มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช (เยอรมัน: Universität Leipzig; อังกฤษ: University of Leipzig) ตั้งอยู่ที่เมืองไลพ์ซิช รัฐซัคเซิน ประเทศเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยประจำเมืองไลพ์ซิช มีการเรียนการสอน 14 คณะ

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อย่อUni.Leipzig
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา2 ธันวาคม ค.ศ. 1409
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.uni-leipzig.de

ประวัติ

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิชก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1409 เป็นมหาวิทยาลัยลำดับที่ 3 ที่เปิดการเรียนการสอนในประเทศเยอรมนี (ต่อจาก มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค และมหาวิทยาลัยโคโลญ) แต่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุเก่าแก่อันดับสองของเยอรมนี ที่ยังคงมีการเรียนการสอนในปัจจุบัน เนื่องจากมหาวิทยาลัยโคโลญ มีการหยุดการเรียนการสอนไประยะหนึ่ง

ที่มาในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย เนื่องจากในศตวรรษที่ 14 มีการแทรกแซงทางการเมืองในมหาวิทยาลัยแห่งกรุงปราก ซึ่งการแทรกแซงดังกล่าวมีผลกระทบอย่างมากต่อกลุ่มคณาจารย์ และนักศึกษาที่ใช้ภาษาเยอรมัน กลุ่มคณาจารย์นำโดยโยฮันน์ ฟอน มึนส์เทอร์แบร์ค (Johann von Münsterberg) โดยการสนับสนุนจาก เฟรดเดอริกที่หนึ่ง เจ้าผู้ครองรัฐซัคเซิน และ วิลเฮล์มที่สอง ผู้ปกครองเมืองไมเซิน ให้ย้ายมาเปิดการเรียนการสอน และจัดตั้งมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช โดยครั้งนั้น รวมจำนวนคณาจารย์และนักศึกษาประมาณ400 คน ได้ย้ายมาจากดำเนินการเรียนการสอนต่อที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช โดย โยฮันน์ ฟอน มวนสเตอร์เบือก (Johann von Münsterberg) เป็นอธิการบดีคนแรก โดยใช้เอากุสเทอูมและโบสถ์เซนต์เปาโล เป็นที่ทำการของมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น[1]

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองไลพ์ซิชเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีตะวันออก ซึ่งปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 1953 มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช จึงถูกเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเป็น มหาวิทยาลัยคาร์ล มาร์กซ์ ต่อมาเมื่อเกิดการรวมประเทศในปี ค.ศ. 1989 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ดังเดิมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา[2]

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิชในปี ค.ศ. 1890

เหตุการณ์สำคัญ

ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยมีดังนี้[3]

ปีเหตุการณ์
พฤษภาคม ค.ศ. 1409คณาจารย์และนักศึกษาปริญญาเอก จำนวน 46 คน และนักศึกษาจำนวน 369 คน อพยพออกจากกรุงปราก สหพันธรัฐปรัสเซีย
ธันวาคม ค.ศ. 1409จัดตั้งมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช
ค.ศ. 1415ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์
ค.ศ. 1446ก่อตั้งคณะนิติศาสตร์
ค.ศ. 1542จัดตั้งหอสมุดมหาวิทยาลัย
ค.ศ. 1760เมืองไลพ์ซิช มีประชากรกว่า 30,000 คน และมหาวิทยาลัยมีนักศึกษารวม 600 คน
ค.ศ. 1884จัดตั้งสถาบันทดสอบสุขภาพจิตแห่งแรกของโลก โดย วิลเฮล์ม วุนดท์ (Wilhelm Wundt)
ค.ศ. 1933เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบอรก (Werner Heisenberg) ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1932 จากแนวคิดเรื่องควอนตัม
ค.ศ. 1945สงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราว ผลพวงของสงครามทำให้หนังสือกว่าร้อยละ 70 ขอมหาวิทยาลัยเสียหาย
ค.ศ. 1946มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนอีกครั้ง
ค.ศ. 1953มหาวิทยาลัยถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยคาร์ลมาร์กซ์
ค.ศ. 1968คริสตจักรประจำมหาวิทยาลัยถูกทำลายภายใต้การสั่งการของผู้ปกครองประเทศเยอรมนีตะวันออก และผู้บริหารมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น
ค.ศ. 1991มหาวิทยาลัย ได้กลับมาใช้ชื่อ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช อีกครั้งภายหลังการรวมประเทศ เป็นประเทศเยอรมนี
ค.ศ. 2003เริ่มวางแผนการก่อสร้างอาคารคริสตจักรประจำมหาวิทยาลัย (โบสถ์นักบุญเปาโล) ขึ้นทดแทนของเดิมที่ถูกทำลาย โดยออกแบบเป็นอาคารหอประชุมแทนที่จะใช้เป็นคริสตจักร[4]
ค.ศ. 2009มหาวิทยาลัยมีอายุครบ 600 ปี

หอสมุดมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช

หอสมุดมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช หรือ หอสมุดอัลเบอตินา

คณะที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช มีคณะที่เปิดสอนในปัจจุบัน ทั้งสิ้น 14 คณะ มีหลักการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งสิ้นกว่า 150 หลักสูตร ณ ปีการศึกษา 2007/2008 มีนักศึกษาทั้งสิ้น 26,978 คน โดยในจำนวนนี้ เป็นนักศึกษาต่างชาติ 2,347 คน[5]

รายชื่อคณะที่เปิดทำการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ในปัจจุบันทั้งสิ้น 14 คณะ [6] มีดังนี้

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช มีความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว อาจารย์ประจำหน่วยวิจัยเคมีคอมพิวเตอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมงานวิจัย และงานวิชาการร่วมกับ ดร.ซีกฟรีด ฟริทซ์เช่ อาจารย์ประจำสถาบันฟิสิกส์เชิงทฤษฎี คณะฟิสิกส์และธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช[7]

เกียรติประวัติ

คณาจารย์

  • กูสทาฟ ลูดวิช เฮิร์ทซ (Gustav Ludwig Hertz) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1925 ได้เข้าเป็นอาจารย์คณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1955 - ค.ศ. 1967
  • ปีเตอร์ เดบาย (Peter Debye) นักเคมีฟิสิกส์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ประจำปี ค.ศ. 1936 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิชระหว่างปี ค.ศ. 1927 - ค.ศ. 1936
  • ธีโอดอร์ มอมเซน (Theodor Mommsen) นักประวัติศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำปี ค.ศ. 1902 จากผลงานประวัติศาสตร์โรม ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1851
  • นาธาน ซัวเดอร์โบลม (Nathan Söderblom) นักประวัติศาสตร์รางวัลโนเบล ประจำปี ค.ศ. 1930 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1912 - ค.ศ. 1914
  • วิลเฮลม โอสท์วาล์ด (Wilhelm Ostwald) นักเคมีรางวัลโนเบล สาขาเคมี ประจำปี ค.ศ. 1909 ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คณะเคมี มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1887 - ค.ศ. 1906
  • แวร์เนอร์ ไฮเซินแบร์ก (Werner Heisenberg) ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1932 จากแนวคิดเรื่องควอนตัม

นักศึกษา

  1. กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ (ค.ศ. 1646 - ค.ศ. 1716) ปรัชญาเมธี และนักคณิตศาสตร์คนสำคัญ เป็นชาวเมืองไลพ์ซิชโดยกำเนิด และเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1661 - ค.ศ. 1666 ปัจจุบันอนุสวรีย์ของ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ได้จัดวางไว้ ณ ลานด้านหน้าอาคารเรียนคณะเศรษฐศาสตร์
  2. โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ (ค.ศ. 1749 - ค.ศ.1832) นักประพันธ์ นักวิจารณ์ ปรัชญาเมธีผู้โด่งดังของเยอรมนี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ก่อนจะกลับไปใช้ชีวิตการทำงานที่เมืองไวมาร์ ปัจจุบัน อนุสวรีย์ของ โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ ได้จัดตั้งไว้ ณ ลานด้านหลังศาลาว่าการเมืองหลังเก่า
  3. ริชาร์ด วากเนอร์ คีตกวีที่เกิดในไลพ์ซิชเมื่อ ค.ศ. 1813 แม้จะไปใช้ชีวิตวัยเด็กในเดรสเดน แต่ก็กลับมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ก่อนจะผันตัวเองไปเป็นนักประพันธ์เพลง และอุปรากรในช่วงที่เหลือของชีวิต
  4. อังเงลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมันคนแรก และคนปัจจุบัน เป็นศิษย์เก่า คณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1973 - ค.ศ. 1978

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง