ดอนัลด์ ทรัมป์

อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ดอนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (อังกฤษ: Donald John Trump;[a] เกิด 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946) เป็นอดีตประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และยังเป็นนักธุรกิจ, พิธีกรรายการโทรทัศน์[3] และนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์หลายเรื่อง และเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เดอะทรัมป์ ออร์แกไนเซชั่น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ทรัมป์ยังเป็นผู้ก่อตั้งทรัมป์เอนเตอร์เทนเมนต์รีสอร์ต ที่มีกิจการกาสิโนและโรงแรมหลายแห่งทั่วโลก[4] และด้วยการใช้ชีวิตที่หรูหรา[5]และการพูดจาที่โผงผางทำให้เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีชื่อเสียงและได้รับการจับตามองจากสื่อมากที่สุดคนหนึ่งในโลก[6] อีกทั้งยังส่งผลให้เขาประสบความสำเร็จในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางช่องเอ็นบีซี ภายใต้ชื่อ The Apprentice (ที่ซึ่งเขารับตำแหน่งพิธีกรและผู้อำนวยการสร้างควบคู่กัน)

ดอนัลด์ ทรัมป์
Donald Trump
ทรัมป์ ใน ค.ศ. 2023
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 45
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 2017 – 20 มกราคม ค.ศ. 2021
(4 ปี 0 วัน)
รองประธานาธิบดีไมก์ เพนซ์
ก่อนหน้าบารัก โอบามา
ถัดไปโจ ไบเดิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ดอนัลด์ จอห์น ทรัมป์

(1946-06-14) 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946 (77 ปี)
นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
พรรคการเมือง
คู่สมรส
  • อิวานา เซลนิชโควา (สมรส 1977; หย่า 1991)
  • มาร์ลา เมเพิล (สมรส 1993; หย่า 1999)
  • เมลาเนีย นาอัส (สมรส 2005)
บุตร
  • ดอนัลด์ จูเนียร์
  • อีวางกา
  • เอริก
  • ทิฟฟานี
  • บาร์รอน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
วิชาชีพนักธุรกิจ
พิธีกรรายการโทรทัศน์
ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์/รายการโทรทัศน์
นักการเมือง
ลายมือชื่อDonald J Trump stylized autograph, in ink

ทรัมป์เกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ใน จำนวน 5 คนของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก เขาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อของเขาในเป้าหมายของอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์[7] และเมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียในปี 1963 ดอนัลด์ ทรัมป์ได้เข้าร่วมบริษัททรัมป์ออร์กาไนเซชันของผู้เป็นพ่อ เริ่มงานโดยการปรับปรุงโรงแรมคอมมอดอร์เป็นแกรนด์ไฮแอตต์กับครอบครัวพริตซ์เกอร์ เขายังคงดำเนินงานทรัมป์ทาวเวอร์ในนิวยอร์ก และหลายโครงการที่พักอยู่อาศัย ต่อมาทรัมป์ยังขยับขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมการบิน[8] และธุรกิจกาสิโนแอตแลนติกซิตี รวมถึงการซื้อทัชมาฮาลคะซีโน จากครอบครัวครอสบี แต่ก็ประสบกับภาวะล้มละลาย ข่าวส่วนมากในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ของเขามักเกี่ยวกับด้านปัญหาการเงิน

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากฟื้นด้านธุรกิจและชื่อเสียง ในปี 2001 เขาสร้างทรัมป์เวิลด์ทาวเวอร์สำเร็จ เป็นอาคารที่อยู่อาศัย 72 ชั้น อยู่ตรงข้ามสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ[9] เขายังเริ่มสร้างทรัมป์เพลซ กลุ่มอาคารหลายหลังริมแม่น้ำฮัดสัน นอกจากนี้ทรัมป์ยังเป็นเจ้าของพื้นที่การค้าในทรัมป์อินเตอร์แนชชันแนลโฮเตลแอนด์ทาวเวอร์ อาคาร 44 ชั้น (โรงแรมและอาคารชุดรวมกัน) ทรัมป์เป็นเจ้าของพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ในแมนแฮตตันหลายล้านตารางฟุต[10]จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาและเป็นคนมีชื่อเสียงสำคัญกับสื่อมวลชน ทรัมป์ยังเป็นเจ้าของกิจการการประกวดนางงามจักรวาล และได้ยึดอาชีพทางธุรกิจรวมทั้งงานบันเทิงมาตลอดหลายสิบปีก่อนที่จะประกาศเจตนารมณ์ของตนเองอย่างชัดเจนต่อสาธารณะว่าเขาจะลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2016

ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2016 โดยชนะฮิลลารี คลินตัน คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ด้วยวัย 70 ปี ทรัมป์เป็นบุคคลอายุมากที่สุด (ในขณะนั้น) และมีทรัพย์สินมากที่สุดที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เป็นบุคคลแรกที่ไม่เคยรับราชการทหารหรือข้าราชการมาก่อน และเป็นบุคคลที่สี่ที่ได้รับเลือกตั้งโดยไม่ได้คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งข้างมากทั่วประเทศ ทรัมป์กล่าวข้อความเท็จหรือชักจูงให้เข้าใจผิดหลายครั้งทั้งก่อนดำรงตำแหน่งและในตำแหน่ง ซึ่งมีผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงบันทึกไว้ และสื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้อย่างกว้างขวางว่าไม่เคยมีมาก่อนในการเมืองสหรัฐ ความเห็นและการกระทำหลายอย่างของเขามีลักษณะแบบนิยมเชื้อชาติ

แนวนโยบายของทรัมป์เน้นการเจราความสัมพันธ์สหรัฐ–จีนและความตกลงการค้าเสรีใหม่ เช่น นาฟตาและความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก การบังคับใช้กฎหมายการเข้าเมืองอย่างแข็งขัน การสร้างกำแพงใหม่ตามชายแดนสหรัฐเม็กซิโก จุดยืนอื่นของเขาได้แก่การมุ่งอิสระทางพลังงานขณะที่ค้านข้อบังคับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่น เช่น แผนพลังงานสะอาดและความตกลงปารีส ปฏิรูปกิจการทหารผ่านศึก แทนที่รัฐบัญญัติการบริบาลที่เสียได้ (Affordable Care Act) การเลิกมาตรฐานการศึกษาคอมมอนคอร์ (Common Core) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การลดความยุ่งยากของประมวลรัษฎากร (ประมวลกฎหมายภาษี) ขณะที่ลดภาษีแก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และกำหนดภาษีนำเข้าต่อบริษัทที่จ้างงานนอกประเทศทำให้เกิดสงครามการค้ากับประเทศจีน ทรัมป์ส่งเสริมแนวนโยบายต่างประเทศที่ไม่แทรกแซงเสียส่วนใหญ่ ขณะที่เพิ่มรายจ่ายทางทหาร "การตรวจสอบภูมิหลังเต็มที่" ของคนเข้าเมืองมุสลิมเพื่อป้องกันการก่อการร้ายอิสลามในประเทศ รับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล และถอนทหารสหรัฐออกจากภาคเหนือของซีเรีย เขาพบกับคิม จ็อง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือสามครั้ง แต่การเจรจาเรื่องลดอาวุธนิวเคลียร์ล้มเหลว นักวิชาการและนักวิจารณ์อธิบายจุดยืนของทรัมป์ว่าเป็นประชานิยม ลัทธิคุ้มครองและชาตินิยม เขาได้รับการวิจารณ์ในกรณีการรับมือการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ล่าช้า โดยเพิกเฉยต่อคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมทั้งให้ข้อมูลเท็จในการรักษา ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก

ภายหลังทรัมป์ปลดเจมส์ โคมีย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอในปี 2017 กระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งรอเบิร์ต มอลเลอร์เป็นที่ปรึกษาพิเศษในการสืบสวนเรื่องการประสานงานหรือความเชื่อมโยงระหว่างการรณรงค์ทรัมป์และรัฐบาลรัสเซียเกี่ยวกับการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐของรัสเซียปี 2016 และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผลการสอบสวนระบุว่าทรัมป์และคณะรณรงค์หาเสียงของเขาต้อนรับและส่งเสริมการแทรกแซงของรัสเซียในการเลือกตั้งนั้น แต่ไม่พบหลักฐานเพียงพอตั้งข้อหาสมคบคิดหรือร่วมมือกับรัสเซีย มอลเลอร์ยังสอบสวนทรัมป์ฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรายงานของเขาสรุปโดยไม่ได้ฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์หรือว่าเขาพ้นจากความรับผิดในข้อหานั้น หลังทรัมป์ร้องขอให้ยูเครนสอบสวนโจ ไบเดิน คู่แข่งทางการเมืองของเขา สภาผู้แทนราษฎรดำเนินกระบวนพิจารณาและลงมติให้ถอดถอนทรัมป์ออกจากตำแหน่งในเดือนธันวาคม 2019 ฐานละเมิดอำนาจและขัดขวางรัฐสภา แต่วุฒิสภาลงคะแนนเสียงว่าทรัมป์ไม่มีความผิดทั้งสองข้อหาในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ต่อมา ใน ค.ศ. 2021 เขาถูกยื่นถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งเป็นครั้งที่สอง จากการปลุกระดมกลุ่มผู้สนับสนุนในเหตุการณ์จลาจล ณ อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2021 ส่งผลให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐที่ถูกยื่นถอดถอนโดยสภาผู้แทนราษฎรถึง 2 ครั้ง

ทรัมป์แพ้การเลือกตั้งให้แก่ไบเดินใน ค.ศ. 2020 เขาถือเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ที่ไม่สามารถเอาชนะการเลือกตั้งได้เป็นสมัยที่สอง[11] โดยทรัมป์ปฏิเสธการยอมรับผลการเลือกตั้งและเรียกร้องให้มีการนับคะแนนใหม่ในหลายพื้นที่[12] หลังพ้นจากตำแหน่ง เขายังมีบทบาททางการเมืองในพรรคริพับลิกัน รวมถึงการสนับสนุนการเลือกตั้งในช่วงกลางปี 2022 และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 เขาประกาศลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในการเลือกตั้งปี 2024[13] ต่อมา ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 คณะกรรมการสอบสวนเหตุจลาจลวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2021 ตั้งข้อหาทางอาญาต่อทรัมป์ ฐานมีส่วนร่วมในความพยายามพลิกผลการเลือกตั้งปี 2020 รวมทั้งสนันสนุนการก่อจลาจล และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2023 คณะลูกขุนใหญ่แห่งแมนแฮตตันได้ตั้งข้อหาต่อทรัมป์ในความผิดฐานปลอมแปลงบันทึกทางธุรกิจมากถึง 34 กระทง ส่งผลให้เขาเป็นอดีตประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่ถูกตั้งข้อหาทางอาญา[14][15] ทรัมป์ได้รับการจัดอันดับโดยนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มให้เป็นหนึ่งในประธานาธิบดีสหรัฐที่แย่ที่สุด[16][17]

ประวัติและชีวิตช่วงต้น

ทรัมป์เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946 ทีควีนส์, รัฐนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่สี่จากทั้งหมดจำนวนห้าคน พ่อของทรัมป์ชื่อ เฟเดอริก คริส เฟรด ทรัมป์ (1905 -1999) และแม่ แมรี่ แอนนี่ ทรัมป์ (1912 - 2000)[18][19] ทรัมป์ยังมีพี่น้องทางสายเลือด แมรี แอนนี , เฟรด จูเนียร์ , แอลิซาเบธ และ โรเบิร์ต เฟรด จูเนียร์ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตเสียชีวิตปี 1981 จากแอลกอฮอลล์ ซึ่งทรัมป์กล่าวว่านั้นเป็นสาเหตุทำให้เลิกแอลกอฮอลล์รวมทั้งบุหรี่ด้วย[20] ทรัมป์ไม่ชอบการจับมือ หรือ Shake hand เมื่อสถานการณ์บังคับให้ต้องมีการจับมือ ทรัมป์จะใช้การดึงเอาตัวของฝ่ายตรงข้ามให้เข้ามาใกล้กับตัวเขา

บรรพบุรุษ

ทรัมป์มีบิดาที่มีเชื้อสายเยอรมัน และมารดาเชื้อสายสก็อตแลนด์ แม่ของทรัมป์และรวมทั้งปู่ย่าตายายเกิดในยุโรป ปู่ยาตายายของทรัมป์เป็นผู้อพยพมายัง คาลล์ชตัดท์ , เยอรมนี และพ่อของทรัมป์ที่เป็นนักอสังหาริมทรัพย์ในนิวยอร์ก เกิดใน ควีนส์[21][22] ส่วนแม่ของทรัมป์อพยพเข้านิวยอร์กในวันเกิดของเธอ จากหมู่บ้าน Tong เกาะเลวิส สก็อตแลนด์ [23] เฟรดและแมรี่พบกันในนิวยอร์กทั้งคู่ตกลงแต่งงานกันในปี 1936 และอพยพครอบครัวไปยังเมืองควีนส์[23][24]

จอห์น เค ทรัมป์ ลุงของทรัมป์ เป็นอาจารย์ในสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ระหว่างปี ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1973 ลุงของทรัมป์มีส่วนคิดค้นเรดาร์ให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และคิดค้นเครื่องเอ็กซเรย์เพื่อช่วยผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในปี 1943 สำนักงานสอบสวนกลางมีคำสั่งให้จอห์น ทรัมป์ ตรวจสอบกระดาษและอุปกรณ์ของนิโคลา เทสลา เมื่อครั้งที่นิโคลาเสียชีวิตในห้องของเขาที่โรงแรมนิวยอร์กเกอร์ (New Yorker Hotel)[25] เฟดริก ทรัมป์ ปู่ของทรัมป์ เปิดร้านอาหารในซีแอตเทิลและครอนไลค์ (แคนาดา)[26]ครอบครัวทรัมป์แรกเริ่มนับถือนิกายลูเทอแรน แต่พ่อแม่ของทรัมป์นับถือนิกายคริสตจักรปฏิรูป[27] ครอบครัวทรัมป์แรกเริ่มสะกดชื่อสกุลว่า Drumpf แต่ถูกเปลี่ยนเป็น Trumps ในช่วงสงครามสามสิบปี ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17[28] ทรัมป์กล่าวเขารู้สึกภูมิใจสำหรับการมีเชื้อสายจากเยอรมัน และเคยเป็นผู้นำขบวนพาเหรดออร์เคสตราปี 1999 German-American Steuben Parade นครนิวยอร์ก[29]

การศึกษา

ดอนัลด์ ทรัมป์ ขณะกำลังเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยนิวยอร์ก ช่วงฤดูใบไม้ผลิ 1964

ทรัมป์จบการศึกษาโรงเรียน The Kew-Forest School ในวัย 13 เขาสมัครโรงเรียนนายร้อยนิวยอร์ก[30] ที่คอร์นวอลล์ รัฐนิวยอร์ก ทรัมป์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟอร์ดัมในเดอะบร็องซ์ เป็นเวลาสองปี หลังจากนั้นในเดือนสิงหาคม 1964 ทรัมป์ย้ายไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียในฟิลาเดลเฟีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นแห่งแรก ๆ ในสหรัฐอเมริกา[31][32] ขณะนั้น เขาทำงานในบริษัทของครอบครัว Elizabeth Trump & Son โดยชื่อบริษัทตั้งจากชื่อย่าของทรัมป์ เขาจบการศึกษาจากฟิลาเดลเฟียในพฤษภาคม 1968 ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตด้านเศรษฐกิจ[32][33][34] ทรัมป์ไม่ได้เกณฑ์ทหารในช่วงสงครามเวียดนาม[35] เขาได้รับการผ่อนผันเกณท์ทหาร 4 ครั้ง[36] ในปี 1966 เขาได้รับการตรวจสอบทางการแพทย์ซึ่งมีความสำคัญที่จะทำให้เขาสามารถบรรจุเป็นทหารเกณฑ์ ปี 1968 ได้รับการตัดสินโดยคณะกรรมการท้องถิ่นซึ่งมีมติให้ผ่อนผัน ในตุลาคม 1968[37] ในบทสัมภาษณ์ชีวประวัติของทรัมป์ ปี 2015 เขาให้เหตุผลว่าที่เขาได้ใบผ่อนผันจากแพทย์เนื่องจากเขามีอาการปวดส้นเท้า[37].[38]

สุขภาพ

ทรัมป์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับแอลกอฮอล์และบุหรี่รวมทั้งสิ่งเสพติดทุกประเภท เขามีพฤติกรรมการนอนหลับที่น้อยมากในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยเขาจะนอนเพียง 4-5 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น[39] โดยให้เหตุผลว่าการนอนมากเกินไปทำให้เสียเวลาและโอกาสในการทำเรื่องสำคัญในชีวิตและเขาไม่ค่อยออกกำลังกายเท่าไรนักเนื่องจากคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น

ครอบครัวและชีวิตสมรส

ดอนัลด์ ทรัมป์ และ เมลาเนีย ทรัมป์ ในงานเลี้ยงฉลองภายหลังพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมปี 2020

 ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้สมรสกับอิวานา (Ivana Zelníčková) นางแบบสาวชาวเช็กเกีย ในปี 1977[40] ทั้งสองมีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน ได้แก่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์, อิวานกา ทรัมป์, และ อีริค ทรัมป์ ซึ่งต่อมาลูกทั้ง 3 คนก็ได้มรดกจากผู้เป็นพ่อ ด้วยตำแหน่งรองประธานบริษัท ทรัมป์ออร์กาไนเซชัน ที่ซึ่งทรัมป์เป็นประธานบริหารมาอย่างยาวนาน ทรัมป์และอิวาน่าหย่าขาดจากกันในปี 1990 และต่อมาในปี 1993 ทรัมป์ได้สมรสครั้งที่สองกับ มาร์ล่า เมเปิ้ล และมีบุตรด้วยกัน 1 คนคือ ทิฟฟานี่ ซึ่งตั้งชื่อตามร้านเพชรชื่อดังอย่าง Tiffany & Company ก่อนที่ทั้งสองจะแยกกันอยู่ในปี 1997 และหย่าขาดกันในปี 1999

  โดนัลด์ ทรัมป์ พบกับ เมลาเนีย คานอส (Melania Knauss) นางแบบสาวชาวสโลเวเนีย และทำการหมั้นกันในปี 2004 ก่อนจะเข้าพิธีสมรสในปี 2005 ก่อนที่เมลาเนียจะได้รับสัญชาติอเมริกันในปี 2006 และในเดือนมีนาคมปีเดียวกันนั้นเอง เมลาเนีย ทรัมป์ ก็ได้คลอดบุตรชายนามว่า บาร์รอน ทรัมป์[41] ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งมาจากนามปากกาของดอนัลด์ ทรัมป์ โดยมักปรากฏภาพภรรยาและลูกๆของเขาในการหาเสียงของทรัมป์ในช่วงการเลือกตั้งอยู่เสมอ และเมลาเนียได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 20 มกราคม 2017[42]

การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี

ดอนัลด์ ทรัมป์ ขณะหาเสียง ณ มลรัฐแอริโซน่าในเดือนมีนาคม 2016

แม้โพลแทบทุกสำนักต่างรายงานตรงกันว่า ทรัมป์มีแนวโน้มสูงที่จะพ่ายแพ้การเลือกตั้ง โดยโพลต่างระบุว่าตั้งแต่เริ่มต้นการหาเสียงช่วงต้นปีจนกระทั่งถึงการเสร็จสิ้นการดีเบตทั้งสามครั้งกับ ฮิลลารี คลินตัน คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ทรัมป์มีคะแนนตามหลังนางคลินตัน อย่างไรก็ตาม ทรัมป์สามารถชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2016 ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Make America Great Again" ได้สำเร็จ[43] ส่งผลให้ในวัย 70 ปี ทรัมป์เป็นบุคคลอายุมากที่สุด (ในขณะนั้น) และมีทรัพย์สินมากที่สุดที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เป็นบุคคลแรกที่ไม่เคยรับราชการทหารหรือข้าราชการมาก่อน และเป็นบุคคลที่สี่ที่ได้รับเลือกตั้งโดยไม่ได้คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งข้างมากทั่วประเทศ เขาได้รับคะแนนเสียง 63 ล้านเสียง[44] และเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีไม่กี่ท่านของสหรัฐที่พ่ายแพ้คะแนน Popular โหวตแต่สามารถเอาชนะด้วย Electoral vote (ด้วยคะแนน 304 - 227) และชนะการเลือกตั้งได้ โดย ไมค์ เพนซ์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งรอง ปธน.สหรัฐฯ ก็ได้ก้าวขึ้นรับตำแหน่งรองประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ ในส่วนของการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานั้น พรรคริพับลีกันชนะได้เสียงข้างมากในวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียง 51 ต่อ 47 เสียง ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ผลปรากฏว่า พรรคริพับลีกันสามารถครองเสียงข้างมากในสภาด้วยคะแนนเสียง 232 ต่อ 175 เสียง

นโยบายขณะดำรงตำแหน่ง

100 วันแรก

ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนสหรัฐออกจาก TPP (ข้อตกลงการค้าในภาคพื้นแปซิฟิก) ซึ่งปัจจุบันมีประเทศสมาชิกอยู่ด้วยกันทั้งหมด 12 ประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด โดยทรัมป์ต้องการให้สหรัฐเป็นมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่จำเป็นต้องอิงกับใครในการพัฒนาเศรษฐกิจ[45] และให้คำมั่นจะสร้างงานให้ชาวอเมริกันอย่างมั่นคงอีกครั้ง เขายืนยันว่าตัวเลขประชาชนผู้ตกงานตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาในสหรัฐจะต้องลดลงอย่างมีนัยสำคัญในรัฐบาลของเขา โดยมีหลักการเพียงอย่างเดียวคือทำเพื่ออเมริกาให้กลับมาเป็นที่หนึ่งอีกครั้ง ทรัมป์และทีมงานจะปรับแก้กฎหมายและสร้างงานให้แก่อเมริกันชนอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก, รถยนต์ ไปจนถึงยารักษาโรค เป็นต้น ทรัมป์ต้องการให้เกิดกระบวนการผลิตและนวัตกรรมใหม่ๆขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดการจ้างงานที่มากขึ้นแก่คนอเมริกัน นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้เพิ่มงบประมาณทางการทหารมากขึ้นถึง 10% จากรัฐบาลของโอบามา[46] ต่อมาเมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2017 นายฌอน สไปเซอร์ โฆษกทำเนียบขาว ประกาศว่า ประธานาธิบดี ทรัมป์ จะบริจาคเงินเดือนทั้งหมดในช่วงไตรมาสแรก กว่า $78,333.32 ให้กับหน่วยงานอุทยานแห่งชาติเพื่อพัฒนาในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ในด้านการต่างประเทศในช่วง 3 เดือนแรกของการดำรงตำแหน่ง ทรัมป์ออกมาเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต้องกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือที่แข็งกร้าวมากขึ้น ภายหลังจากเกาหลีเหนือยังคงเดินหน้าทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธ รวมทั้งทำการออกคำสั่งยิงจรวดโจมตีฐานทัพอากาศ Shayrat ในเมืองฮอม ของซีเรีย เพื่อตอบโต้การใช้อาวุธเคมีโจมตีเขตพลเรือน

เศรษฐกิจและสังคม

ทรัมป์ประกาศอย่างชัดเจนต่อสาธารณชนก่อนการเลือกตั้งว่า เขาจะเข้ามาปฏิรูปนโยบายด้านต่างๆที่ บารัค โอบามา ได้ทำไว้ และแสดงเจตนารมณ์ในการบริหารประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์ "Make America Great Again" ซึ่งเป็นนโยบายที่ โรนัลด์ เรแกน อดีตประธานาธิบดีคนที่ 40 เคยใช้หาเสียง[47] ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการดำรงตำแหน่งของทรัมป์ เขาให้ความสำคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจมาก[48] โดยมีการปรับภาษีให้เท่าเทียมกัน และมีการลดหย่อนภาษีลงอย่างทั่วถึง โดยรวมถึงการลดค่าใช่จ่ายในการเลี้ยงบุตรและค่ารักษาพยาบาลทั่วไปอีกด้วย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนคนว่างงานลงให้มากที่สุด นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นประธานาธิบดีที่ให้ความใส่ใจกับนโยบายด้านการควบคุมผู้อพยพเข้าประเทศมากที่สุดท่านหนึ่ง[49][50][51] เขาให้ความเข้มงวดเรื่องนี้มากเนื่องจากต้องการผลักดันกฎหมายแรงงานให้ชาวอเมริกันมีสิทธิ์มากกว่าชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในสหรัฐ ซึ่งจุดนี้จะเป็นการรับประกันเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชาวอเมริกันได้ รวมถึงการประกันรายได้การมีงานที่ดีรองรับโดยคำถึงถึงสิทธิ์ของคนอเมริกันก่อนเป็นอันดับแรก และเขาได้มีการเพิ่มมาตรการตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการก่อการร้าย โดยมีเป้าหมายหลักคือการลดจำนวนผู้อพยพจากพรมแดนเม็กซิโกและแถบละตินอเมริกาลงให้มากที่สุด[52] เขาและภรรยามีการลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหลายครั้งในหลายรัฐ และแสดงจุดยืนในการเสริมสร้างความมั่นใจของประชาชนต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ประธานาธิบดีทรัมป์พร้อมด้วยสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งภริยา และ วุฒิสมาชิก จอห์น คอร์นีย์ ขณะไปเยี่ยมผู้รอดชีวิตจากเหตุกราดยิงที่ เอล ปาโช่ ในปี 2019

ทรัมป์กล่าวว่าเขาไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมอาวุธปืนโดยทั่วไป[53] แม้ว่ามุมมองของเขาจะเปลี่ยนไปบ้างหลังจากเกิดเหตุกราดยิงกันหลายครั้งในระหว่างดำรงตำแหน่ง[54] ทรัมป์กล่าวว่าเขาจะเสนอกฎหมายเพื่อลดความรุนแรงในการใช้ปืน แต่ต่อมาได้ถูกยกเลิกในเดือนพฤศจิกายนปี 2019 ฝ่ายบริหารของทรัมป์ได้แสดงจุดยืนต่อต้านการใช้กัญชาโดยเพิกถอนนโยบายของโอบามาในยุคที่ให้ความคุ้มครองสำหรับรัฐทีอนุญาตให้กัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมายโดยกำหนดโทษถึงประหารชีวิต ทรัมป์อนุมัติการให้มีการประหารชีวิตโดยรัฐบาลกลางครั้งแรกในรอบหลายปี ภายใต้การบริหารประเทศของทรัมป์รัฐบาลกลางประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดรวม 13 ราย มากที่สุดในรอบ 56 ปี ในปี 2017 ทรัมป์กล่าวว่าเขาสนับสนุนการใช้วิธีการทรมานด้วยการสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ตามกฎหมาย แต่ภายหลังนโยบายดังกล่าวได้ถูกคัดค้านโดย เจมส์ แมตทิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ประกันสุขภาพและการศึกษา

เจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่สุดของทรัมป์อีกประการหนึ่งตั้งแต่ช่วงรณรงค์หาเสียงคือการยกเลิกประกันสุขภาพโอบามา แคร์ ของบารัก โอบามา[55] เนื่องจากเขาเล็งเห็นว่ามันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆกับประชาชนในระดับกลางและระดับล่าง[56] ทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระในการเสียภาษีฟุ่มเฟือยที่มากขึ้นอีกด้วย เขาได้มีนโยบายในการเปลี่ยนไปใช้ระบบการซื้อประกันสุขภาพในราคาที่ถูกลงและยังครอบคลุมสิทธิการรักษาเมื่อเดินทางข้ามรัฐได้อีกด้วย ในส่วนของนโยบายด้านการศึกษา ทรัมป์ได้เล็งเห็นว่าเด็กคืออนาคตของชาติและต้องการสร้างความมั่นใจแก่ชาวโลกว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เขามีการผลักดันการพัฒนาด้านการศึกษาทางสายอาชีพมากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตให้เยาวชนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและจบมามีงานที่ดีทำและสามารถพึ่งพาตนเองได้[57]

การต่างประเทศ

ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของทรัมป์ สหรัฐฯ ได้ตั้งคำถามต่อความสำคัญขององค์กรระหว่างประเทศ และดำเนินนโยบายการค้าและการทหารซึ่งสอดคล้องของกับสโลแกน America First ที่คำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ​เป็นอันดับหนึ่งซึ่งในบางครั้งได้เพิ่มความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น เขาได้ประกาศอย่างแข็งกร้าวในการกล้าที่จะเผชิญหน้ากับจีนและเกาหลีเหนือในฐานะประเทศคู่แข่งและผู้เป็นภัยคุกคามทางความมั่นคง ทรัมป์เน้นการใช้นโยบายแบบเอกาภาคีนิยม หรือ "Unilateralism" คือให้อเมริกาลุยเดี่ยว ‘Go It Alone’ ไม่จำเป็นต้องอิงกับพันธมิตรชาติใดเป็นพิเศษซึ่งตรงข้ามกับพรรคเดโมแครตของ โจ ไบเดน อย่างสิ้นเชิง[58] (เดโมแครตเน้นการใช้เครื่องมือพหุภาคีระหว่างประเทศและใช้พันธมิตรเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารงานด้านการต่างประเทศ) ยิ่งไปกว่านั้น ในสมัยที่ บารัก โอบามา เป็นประธานาธิบดีและไบเดนเป็นรองประธานาธิบดี เขามีผลงานชิ้นโบว์แดงด้านการต่างประเทศ คือการจัดทำข้อตกลงอาวุธนิวเคลียร์กับอิหร่านในปี 2015 แต่ต่อมาภายหลังทรัมป์ได้ทำการฉีกข้อตกลงดังกล่าวทำให้เกิดวิกฤตอิหร่านขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายของการดำรงตำแหน่งของเขา[59]

ดทรัมป์ และ คิม จอง อึน ขณะพบกันในการประชุมครั้งแรก ณ โรงแรมคาเปลลา เกาะเซนโตซา สาธารณรัฐสิงคโปร์ วันที่ 12 มิ.ย. 2018

ในปี 2017 เมื่อการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ยังคงมีแนวโน้มที่จะรุนแรงอย่างต่อเนื่องนั้น ทรัมป์ได้ยกระดับคำสั่งเตือนว่าเกาหลีเหนือจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่กำลังปฏิบัติและเท่ากับเป็นการประกาศตัวเป็นศัตรูต่อเมริกาและชาวโลก ในปลายปี 2017 ทรัมป์ประกาศว่าเขาต้องการให้เกาหลีเหนือ[60] "เลิกใช้นิวเคลียร์โดยสมบูรณ์" และมีส่วนร่วมในการติดต่อกับผู้นำคิมจองอึนเพื่อยุติแผนการดังกล่าว ในห้วงเวลาแห่งความตึงเครียดนี้ทรัมป์และคิมได้แลกเปลี่ยนจดหมายกันอย่างน้อย 27 ฉบับซึ่งทั้งสองคนอธิบายถึงมิตรภาพส่วนตัวที่อบอุ่นและมีแนวโน้มทีจะดีขึ้น โดยคิมได้ยื่นข้อเสนอที่จะพบกับทรัมป์จำนวน 3 ครั้ง[61] ได้แก่: ที่สิงคโปร์ในปี 2018 ในฮานอยในปี 2019 และในเขตปลอดทหารเกาหลีภายในในปี 2019 โดยทรัมป์ได้กลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่ได้พบกับผู้นำเกาหลีเหนือและได้เหยียบแผ่นดินเกาหลีเหนือ[62] ทรัมป์ยังยกเลิกการคว่ำบาตรบางส่วนที่สหรัฐฯมีต่อเกาหลีเหนือในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตามเกาหลีเหนือมิได้มีการยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์แต่อย่างใด และการเจรจาในเดือนตุลาคม 2019 ก็ล้มเหลวลงในที่สุดหลังจากที่คิมยืนยันว่าเกาหลีเหนือจะไม่ยุติโครงการอาวุธนิวเคลียร์

ทรัมป์และปูตินในการการประชุมสุดยอด G20 ที่เมืองโอซากะ ปี 2019

ในขณะที่ความสัมพันธ์กับรัสเซียไม่รุนแรงและตึงเครียดเท่าเกาหลีเหนือ ทรัมป์มักกล่าวชื่นชมและไม่ค่อยวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน เท่าใดนัก[63] แต่ก็มีการต่อต้านการกระทำบางอย่างของรัฐบาลรัสเซียในบางเหตุการณ์ โดยฝ่ายบริหารของทรัมป์ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯที่บังคับใช้กับรัสเซียหลังจากการผนวกไครเมียในปี 2014 และทรัมป์ยังสนับสนุนให้รัสเซียกลับเข้าสู่การเป็นสมาชิกกลุ่ม 7[64] และภายหลังจากที่เขาได้พบกับปูตินในการประชุมสุดยอดผู้นำที่เฮลซิงกิเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2018 ทรัมป์ได้วิพากษ์วิจารณ์สมาชิกพรรคการเมืองทั้งทางฝั่งริพับลิกันและเดโมแครตในการปฏิเสธการแทรกแซงของรัสเซียในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 แทนที่จะยอมรับการพิสูจน์เหตุการณ์ดังกล่าวของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯว่ารัสเซียได้ทำการแทรกแซงการเลือกตั้งดังกล่าวจริง

การรับมือกับไวรัสโคโรนา

ในเดือนธันวาคม 2019 ไวรัสโคโรนาได้แพร่ระบาดขึ้นในหวู่ฮั่นประเทศจีนและแพร่กระจายไปทั่วโลกภายในไม่กี่สัปดาห์[65] มีรายงานผู้ป่วยรายแรกที่ได้รับการยืนยันในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 20 มกราคม ปี 2020[66] การระบาดของโรคนี้ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโดย Alex Azar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและการบริการมนุษย์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2020 ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2020 ทรัมป์กล่าวต่อสาธารณชนว่าการระบาดในสหรัฐอเมริกานั้นร้ายแรงน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่และอยู่ภายใต้การควบคุม ขอให้ประชาชนมั่นใจเนื่องจากไวรัสนี้จะสิ้นสุดลงในไม่ช้า[67] ในขณะเดียวกันเขากลับกล่าวยอมรับสิ่งที่ตรงกันข้ามออกมาในการสนทนาส่วนตัวกับ บ็อบ วู้ดวาร์ด ในเดือนมีนาคมปี 2020 โดยทรัมป์บอกกับวู้ดวาร์ดเป็นการส่วนตัวว่าเขาจำเป็นต้องให้สัมภาษณ์ในเชิงบวกเพื่อไม่ให้ประชาชนชาวอเมริกันเกิดความตื่นตระหนก ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา การจัดส่งวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์และ BioNTech ล็อตแรกได้เดินทางถึงสหรัฐอเมริกา โดยคนงานจากโรงงานไฟเซอร์เร่งจัดเตรียมวัคซีนให้พร้อมส่งไปยังทั้ง 50 รัฐทั่วประเทศ โดยการจัดซื้อวัคซีนนี้ถือเป็นผลงานใหญ่โครงการสุดท้ายที่ทรัมป์ได้ฝากไว้แก่ประชาชนก่อนจะส่งมอบอำนาจต่อให้รัฐบาลของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่

เครดิต: ศ.ดร. ประภัสสร์ เทพชาตรี อดีตนายกสมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย (American Studies Association in Thailand - ASAT), องค์กรวีโอเอ ภาคภาษาไทย

พ้นจากตำแหน่ง

ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศอย่างเป็นทางการในปี 2020 ซึ่งทรัมป์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไบเดนไปด้วยคะแนน Electoral Vote 232 - 306

ดอนัลด์ ทรัมป์ ประสบกับความยากลำบากในการหาเสียงและซื้อใจประชาชนในการเลือกตั้งสมัยที่สองเป็นอย่างมาก[68] โพลทุกสำนักต่างรายงานไปในทิศทางเดียวกันว่าเขามีคะแนนตามหลัง โจ ไบเดิน จากพรรคเดโมแครต มากถึง 10 จุด และยิ่งใกล้วันเลือกตั้งเท่าไรคะแนนความนิยมของเขาก็ยิ่งลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและความรุนแรงจากการประท้วงในประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อดีตเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งสำคัญในทำเนียบขาวและในคณะรัฐมนตรีต่างทยอยออกมาพูดถึงทรัมป์ในแง่ลบอย่างมาก ในขณะที่สมาชิกพรรคแทบทุกคนต่างถอดใจว่าเขาจะแพ้การเลือกตั้งอย่างแน่นอน

ทรัมป์พ่ายแพ้การเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 ส่งผลให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ที่ไม่สามารถเอาชนะการเลือกตั้งได้เป็นสมัยที่สอง (และถือเป็นคนแรกในรอบ 28 ปีต่อจาก จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช)[69] แม้เขาจะสามารถรักษาฐานเสียงของตนเองไว้ได้ในหลายมลรัฐ[70] (โดยเฉพาะรัฐแถบตอนกลางและทางเหนือของประเทศที่ประชากรมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม) แต่ก็เสียคะแนนให้แก่ไบเดินในหลายมลรัฐทางภาคตะวันตกและตะวันออกเช่นกัน[71] โดยจากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่างให้ความเห็นว่า ทรัมป์ล้มเหลวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา[72] และไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในด้านสิทธิมนุษยชนและการต่อต้านการเหยียดผิวจากกรณีการเสียชีวิตของ "จอร์จ ฟลอยด์"[73] รวมทั้งการประกาศสงครามการค้า การตั้งกำแพงภาษีกับจีนและคู่ค้าอีกหลายประเทศได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจลามไปทั้งโลก[74] ในขณะที่ประชาชนกว่า 74 ล้านเสียง ที่ยังคงเชื่อมั่นและเทคะแนนให้เขาเนื่องมาจากความมั่นใจในนโยบายทางเศรษฐกิจและการปราบปรามผู้ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งการแก้ปัญหาภาวะการว่างงานในประเทศ โดยรัฐจอร์เจียได้ประกาศนับคะแนนใหม่ด้วยมือหลังจากผลโหวตสุดท้ายไบเดนมีคะแนนนำทรัมป์อยู่เพียง 14,000 คะแนน แต่เมื่อมีการนับคะแนนใหม่อย่างเป็นทางการก็ได้รับการยืนยันว่าไบเดนเอาชนะทรัมป์ไปได้ โดยในช่วงแรกของการนับคะแนนรวมทั่วประเทศทรัมป์มีคะแนนนำห่างไบเดนในหลายมลรัฐพอสมควร แต่เมื่อมีการนับบัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์ คะแนนของไบเดนก็ตีตื้นขึ้นมาและสามารถเอาชนะไปได้ในหลายมลรัฐ (การเลือกตั้งครั้งนี้เปิดให้มีการลงคะแนนล่วงหน้าทางไปรษณีย์เนื่องจากสถานการณ์โควิด)[75]

นอกจากนี้ไบเดินยังถือเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ที่ได้รับคะแนนโหวต (Popular Vote) สูงที่สุดในประวัติศาสตร์มากถึง 81 ล้านเสียงอีกด้วย[76] ทรัมป์ได้ลงจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ[77] เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021 โดยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์และปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพิธีสาบานตนของไบเดิน และกมลา แฮร์ริส ปัจจุบันเขาพำนักอยู่ที่ พาล์มบีช (Palm Beach) รัฐฟลอริดา

โซเชียลมีเดีย

ทรัมป์ถือเป็นหนึ่งในบุคคลระดับโลกที่มีชื่อเสียงในด้านการใช้โซเชียลมีเดีย[78] โดยเขามีผู้ติดตามจำนวนมากนับตั้งแต่สมัครบัญชีทวิตเตอร์ใน ค.ศ. 2009 และมีจำนวนผู้ติดตามสูงถึง 90 ล้านคนทั่วโลก โดยตลอดระยะเวลา 12 ปี เขาทำการโพสต์ในทวิตเตอร์ไปถึง 57,000 ครั้ง โดยเป็นการโพสต์ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง 25,000 ครั้ง[79] เขายังชื่นชอบการติดต่อสื่อสารผ่าน เฟซบุ๊ก โดยมักใช้เป็นพื้นที่ส่วนตัวในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง โจมตีคู่แข่งทางการเมืองฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง เช่น บารัก โอบามาและโจ ไบเดน รวมถึง แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับทรัมป์มาตลอดตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งในช่วงแรก[80] บัญชีเฟซบุ๊กของทรัมป์ถูกแบนอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม ปี 2021[81]

ความสัมพันธ์กับสื่อ

ทรัมป์ขณะให้สัมภาษณ์กับสื่อ ณ ทำเนียบขาวในปี 2017

ทรัมป์มีชื่อเสียงในด้านการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมาตลอดหลายปี โดยเฉพาะเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2016 เขามีความสัมพันธ์ในแง่ที่เรียกว่า "ทั้งรักทั้งเกลียด" (Love - Hate relationship) กับสื่อต่างๆทั้งในและต่างประเทศ[82] เขามักเรียกสื่อที่เขียนข่าวโจมตีเขาในแง่ลบว่าเป็นสื่อจอมลวงโลก (Fake News Media) และกล่าวว่าสื่อเหล่านี้เป็นศัตรูต่อประชาชนรวมทั้งประเทศชาติ ในฐานะประธานาธิบดีทรัมป์เปิดเผยต่อสาธารณะชนอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการเพิกถอนหนังสือรับรองของนักข่าวที่เขามองว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงไม่สร้างสรรค์[83] ทีมกฎหมายของเขาทำการเพิกถอนบัตรประจำตัวของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบขาว 2 คน ซึ่งได้รับเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการกระทำดังกล่าว หลายต่อหลายครั้งที่ทรัมป์ถูกโจมตีว่ามักใช้วาจาข่มขู่ผู้สื่อข่าวหลายครั้ง ในช่วงต้นปี 2020 ทีมแคมเปญหาเสียงของทรัมป์ฟ้องร้องหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ เดอะวอชิงตันโพสต์ และ ซีเอ็นเอ็นในข้อหาหมิ่นประมาท ก่อนที่คดีดังกล่าวจะถูกยกฟ้องเนื่องจากศาลเห็นว่าสื่อดังกล่าวไม่มีเจตนาในการดูหมิ่นทรัมป์

วงการมวยปล้ำ

ในปี 2013 ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ได้บรรจุชื่อทรัมป์เข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอีประจำปี 2013 ในหมวด Celebrity (ผู้มีชื่อเสียงที่ได้รับการจดจำในการมีบทบาทและ / หรือมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับ WWE)[84] โดยเฉพาะในศึก WrestleMania ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2007 ซึ่งทรัมป์ได้เป็นแขกรับเชิญในรายการ ณ เวลานั้น ทรัมป์ยังมีสถานะเป็นพิธีกรทีวีและนักธุรกิจซึ่งการมาขึ้นสังเวียนครั้งนั้น เขาได้รับบทบาทเป็นหุ้นส่วนของสมาคม WWE ก่อนจะแตกคอกับ วินซ์ แม็คมาน ประธานบริหาร ทำให้ทั้งคู่มาเผชิญหน้ากันในศึก WrestleMania โดยต่างฝ่ายต่างสนับสนุนนักมวยปล้ำฝั่งละ 1 คน ซึ่ง ทรัมป์ อยู่ฝั่งของ บ็อบบี้ แลชลีย์ ส่วนแม็คมาน เลือก อูมากา พร้อมกับมีเดิมพันว่านักมวยปล้ำของใครแพ้ ฝั่งนั้นจะต้องโกนหัวต่อหน้าผู้ชมเต็มสนาม ไฟต์ดังกล่าว นักมวยปล้ำทั้งสองฝ่ายสู้กันอย่างดุเดือด ขณะที่ทรัมป์และแม็คมานก็มีการออกอาวุธใส่กันพอหอมปากหอมคอ ส่วนผลการต่อสู้ปรากฏว่า บ็อบบี้ แลชลีย์ เป็นฝ่ายคว้าชัยชนะได้สำเร็จ ทำให้ทรัมป์และนักมวยปล้ำคู่ใจจัดการจับแม็คมานโกนหัวกันสดๆบนเวที

ทรัพย์สิน

ทรัมป์ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีฐานะร่ำรวยมากที่สุดระดับมหาเศรษฐีของสหรัฐอเมริกา[7] เขาเริ่มสร้างเนื่อสร้างตัวจากธุรกิจที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากรุ่นพ่อ[85] และได้ขยายกิจการไปยังหลายพื้นที่ทั่วโลก เช่น กาสิโน โรงแรม ที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม[86] อีกทั้งยังเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัททรัมป์ออร์กาไนเซชัน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา[7] ในปี 2018 The New York Times ได้รายงานชีวประวัติและข้อมูลความร่ำรวยของทรัมป์ว่าทรัมป์มีความมั่งคั่งกว่า 3,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่รวมอสังหาริมทรัพย์และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆที่เจ้าตัวถือครองกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ความมั่งคั่งของทรัมป์ยังคงมีความคลุมเคลือ โดยเขาเคยเคยเปิดเผยว่ามีทรัพย์สินมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์[87] ในขณะที่บลูมเบิร์กประเมินว่าเขามีทรัพย์สิน 3 พันล้านดอลลาร์ และนิตยสารฟอร์จูนประเมินว่าเขามีทรัพย์สิน 3.9 พันล้านดอลลาร์[88]

ทรัมป์ทาวเวอร์ ตึกระฟ้าหรูหราย่านแมนแฮตตันในนิวยอร์กถือเป็นกิจการหลักที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่ ดอนัลด์ ทรัมป์

อย่างไรก็ตามจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทรัมป์ เปิดเผยว่า อาณาจักรธุรกิจของตนเองได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการล็อกดาวน์เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีผลต่อรายได้ โดยรายได้จากโรงแรมในเครือของทรัมป์ทั้งในวอชิงตันและลาสเวกัสลดลงกว่าครึ่ง รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟจนทำให้รายได้โดยรวมของเขาลดลงจนเหลืออยู่ที่ประมาณ 273-308 ล้านดอลลาร์ ในการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินครั้งสุดท้ายในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐ นายทรัมป์ได้ลงรายละเอียดความเสียหายที่เกิดจากโควิด-19 ในตอนที่ธุรกิจท่องเที่ยวมากมายได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว โดยสมัยที่เป็นผู้นำสหรัฐ ทรัมป์ได้ต่อต้านนโยบายที่จะชะลอการแพร่ระบาดผ่านการใส่หน้ากากอนามัยและยืนยันว่าสามารถเดินทางท่องเที่ยวในประเทศได้อย่างปลอดภัย ข้อมูลการเงินที่ครอบคลุมตลอดทั้งปี 2020 จนถึง 20 วันแรกของปี 2021 ชี้ให้เห็นว่า รายได้จากโรงแรมทรัมป์ในวอชิงตัน ลดลงเหลือ 15.1 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 40.5 ล้านดอลลาร์เมื่อปีก่อนหน้า[89] ขณะที่สาขาลาสเวกัส ยอดขายที่เกี่ยวข้องกับโรงแรมลดลงเหลือ 9.2 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 23.3 ล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ กอล์ฟรีสอร์ตที่เมืองไมแอมี ซึ่งเป็นธุรกิจสำคัญอีกแห่งของทรัมป์ ก็มีรายได้ลดลงเหลือ 44 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 77 ล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า ขณะที่สนามกอล์ฟของทรัมป์ ทั้งในอังกฤษและไอร์แลนด์ก็มีรายได้ลดลงประมาณ 2 ใน 3 ของที่เคยทำได้ในปีก่อนหน้า โดย ข้อมูลจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีของบลูมเบิร์ก (Bloomberg Billionaires Index) พบว่า ทรัพย์สินของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ลดลงราว 700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 21,525 ล้านบาท เหลือ 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 70,725 ล้านบาทหลังก้าวลงจากตำแหน่งผู้นำสหรัฐ[7]

อ้างอิง

เชิงอรรถ

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้าดอนัลด์ ทรัมป์ถัดไป
บารัก โอบามา
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 45
(20 มกราคม พ.ศ. 2560 - 20 มกราคม พ.ศ. 2564)
โจ ไบเดิน
อังเกลา แมร์เคิล บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(พ.ศ. 2559)
กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านการคุกคามทางเพศ
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง