พระเจ้ากนิษกะ

(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้ากนิษกะมหาราช)

พระเจ้ากนิษกะที่ 1 (สันสกฤต: कनिष्क, Kaniṣka; กรีก-แบกเตรีย: Κανηϸκε Kanēške; ขโรษฐี: 𐨐𐨞𐨁𐨮𐨿𐨐 Ka-ṇi-ṣka;[4] พราหมี: Kā-ṇi-ṣka) กนิษกะ หรือ กนิษกะมหาราช[5] เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิกุษาณะ ผู้ครองราชย์ในช่วงสูงสุดของกุษาณะ (ป. ค.ศ. 127–150)[6] พระองค์เป็นที่รู้จักจากผลงานทางการทัพ, การเมือง และทางศาสนา ทรงเป็นผู้สืบราชสกุลจากจักรพรรดิกุชุลา กัทผิเสส ปฐมกษัตริย์ของกุษาณะ ในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ จักรวรรดิกุษาณะมีพื้นที่ตั้งแต่เอเชียกลางและคันธาระ ไปถึงปาฏลีบุตรในที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ราชธานีในรัชสมัยของพระองค์ตั้งอยู่ที่ปุรุษปุระ (ปัจจุบันคือเปศวาร์) ในคันธาระ และมีอีกราชธานีสำคัญอยู่ที่มถุรา มีการขุดพบเหรียญพระเจ้ากนิษกะที่ตริปุรี (ปัจจุบันคือชัพพัลปุระ)[7]

กนิษกะ
กษัตริย์แห่งกุษาณ
เหรียญทองพระเจ้ากนิษกะ สลักด้วยภาษากรีก-แบกเตรียว่า:
ϷΑΟΝΑΝΟϷΑΟ ΚΑΝΗϷΚΙ ΚΟϷΑΝΟ
Shaonanoshao Kanishki Koshano
"กษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง - กนิษกะแห่งกุษาณะ"
พิพิธภัณฑ์บริติช
ครองราชย์คริสต์ศตวรรษที่ 2 (ประมาณ ค.ศ. 127–150)
ก่อนหน้าวีมะ กัทผิเสส
ถัดไปหุวิษกะ
ประสูติน่าจะKhotan,[1][2][3]
กัศมีร์[3]
ราชวงศ์กุษาณะ
ศาสนาพุทธ

การพิชิตดินแดนต่าง ๆ และการอุปถัมภ์ศาสนาพุทธของพระองค์มีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาของเส้นทางสายไหมและการเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานจากคันธาระ การาโกรัม ไปจนถึงจีน ในราว ค.ศ. 127 พระองค์เปลี่ยนภาษาราชการของจักรวรรดิจากภาษากรีกเป็นภาษาแบกเตรีย[8]

นักวิชาการยุคแรกเชื่อว่ากนิษกะขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 78 และถือเป็นปีที่เป็นจุดเริ่มต้นของมหาศักราช อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ไม่ถือว่าปีนี้เป็นปีขึ้นครองราชย์ของพระองค์ Falk ประมาณการว่ากนิษกะขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 127[9]

ลำดับวงศ์ตระกูล

รูปปั้นกษิษกะที่มถุรา
รูปปั้นกนิษกะที่พิพิธภัณฑ์มถุรา ข้างใต้ผ้าคลุมพระองค์มีจารึกสลักไว้
จารึกในอักษรพราหมีสมัยกลาง:

Mahārāja Rājadhirāja Devaputra Kāṇiṣka
"มหาราช ราชาธิราช เทวบุตร กนิษกะ"[10]
ศิลปะมถุรา พิพิธภัณฑ์มถุรา

มีทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของกนิษกะอยู่สองแบบ ซึ่งทั้งสองอิงจากสันนิษฐานของราชวงศ์กนิษกะที่แยกจากกัน[3] ทฤษฎีของ Sten Konow ระบุว่ากนิษกะมาจาก Khotan โดยถูกเรียกตัวเป็นพันธมิตรทางชาติพันธุ์ในช่วงเวลาที่มีปัญหาหลังรัชสมัยวีมะ[3] Konow สนับสนุนทฤษฎีนี้ด้วยการอ้างอิงธรรมเนียมทิเบตว่าการขยายไปอินเดียของชาว Khotan ประมาณ ค.ศ. 120 ได้รับการบัญชาจากกษัตริย์ Vijayakirti ร่วมกับกษัตริย์ Kanika และกษัตริย์ Guzan[11][12]

ทฤษฎีที่คล้ายกันของ Roman Ghirshman ระบุว่า เดิมทีกนิษกะเป็นกษัตริย์แห่งกัศมีร์ก่อนมีอำนาจเป็นราชวงศ์ใหม่[3] เขาอ้างอิงคำจารึกที่ Khalatse ซึ่งอาจหมายถึงอำนาจของกุษาณะที่แผ่ขยายไปถึงมุมตะวันออกเฉียงเหนือของกัศมีร์และ Rajatarangini ด้วย ซึ่งรายพระนามกษัตริย์ Turushka แห่งกัศมีร์ระบุกนิษกะเป็นลำดับที่สาม ร่ามกับพระนาม Hushka และ Jushka[3]ท้ายที่สุด คำให้การเกี่ยวกับกิจกรรมของพระเจ้ากนิษกะในกัศมีร์เพื่อสนับสนุนศาสนาพุทธศาสนาเสนอแนะว่าพระองค์โปรดปรานภูมิภาคนี้เหนือภูมิภาคอื่น ๆ และพระองค์สถาปนาเปศวาร์เป็นเมืองหลวงที่ใกล้กัศมีร์[3]

พระองค์มีเชื้อสายเยฺว่จือและภาษาแม่ของพระองค์อาจเป็นภาษาโทแคเรียน[13]

อ้างอิง

ข้อมูล

  • Falk, Harry (2001): "The yuga of Sphujiddhvaja and the era of the Kuṣâṇas." In: Silk Road Art and Archaeology VII, pp. 121–136.
  • Falk, Harry (2004): "The Kaniṣka era in Gupta records." In: Silk Road Art and Archaeology X (2004), pp. 167–176.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Kanishka I
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง