ฟูกูโอกะ (เมือง)

นครและเมืองหลวงของจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น

นครฟูกูโอกะ (ญี่ปุ่น: 福岡市โรมาจิFukuoka-shi) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟูกูโอกะ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น

ฟูกูโอกะ

福岡
福岡市 · นครฟูกูโอกะ
จากบนซ้าย: แผงขายอาหารในนากาซุ, ปราสาทฟูกูโอกะ, ศาลเจ้าฮาโกซากิ, ย่านเท็นจิน, เทศกาลฮากาตะ กิอง ยามากาซะ, ชายหาดกับฟูกูโอกะทาวเวอร์
จากบนซ้าย: แผงขายอาหารในนากาซุ, ปราสาทฟูกูโอกะ,
ศาลเจ้าฮาโกซากิ, ย่านเท็นจิน, เทศกาลฮากาตะ กิอง ยามากาซะ,
ชายหาดกับฟูกูโอกะทาวเวอร์
ธงของฟูกูโอกะ
ธง
ที่ตั้งของฟูกูโอกะในจังหวัดฟูกูโอกะ
ที่ตั้งของฟูกูโอกะในจังหวัดฟูกูโอกะ
ฟูกูโอกะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ฟูกูโอกะ
ฟูกูโอกะ
 
พิกัด: 33°35′N 130°24′E / 33.583°N 130.400°E / 33.583; 130.400
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคีวชู
จังหวัดฟูกูโอกะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโซอิจิโร ทากาชิมะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด340.03 ตร.กม. (131.29 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ย. 2014)
 • ทั้งหมด1,520,783 คน
 • ความหนาแน่น4,450 คน/ตร.กม. (11,500 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
- ต้นไม้การบูร
- ดอกไม้ดอกชา
- นกBlack-headed Gull
เว็บไซต์www.city.fukuoka.lg.jp/english/index.html

ในปี 2013 ฟูกูโอกะได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 12 ของโลก จากนิตยสาร Monocle จากการที่ในเขตตัวเมืองมีพื้นที่สีเขียวจำนวนมาก [1] นอกจากนี้ฟูกูโอกะยังเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่สุดในเกาะคีวชู ซึ่งรองลงมาคือนครคิตะกีวชู และยังถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันตกจากเขตมหานครเคฮันชิง จากการที่เป็นเมืองขนาดใหญ่และมีความสำคัญ ทำให้ฟูกูโอกะได้รับสถานะเป็นนครโดยรัฐบัญญัติ เมื่อ 1 เมษายน 1972 ด้วยประชากรในเขตเมืองและปริมณฑลรวมกว่า 2.5 ล้านคน (สำมะโนปี 2005) ซึ่งทั้งฟูกูโอกะ–คิตะกีวชู ต่างเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหนัก ซึ่งเป็นรายได้หลักของเมือง

เมื่อกรกฎาคม 2011 ฟูกูโอกะมีฐานะเป็นเมืองใหญ่อันดับ 6 ของญี่ปุ่น ซึ่งแซงหน้านครใหญ่อย่างเกียวโต นับเป็นครั้งแรกที่เมืองทางตะวันตกของภาคคันไซ สามารถมีประชากรมากกว่าเกียวโต นับตั้งแต่ก่อตั้งเมืองเกียวโตเมื่อปี ค.ศ. 794 นอกจากนี้ ในฟูกูโอกะยังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้ว่าการสร้างชาติญี่ปุ่นเริ่มจากที่นี่

ประวัติศาสตร์

ฟูกูโอกะบางครั้งถูกเรียกว่าท่าไดไซฟุ (大宰府) ไดไซฟุเป็นเขตศูนย์กลางการปกครองในปี 663 แต่นักประวัติศาสตร์ก็แย้งว่า เขตศูนย์กลางนี้ มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์[2] บันทึกโบราณอย่าง โคจิกิ และ คันเอ็ง ตลอดจนหลักฐานทางโบราณคดีได้บ่งชี้ว่า พื้นที่แถบนี้เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมากในการสถาปนาชาติญี่ปุ่น นักวิชาการบางคนอ้างว่า[3] สถานที่นี้เป็นสถานที่แรกที่จักรพรรดิทรงตั้งรกราก เช่นเดียวกับทฤษฎีกำเนิดชาติญี่ปุ่นอื่น ๆ อีกมากมาย

มองโกลรุกราน

กุบไล ข่านแห่งจักรวรรดิมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ได้เพ่งเล็งและสนใจในเกาะญี่ปุ่นที่เป็นประเทศปิด พระองค์เริ่มเตรียมการในปี ค.ศ. 1266 ทรงดำริว่าญี่ปุ่นไม่มีประสบการณ์ต่อโลกภายนอก จึงได้ส่งคณะราชทูตไปยังญี่ปุ่นเพื่อให้ยอมรับอำนาจของมองโกล ญี่ปุ่นขณะนั้นปกครองโดยตระกูลโฮโจ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนโชกุนแห่งรัฐบาลโชกุนคามากูระ โดยโฮโจได้ปฏิเสธกลับไป กุบไลข่านส่งคณะราชทูตกลับไปอีกครั้งในปี 1268 ซึ่งครั้งนี้ โฮโจได้ปฏิเสธและประหารคณะราชทูต

ในปี 1274 กุบไลข่านส่งเรือรบ 900 ลำพร้อมไพร่พล 33,000 นายเข้าสู่ทางตอนเหนือของเกาะคีวชู ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นทหารจากโครยอที่เป็นรัฐบรรณาการของมองโกล การรุกรานครั้งแรกล้มเหลวจากพายุไต้ฝุ่น ฝ่ายมองโกล–โครยอสูญเสียไพร่พลแทบทั้งหมด

ภายหลังความพ่ายแพ้ในการรุกรานครั้งแรก กุบไลข่านล่งคณะราชทูตไปอีกเป็นครั้งที่สามในปี 1279 ซึ่งโฮโจก็ได้สั่งตัดหัวพวกเขาเหมือนครั้งก่อน ทำให้ในปี 1281 กุบไลข่านส่งเรือรบ 4,400 ลำพร้อมไพร่พล 140,000 นายบุกยังฟูกูโอกะ แต่ญี่ปุ่นเองก็เตรียมพร้อมรับมือเป็นอย่างดี หลังจากรบได้เพียงสองศึกและยังไม่มีทีท่าว่าฝ่ายใดจะเพลี่ยงพล้ำ พายุไต้ฝุ่นได้พัดเข้าที่เกาะคีวชูเป็นเวลาถึงสองวัน ทำลายกองเรือของมองโกลพินาศไปเกือบทั้งหมด ทหารมองโกลและโครยอเสียชีวิตกลางทะเลมากกว่าแสนนาย

พายุที่เกิดขึ้นระหว่างการรุกรานทั้งสองครั้งทำให้ญี่ปุ่นขนานนามพายุไต้ฝุ่นนี้ว่า คามิกาเซะ (วายุเทพ)

เขตการปกครอง

นครฟูกูโอกะประกอบด้วย 7 เขตการปกครอง (กุ):เขตประชากรพื้นที่ความหนาแน่น
เมื่อ ส.ค. 2553ตร.กม.คน/ตร.กม.
เขตฮิงาชิ291,74966.684 375.36
เขตฮากาตะ212,10831.476 740.01
เขตชูโอ
(เขตศูนย์กลาง)
176,73915.1611,658.24
เขตมินามิ248,90130.988 034.25
เขตโจนัง128,88316.028 045.13
เขตซาวาระ211,88995.882 209.42
เขตนิชิ190,28883.812 270.47

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของนครฟูกูโอกะ (ค.ศ. 1971-2000)
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)9.8
(49.6)
10.5
(50.9)
14.0
(57.2)
19.2
(66.6)
23.5
(74.3)
26.5
(79.7)
30.7
(87.3)
31.6
(88.9)
27.8
(82)
23.0
(73.4)
17.6
(63.7)
12.5
(54.5)
20.5
(68.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)6.4
(43.5)
6.9
(44.4)
9.9
(49.8)
14.8
(58.6)
19.1
(66.4)
22.6
(72.7)
26.9
(80.4)
27.6
(81.7)
23.9
(75)
18.7
(65.7)
13.4
(56.1)
8.7
(47.7)
16.6
(61.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)3.2
(37.8)
3.5
(38.3)
6.1
(43)
10.7
(51.3)
15.0
(59)
19.4
(66.9)
24.0
(75.2)
24.5
(76.1)
20.6
(69.1)
14.7
(58.5)
9.6
(49.3)
5.2
(41.4)
13.0
(55.4)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)72.1
(2.839)
71.2
(2.803)
108.7
(4.28)
125.2
(4.929)
138.9
(5.469)
272.1
(10.713)
266.4
(10.488)
187.6
(7.386)
175.0
(6.89)
80.9
(3.185)
80.5
(3.169)
53.8
(2.118)
1,632.4
(64.268)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว)2
(0.8)
2
(0.8)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
5
(2)
ความชื้นร้อยละ64646667697675747469676569.2
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย11.010.112.911.010.712.411.910.410.97.39.710.3128.6
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย6.85.51.50.00.00.00.00.00.00.00.23.417.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด99.9114.3149.7177.2195.0147.6182.7199.3157.8174.9133.2116.91,848.5
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [4]

เมืองพี่น้อง

นครฟูกูโอกะ เป็นเมืองพี่น้องกับอีก 7 เมืองได้แก่

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง