พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้

พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้เป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะระดับเทศบาลนคร จัดแสดงศิลปะจีนโชราณ ตั้งอยู่ในจัตุรัสประชาชนในอำเภอหวังผู่ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน อาคารพิพิธภัณฑ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นในปี 1996

พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้
上海博物馆
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ในShanghai
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้
ที่ตั้งในShanghai
ก่อตั้ง1952[1][2]
ที่ตั้งจัตุรัสประชาชน เซี่ยงไฮ้ 200003[3]
พิกัดภูมิศาสตร์31°13′49″N 121°28′14″E / 31.230278°N 121.470556°E / 31.230278; 121.470556
จำนวนผู้เยี่ยมชม2,109,200 (2017)[4]
ผู้อำนวยการหม่า เฉิงหยฺวัน (1985–99)
เว็บไซต์shanghaimuseum.net
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้
อักษรจีนตัวย่อ上海博物馆
อักษรจีนตัวเต็ม上海博物館

พิพิธภัณฑ์สถาปนาขึ้นในปี 1952 และเปิดสู่สาธารณะครั้งแรกภายในอาคารสโมสรของลู่แข่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Racecourse club house) ซึ่งตั้งอยู่บนถนนหนานจิง[5] ของสะสมชุดแรกสุดส่วนใหญ่มาจากสามแหล่ง ได้แก่ กองพันคอมมิวนิสต์ภาคพื้นที่สาม ซึ่งได้โบราณวัตถุมาระหว่างสงครามกลางเมืองและจากการค้นพบโดยบังเอิญขณะยึดบ้านเรือนของผู้คนก่อนจะนำมายังเซี่ยงไฮ้เสื่อคอมมิวนิสต์ยึดนครได้, โบราณวัตถุที่ยึดได้โดยศุลกากร และโบราณวัตถุที่ถูกขายโดยนักสะสมเอกชนเนื่องจากแรงกดดันทางสังคม ก่อนที่จะถูกซื้อโดยรัฐบาล ต่อมายังมีการเพิ่มเติมของสะสมจากของสะสมขององค์กรต่าง ๆ ในเซี่ยงไฮ้ เช่น the ของสะสมจากอดีตพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ของสมาคมเอเชียติกหลวงในทศวรรษ 1950s ต่อมาในปี 1959 พิพิธภัณฑ์ย้ายไปเปิดบริการภายในอาคารจงฮุ่ย (Zhonghui Building) บนถนนเหอหนานใต้[1][2] ในระหว่างการก้าวไปข้างหน้าครั้งใหญ่ พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้มีส่วนในการช่วยกู้วัตถุทองสัมฤทธิ์ที่ถูกยึดมาและกำลังจะถูกส่งไปหลอมทิ้ง

ในการประกาศแผนพัฒนานครเซี่ยงไฮ้ระยะห้าปีเมื่อปี 1992 ซึ่งประกอบด้วยการก่อสร้างอาคารใหม่จำนวนมาก ไม่ปรากฏชื่อของพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้อยู่ในโครงการ แต่เนื่องด้วยของสะสมที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของพิพิธภัณฑ์ทำให้พื้นที่จัดแสดงคับแคบลง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ หม่า เฉิงหยวัน (อยู่ในตำแหน่งระหว่างปี 1985 - 1999) ได้ทำการล็อบบีนายกเทศมนตรีของเซี่ยงไฮ้ หวัง จู ให้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่สำหรับพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ หลัวนายกเทศมนตรีเดินทางเยือนพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ในอาคารจงฮุ่ย เขาได้อนุมัติพื้นที่บนจัตุรัสประชาชนเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่ โดยมีข้อแม้ว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องเป็นผู้ระดมทุนก่อสร้างเอง[6][7] หม่า สามารถระดมทุนได้ 25 ล้านดอลล่าร์สหรัฐผ่านการปล่อยอาคารหลังเก่าให้แก่นักพัฒนาจากฮ่องกงเช่า รวมถึงยังเดินทางไปต่างประเทศหลายครั้งเพื่อเรี่ยไรทุนจากชาวเซี่ยงไฮ้ที่อพยพออกนอกประเทศจีนหลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ ทำให้ระดมเงินได้เพิ่มอีก 10 ล้านดอลล่าร์ และเงินสมทบอีก 140 ล้านหยวนจากรัฐบาลนครเซี่ยงไฮ้[6] อาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่เริ่มต้นก่อสร้างในปี 1993 และเปิดเป็นทางการในปี 1996[1] และได้รับการตอบรับอย่างดี[7] อาคารความสูง 29.5 เมตร ห้าชั้น พื้นที่ 39,200 ตารางเมตร[1] ยังคงเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้มาจนปัจจุบัน

อาคารเป็นผลงานออกแบบโดยสถาปนิกชาวท้องถิ่น ซิง ทงเหอ (Xing Tonghe)[2] โดยออกแบบเป็นทรงของหม้อประกอบอาหารยุคโบราณหรือ ติ่ง ว่ากันว่าได้รับแรงบันดาลใจเป็นพิเศษมาจากต่าเค่อติ่ง ซึ่งจัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ บนสุดของอาคารเป็นรูปวงกลม ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งสะท้อนคติจีนโบราณที่เชื่อว่า “ฟ้ากลม โลกเหลี่ยม” (จีน: 天圆地方[8])

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง