วิกฤตการณ์คองโก

วิกฤตการณ์คองโก (ฝรั่งเศส: Crise congolaise) เป็นช่วงความขัดแย้งและผันผวนทางการเมืองในสาธารณรัฐคองโก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในปัจจุบัน) ระหว่างค.ศ. 1960–1965 วิกฤตการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบทันทีหลังคองโกได้รับเอกราชจากเบลเยียม และสิ้นสุดลงอย่างไม่เป็นทางการเมื่อโมบูตู เซเซ เซโกขึ้นปกครองประเทศ วิกฤตการณ์คองโกเป็นชุดสงครามกลางเมืองและเป็นสงครามตัวแทนในสงครามเย็น ซึ่งสหภาพโซเวียตและสหรัฐเข้าสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามกัน เชื่อว่ามีประชาชนราว 100,000 คนถูกฆ่าในวิกฤตการณ์นี้

วิกฤตการณ์คองโก
ส่วนหนึ่งของ การให้เอกราชในแอฟริกาและสงครามเย็น

ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน:
  • ค่ายผู้ลี้ภัยนอกเมืองเอลีซาแบ็ตวีล
  • กำลังรักษาสันติภาพดูแลเพื่อนที่บาดเจ็บ
  • ชาวลูบาที่ติดอาวุธ
  • ประชาชนที่ถูกสังหารหมู่ในลอดยา
  • พลร่มเบลเยียมระหว่างปฏิบัติการ ดรากอนรูจ
  • ฝ่ายรัฐบาลปะทะกับกบฏซิมบา
วันที่5 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 – 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965
สถานที่
ผลสถาปนาคองโกเป็นรัฐเดี่ยวเอกราชภายใต้ระบอบเผด็จการโดยพฤตินัยโดยโมบูตู เซเซ เซโก
คู่สงคราม
สนับสนุน:
 สหภาพโซเวียต (1960)
สหประชาชาติ ONUC[a]

1960–63:
กาต็องกา
ซูด-กาซาย

สนับสนุน:
 เบลเยียม[b]


1960–62:
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐเสรีคองโก

สนับสนุน:
 สหภาพโซเวียต

1964–65:
[[ไฟล์:|23x15px|border |alt=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก|link=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]] สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
 สหรัฐ
 เบลเยียม

สนับสนุน:
สหประชาชาติ ONUC (1964)

1964–65:
กบฏกวีลูและซิมบา

สนับสนุน:
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

  • [[ไฟล์:|23x15px|border |alt=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก|link=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]] โฌแซ็ฟ กาซา-วูบู
  • [[ไฟล์:|23x15px|border |alt=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก|link=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]] โมบูตู เซเซ เซโก
  • [[ไฟล์:|23x15px|border |alt=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก|link=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]] มออีซ ชอมเบ (ตั้งแต่ 1964)
  • มออีซ ชอมเบ
  • อาลแบร์ กาลอนจี
  • เบลเยียม กัสตง ไอส์เกินส์
  • เบลเยียม เตโอ เลอแฟฟวร์


  • ปีแยร์ มูเลเล
  • คริสต็อฟ กเบนเย
ความสูญเสีย
ถูกฆ่า: ~100,000[5]

ขบวนการชาตินิยมในเบลเจียนคองโกเรียกร้องให้ยุติการปกครองโดยเจ้าอาณานิคม นำไปสู่การได้รับเอกราชในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1960[6] อย่างไรก็ตามมีการเตรียมการเพียงเล็กน้อยหลังได้รับเอกราชและปัญหาหลายอย่าง เช่น แนวคิดสหพันธรัฐ เผ่าชนนิยม และชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ไม่ได้รับการแก้ไข[7] เพียงสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม เกิดการก่อการกำเริบในกองทัพ[8] ความรุนแรงระหว่างคนขาวกับคนดำปะทุ[8] และกาต็องกาและซูด-กาซายแยกตัวโดยได้รับการสนับสนุนจากเบลเยียม[9] ท่ามกลางความไม่สงบ ด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์ เลขาธิการสหประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปในคองโกเพื่อรักษาความสงบภายใน[10] แต่ปฏิเสธที่จะใช้กองกำลังนี้ช่วยรัฐบาลเลออปอลวีลสู้กับกลุ่มแยกตัว ปาทริส ลูมูมบา นายกรัฐมนตรีจึงขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ซึ่งสนับสนุนที่ปรึกษาทางทหารและความช่วยเหลืออื่น ๆ[11]

การเข้ามาของสหภาพโซเวียตก่อให้เกิดความแตกแยกในรัฐบาล และนำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างลูมูมบากับประธานาธิบดีโฌแซ็ฟ กาซา-วูบู[12] ซึ่งยุติลงเมื่อโมบูตูที่คุมกองทัพก่อรัฐประหาร ขับที่ปรึกษาโซเวียตและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ใต้อำนาจตน[13] ลูมูมบาถูกจับกุมและภายหลังถูกประหารใน ค.ศ. 1961 ในช่วงเวลาเดียวกัน ผู้สนับสนุนลูมูมบาตั้งรัฐบาลคู่แข่งนาม "สาธารณรัฐเสรีคองโก" ในสตานเลวีลและได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตแต่พ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1962[14] ด้านสหประชาชาติแข็งกร้าวต่อกลุ่มแยกตัวมากขึ้นหลังฮัมมาร์เฮิลด์เสียชีวิตในเหตุเครื่องบินตกใน ค.ศ. 1961[15] ต่อมารัฐบาลเลออปอลวีลที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังสหประชาชาติเอาชนะกาต็องกาและซูด-กาซายในต้นค.ศ. 1963[16][17]

เมื่อกาต็องกาและซูด-กาซายกลับเข้ามาอยู่ใต้อำนาจรัฐบาล มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ประนีประนอมและให้มออีซ ชอมเบ ผู้นำกาต็องกาที่ลี้ภัยเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว[18] แต่ก่อนจะมีการเลือกตั้งเกิดกลุ่มติดอาวุธนิยมลัทธิเหมาที่เรียกตนเองว่าซิมบาขึ้นทางตะวันออกของประเทศ ซิมบาสามารถยึดพื้นที่ได้จำนวนมากและก่อตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนคองโก" ในสตานเลวีล[19] เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1964 ระหว่างที่ฝ่ายรัฐบาลค่อย ๆ ยึดพื้นที่คืน สหรัฐและเบลเยียมเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่ถูกซิมบาจับตัวในสตานเลวีล[20] หลังจากนั้นไม่นานซิมบาพ่ายแพ้และล่มสลาย หลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1965 เกิดความตึงเครียดรอบใหม่ระหว่างช็อมเบกับกาซา-วูบู ส่งผลให้โมบูตูก่อรัฐประหารอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนและขึ้นปกครองประเทศด้วยตนเอง[21] โมบูตูเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐซาอีร์ใน ค.ศ. 1971 และปกครองด้วยระบอบเผด็จการจนกระทั่งเขาถูกโค่นล้มใน ค.ศ. 1997[22]

อ้างอิง


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง