รัฐข่านบ็อกด์มองโกเลีย

รัฐข่านในมองโกเลียนอกภายใต้รัชสมัยบ็อกด์ ข่าน ซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1911–1919 และ ค.ศ. 1921–1924

รัฐข่านบ็อกด์มองโกเลีย (มองโกเลีย: อักษรมองโกเลีย:ᠪᠣᠭᠳᠠ ᠬᠠᠭᠠᠨᠲᠤ ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠯᠤᠰ, Богд хаант Монгол Улс; จีน: 博克多汗國; พินอิน: Bókèduō Hán Guó) เป็นรัฐบาลโดยพฤตินัยของมองโกเลียนอกในระหว่าง ค.ศ. 1911 ถึง ค.ศ. 1915 และดำรงอยู่อีกครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 1921 ถึง ค.ศ. 1924 โดยในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1911 ขุนนางคนสำคัญบางกลุ่ม ซึ่งรวมถึงเจ้าชายต็อก-โอชิริน นามนานซือเหรินได้เชิญให้เจาซันดัมบา โฮตักต์เข้าร่วมการประชุมขุนนางและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสงฆ์เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นอิสรภาพจากราชวงศ์ชิง ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1911 มองโกเลียได้ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราวฮัลฮ์ จากนั้นในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 มองโกเลียจึงประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ชิงที่กำลังล่มสลายหลังจากการปฏิวัติซินไฮ่ โดยมีองค์เทวาธิปัตย์คือ บ็อกด์ เกเกงที่ 8 เป็นผู้นำสูงสุดของศาสนาพุทธแบบทิเบตในมองโกเลีย ซึ่งได้รับนามเรียกขานว่า บ็อกด์ ข่าน หรือ "ผู้ปกครองอันศักดิ์สิทธิ์"[2] บ็อกด์ ข่าน เป็นข่านองค์สุดท้ายของชาวมองโกล โดยรัชสมัยของพระองค์มีชื่อเรียกว่า "สมัยเทวาธิปไตยมองโกเลีย" (Theocratic Mongolia)[3] และอาณาจักรของพระองค์เป็นที่รู้จักกันในนาม "รัฐข่านบ็อกด์"[4]

รัฐมองโกเลียใหญ่

ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠯᠤᠰ
Монгол улс
Mongol uls
ค.ศ. 1911–1915
ค.ศ. 1921-1924
ตราแผ่นดินของ
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติЗуун лангийн жороо луус
ᠵᠠᠭᠤᠨ ᠯᠠᠩ ᠤᠨ ᠵᠢᠷᠤᠭ᠎ᠠ ᠯᠠᠭᠤᠰᠠ
โซส ลังกีน จอรอ โลส
ศตวรรษประชาชนของสามัญชนสีเงิน
พระราชลัญจกร
มองโกเลียนอกใน ค.ศ. 1914 แสดงเป็นสีแสด
มองโกเลียนอกใน ค.ศ. 1914 แสดงเป็นสีแสด
สถานะ
เมืองหลวงนีสเล็ลฮุเร
ภาษาทั่วไปมองโกเลีย
ศาสนา
ศาสนาพุทธแบบทิเบต (ทางการ)
การปกครองรัฐเดี่ยวภายใต้พระพุทธศาสนา[1] ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ข่าน 
• ค.ศ. 1911–1915
ค.ศ. 1921-1924
บ็อกด์ ข่าน
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1912–1915 (คนแรก)
ต็อก-โอชิริน นามนานซือเหริน
• ค.ศ. 1919–1920 (คนสุดท้าย)
กอนชิกจาลซานกิน บาดัมดอร์จ
สภานิติบัญญัติไม่มี (การปกครองโดยคำสั่ง) (ค.ศ. 1911–1914; ค.ศ. 1921–1924)
สภาโฮรัล (ค.ศ. 1914–1919)
ประวัติศาสตร์ 
29 ธันวาคม ค.ศ. 1911
• เขตปกครองตนเองของจีนภายใต้อิทธิพลของรัสเซีย
17 มิถุนายน ค.ศ. 1915
• ยกเลิกการปกครองตนเอง
ค.ศ. 1919–1921
1 มีนาคม ค.ศ. 1921
• โซเวียตยึดครอง
ค.ศ. 1921–1924
26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924
สกุลเงินเทล, ดอลลาร์มองโกเลีย
ก่อนหน้า
ถัดไป
ค.ศ. 1911:
ราชวงศ์ชิง
ค.ศ. 1921:
สาธารณรัฐจีน
ค.ศ. 1919:
สาธารณรัฐจีน
ค.ศ. 1924:
สาธารณรัฐ
ประชาชนมองโกเลีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

ในช่วงเวลานี้มีการเกิดขึ้นของสามกระแสการเมืองหลักด้วยกัน โดยกระแสแรกคือความพยายามของชาวมองโกลที่จะสร้างรัฐเทวาธิปไตยที่เป็นเอกราช ซึ่งประกอบด้วยมองโกเลียใน บาร์กา (หรือที่รู้จักกันในชื่อฮูหลุนเป้ย์) มองโกลส่วนบน มองโกเลียตะวันตก และตังนู่อูเหลียงไห ("ลัทธิรวมกลุ่มมองโกล") กระแสที่สองคือความมุ่งมั่นของจักรวรรดิรัสเซียในการสร้างอำนาจเหนือดินแดนมองโกเลีย แต่ในขณะเดียวกันก็รับรองเอกราชของมองโกเลียนอกในการดูแลของสาธารณรัฐจีน และกระแสที่สามคือความสําเร็จสูงสุดของสาธารณรัฐจีนในการลบล้างอำนาจปกครองตนเองของมองโกเลียและสถาปนาอํานาจอธิปไตยเหนือภูมิภาคอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ถึง ค.ศ. 1921

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Ewing, Thomas E. (1980). Between the Hammer and the Anvil. Chinese and Russian Policies in Outer Mongolia, 1911–1921. Bloomington, IN.
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง