สงครามในดอนบัส

สงครามระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนระหว่าง ค.ศ. 2014–2022 ในพื้นที่ของแคว้นดอนบัสของประเทศยูเ
(เปลี่ยนทางจาก สงครามในดอนบัสส์)

สงครามในดอนบัส (หรือเรียก สงครามในยูเครน หรือ สงครามในยูเครนตะวันออก) เป็นความขัดแย้งมีอาวุธในภูมิภาคดอนบัสของประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 เกิดการเดินขบวนโดยกลุ่มนิยมรัสเซียและต่อต้านรัฐบาลในแคว้นดอแนตสก์และลูฮันสก์ของยูเครน มักเรียกรวมกันว่า "ดอนบัส" หลังการปฏิวัติยูเครน พ.ศ. 2557 และขบวนการยูโรไมดาน การเดินขบวนเหล่านี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มการประท้วงนิยมรัสเซียที่เกิดคู่ขนานที่กว้างกว่าทั่วทางใต้และตะวันออกของยูเครน ตามด้วยการผนวกไครเมียโดยสหพันธรัฐรัสเซีย แล้วลุกลามเป็นความขัดแย้งมีอาวุธระหว่างกำลังนิยมการแยกตัวออกของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และลูฮันสก์ (DPR และ LPR ตามลำดับ) ที่ประกาศเอง และรัฐบาลยูเครน[21][22] ก่อนการเปลี่ยนแปลงผู้นำสูงสุดในเดือนสิงหาคม[23] ผู้นิยมการแยกตัวออกมีพลเมืองรัสเซียนำเป็นส่วนใหญ่[24] มีรายงานว่า กำลังกึ่งทหารรัสเซียประกอบเป็นตั้งแต่ 15% ถึง 80% ของพลรบ[24][25][26][27][28]

สงครามในดอนบัส
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งของฝ่ายนิยมรัสเซียในยูเครน และ การแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในยูเครน

สถานการณ์ทางทหารในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2023: พื้นที่สีชมพูครอบครองโดย สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์/สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์, พื้นที่สีเหลืองครอบครองโดยรัฐบาลยูเครน
วันที่6 เมษายน ค.ศ. 2014 (2014-04-06) - ปัจจุบัน
(10 ปี 3 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
ดอนบัส รวมถึง:
แคว้นดอแนตสก์และแคว้นลูฮันสก์ของยูเครน
สถานะ

เอาชนะกันไม่ได้

  • ฝ่ายนิยมรัสเซียสามารถควบคุมแคว้นดอแนตสก์และแคว้นลูฮันสก์ได้
    • รัสเซียบุกเข้ามาในยูเครน
  • มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 ถูกยิงตก; เสียชีวิต 298 คน
  • ลงนามข้อตกลงหยุดยิงตามพิธีสารมินสค์ ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2014[2]
  • การหยุดยิงตามพิธีสารมินสค์ที่ 2 มีผลวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015
  • ความพยายามในการบรรลุพิธีสารมินสค์ที่ 2 ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2015[3]
  • ความพยายามหยุดยิง 10 ครั้งล้มเหลว[4][5][6][7][8]
คู่สงคราม

 ยูเครน


ทหารอาสาเบลารุสขาว
ทหารอาสาเชชเนียอิคเคเรีย
อูสตาซีใหม่ (ทหารอาสาชาวโครแอท)

 สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์
 สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์


 รัสเซีย[note 1]
เชทนิกส์ (ทหารอาสาชาวเซิร์บ)
ทหารอาสาเชชเนียคอดิรอฟ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย
Amina Okuyeva 
Adam Osmayev

เดนิส ปูชีลิน (ผู้บัญชาการของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์)
Alexander Zakharchenko 
สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ เลโอนิด ปาเซชนิค (ผู้บัญชาการของสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์)
สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ Igor Plotnitsky


วลาดีมีร์ ปูติน (ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย) [note 1]
กำลัง
64,000 นาย[9]40,000–45,000 นาย[10]
(อาสาสมัครชาวรัสเซีย 3,000–4,000 นาย)[11]
ทหารรัสเซีย 9,000–12,000 นาย (ประมาณการโดยยูเครนและสหรัฐ)[12][13]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 4,459 คน[14][15]
สูญหาย 70 คน[16]
บาดเจ็บ 9,500–10,500 คน[17]
เสียชีวิต 5,670 คน[*][17][18]
บาดเจ็บ 12,500–13,500 คน[17]
พลเรือนเสียชีวิต 3,367 คน (329 คนในปี ค.ศ. 2016–2020)[19]
รวมทั้งหมดเสียชีวิต 13,000–13,200 คน; บาดเจ็บ 29,000–31,000 คน[17]
ชาวยูเครนพลัดถิ่น 1,414,798 คน; หนีออกนอกประเทศ 925,500 คน[20]

ระหว่างวันที่ 22 ถึง 25 สิงหาคม มีรายงานว่าปืนใหญ่ กำลังพลรัสเซีย และสิ่งที่รัสเซียเรียก "ขบวนมนุษยธรรม" ข้ามพรมแดนเข้าสู่ดินแดนยูเครนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลยูเครน มีรายงานว่าเกิดการข้ามชายแดนทั้งในดินแดนในการควบคุมของกำลังนิยมรัสเซียและพื้นที่ซึ่งไม่อยู่ในการควบคุม เช่น ส่วนตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นดอแนตสก์ ใกล้กับนอวออาซอฟสก์ (Novoazovsk) เหตุการณ์เหล่านี้ตามด้วยการระดมยิงที่ตั้งของยูเครนจากชายแดนฝั่งรัสเซียตามรายงานในห้วงเดือนก่อน[29][30][31][32][33] หัวหน้าราชการความมั่นคงยูเครน วาเลนติน นาลีเวเชนโค (Valentyn Nalyvaichenko) กล่าวว่า เหตุการณ์วันที่ 22 สิงหาคมเป็น "การบุกครองยูเครนโดยตรงโดยรัสเซีย"[34] ข้าราชการตะวันตกและยูเครนอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ว่าเป็น "การบุกครองยูเครน 'ในทางลับ' โดยรัสเซีย"[33] ผลคือ ผู้ก่อการกำเริบ DPR และ LPR ได้ดินแดนมากที่เสียไประหว่างการรุกทางทหารของฝ่ายรัฐบาลก่อนหน้านี้ มีการลงนามข้อตกลงเพื่อสถาปนาการหยุดยิง เรียกพิธีสารมินสค์ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2557[35] ทั้งสองฝ่ายละเมิดการหยุดยิงเป็นปกติ ท่ามกลางการผนึกแนวระหว่างดินแดนผู้ก่อการกำเริบและยูเครนระหว่างการหยุดยิง ขุนศึกเข้าควบคุมแผ่นดินฝั่งผู้ก่อการกำเริบ นำให้ขาดเสถียรภาพยิ่งขึ้น[36] การหยุดยิงล่มอย่างสมบูรณ์ในเดือนมกราคม 2558 ด้วยการต่อสู้อย่างหนักตลอดเขตขัดแย้งรอบใหม่ ซึ่งรวมท่าอากาศยานนานาชาติดอแนตสก์และเดบอลท์เซฟ (Debaltseve)

Notes

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง