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (ภาวนา ชนะจิต แสดงหนัง 35 มม.เรื่องแรก) คำขวัญ "ใหม่ที่สุด แปลกที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุด"
  • 2514: วิวาห์พาฝัน / Marriage Thai Style - บทพระนิพนธ์และกำกับการแสดง (รัชนก ณ เชียงใหม่ สาวประเภทสองชื่อดังเป็นคามิโอครั้งแรกครั้งเดียวบนจอเงิน) คำขวัญ "ครื้นเครง เพลงมาก ดูไม่ยาก สบายตา"
  • 2514: มันมากับความมืด - องค์ที่ปรึษา และดาราเกียรติยศ (ครั้งแรกของหนังไซไฟสิ่งมีชีวิตผสมเครื่องจักรกลจากอวกาศและการถ่ายภาพใต้ทะเลในหนังไทย หุ่นสัตว์ประหลาดสั่งจากฮอลลีวู้ด เทคนิคพิเศษโดยทีมงานไทย) คำขวัญ "ตื่นตา มาใหม่ ไม่เหมือนใคร ในปี 2515" (ฉายปลายปี 2514)
  • 2515: บุหงาหน้าฝน - องค์ที่ปรึกษา
  • 2515: เพชรตาแมว - ผู้อำนวยการสร้าง
  • 2516: เขาชื่อกานต์/ Doctor Kan - องค์ที่ปรึกษา ภาพยนตร์ตีแผ่ปัญหาสังคมทำรายได้สูงและการกล่าวขวัญทั่วไปอย่างกว้างขวาง
  • 2516: แหวนทองเหลือง / Brass Ring - บทพระนิพนธ์ และกำกับการแสดง (หนังไทยเรื่องแรกที่ให้ข่าวว่าฉายระบบวิสต้าวิชั่น และมีพักครึ่งเวลาแบบหนังใหญ่ฮอลลีวู้ด รวมทั้งยังเป็นหนังเรื่องแรกของโลกที่เอาไตเติ้ลไปอยู่ช่วงพัก)

สหมงคลฟิล์ม - ละโว้ภาพยนตร์

หนังสี 35 มม. ซีเนมาสโคป เสียง (พากย์ ) ในฟิล์ม

พร้อมมิตรภาพยนตร์ (พร้อมมิตรโปรดักชั่น )

หนังสี 35 มม. ไวด์สกรีน ซาวออนฟิล์ม

หนังสือ

  • ไปเมืองนอก - รางวัลยอดเยี่ยมประเภทสารคดี ของคณะกรรมการยูเนสโก (คำนิยมโดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช)
  • ตะวันจวนสิ้นแสง - นวนิยายย้อนยุคสะท้อนสังคมก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเมืองไทย
  • งานเขียนเบ็ดเตล็ดในหนังสือต่วยตูน

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้าหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[1] ดังนี้

พระยศ

พระยศทางทหาร

  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: นายร้อยตรี[26]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2497: ร้อยเอก[27]
  • 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2498: พันตรี[28]
  • 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508: พันโท[29]

พงศาวลี

อ้างอิง


แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง