มาร์ติน ลูเทอร์

มาร์ติน ลูเทอร์[1] (เยอรมัน: Martin Luther; 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2026 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2088) เป็นชาวเยอรมันที่เป็นทั้งศาสตราจารย์ด้านเทววิทยา นักบวช นักเขียน คีตกวี นักบวชแห่งคณะออกัสติเนียน[2] และบุคคลที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนา ลูเธอร์ได้เข้ามาบวชเป็นบาทหลวงในปี ค.ศ. 1507 เขาได้ปฏิเสธคำสอนและแนวทางปฏิบัติหลายประการของศาสนจักรนิกายโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาได้โต้แย้งกับมุมมองของการไถ่บาป ลูเธอร์ได้เสนอการอภิปรายโต้แย้งทางวิชาการเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและประสิทธิผลของการไถ่บาปในญัตติ 95 ข้อของเขาในปี ค.ศ. 1517 การปฏิเสธที่จะละทิ้งงานเขียนทั้งหมดของเขาตามคำเรียกร้องของสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ในปี ค.ศ. 1520 และจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ประชุมสภาเมืองวอร์มส์ ในปี ค.ศ. 1521 ส่งผลทำให้สมเด็จพระสันตะปาปาทำการตัดขาดออกจากศาสนจักร และจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ประณามว่าเป็นคนนอกกฎหมาย

มาร์ติน ลูเทอร์
ลูเทอร์ในปี 1533 วาดโดย ลูคัส ครานัค
เกิด10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483(1483-11-10)
Eisleben แซกโซนี จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เสียชีวิต18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1546(1546-02-18) (62 ปี)
Eisleben แซกโซนี จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
อาชีพพระ นักบวช นักเทววิทยา
ผลงานเด่นThe Ninety-Five Theses, Luther's Large Catechism,
Luther's Small Catechism, On the Freedom of a Christian
คู่สมรสKatharina von Bora
บุตรHans (Johannes), Elisabeth, Magdalena, Martin, Paul, Margarethe
อิทธิพลPaul the Apostle, Augustine of Hippo
ได้รับอิทธิพลPhilipp Melanchthon, นิกายลูเทอแรน, John Calvin, Karl Barth
ลายเซ็น

ลูเธอร์ได้สอนว่า การช่วยให้รอดพ้นจากบาป และด้วยเหตุนี้ ชีวิตอันเป็นนิรันดร์จึงไม่ได้มาจากการกระทำกรรมดี แต่จะได้รับเป็นของขวัญจากพระกรุณาของพระเจ้าโดยไม่เสียค่าใช่จ่ายเท่านั้น โดยผ่านทางความเชื่อของผู้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ในฐานะพระผู้ไถ่จากบาป ลัทธิเทววิทยาของเขาได้ท้าทายอำนาจและตำแหน่งของสมเด็จพระสันตะปาปา โดยสอนว่า พระคัมภีร์ไบเบิลเป็นแหล่งเดียวของความรู้ที่ถูกเปิดเผยโดยพระผู้เป็นเจ้า[3] และต่อต้านทฤษฏีสังฆสภาพ(sacerdotalism) โดยถือว่า ชาวคริสเตียนที่ได้เข้าพิธีบัพติศมาทั้งหมดเป็นบาทหลวงอันศักดิ์สิทธิ์[4] ผู้ที่ระบุด้วยสิ่งเหล่านี้ และคำสอนที่กว้างขวางทั้งหมดของลูเธอร์จึงถูกเรียกว่า ลูเทอแรน แม้ว่าลูเธอร์ได้ยืนยันว่าชาวคริสเตียนหรืออีแวนเจลิคอล (German: evangelisch) เป็นเพียงชื่อนามที่ยอมรับได้สำหรับบุคคลที่นับถือพระคริสต์

การแปลพระคัมภีร์ไบเบิลมาเป็นภาษาเยอรมัน (แทนที่ภาษาละติน) ทำให้สามารถเข้าถึงเหล่าฆราวาสได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งคริสตจักรและวัฒนธรรมเยอรมัน มันส่งเสริมการพัฒนาภาษาเยอรมันแบบมาตรฐาน และเพิ่มหลักการหลายประการในศิลปะของการแปลภาษา[5] และมีอิทธิพลต่อการเขียนแปลภาษาอังกฤษ พระคัมภีร์ไบเบิลทินเดล[6] เพลงสวดของเขาได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของการร้องเพลงในศาสนจักรนิกายโปรเตสแตนต์[7] เขาได้สมรสกับคาธารินา ฟอน โบรา อดีตแม่ชี ซึ่งได้วางแบบจำลองสำหรับการแต่งงานแบบนักบวช โดยอนุญาตให้นักบวชในนิกายโปรเตสแตนต์สามารถแต่งงานกันได้[8]

ในผลงานสองชิ้นต่อมาของเขา ลูเธอร์ได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อชาวยิวอย่างรุนแรง และเรียกร้องให้มีการเผาธรรมศาลาและการตายของพวกเขา[9] วาทศิลป์ของเขาไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ชาวยิวเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้รวมไปถึงชาวนิกายโรมันคาทอลิก ชาวนิกายอนาบัปติสต์ (ศาสนาคริสต์นิกายที่ยึดถือการล้างบาป) และชาวคริสเตียนที่ปฏิเสธถึงหลักตรีเอกภาพ(Nontrinitarian)[10] ลูเธอร์ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1546 ในขณะที่คำสั่งตัดขาดออกจากศาสนจักรของสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ยังคงมีผลบังคับใช้

ประวัติ

มาร์ติน ลูเทอร์ เกิดที่เมือง ไอสเลเบน นครแซกโซนี ประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483 บิดามารดาเป็นคนยากจนและไม่ได้รับศึกษา เมื่อเติบโตขึ้นก็ไม่มีเงินจะให้ลูเทอร์เข้าโรงเรียน ลูเทอร์ต้องเที่ยวร้องเพลงขอทานตามบ้านต่าง ๆ เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนในโรงเรียน เผอิญมีหญิงมั่งคั่งคนหนึ่งเกิดความเมตตาได้ช่วยเหลือให้เข้าอยู่ในมหาวิทยาลัยเมื่อ ค.ศ. 1500

ลูเทอร์ได้ศึกษาเทววิทยา วรรณคดี ดนตรี และที่เอาใจใส่มากที่สุดคือกฎหมาย บิดาของลูเทอร์ก็ปรารถนาให้ลูเธอร์เป็นนักกฎหมาย แต่เมื่ออายุ 22 ปีเกิดเหตุการณ์หนึ่งคือเพื่อนของลูเทอร์ถูกฆ่าตายในเวลาดวลต่อสู้กับบุคคลหนึ่ง ทำให้ลูเทอร์กลายเป็นคนกลัวผี ขี้ขลาด ต่อมาอีก 2-3 วันลูเทอร์จะเข้าประตูมหาวิทยาลัย ก็เกิดฝนตกฟ้าร้อง ฟ้าผ่ามาใกล้ ๆ ลูเทอร์ได้อธิษฐานว่า ถ้ารอดพ้นไปได้จะบวชเป็นบาทหลวง ต่อมาในไม่ช้าในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1505 ลูเธอร์ก็เข้าไปอยู่ในอารามคณะออกัสติเนียนในมหาวิทยาลัยวิตเทนบูร์ก ตั้งหน้าศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างเอาใจใส่ เป็นคนเฉลียวฉลาด พูดเก่ง จนในที่สุดก็ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น

ในปี ค.ศ. 1511 ขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในอาราม ลูเทอร์ได้มีโอกาสไปแสวงบุญที่โรม และได้พบเห็นชีวิตของสันตะปาปาโอ่โถง หรูหราจนเกือบไม่มีกษัตริย์องค์ใดสู้ได้ และเห็นว่านักบวชไม่ควรดำเนินชีวิตอย่างนั้น

จนในปีค.ศ. 1515 สันตะปาปาเลโอที่ 10 อยากจะสร้างโบสถ์ให้งดงามสมตำแหน่งจึงได้ตั้งบัญญัติใหม่ว่า ถึงแม้จะทำความผิดเป็นอุกฉกรรจ์มหันตโทษเพียงไร ก็สามารถล้างบาปได้โดยซื้อใบฎีกาไถ่บาป และบรรดานายธนาคารทั้งหลายในประเทศต่าง ๆ ก็ตกลงเป็นเอเยนต์รับฝากเงินที่คนทั้งหลายจะชำระล้างบาปโดยไม่ต้องส่งไปโรม ลูเทอร์ได้เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลายมาปรึกษา โต้เถียงกับบัญญัติใหม่

จนในปีค.ศ. 1517 เดือนตุลาคม ลูเทอร์ได้นำประกาศที่เรียกว่า "ญัตติ 95 ข้อ" (The 95 Theses) ไปปิดไว้ที่ประตู้หน้าโบสถ์เมืองวิตเทนบูร์ก ซึ่งมีเนื้อหาประณามการขายใบยกโทษบาปของสันตะปาปา และการกระทำที่เหลวแหลกอื่นๆ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1521 ลูเทอร์ได้รับหมาย ”การตัดขาดจากศาสนา” (Excommunication) ซึ่งเป็นสารตราพระสันตะปาปา โดยที่ลูเทอร์ต้องออกจากเขตปกครองของจักรพรรดิไปที่วอร์มส์พร้อมกับผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ที่นั่นท่านได้แปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนงานเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมีทั้งพิธีมิสซาและศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งลูเทอร์ตั้งใจที่จะให้ชาวบ้านซึ่งไม่เข้าใจภาษาละติน สามารถเข้าถึงหลักคำสอนและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้

ลูเทอร์ป่วยตายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1546 ขณะที่มีอายุได้ 62 ปี เขาได้เขียนข้อความสุดท้ายบนกระดาษแผ่นเล็ก ๆ ไว้ว่า เราเป็นขอทาน และนี่เป็นเรื่องจริง (เยอรมัน : Wir sind bettler. Hoc est verum)

ผลงานของลูเทอร์นี้ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือละตินได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเธอร์ที่ต้องการให้บุคคลสามารถ รับผิดชอบในความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น นักบวช กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในศาสนาเป็นเพียงสิ่งเปลือกนอกที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้าต่อพระพักตร์พระเจ้าด้วยตนเอง นิกายนี้จึงได้ตัดประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนศีลศักดิ์สิทธิ์บางเรื่องออกไปเหลือแต่พิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ และสนับสนุนให้บุคคลเอาใจใส่ต่อพระคัมภีร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า ที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงความรอดส่วนบุคคลภายในโบสถ์ของโปรเตสแตนต์จึงไม่มีรูปเคารพและศิลปกรรมที่ตกแต่งดังเช่นโบสถ์คาทอลิก บนแท่นบูชามีเพียงพระคัมภีร์เท่านั้นที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้เป็นเพียงเปลือกนอกที่มาจากตัณหาของมนุษย์ และทำให้เราเกิดความยึดถือยึดติดไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง