ราชาศัพท์ (ภาษาไทย)

ราชาศัพท์ เป็นระเบียบการใช้ภาษาไทยให้สุภาพตามชั้นของบุคคลซึ่งแบ่งเป็นห้าชั้น ได้แก่

  1. กษัตริย์
  2. เจ้านาย หรือพระราชวงศ์
  3. พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ
  4. ข้าราชการ
  5. สุภาพชนทั่วไป

ประวัติ

ความเห็นของนักภาษาศาสตร์ไทย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ไปถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า "...ราชาศัพท์ดูเป็นคำที่ผู้เป็นบริวารชนใช้สำหรับผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่...มีเค้าจะสังเกตในคำจารึกและหนังสือเก่าเห็นได้ว่า ราชาศัพท์ใช้ในกรุงศรีอยุธยาดีกว่าที่อื่น ยิ่งเหนือขึ้นไป (หมายถึง ในสมัยก่อนอยุธยา) ยิ่งใช้น้อยลงเป็นลำดับ" โดยทรงสันนิษฐานด้วยว่า ราชาศัพท์เกิดขึ้นในอาณาจักรละโว้สมัยที่ขอมปกครอง ส่วนในประเทศไทยในนั้นน่าจะริเริ่มแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งกวาดต้อนชาวเขมรเข้ามาเป็นชนชั้นล่างในราชอาณาจักรอยุธยามาก ราชาศัพท์ในไทยจึงเป็นคำที่ชนชั้นล่างใช้แก่ชนชั้นสูงกว่า และยังแสดงพระวิจารณ์อีกว่า "...เมื่อแรกตั้งราชาศัพท์ ภาษาที่ใช้กันในพระนครศรีอยุธยายังสำส่อน เลือกเอาศัพท์ที่เข้าใจกันมากมาใช้ และ...ในครั้งแรกจะไม่มีมากมายนัก ต่อมาภายหลังจึงคิดเพิ่มเติมขึ้นด้วยเกิดคิดเห็นว่าของเจ้าควรจะผิดกับของไพร่ให้หมด..." [1]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ราชบัณฑิต มีพระปาฐกถาเรื่อง "กถาเรื่องภาษา" ว่า "...นอกจากคำพูดและวิธีพูดทั่วไปแล้ว ยังมีคำพูดและวิธีพูดสำหรับชนเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่าอีกด้วย เช่น ราชาศัพท์ของเรา เป็นต้น ฝรั่งไม่มีราชาศัพท์เป็นคำตายตัว แต่มีวิธีพูดยกย่องชั้นพระมหากษัตริย์หรือชั้นผู้ดีเหมือนกัน แต่วิธีพูดเช่นนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว โดยมากมักจะเป็นวิธีพูดอย่างสุภาพเท่านั้นเอง"[2].

คำสุภาพ

คำสุภาพ คือคำราชาศัพท์สำหรับชั้นสุภาพชน เป็นการเปลี่ยนถ้อยคำต่างๆ ให้เหมาะสมสำหรับสื่อสารกับผู้ที่อาวุโสกว่า คำสุภาพมีลักษณะทั่วไปดังนี้

  1. ไม่เป็นคำอุทานที่ไม่สุภาพ เช่น โว้ย เว้ย หรือคำสบถ เช่น ให้ตายห่า ให้ฉิบหายวายวอด หรือการพูดกระชากเสียง เช่น เปล่า ไม่ใช่ เป็นต้น
  2. ไม่เป็นคำผวน คือเมื่อผวนหางเสียงกลับมาไว้ข้างหน้าแล้ว คำนั้นจะกลับเป็นไม่สุภาพทันที เช่น ผักบุ้ง ผวนเป็น พุ่งบัก เป็นต้น
  3. ไม่มีการใช้คำที่ถือว่าหยาบโลน เช่น ไอ้, อี, ขี้ ฯลฯ โดยจะเปลี่ยนคำศัพท์ไปเป็นคำอื่น เป็น สิ่ง, นาง, อุจจาระ ฯลฯ หรือไม่ก็ตัดออกไปเลย เช่น อีเลิ้ง เป็น นางเลิ้ง ดอกขี้เหล็ก เป็น ดอกเหล็ก เป็นต้น

ความหมายที่แท้จริงของ "คำหยาบ" หาใช่หมายถึงเฉพาะคำโลนหรือคำที่ใช้ในการกล่าวผรุสวาจาเท่านั้นไม่ ที่ถูกแล้วน่าจะเรียกว่า "คำสามัญ" มากกว่า เช่น คำว่า ตีน, กิน, เดิน, นอน ก็ไม่น่าจะเป็นคำหยาบอะไร แต่การนำคำเหล่านี้ไปใช้พูดกับผู้คนที่อาวุโสกว่า คำเหล่านั้นจะถือเป็น "คำหยาบ" ต้องเปลี่ยนใช้คำอื่น เช่น จะพูดว่า "ตีน" ก็ต้องเปลี่ยนเป็นคำว่า "เท้า" เป็นต้น [3][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ในภาษาไทยถิ่นเหนือ มีการเพ็ดทูลเจ้านายด้วยราชาศัพท์เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติเช่นกัน อย่างในราชสำนักนครเชียงใหม่ โดยชนชั้นเจ้านายจะเรียกเจ้าผู้ครองนครกับภรรยาว่า เจ้าพ่อหลวง กับ เจ้าแม่หลวง หากเป็นคนพื้นเมืองจะเรียกว่า พ่อเจ้า กับ แม่เจ้า[4] เรียกเจ้านายชั้นสูงว่า เจ้าเหนือหัว[5] โดยใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า ข้าบาทเจ้า ในสรรพนามเรียกแทนท่านว่า ฝ่าบาท ตอบรับด้วยคำว่า บาทเจ้า และใช้คำกราบถวายบังคมทูลว่า ไหว้สา[4]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง