เอเชียกลาง

เอเชียกลาง (อังกฤษ: Central Asia) เป็นอนุภูมิภาคในทวีปเอเชียที่มีขอบเขตจากทะเลแคสเปียนทางตะวันตกเฉียงใต้และยุโรปตะวันออกทางตะวันตกเฉียงเหนือถึงจีนตะวันตกและมองโกเลียทางตะวันออก[4] และจากอัฟกานิสถานและอิหร่านทางใตืถึงรัสเซียทางเหนือ ประเทศที่อยู่ในเอเชียกลางได้แก่คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน[5]

เอเชียกลาง
พื้นที่4,003,451 ตารางกิโลเมตร (1,545,741 ตารางไมล์)
ประชากร75,897,577 (2021) (ที่ 16)[1][2]
ความหนาแน่น17.43 ต่อตารางกิโลเมตร (45.1 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)1.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2023)[3]
จีดีพี (ราคาตลาด)446,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2023)[3]
จีดีพีต่อหัว5,900 ดอลลาร์สหรัฐ (2023; เฉลี่ย)[3]
16,400 ดอลลาร์สหรัฐ (2023; PPP)[3]
เอชดีไอเพิ่มขึ้น0.779 (สูง)
เดมะนิมชาวเอเชียกลาง
ประเทศ
ภาษาดุงกาน, การากัลปัก, คาซัค, โครยอ-มาร์, คีร์กีซ, มองโกล, รัสเซีย, ทาจิก, เติร์กเมน, อุยกูร์, อุซเบก และอื่น ๆ
เขตเวลา
2 เขตเวลา
  • UTC+05:00:
  • UTC+06:00:
    • มาตรฐาน: คาซัคสถาน (4 นคร, 9 ภูมิิภาค), คีร์กีซสถาน
โดเมนระดับบนสุด.kg, .kz, .tj, .tm, .uz
รหัสโทรศัพท์โซน 9 ยกเว้นคาซัคสถาน (โซน 7)
เมืองใหญ่
รหัส UN M49143 – เอเชียกลาง
142เอเชีย
001โลก
a มีประชากรมากกว่า 500,000 คน

ในสมัยก่อนอิสลามถึงอิสลามตอนต้น (ป. ค.ศ. 1000 และก่อนหน้า) ผู้ตั้งถิ่นฐานในเอเชียกลางส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนอิหร่าน[6][7] ที่มีประชากรแบกเตรีย ซอกเดีย ฆวารัซม์ที่พูดภาษาอิหร่านตะวันออก และชนกึ่งร่อนเร่ชาวซิทและดาฮา หลังการขยายตัวของชาวเตอร์กิก เอเชียกลางจึงกลายเป็นบ้านเกิดของชาวอุซเบก, คาซัค, ตาตาร์, เติร์กเมน, คีร์กีซ และอุยกูร์ กลุ่มภาษาเตอร์กิกเข้ามาแทนที่กลุ่มภาษาอิหร่านในบริเวณนี้ ยกเว้นบริเวณทาจิกิสถานที่มีผู้พูดภาษาทาจิกอยู่

เอเชียลางในอดีตมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเส้นทางสายไหม[ต้องการอ้างอิง] โดยทำหน้าที่เป็นทางแยกในการเคลื่อนย้ายผู้คน สินค้า และแนวคิดระหว่างยุโรปกับตะวันออกไกล[8][9][10] ประเทศในเอเชียกลางส่วนใหญ่ยังคนมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก[11]

นับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงเกือบปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เอเชียกลางถูกล่าอาณานิคมโดยชาวรัสเซีย และถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียและภายหลังคือสหภาพโซเวียตที่นำชาวรัสเซียและชาวสลาฟอื่น ๆ อพยพเข้ามายังบริเวณนี้ เอเชียกลางในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปขนาดใหญ่ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในคาซัคสถาน แบ่งเป็นชาวรัสเซีย 7 ล้านคน ชาวยูเครน 500,000 คน[12][13][14] และชาวเยอรมันประมาณ 170,000 คน[15] นโยบายบังคับเนรเทศสมัยสตาลินยังทำให้มีชาวเกาหลีอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มากกว่า 300,000 คน[16]

เอเชียกลางมีประชากรประมาณ 72 ล้านคนใน 5 ประเทศ ได้แก่: คาซัคสถาน (18 ล้านคน), คีร์กีซสถาน (6 ล้านคน), ทาจิกิสถาน (9 ล้านคน), เติร์กเมนิสถาน (6 ล้านคน) และอุซเบกิสถาน (35 ล้านคน)[17]

คำนิยาม

แผนที่ทางการเมืองของเอเชียกลางและคอเคซัส (2000)
แผนที่ทางการเมืองสองมิติของเอเชียกลางที่รวมอัฟกานิสถาน

หนึ่งในนักภูมิศาสตร์คนแรกที่ให้เอเชียตกลางเป็นภูมิภาคจำเพาะของโลกคืออเล็คซันเดอร์ ฟ็อน ฮุมบ็อลท์ ของเขตเอเชียกลางมีคำจำกัดความหลายแบบ โดยในอดีต ตัวแปรสำคัญสองประการที่ใช้ในคำจำกัดความทางวิชาการของเอเชียกลางอย่างแพร่หลายคือภูมิศาสตร์ทางการเมืองและวัฒนธรรม[18] คำนิยามของฮุมบ็อลท์ประกอบด้วยทุกประเทศที่อยู่ในระหว่าง 5° เหนือถึง 5° ใต้ของละติจูด 44.5°เหนือ[19] ฮุมบ็อลท์กล่าวถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ทะเลแคสเปียนทางตะวันตก เทือกเขาอัลไตทางเหนือ และเทือกเขาฮินดูกูชกับปามีร์ทางใต้[20] เขาไม่ได้ระบุขอบเขตทางตะวันออกของเอเชียกลาง Nikolaĭ Khanykov นักภูมิศาสตร์ชาวรัสเซีย ตั้งคำถามถึงคำนิยามละติจูดของเอเชียกลางและใช้การนับประเทศในภูมิภาคที่ไม่ติดทะเล ซึ่งรวมอัฟกานิสถาน, โฆรอซอน (อิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ), คีร์กีซสถาน, ทาจิกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน, อุยกูริสถาน (ซินเจียง) และอุซเบกิสถาน[21][22][23]

ตำนิยามเอเชียกลางแบบขยาย แก่นกลางได้แก่ 5 รัฐหลังโซเวียตในสีเขียวเข้ม อัฟกานิสถาน ประเทศที่ได้รับการบรรจุเข้าในเอเชียมากที่สุด ยู่ในสีเขียว ภูมิภาคที่บางครั้งถือเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียกลางอยู่ในสีเขียวอ่อน
แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ (ซึ่งทับซ้อนแนวคิดของเอเชียใต้และตะวันออก)

วัฒนธรรมรัสเซียมีคำที่ใช้เรียกบริเวณนี้ 2 แบบ: Средняя Азия (Srednyaya Aziya หรือ "เอเชียตอนกลาง" คำนิยามแบบแคบกว่าที่รวมเฉพาะดินแดนเอเชียกลางที่ไม่ใช่สลาฟที่ถูกรวมเข้าในชายแดนอดีตรัสเซีย) กับ Центральная Азия (Tsentralnaya Aziya หรือ "เอเชียกลาง" คำนิยามกว้างกว่าที่รวมดินแดนเอเชียกลางที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอดีตรัสเซีย) คำนิยามหลังรวมประเทศอัฟกานิสถานและ'เตอร์กิสถานตะวันออก'[24]

คำนิยามที่จำกัดที่สุดคือคำนิยามทางการของสหภาพโซเวียตที่นิยามเอเชียตอนกลางว่าประกอบด้วยคีร์กีซสถาน, ทาจิกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ไม่นับคาซัคสถาน หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 ผู้นำอดีตสาธารณรัฐเอเชียกลางของโซเวียต 4 แห่ง พบปะกันที่ทาชเคนต์และประกาศว่าคำนิยามของเอเชียกลางควรรวมคาซัคสถานกับ 4 สาธารณรัฐเดิม นับแต่นั้นมา คำนิยามนี้จึงกลายเป็นคำนิยามเอเชียกลางที่พบได้มากที่สุด

ใน ค.ศ. 1978 ทางยูเนสโกระบุคำนิยามภูมิภาคนี้เป็น "อัฟกานิสถาน, อิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ, ปากีสถาน, อินเดียเหนือ, จีนตะวันตก, มองโกเลีย และสาธารณรัฐเอเชียกลางโซเวียต"[25]

ภูมิศาสตร์

ชายฝั่งทางใต้ของทะเลสาบอือซึก-เกิล จังหวัดอือซึก-เกิล

เอเชียกลางเป็นภูมิภาคที่มีสภาพภูมิศาสตร์หลากหลาย เช่นทางผ่านและเทือกเขาสูง (เทียนชาน) ทะเลทรายกว้าง (Kyzyl Kum, ทากลามากัน) และโดยเฉพาะสเตปป์หญ้าที่ไม่มีต้นไม้ สเตปป์ที่กว้างขวางในเอเชียกลางกับสเตปป์ในยุโรปตะวันออกถือว่าอยู่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกันที่มีชื่อว่าสเตปป์ยูเรเชีย

พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียกลางแห้งหรือขรุขระเกินไปที่จะทำเกษตรกรรม ทะเลทรายโกบีมีขอบเขตจากตีนเทือกเขาปามีร์ 77° ตะวันออก ถึงเทือกเขาต้าซิงอาน 116°–118° ตะวันออก

เอเชียกลางมีความสุดขั้วทางภูมิศาสตร์ดังนั้:

  • ทะเลทรายเหนือสุดในโลก (เนินทราย) ที่ Buurug Deliin Els ประเทศมองโกเลีย, 50°18' เหนือ
  • ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวใต้สุดของซีกโลกเหนือที่Erdenetsogt sum, ประเทศมองโกเลีย, 46°17' เหนือ
  • ระยะห่างระหว่างทะเลทรายที่ไม่หนาวเย็นกับชั้นดินเยือกแข็งคงตัวที่สั้นที่สุดในโลก: 770 กิโลเมตร (480 ไมล์)
  • ขั้วที่เข้าไม่ถึงในยูเรเชีย

ประชากรส่วนใหญ่หารายได้ผ่านการต้อนปศุสัตว์ ศูนย์อุตสาหกรรมตั้งอยู่ที่ใจกลางนครต่าง ๆ ของภูมิภาค

แม่น้ำสายหลักในภูมิภาคนี้ได้แก่แม่น้ำอามูดาร์ยา ซีร์ดาร์ยา อีร์ติช ฮารี และ Murghab แหล่งน้ำหลักได้แก่ทะเลอารัลและทะเลสาบบัลคัช ทั้งอสงแห่งเป็นส่วนหนึ่งของแอ่งปิดเอเชียกลาง-ตะวันตกขนาดใหญ่ที่รวมทะเลแคสเปียนด้วย

แหล่งน้ำทั้งสองแห่งมีขนาดลดลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษเนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางน้ำจากแม่น้ำที่ไหลเข้ามาเพื่อการชลประทานและอุตสาหกรรม น้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่าอย่างมากในเอเชียกลางที่แห้งแล้ง และสามารถนำไปสู่ข้อพิพาทระดับนานาชาติที่ค่อนข้างสำคัญได้

แผนที่ภูมิประเทศของเอเชียกลาง

ข้อมูลประเทศและดินแดน

ประเทศพื้นที่
ตร.กม.
ประชากร[26]
(พ.ศ. 2560)
ความหนาแน่นประชากร
ต่อ ตร.กม.
จีดีพีเฉลี่ย (2023)
จีดีพีต่อหัว
(2023)
เอชดีไอ (2021)เมืองหลวงภาษาราชการ
 คาซัคสถาน2,724,90017,987,7366.3245.695 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ12,306 ดอลลาร์สหรัฐ0.811อัสตานาคาซัค, รัสเซีย
 คีร์กีซสถาน199,9505,955,73429.712.309 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ1,736 ดอลลาร์สหรัฐ0.692บิชเคกคีร์กีซ, รัสเซีย
 ทาจิกิสถาน142,5508,734,95160.412.796 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ1,277 ดอลลาร์สหรัฐ0.685ดูชานเบทาจิก, รัสเซีย
 เติร์กเมนิสถาน488,1005,662,54411.182.624 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ13,065 ดอลลาร์สหรัฐ0.745อาชกาบัตเติร์กเมน
 อุซเบกิสถาน448,97836,024,900[27]69.192.332 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ2,563 ดอลลาร์สหรัฐ0.727ทาชเคนต์อุซเบก

ประชากร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง