มารียา เวียตรอวา

ครูและนักปฎิวัตืชาวยูเครน (ค.ศ. 1870-1897)

มารียา แฟดอซียิวนา เวียตรอวา (ยูเครน: Марія Федосіївна Вєтрова; 3 มกราคม 1870 – 24 กุมภาพันธ์ 1897) เป็นครูและนักปฏิวัติชาวยูเครน หลังทำงานเป็นครูในหลายภาคของประเทศยูเครนและเข้าร่วมคณะละครเป็นเวลาสั้น ๆ เธอได้เข้าร่วมกลุ่มนักสังคมนิยมในอาซอว และเป็นผู้ยึดถือในงานเขียนของเลโอ ทอลสตอย เธอศึกษาต่อในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก แต่ถูกเรียกร้องให้มาเป็นนักปฏิวัติหลังได้พบกับทอลสตอย เธอถูกจับกุมจากกิจกรรมการตีพิมพ์เนื้อหาต่อต้านซาร์ และเสียชีวิตจากการจุดไฟเผาตนเองในป้อมปราการปีเตอร์และปอล หารเสียชีวิตของเธอกลายมาเป็นคำเรียกในการเดินขบวนของขบวนการนักศึกษาเพื่อล้มล้างซาร์ที่ได้รับความนิยมสูงยิ่งขึ้น

มารียา เวียตรอวา
Марія Вєтрова
เกิด03 มกราคม ค.ศ. 1870(1870-01-03)
ซอลอนีวสกา [uk] แคว้นแชร์นีฮีว จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน)
เสียชีวิต24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1897(1897-02-24) (27 ปี)
ป้อมปีเตอร์และปอล เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก จักรวรรดิรัสเซีย
สาเหตุเสียชีวิตจุดไฟเผาตนเอง
สุสานสุสานการแปรสภาพสู่พระเจ้า [ru]
สัญชาติยูเครน
อาชีพ
  • Teacher
  • actor
ปีปฏิบัติงาน1888–1897
ขบวนการนารอดิก

ชีวประวัติ

มารียา เฟตอชีวนา เวียตรอวา เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม 1870[1] ในซอลอนีวกา [uk] แคว้นแชร์นีฮีว จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นแชร์นีฮีว ประเทศยูเครน)[2] เธอเป็นลูกนอกสมรสของสตรีชาวคอสซัก[2] ออเลกซันดรา เวียตรอวา (Oleksandra Vetrova) กับโนตารีท้องถิ่น เธอจึงถูกเลี้ยงมาเป็นเด็กกำพร้าโดยสตรีไพร่คนหนึ่งซึ่งเธอเรีดยว่าเป็น “ยาย”[1] ในปี 1888 เธอจบการศึกษาจากวิทยาลัยครู[2] และประจำการอยู่ที่โรงเรียนในย่านชนบทของ ลีวเบค[1]

เงินเดือนครูของเธอน้อยมากและไม่พอต่อการดำรงชีพ รวมถึงชีวิตในชนบทของเธอนั้นโดดเดี่ยวอย่างมากในหมู่บ้านเล็ก ๆ นี้[1] ในเดือนเมษายน 1889 เธอเข้าร่วมคณะละครเวที (acting troupe) ของมือกอลา ซาดอวสกืย์ [uk][2] ซึ่งเดินทางไปทั่วประเทศยูเครย แสดงในโรงละครเล็ก ๆ โดยใช้เครื่องแต่งชายและของประกอบฉากอย่างง่าย เมื่อถึงคราที่เธอต้องแสดงเป็นครั้งแรก เธอตื่นเวทีมากจนตัดสินใจหนีออกจากคณะละคร[1]

การเป็นนักปฏิวัติ

ต่อมาเธอจึงเดินทางไปยังอาซอวเพื่อกลับไปประกอบอาชีพครู ที่นี่เธอได้เข้าร่วมกับกลุ่มนักสังคมนิยม และสนิทสนมกันก้บ อันตีป กือลากอว [ru] นารอดนิกจากตากันรอก เธอได้รับแรงบันดาลใจเป็นพิเศษจากบทความของเลโอ ทอลสตอยเรื่อง "ความสุขคืออะไร?" และเมื่อช่วงปีผ่านไป เธอยิ่งศึกษาเข้าถึงแนวคิดสังคมนิยมอย่างเข้มข้นมากขึ้น[1] ในปี 1894 เธอออกเดินทางจากอาซอวเพื่อไปศึกษาที่สถาบันเบสตูเจฟในมหาวิทยาลัยหลวงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก[2] แต่เธอกลับพบว่าอาจารย์และคาบสอนบรรยายต่าง ๆ ที่นั่นกลับไม่น่าสนใจและดูเบาปัญญา ในปีต่อมาเธอพบกับทอลสตอย ซึ่งให้แรงบันดาลใจเธอเป็นนักปฏิวัติ จากนั้นเธอจึงเริ่มไปสอนวิชาภาษารัสเซีย และ ชีวคณิต ประจำโรงเรียนภาควันอาทิตย์สำหรับแรงงานที่โรงงานรัฐออบูฮอว[1]

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 1897 ทางการของซาร์ทำการจับกุมหมู่ผู้ที่เชื่อว่ามีส่วนร่วมในการตีพิมพ์นารอดนิกในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เวียตรอวารู้จักคนจำนวนหนึ่งที่ถูกจับกุมในครั้งนี้[1] เมื่อวันที่ 2 มกราคม 1897 [ตามปฎิทินเก่า: 22 ธันวาคม 1896][3] เธอเองก็ถูกจับกุมฐานมีโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาลในครอบครอง และต้องสงสัยมรส่วนร่วมในแผนการตีพิมพ์เพื่อปฏิวัติ เธอถูกจับกุมที่ป้อมปราการปีเตอร์และปอล ที่ซึทงเธอจบชีวิตตัวเองด้วยการจุดไฟเผาตัวเองในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 8 กุมภาพันธ์] 1897 เธอเสียชีวิตจากบาดแผลไฟไหม้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 12 กุมภาพันธ์] 1897[2]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง