อักษรพราหมี

อักษรพราหมี (𑀩𑁆𑀭𑀸𑀳𑁆𑀫𑀻, อ่านว่า "พรา-มี", ISO 15919: Brāhmī) เป็นระบบการเขียนในเอเชียใต้โบราณ[3] ระบบการเขียนหรืออักษรพราหมีได้รับการพัฒนาเป็นอักษรสากลเมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช[4] และเป็นต้นกำเนิดของระบบการเขียนทั้งหมดในเอเชียใต้ ยกเว้นอักษรสินธุในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช อักษรขโรษฐี ซึ่งมีที่มาจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานเมื่อศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสต์ศักราช[5] อักษรอาหรับ–เปอร์เซียในสมัยกลาง และอักษรลาตินในสมัยใหม่[4] ตระกูลอักษรพราหมีไม่เพียงมีผู้ใช้ในเอเชียใต้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังพบผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย[6][7][8]

อักษรพราหมี
อักษรพราหมีบนเสาอโศกที่สารนาถ (ประมาณ 250 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ชนิดอักษรสระประกอบ
ภาษาพูดสันสกฤต, บาลี, ปรากฤต, กันนาดา, ทมิฬ, ซากา, โทแคเรียน
ช่วงยุคอย่างน้อยในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช[1] ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5
ระบบแม่
อักษรไซนายดั้งเดิม?
ระบบลูกระบบการเขียนหลายแบบ
ระบบพี่น้องอักษรขโรษฐี
ช่วงยูนิโคดU+11000–U+1107F
ISO 15924Brah
ทฤษฎีต้นกำเนิดเซมิติกโดยทั่วไปไม่เป็นที่ยอมรับ[2]
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรพราหมีเป็นอักษรสระประกอบ ซึ่งใช้ระบบเครื่องหมายเสริมสัทอักษรเพื่อเชื่อมสระด้วยสัญลักษณ์พยัญชนะ ระบบการเขียนนี้ได้รับการพัฒนาเพียงเล็กน้อยในสมัยโมริยะ (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช) จนถึงสมัยจักรวรรดิคุปตะตอนต้น (คริสต์ศตวรรษที่ 4) กล่าวกันว่าผู้ที่อ่านหนังสือออกสามารถอ่านและเข้าใจจารึกโมริยะจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4[9] บางครั้งในช่วงหลัง ความสามารถในการอ่านอักษรพราหมีแบบดั้งเดิมได้สูญหายไปแล้ว จารึกพราหมีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและเก่าแก่ที่สุด (ลงวันที่แน่นอน) คือพระราชกฤษฎีกาของอโศกในประเทศอินเดียที่สืบไปถึง 250–232 ปีก่อนคริสต์ศักราช การถอดความอักษรพราหมีกลายเป็นจุดสนใจของนักวิชาการชาวยุโรปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยการปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกในอินเดีย โดยเฉพาะสมาคมเอเชียแห่งเบงกอลในโกลกาตา[10][11][12][13] James Prinsep เลขานุการสมาคม เป็นผู้ถอดความอักษรพราหมี แล้วบันทึกลงในบทความวิชาการในวารสารสมาคมในคริสต์ทศวรรษ 1830[14][15][16][17] ความก้าวหน้าในการถอดความของเขาทำให้เกิดผลงานของChristian Lassen, Edwin Norris, H. H. Wilson และAlexander Cunningham กับคนอื่น ๆ[18][19][20]

ต้นกำเนิดของคำนี้ยังคงมีการโต้แย้ง โดยนักวิชาการส่วนใหญ่กล่าวว่าพราหมีมาจากหรืออย่างน้อยได้รับอิทธิพลจากอักษรเซมิติกอย่างน้อยหนึ่งอันหรือมากกว่า ในขณะที่อีกกลุ่มกล่าวว่าอักษรนี้มีต้นกำเนิดหรือการเชื่อมโยงแบบพื้นเมืองของอักษรสินธุแห่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่เก่าแก่กว่าและยังถอดความไม่ได้[2][21] อักษรพราหมีเคยถูกเรียกในภาษาอังกฤษว่าอักษร "pin-man"[22] และมีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น "lath", "Laṭ", "อโศกใต้", "บาลีแบบอินเดีย" หรือ "เมารยะ" (Salomon 1998, p. 17) จนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1880 เมื่อAlbert Étienne Jean Baptiste Terrien de Lacouperie เชื่อมโยงมันกับอักษรพราหมี ผ่านการอิงจากการสำรวจของ Gabriel Devéria รายชื่ออักษรแรกถูกกล่าวถึงในลลิตวิสตรสูตร ดังนั้น จึงเป็นที่มาของชื่อผลงานโดยGeorg Bühler, ถึงแม้ว่าคำนี้จะเป็นอีกรูปหนึ่งของ "พรหม"[23] อักษรคุปตะในคริสต์ศตวรรษที่ 5 บางครั้งถูกเรียกเป็น "พราหมีตอนปลาย" อักษรในปัจจุบันหลายอันที่ใช้กันทั่วเอเชียใต้มีที่มาจากพราหมี ทำให้เป็นหนึ่งในรูปเขียนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก[24][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ] ผลสำรวจหนึ่งพบว่ามีรูปอักษรที่มาจากอักษรนี้ถึง 198 อัน[25]

ในศิลาจารึกของอโศก (ประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเขียนด้วยอักษรพราหมี มีตัวเลขไม่กี่ตัว โดยถูกเรียกว่าตัวเลขพราหมี[26] ตัวเลขนี้สามารถบวกหรือคูณได้ และไม่ใช่ค่าประจำหลัก[26] ไม่มีใครทราบว่า ระบบพื้นฐานของการนับมีส่วนเชื่อมโยงกับอักษรพราหมีหรือไม่[26] แต่ในครึ่งหลังของคริสต์สหัสวรรษที่ 1 จารึกในอินเดียบางส่วนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เขียนด้วยอักษรที่มาจากพราหมีมีตัวเลขที่มีค่าฐานสิบ และถือเป็นตัวอย่างแรกสุดของระบบตัวเลขฮินดู–อารบิกที่ใช้กันทั่วโลก[27] อย่างไรก็ตาม ระบบพื้นฐานของการนับมีความเก่าแก่กว่า โดยตัวอย่างที่ส่งแบบปากเปล่าที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกสุดอยู่ในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ในการปรับตัวร้อยแก้วภาษาสันสกฤตของผลงานโหราศาสตร์กรีกที่หายสาบสูญ[28][29][30]

ตัวอักษร

สระ

สระจม
สระลอยเสียงสระจมเสียงสระลอยเสียงสระจมเสียง
𑀅a /ə/𑀓ka /kə/𑀆ā /aː/𑀓𑀸 /kaː/
𑀇i /i/𑀓𑀺ki /ki/𑀈ī /iː/𑀓𑀻 /kiː/
𑀉u /u/𑀓𑀼ku /ku/𑀊ū /uː/𑀓𑀽 /kuː/
𑀏e /eː/𑀓𑁂ke /keː/𑀐ai /əi/𑀓𑁃kai /kəi/
𑀑o /oː/𑀓𑁄ko /koː/𑀒au /əu/𑀓𑁅kau /kəu/

พยัญชนะ

เสียงระเบิดเสียงนาสิกเสียงเปิดเสียงเสียดแทรก
การออกเสียง →ไม่ก้องก้องไม่ก้องก้อง
เสียงธนิต →ไม่ใช่ไม่ใช่ไม่ใช่
เสียงเพดานอ่อน𑀓ka/k/𑀔kha /kʰ/𑀕ga /ɡ/𑀖gha /ɡʱ/𑀗ṅa /ŋ/𑀳ha /ɦ/
เพดานแข็ง𑀘ca /c/𑀙cha /cʰ/𑀚ja /ɟ/𑀛jha /ɟʱ/𑀜ña /ɲ/𑀬ya /j/𑀰śa /ɕ/
ปลายลิ้นม้วน𑀝ṭa /ʈ/𑀞ṭha /ʈʰ/𑀟ḍa /ɖ/𑀠ḍha /ɖʱ/𑀡ṇa /ɳ/𑀭ra /r/𑀱ṣa /ʂ/
ฟัน𑀢ta /t̪/𑀣tha /t̪ʰ/𑀤da /d̪/𑀥dha /d̪ʱ/𑀦na /n/𑀮la /l/𑀲sa /s/
ริมฝีปาก𑀧pa /p/𑀨pha /pʰ/𑀩ba /b/𑀪bha /bʱ/𑀫ma /m/𑀯va /w, ʋ/
-ะ𑀓𑀔𑀕𑀖𑀗𑀘𑀙𑀚𑀛𑀜𑀝𑀞𑀟𑀠𑀡𑀢𑀣𑀤𑀥𑀦𑀧𑀨𑀩𑀪𑀫𑀬𑀭𑀮𑀯𑀰𑀱𑀲𑀳𑀴
-า𑀓𑀸𑀔𑀸𑀕𑀸𑀖𑀸𑀗𑀸𑀘𑀸𑀙𑀸𑀚𑀸𑀛𑀸𑀜𑀸𑀝𑀸𑀞𑀸𑀟𑀸𑀠𑀸𑀡𑀸𑀢𑀸𑀣𑀸𑀤𑀸𑀥𑀸𑀦𑀸𑀧𑀸𑀨𑀸𑀩𑀸𑀪𑀸𑀫𑀸𑀬𑀸𑀭𑀸𑀮𑀸𑀯𑀸𑀰𑀸𑀱𑀸𑀲𑀸𑀳𑀸𑀴𑀸
-ิ𑀓𑀺𑀔𑀺𑀕𑀺𑀖𑀺𑀗𑀺𑀘𑀺𑀙𑀺𑀚𑀺𑀛𑀺𑀜𑀺𑀝𑀺𑀞𑀺𑀟𑀺𑀠𑀺𑀡𑀺𑀢𑀺𑀣𑀺𑀤𑀺𑀥𑀺𑀦𑀺𑀧𑀺𑀨𑀺𑀩𑀺𑀪𑀺𑀫𑀺𑀬𑀺𑀭𑀺𑀮𑀺𑀯𑀺𑀰𑀺𑀱𑀺𑀲𑀺𑀳𑀺𑀴𑀺
-ี𑀓𑀻𑀔𑀻𑀕𑀻𑀖𑀻𑀗𑀻𑀘𑀻𑀙𑀻𑀚𑀻𑀛𑀻𑀜𑀻𑀝𑀻𑀞𑀻𑀟𑀻𑀠𑀻𑀡𑀻𑀢𑀻𑀣𑀻𑀤𑀻𑀥𑀻𑀦𑀻𑀧𑀻𑀨𑀻𑀩𑀻𑀪𑀻𑀫𑀻𑀬𑀻𑀭𑀻𑀮𑀻𑀯𑀻𑀰𑀻𑀱𑀻𑀲𑀻𑀳𑀻𑀴𑀻
-ุ𑀓𑀼𑀔𑀼𑀕𑀼𑀖𑀼𑀗𑀼𑀘𑀼𑀙𑀼𑀚𑀼𑀛𑀼𑀜𑀼𑀝𑀼𑀞𑀼𑀟𑀼𑀠𑀼𑀡𑀼𑀢𑀼𑀣𑀼𑀤𑀼𑀥𑀼𑀦𑀼𑀧𑀼𑀨𑀼𑀩𑀼𑀪𑀼𑀫𑀼𑀬𑀼𑀭𑀼𑀮𑀼𑀯𑀼𑀰𑀼𑀱𑀼𑀲𑀼𑀳𑀼𑀴𑀼
-ู𑀓𑀽𑀔𑀽𑀕𑀽𑀖𑀽𑀗𑀽𑀘𑀽𑀙𑀽𑀚𑀽𑀛𑀽𑀜𑀽𑀝𑀽𑀞𑀽𑀟𑀽𑀠𑀽𑀡𑀢𑀽𑀣𑀽𑀤𑀽𑀥𑀽𑀦𑀽𑀧𑀽𑀨𑀽𑀩𑀽𑀪𑀽𑀫𑀽𑀬𑀽𑀭𑀽𑀮𑀽𑀯𑀽𑀰𑀽𑀱𑀽𑀲𑀽𑀳𑀽𑀴𑀽
เ-𑀓𑁂𑀔𑁂𑀕𑁂𑀖𑁂𑀗𑁂𑀘𑁂𑀙𑁂𑀚𑁂𑀛𑁂𑀜𑁂𑀝𑁂𑀞𑁂𑀟𑁂𑀠𑁂𑀡𑀢𑁂𑀣𑁂𑀤𑁂𑀥𑁂𑀦𑁂𑀧𑁂𑀨𑁂𑀩𑁂𑀪𑁂𑀫𑁂𑀬𑁂𑀭𑁂𑀮𑁂𑀯𑁂𑀰𑁂𑀱𑁂𑀲𑁂𑀳𑁂𑀴𑁂
โ-𑀓𑁄𑀔𑁄𑀕𑁄𑀖𑁄𑀗𑁄𑀘𑁄𑀙𑁄𑀚𑁄𑀛𑁄𑀜𑁄𑀝𑁄𑀞𑁄𑀟𑁄𑀠𑁄𑀡𑀢𑁄𑀣𑁄𑀤𑁄𑀥𑁄𑀦𑁄𑀧𑁄𑀨𑁄𑀩𑁄𑀪𑁄𑀫𑁄𑀬𑁄𑀭𑁄𑀮𑁄𑀯𑁄𑀰𑁄𑀱𑁄𑀲𑁄𑀳𑁄𑀴𑁄
-ํ𑀓𑁆𑀔𑁆𑀕𑁆𑀖𑁆𑀗𑁆𑀘𑁆𑀙𑁆𑀚𑁆𑀛𑁆𑀜𑁆𑀝𑁆𑀞𑁆𑀟𑁆𑀠𑁆𑀡𑁆𑀢𑁆𑀣𑁆𑀤𑁆𑀥𑁆𑀦𑁆𑀧𑁆𑀨𑁆𑀩𑁆𑀪𑁆𑀫𑁆𑀬𑁆𑀭𑁆𑀮𑁆𑀯𑁆𑀰𑁆𑀱𑁆𑀲𑁆𑀳𑁆𑀴𑁆

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

  • Buswell Jr., Robert E.; Lopez Jr., David S., บ.ก. (2017). "Brāhmī". The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton University Press.
  • Hitch, Douglas A. (1989). "BRĀHMĪ". Encyclopaedia Iranica, Vol. IV, Fasc. 4. pp. 432–433.
  • Matthews, P. H. (2014). "Brahmi". The Concise Oxford Dictionary of Linguistics (3 ed.). Oxford University Press.
  • Red. (2017). "Brahmi-Schrift". Lexikon des gesamten Buchwesens Online (ภาษาเยอรมัน). Brill Online.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง