เลขาธิการสหประชาชาติ

หัวหน้าสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ

เลขาธิการสหประชาชาติ เป็นตำแหน่งเลขาธิการของสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ และเป็นผู้มีบทบาทสูงสุดในสหประชาชาติ

เลขาธิการสหประชาชาติ
ตราประจำสหประชาชาติ
ธงประจำสหประชาชาติ
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
อังตอนียู กูแตรึช

ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560
สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ
การเรียกขานHis Excellency
สมาชิกของสำนักเลขาธิการ
สมัชชาใหญ่
จวนซัททอนเพลซ นครนิวยอร์ก
ที่ว่าการสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐ
ผู้เสนอชื่อคณะมนตรีความมั่นคง
ผู้แต่งตั้งสมัชชาใหญ่
วาระ5 ปี ดำรงตำแหน่งใหม่ได้
(ตามธรรมเนียมจำกัดเพียง 2 สมัย)
ตราสารจัดตั้งกฎบัตรสหประชาชาติ
ตำแหน่งก่อนหน้าเลขาธิการสันนิบาตชาติ
สถาปนา24 ตุลาคม พ.ศ. 2488
คนแรกแกลดวิน เจบบ์
ในฐานะรักษาการเลขาธิการ
ทริกเวอ ลี
ในฐานะเลขาธิการคนแรก
รองรองเลขาธิการ
เว็บไซต์un.org/sg

กฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้เลขาธิการสหประชาชาติมาจากการแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กล่าวอีกทางหนึ่งคือ แคนดิเดตเลขาธิการจะต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ การเสนอชื่อแคนดิเดตเลขาธิการจึงเป็นการประนีประนอมกันระหว่างประเทศมหาอำนาจ

เลขาธิการสหประชาชาติมีสมัยดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี สามารถดำรงตำแหน่งสูงสุดสองสมัย และตามธรรมเนียมแล้ว จะต้องไม่เป็นบุคคลจากประเทศสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง นอกจากนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะต้องมาจากประเทศนอกทวีปของเลขาธิการคนล่าสุด

ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ อังตอนียู กูแตรึช อดีตนายกรัฐมนตรีโปรตุเกส โดยเป็นเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนที่ 9

รายชื่อเลขาธิการสหประชาชาติ

ลำดับรูปเลขาธิการระยะเวลาดำรงตำแหน่งประเทศกลุ่มภูมิภาคหมายเหตุอ้างอิง
แกลดวิน เจบบ์
(Gladwyn Jebb)
24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 -
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489
สหราชอาณาจักรยุโรปตะวันตกและอื่น ๆรักษาการจนถึงการเลือกตั้งครั้งแรก[1]
1 ทริกเวอ ลี
(Trygve Lie)
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 -
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495
นอร์เวย์ยุโรปตะวันตกและอื่น ๆลาออก[2]
2 ด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์
(Dag Hammarskjöld)
10 เมษายน พ.ศ. 2496 -
18 กันยายน พ.ศ. 2504
สวีเดนยุโรปตะวันตกและอื่น ๆถึงแก่อสัญกรรมในอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่โรดีเชียเหนือ
(ปัจจุบันคือ ประเทศแซมเบีย)
[3]
อู้ตั่น
(U Thant)
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 -
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505
พม่าเอเชียและแปซิฟิกรักษาการจนถึงการเลือกตั้ง
330 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 -
31 ธันวาคม พ.ศ. 2514
สละสิทธิ์หลังครบวาระที่สองด้วยเหตุผลส่วนตัว[4]
4 ควร์ท วัลท์ไฮม์
(Kurt Waldheim)
1 มกราคม พ.ศ. 2515 -
31 ธันวาคม พ.ศ. 2524
ออสเตรียยุโรปตะวันตกและอื่น ๆจีนใช้สิทธิ์ยับยั้งการดำรงตำแหน่งสมัยที่สาม[5]
5 ฆาบิเอร์ เปเรซ เด กูเอยาร์
(Javier Pérez de Cuéllar)
1 มกราคม พ.ศ. 2525 -
31 ธันวาคม พ.ศ. 2534
เปรูละตินอเมริกาและแคริบเบียนปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งต่อเป็นวาระที่สาม[6]
6 บุฏรุส บุฏรุส-ฆอลี
(Boutros Boutros-Ghali)
1 มกราคม พ.ศ. 2535 -
31 ธันวาคม พ.ศ. 2539
อียิปต์แอฟริกาสหรัฐใช้สิทธิ์ยับยั้งการดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง[7]
7 โคฟี แอนนัน
(Kofi Annan)
1 มกราคม พ.ศ. 2540 -
31 ธันวาคม พ.ศ. 2549
กานาแอฟริกา[8]
8 พัน กี-มุน
(Ban Ki-moon)
1 มกราคม พ.ศ. 2550 -
31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
เกาหลีใต้เอเชียและแปซิฟิก[9]
9 อังตอนียู กูแตรึช
(António Guterres)
1 มกราคม พ.ศ. 2560 - โปรตุเกสยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลออื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง