อาหรับสปริง

อาหรับสปริง (อังกฤษ: Arab Spring; อาหรับ: الثورات العربية‎ al-Thawrāt al-ʻArabiyyah) เป็นคลื่นปฏิวัติการเดินขบวน การประท้วงและสงครามซึ่งเกิดขึ้นในโลกอาหรับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2553

อาหรับสปริง
ผู้ประท้วงในประเทศตูนิเซีย (มกราคม ค.ศ. 2011)
วันที่17 ธันวาคม ค.ศ. 2010 – ธันวาคม ค.ศ. 2012
สถานที่แอฟริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง (ป.ล. MENA หรือ "โลกอาหรับ")
สาเหตุ
เป้าหมาย
วิธีการ
ผลอาหรับวินเทอร์
  • ตูนีเซีย: ประธานาธิบดีซีน อัลอาบิดีน บิน อะลีถูกขับไล่, ต้องสงสัย, ถูกเนรเทศ และรัฐบาลถูกล้มล้าง
  • อียิปต์: ประธานาธิบดีฮุสนี มุบาร็อกถูกขับไล่, ต้องสงสัย, ถูกเนรเทศ และรัฐบาลถูกล้มล้าง
  • ลิเบีย: มูอัมมาร์ กัดดาฟีถูกฆ่า พร้อมกับสงครามกลางเมือง และรัฐบาลถูกล้มล้าง
  • เยเมน: ประธานาธิบดีอะลี อับดุลลอฮ์ ซอลิฮ์ถูกขับไล่ และอำนาจถูกส่งให้รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ
  • ซีเรีย: ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดเผชิญหน้ากับการต่อต้านของพลเรือน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบ
  • บาห์เรน: การจลาจลต่อรัฐบาลถูกทำลายโดยเจ้าหน้าที่และการแทรกแซงที่นำโดยซาอุดี
  • คูเวต, เลบานอน และโอมาน: การเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลเพื่อตอบสนองต่อผู้ประท้วง
  • โมร็อกโก, จอร์แดน และปาเลสไตน์: การปฏิรูปรัฐธรรมนูญเพื่อตอบสนองต่อผู้ประท้วง
  • ซาอุดีอาระเบีย, มอริเตเนีย และประเทศอาหรับอื่น ๆ: ประท้วง
ความเสียหาย
เสียชีวิต523,488 - 523,492 คนขึ้นไป

ตราบจนปัจจุบัน ผู้ปกครองถูกโค่นจากอำนาจในตูนิเซีย[1] อียิปต์[2] ลิเบีย[3] และเยเมน[4] การก่อการกำเริบพลเมืองอุบัติขึ้นในบาห์เรน[5] และซีเรีย[6] การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นในอัลจีเรีย[7] อิรัก[8] จอร์แดน[9] คูเวต[10] โมร็อกโก[11] และซูดาน[12] และการประท้วงเล็กเกิดในเลบานอน[13] มอริเตเนีย[14] โอมาน[15] ซาอุดิอาระเบีย[16] จิบูตี[17] และเวสเทิร์นสะฮารา[18]

การประท้วงมีเทคนิคการดื้อแพ่งร่วมกันในการรณรงค์ต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับการนัดหยุดงาน การเดินขบวน การเดินแถว และการชุมนุม เช่นเดียวกับการใช้สื่อสังคม[19][20]ในการจัดระเบียบ สื่อสารและสร้างความตระหนักเมื่อเผชิญกับความพยายามของรัฐในการปราบปรามและตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต[21][22]

การเดินขบวนอาหรับสปริงหลายประเทศเผชิญกับการตอบสนองรุนแรงจากทางการ[23][24][25] เช่นเดียวกับทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาลและการเดินขบวนโต้ตอบ การโจมตีเหล่านี้ได้รับการสนองจากผู้ประท้วงด้วยความรุนแรงในบางกรณี[26][27]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง