วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561

ในปี 2560 ประเทศเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบขีปนาวุธและนิวเคลียร์ซึ่งแสดงความสามารถของประเทศในการปล่อยขีปนาวุธทิ้งตัวไกลเกินภูมิภาคประชิดและแนะว่าขีดความสามารถอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือกำลังพัฒนาในอัตราเร็วกว่าที่ประชาคมข่าวกรองสหรัฐเคยประเมินไว้เดิม[4][5][6] เหตุนี้ ร่วมกับการซ้อมรบร่วมสหรัฐ–เกาหลีใต้ที่จัดเป็นประจำในเดือนสิงหาคม 2560 เช่นเดียวกับการขู่ของสหรัฐ เพิ่มความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งในและนอกภูมิภาค[7]

วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งเกาหลี
วันที่8 เมษายน พ.ศ. 2560 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561
(1 ปี 2 เดือน 4 วัน)
สถานที่
ผล
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
พื้นที่แนวจำกัดตอนเหนือกลายเป็นเขตสันติภาพทางทะเล
คู่ขัดแย้ง
 เกาหลีเหนือ

 เกาหลีใต้


ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เกาหลีเหนือ คิม จ็อง-อึน

เกาหลีใต้ มุน แจ-อิน


ลำดับเหตุการณ์

การเคลื่อนยูเอสเอส คาร์ล วินสัน

กลุ่มจู่โจมเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส คาร์ล วินสัน และเรือรบกองทัพเรือเกาหลีใต้กำลังซ้อมรบร่วมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560

ให้หลังการทดสอบยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยกลางจากท่าซินโพทางตะวันออกของประเทศสู่ทะเลญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 หนึ่งเดือนหลังการยิงขีปนาวุธทิ้งตัวสี่ลูกมุ่งหน้าสู่ทะเลญี่ปุ่น ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นเมื่อประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่าสหรัฐเตรียมพร้อมกระทำการฝ่ายเดียวเพื่อจัดการกับภัยคุกคามนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือ[8][9] วันที่ 9 เมษายน กองทัพเรือสหรัฐประกาศว่ากำลังส่งกลุ่มโจมตีกองทัพเรือที่มีซูเปอร์แคริเออร์ ยูเอสเอส คาร์ล วินสัน เป็นเรือนำ ไปมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก แต่เนื่องจากคลับคล้ายว่ามีการสื่อสารผิดพลาดในรัฐบาลสหรัฐ การเคลื่อนทัพเรือจึงมีการเสนอว่ากำลังมุ่งหน้าสู่คาบสมุทรเกาหลี[10][9][11][12] รัฐบาลสหรัฐย้อนรอยสารสนเทศนี้เมื่อไม่กี่วันก่อน[13][14]

วันที่ 17 เมษายน รองเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำสหประชาชาติกล่าวหาสหรัฐว่าเปลี่ยนคาบสมุทรเกาหลีเป็น "จุดร้อนใหญ่สุดของโลก" และรัฐบาลเกาหลีเหนือแถลง "ความพร้อมของตนในการประกาศสงครามต่อสหรัฐหากกำลังเกาหลีเหนือถูกโจมตี"[15] ความจริงในวันที่ 18 เมษายน คาร์ล วินสันและเรือนำทางอยู่ห่างจากเกาหลี 3,500 ไมล์โดยมีกำหนดซ้อมรบร่วมกับกองทัพเรือออสเตรเลียในมหาสมุทรอินเดีย[16][17][18] วันที่ 24 เมษายน เรือประจัญบานญี่ปุ่น อะชิงะระ และ ซะมิดะเระ เข้าร่วมกับยูเอสเอส คาร์ล วินสัน ในการฝึกซ้อมทางยุทธวิธีใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเกาหลีเหนือขู่ว่าจะจมเรือในการโจมตีคราวเดียว[19] เรือบรรทุกเครื่องบิน คาร์ล วินสัน อยู่ในทะเลจีนใต้ในปี 2558 และเริ่มลาดตระเวนรูทีนอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2560[20] ปลายเดือนเมษายน 2560 ทรัมป์กล่าวว่า "มีโอกาสที่เรา [สหรัฐ] อาจลงเอยด้วยความขัดแย้งใหญ่มาก ๆ กับเกาหลีเหนือ"[21]

วันที่ 24 เมษายน ประเทศเกาหลีเหนือจัดวันครบรอบ 85 ปีกองทัพประชาชนเกาหลีโดยสิ่งที่กล่าวว่า "การซ้อมรบใหญ่สุด" ในว็อนซัน[22] วันถัดมา มีรายงานว่าสหรัฐและเกาหลีใต้เริ่มติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ THAAD ในเคาน์ตีซองจูของเกาหลีใต้[23]

การทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป 4 กรกฎาคม

วันที่ 4 กรกฎาคมตามเวลาเกาหลี ประเทศเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบที่มีประกาศครั้งแรกของขีปนาวุธข้ามทวีปฮวาซอง-14 ซึ่งกำหนดให้ตรงกับการเฉลิมฉลองวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐ การบินนี้มีพิสัยตามอ้าง 933 กิโลเมตรทางตะวันออกสู่ทะเลญี่ปุ่น (ทะเลเกาหลีตะวันออก) และแตะระดับความสูง 2,802 กิโลเมตรระหว่างการบิน 39 นาที[24][25] ผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลสหรัฐจัดการปล่อยขีปนาวุธครั้งนี้ว่าเป็นก้าวใหญ่ของรัฐบาลเกาหลีเหนือในการได้อาวุธหัวนิวเคลียร์ซึ่งสามารถโจมตีสหรัฐได้[26] ประเทศเกาหลีเหนือประกาศว่าปัจจุบันตนเป็น "รัฐนิวเคลียร์เต็มตัวซึ่งครอบครองจรวดขีปนาวุธข้ามทวีปทรงพลังที่สุดซึ่งสามารถโจมตีส่วนใดของโลกก็ได้"[27][28]

กำลังสหรัฐในเกาหลีกล่าวในแถลงการณ์ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ว่า "กำลังพลกองทัพสหรัฐที่ 8 และกองทัพสาธารณรัฐเกาหลีดำเนินการฝึกซ้อมร่วมเพื่อตอบโต้การกระทำบั่นทอนเสถียรภาพและไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม"[29] มีการปล่อยระบบขีปนาวุธยุทธวิธีฮย็อนมู-2บีของเกาหลีใต้และกองทัพบกสหรัฐระหว่างการฝึกซ้อมด้วย[30][31]

การทดสอบขีปนาวุธข้ามญี่ปุ่น 29 สิงหาคม

วันที่ 29 สิงหาคม ก่อนเวลา 6:00 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่นเล็กน้อย ประเทศเกาหลีเหนือปล่อยขีปนาวุธซึ่งบินข้ามเกาะฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ขีปนาวุธนี้แตะระดับความสูง 550 กิโลเมตรและทำระยะทางทั้งหมดได้ประมาณ 2,700 กิโลเมตรก่อนตกในมหาสมุทรแปซิฟิก ขีปนาวุธนี้ไม่ถูกกองทัพญี่ปุ่นยิงตก[32] ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ขีปนาวุธเกาหลีเหนือผ่านดินแดนญี่ปุ่นโดยสองครั้งก่อนหน้านี้ในปี 2541 และ 2552 ทว่า ทั้งสองครั้งก่อนหน้านี้เกาหลีเหนืออ้างว่ากำลังปล่อยดาวเทียม[33] ขีปนาวุธดังกล่าวทำให้เกิดการกระตุ้นระบบเตือนภัยเจ-อะเลิร์ตในโทโฮกุและฮกไกโด แนะนำให้ประชาชนหาที่หลบภัย[34][35] การปล่อยดังกล่าวกำหนดให้ตรงกับวันครบรอบปีที่ 107 ของสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น–เกาหลี และสำนักข่าวกลางเกาหลีกล่าวว่าเป็น "แผนกล้าหาญในการทำให้ชาวเกาะญี่ปุ่นผู้เหี้ยมโหดไม่รู้สึกในวันที่ 29 สิงหาคมนองเลือด"[36] กล่าวว่าขีปนาวุธที่ปล่อยมีแนววิถีราบกว่าที่เคยทดสอบก่อนหน้านี้ในปี 2560[37]

มีการเรียกประชุมฉุกเฉินคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในวันนั้นเพื่ออภิปรายเหตุการณ์[38] ในถ้อยแถลงที่ทำเนียบขาวออกเพื่อสนองต่อการปล่อยขีปนาวุธ ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า "ทุกตัวเลือกเป็นไปได้" เกี่ยวกับเกาหลีเหนือ[39]

การทดสอบนิวเคลียร์ครั้งที่ 6: กันยายน 2560

วันที่ 3 กันยายน 3:31 น. UTC การสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐรายงานว่าตรวจพบแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ในประเทศเกาหลีเหนือใกล้จุดทดสอบพุงกเย-รี[40] เมื่อพิจารณาความตื้นของแผ่นดินไหวและระยะที่ใกล้กับศูนย์ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์หลักของเกาหลีเหนือ ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปว่า เกาหลีเหนือได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ 6 นับจากการจุดระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรกในปี 2549[41] ประเทศเกาหลีเหนืออ้างว่า ตนทดสอบระเบิดไฮโดรเจนซึ่งสามารถติดตั้งบนขีปนาวุธข้ามทวีปได้[42] หน่วยงานเฝ้าสังเกตคลื่นแผ่นดินไหวอิสระ นอร์ซาร์ (NORSAR) ประเมินว่าแรงระเบิดมีขนาดประมาณ 120 กิโลตัน[43] ถ้อยแถลงของสำนักข่าวกลางเกาหลีวันที่ 3 กันยายนยังอ้างความสามารถของเกาหลีเหนือใน "การโจมตีอีเอ็มพีรุนแรงยิ่งยวด"[44]

วันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เจมส์ แมตทิสกล่าวในนามของทำเนียบขาว เตือนว่าจะมี "การตอบโต้ทางทหารขนานใหญ่" ่ต่อภัยคุกคามใด ๆ จากประเทศเกาหลีเหนือต่อสหรัฐ รวมทั้งกวม และพันธมิตร[45]

เช้าวันที่ 4 กันยายน ประเทศเกาหลีใต้ดำเนนิการฝึกซ้อมขีปนาวุธทิ้งตะวซึ่งเกี่ยวข้องกับขีปนาวุธทิ้งตัวฮย็อนมูและเครื่องบินเจ็ตขับไล่เอฟ-15เคของเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าเป็นการตอบสนองต่อการจุดระเบิดของเกาหลีเหนือ สำนักข่าวของรัฐ ยอนฮัพ กล่าวว่ากองทัพเกาหลีใต้ดำเนินการซ้อมรบกระสุนจริงซึ่งจำลองการโจมตีจุดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ โดยโจมตี "เป้าหมายที่กำหนดในทะเลตะวันออก"[46][47]

วันเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมกันเพื่อภิปรายมาตรการเพิ่มเติมต่อเกาหลีเหนือ[48] ฉบับร่างที่รั่วไหลของข้อมติคณะมนตรีฯ ที่เกี่ยวข้องที่สหรัฐเตรียมกล่าวกันว่าจะเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรน้ำมันต่อเกาหลีเหนือ ห้ามการส่งออกสิ่งทอ และห้ามจ้างคนงานเกาหลีนอกประเทศตลอดจนการลงโทษเป็นการบุคคลต่อคิม จ็อง-อึน[49] แม้จีนและรัสเซียคัดค้าน แต่วันที่ 8 กันยายน สหรัฐขอการออกเสียงลงคะแนนของคณะมนตรีฯ ต่อข้อมติของสหรัฐ[50] ข้อมติคณะมนตรีฯ ที่ 2375 ที่ผ่านเมื่อวันที่ 11 กันยายนเป็นคำขอของสหรัฐฉบับที่เบาลงมาก[51]

ฝ่ายจีนและรัสเซียเรียกร้องให้สงบทั้งสองฝ่าย คือ ยุติการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือและการซ้อมรบของสหรัฐและเกาหลีใต้ ขั้นต่อไปจะเป็นการเจรจา[52][51]

การทดสอบขีปนาวุธข้ามญี่ปุ่น 15 กันยายน

วันที่ 15 กันยายน 2560 มีการยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยกลางจากใกล้กรุงเปียงยางข้ามเกาะฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ก่อนตกในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกห่างจากแหลมเอะริโมะประมาณ 2,000 กิโลเมตร เมื่อเวลาประมาณ 7:16 น. ตามเวลาท้องถิ่น ขีปนาวธนี้เดินทาง 3,700 กิโลเมตร มีจุดโคจรไกลสุด 770 กิโลเมตรระหว่างอยู่ในอากาศ 19 นาที เป็นขีปนาวุธพิสัยกลางของเกาหลีเหนือไกลสุดที่เดินทางเลยประเทศญี่ปุ่น[53]

การทดสอบขีปนาวุธ 28 พฤศจิกายน

วันที่ 28 พฤศจิกายน ประเทศเกาหลีเหนือปล่อยขีปนาวุธทิ้งตัวอีกลูก[54] ภาพถ่ายฮวาซอง-15 แสดงเครื่องยนต์เสริมกำลังของขีปนาวุธเป็นเครื่องยนต์ฮวาซอง-14 ผูกติดกันเป็นขั้นแรก ตามที่นักวิเคราะห์สามคนเห็นตรงกัน[55] กล่าวกันว่าขีปนาวุธบินถึงระดับความสูงเป็นสถิติ 2,800 ไมล์ และตกในทะเลญี่ปุ่นเข้าเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เป็นระยะทาง 600 ไมล์[56] การประเมินขั้นต้นของเพนตากอนแนะว่าเป็นขีปนาวุธข้ามทวีปเมื่อติดสินจากความสูง[56] กระทรวงกลาโหมของประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่นก็สรุปว่าน่าจะมีการปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีปและมันมีแนววิถีโค้ง[56]

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง