ภาษายูเครน

ภาษายูเครน (ยูเครน: украї́нська мо́ва, ออกเสียง: [ʊkrɐˈjinʲsʲkɐ ˈmɔwɐ]) ซึ่งในอดีตยังมีอีกชื่อว่า ภาษารูทีเนีย (อังกฤษ: Ruthenian language)[9] เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาฟตะวันออกของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เป็นภาษาแม่ของชาวยูเครนและภาษาราชการของประเทศยูเครน และใช้รูปแบบหนึ่งของอักษรซีริลลิกเป็นภาษาเขียน

ภาษายูเครน
украї́нська мо́ва
ออกเสียง[ʊkrɐˈjinʲsʲkɐ ˈmɔwɐ]
ประเทศที่มีการพูดยูเครน
ภูมิภาคยุโรปกลางและตะวันออก
ชาติพันธุ์ชาวยูเครน
จำนวนผู้พูดผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 40 ล้านคน (ค.ศ. 2000)[1]  (ไม่พบวันที่)
ผู้พูดทั้งหมดประมาณ 45 ล้านคน[2]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
อินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม
  • บอลต์-สลาฟดั้งเดิม
    • สลาฟดั้งเดิม
      • สลาฟตะวันออกเก่า
        • รูทีเนีย
          • ภาษายูเครน
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก (ชุดตัวอักษรยูเครน)
อักษรเบรลล์ยูเครน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศยูเครน ยูเครน

ไครเมีย[หมายเหตุ 1]

ทรานส์นีสเตรีย[หมายเหตุ 2]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย[3]
 เช็กเกีย[4]
ธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย[3]
ธงของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[3]
ธงของประเทศเบลารุส เบลารุส
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์[3]
ธงของประเทศมอลโดวา มอลโดวา[5][6][7]
ธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย[3]
ธงของประเทศสโลวาเกีย สโลวาเกีย[3]
ธงของประเทศฮังการี ฮังการี[8]
ผู้วางระเบียบบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติยูเครน: สถาบันภาษายูเครน, กองทุนสารสนเทศภาษายูเครน, สถาบันภาษาศาสตร์ปอแตบนียา
รหัสภาษา
ISO 639-1uk
ISO 639-2ukr
ISO 639-3ukr
Linguasphere53-AAA-ed < 53-AAA-e
(วิธภาษา: 53-AAA-eda ถึง 53-AAA-edq)
  บริเวณที่ภาษายูเครนเป็นภาษาหลัก
  บริเวณที่ภาษายูเครนเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ภาษายูเครน

นักภาษาศาสตร์เชิงประวัติสืบหาต้นกำเนิดของภาษายูเครนไปจนถึงภาษาสลาฟตะวันออกเก่าของรัฐรุสเคียฟในสมัยกลางตอนต้น หลังการล่มสลายของรัฐรุสเคียฟและอาณาจักรรูทีเนีย ภาษานี้ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นรูปแบบที่เรียกว่าภาษารูทีเนีย มีการใช้ภาษาสลาวอนิกคริสตจักรแบบเคียฟร่วมกับภาษารูทีเนียในพิธีกรรมทางศาสนาในดินแดนที่จะกลายมาเป็นยูเครนสมัยใหม่[10] เริ่มมีการใช้ภาษายูเครนกันทั่วไปตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งรัฐผู้บัญชาการคอสแซ็ก ตั้งแต่ ค.ศ. 1804 จนถึงสงครามประกาศอิสรภาพยูเครน (ค.ศ. 1917–1921) ภาษายูเครนถูกห้ามใช้ในโรงเรียนต่าง ๆ ในจักรวรรดิรัสเซียซึ่งขณะนั้นครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยูเครน (ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้)[11] แต่ในภาคตะวันตกของยูเครนยังคงมีผู้ใช้ภาษานี้เรื่อยมาโดยไม่เคยถูกห้าม[12] ทั้งในเพลงพื้นเมือง เพลงและบทกวีของนักดนตรีพเนจร และงานของนักเขียนสำคัญ[12][13]

หน่วยงานที่มีหน้าที่วางระเบียบเกี่ยวกับภาษายูเครนมาตรฐานคือบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติยูเครน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันภาษายูเครน กองทุนสารสนเทศภาษายูเครน และสถาบันภาษาศาสตร์ปอแตบนียา) ภาษายูเครนและภาษาเบลารุสมีความเข้าใจซึ่งกันและกันในระดับหนึ่ง[14]

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง