รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556

วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 จอมพล อับดุล ฟาตะห์ อัล-เซสซี (Abdul Fatah al-Sisi) ถอดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซี (Mohamed Morsi) และระงับรัฐธรรมนูญแห่งอียิปต์หลังมีการประท้วงสาธารณะ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการประท้วงสาธารณะขนานใหญ่ในประเทศอียิปต์ทั้งสนับสนุนและต่อต้านมุรซี และมีคำเตือนจากกองทัพให้ประธานาธิบดีสนองตอบข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง มิฉะนั้นกองทัพจะดำเนินตามแผนของตน อัล-เซสซีประกาศให้อัดลี มันซูร์ (Adly Mansour) เป็นประธานาธิบดีอียิปต์ชั่วคราว มุรซีถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านและมีการจับกุมผู้นำภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) จากนั้น ได้เกิดการเดินขบวนและการปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐประหารทั่วประเทศอียิปต์[6]

รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556
การประท้วงต่อต้านรัฐประหารที่จัตุรัสเราะบาอ์, 1 สิงหาคม ค.ศ. 2013
วันที่3 กรกฎาคม 2013; 10 ปีก่อน (2013-07-03)
สถานที่ อียิปต์
สาเหตุการประท้วงในประเทศอียิปต์ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013
เป้าหมายปลดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซี
ผลกองทัพอียิปต์ปลดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซีออก
  • หยุดใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว
  • อัดลี มันศูรกลายเป็นประธานาธิบดีชั่วราว
  • การจับกุมและคุมตัวหัวหน้าและสมาชิกอิควานมุสลิมีน รวมไปถึงมุรซี
  • ปิดสื่อที่สนับสนุนอิควานมุสลิมีน
  • ยุบสภาอัชชูรอ[1]
  • การยกระดับการโจมตีที่คาบสมุทรไซนาย
  • การก่อความไม่สงบและไม่มีเสถียรภาพมากขึ้นในการตอบรับรัฐประหาร
  • สถานะของอียิปต์ในสหภาพแอฟริกาถูกหยุดชั่วคราว
  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ใน ค.ศ. 2014
  • มุรซีกับกลุ่มคนอิควานมุสลิมีนถูกจำคุกด้วยหลายข้อหา
  • กลุ่มอิควานมุสลิมีนถูกปราบปราม
  • มุฮัมมัด มุรซีเสียชีวิตขณะไต่สวนในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2019
คู่ขัดแย้ง

รัฐบาลอียิปต์

  • อิควานมุสลิมีน
  • พรรคเสรีภาพและความยุติธรรม
  • ลัทธิอิสลาม

อียิปต์ ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหาร

กองทัพอียิปต์


อียิปต์ ผู้ประท้วงต่อต้านมุรซี
ผู้นำ
มุฮัมมัด มุรซี
(ประธานาธิบดีอียิปต์, ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบก)
ฮิชาม ก็อนดีล
(นายกรัฐมนตรีอียิปต์)
ซะอัด อัลกะตาตนี
(ประธาน FJP)
มุฮัมมัด บะดีอ์
(หัวหน้าควานมุสลิมีน)
ค็อยร็อต อัชชาฏิร
(รองหัวหน้าอิควานมุสลิมีน)
อับดุลฟัตตาฮ์ อัสซีซี
(ผู้บัญชาการทหารบก, รองนายกรัฐมนตรีและกระทรวงกลาโหม)[ต้องการอ้างอิง]
ศิดกี ศุบฮี
(เสนาธิการทหารบก)
มุฮัมมัด อิบรอฮีม
(กระทรวงมหาดไทย)
อียิปต์ ฮุสนี มุบาร็อก
(อดีตประธานาธิบดีอียิปต์)
พระสันตะปาปาตะวาฎุรูสที่ 2
(พระสันตะปาปาแห่งอเล็กซานเดรีย)
อัครบิดรธีโอดอร์ที่ 2
(อัครบิดรแห่งอเล็กซานเดรีย)
ความเสียหาย
เสียชีวิตมากกว่า 1,150 คน[4][5]
บาดเจ็บมากกว่า 4,000 คน[2][3]

การประท้วงต่อต้านมุรซีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีพิธีเข้ารับตำแหน่งของมุรซี ผู้ประท้วงหลายล้านคนทั่วประเทศออกมาตามท้องถนนและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีลาออกทันที สาเหตุรวมถึงการกล่าวหาว่ามุรซีเป็นเผด็จการเพิ่มขึ้นและผลักดันวาระศาสนาอิสลามโดยไม่คำนึงถึงผู้คัดค้านฆราวาสนิยม (secular)[7][8][9] การเดินขบวนประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปโดยสงบ กลายเป็นรุนแรงเมื่อผู้ประท้วงต่อต้านมุรซีห้าคนถูกสังหารในการปะทะและเหตุยิงกันหลายครั้ง ขณะเดียวกัน ผู้สนับสนุนมุรซีจัดการชุมนุมในนครนาสซ์ (Nasr City) อันเป็นย่านของกรุงไคโร[10]

เช้าวันที่ 1 กรกฎาคม ผู้ประท้วงต่อต้านมุรซีปล้นสะดมสำนักงานใหญ่ประจำชาติของกลุ่มภารดรภาพมุสลิมในกรุงไคโร ผู้ประท้วงขว้างปาวัตถุใส่กระจกและปล้นอาคาร ทั้งขโมยอุปกรณ์สำนักงานและเอกสาร กระทรวงสาธารณสุขและประชากรยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตแปดคนในเหตุปะทะรอบสำนักงานใหญ่[11] วันที่ 3 กรกฎาคม มือปืนเปิดฉากยิงใส่การชุมนุมสนับสนุนมุรซี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 16-18 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 200 คน[12][13][14][15] ขณะเดียวกัน ระหว่างที่มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ก็มีการประท้วงสนับสนุนมุรซีขนาดเล็กกว่าด้วย

สถานการณ์บานปลายเป็นวิกฤตการณ์การเมืองและรัฐธรรมนูญระดับชาติ เมื่อมุรซีปฏิเสธข้อเรียกร้องของกองทัพที่ให้เขาสละอำนาจและกองทัพขู่ว่าจะยึดอำนาจหากนักการเมืองพลเรือนไม่ระงับสถานการณ์ มุรซีกล่าวสุนทรพจน์ท้าทายซึ่งเขาย้ำความชอบธรรมของเขาในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและวิจารณ์กองทัพที่ถือฝ่ายในวิกฤตการณ์นี้ วันที่ 3 กรกฎาคม กองทัพอียิปต์ประกาศยุติการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของมุรซี[16][17] ระงับรัฐธรรมนูญ และให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่โดยเร็ว กองทัพแต่งตั้งให้อัดลี มันซูร์ ประธานศาลสูงสุด เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว และมอบหมายให้เขาตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่านที่นิยมนักวิชาการ (technocratic)[16] มุรซีถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านและผู้นำภราดรภาพมุสลิมถูกจับ[18] แถลงการณ์ดังกล่าวตามมาด้วยการเดินขบวนและการปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐประหารทั่วประเทศอียิปต์ ฝ่ายแกรนด์ชีคแห่งอัลอัซฮัร (Grand Sheikh of Al Azhar) อะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ พระสันตะปาปาทาวาดรอสที่ 2 แห่งศาสนจักรคอปติก เช่นเดียวกับผู้นำฝ่ายค้าน โมฮัมเหม็ด เอลบาราเด ออกแถลงการณ์หลังแถลงการณ์ของกองทัพเช่นกัน[19]

ประชาคมนานาชาติมีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปะปนกัน โลกอาหรับส่วนใหญ่สนับสนุนหรือเป็นกลาง ยกเว้นประเทศตูนิเซียอันเป็นจุดเริ่มต้นของอาหรับสปริง รัฐอื่นไม่ประณามก็แสดงความกังวลต่อรัฐประหารดังกล่าว เนื่องจากระเบียบของสหภาพแอฟริกาว่าด้วยการขัดขวางการปกครองด้วยรัฐธรรมนูญโดยรัฐสมาชิก อียิปต์จึงถูกระงับสมาชิกภาพ นอกจากนี้ ยังมีการถกเถียงในสื่อว่าด้วยการอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ การประท้วงสนับสนุนมุรซีดำเนินต่อไปอย่างน้อยถึงวันที่ 21 กรกฎาคม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง