ยูโรไมดาน

เหตุการณ์ทางการเมือง

ยูโรไมดาน (อังกฤษ: Euromaidan, ยูเครน: Євромайдан, Yevromaidan ความหมายตามอักษร "จัตุรัสยูโร") เป็นคลื่นการเดินขบวนในประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ด้วยการประท้วงในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องให้มีบูรณาการยุโรปใกล้ชิดยิ่งขึ้น นับแต่นั้นขอบเขตการประท้วงวิวัฒนาขึ้น โดยมีการเรียกร้องให้ประธานาธิบดียานูคอวิชและรัฐบาลลาออกจำนวนมาก[74] ผู้ประท้วงยังประกาศว่าพวกตนเข้าร่วมเพราะการขับไล่ผู้ประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน และ "ความประสงค์เปลี่ยนแปลงชีวิตในยูเครน"[5] จนถึงวันที่ 25 มกราคม 2557 การประท้วงได้มีเชื้อจากความเข้าใจการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล การละเมิดอำนาจและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางในยูเครน[75]

ยูโรไมดาน
ส่วนหนึ่งของ วิกฤติการณ์ยูเครน
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: ธงยุโรป (EU) ที่ถูกชูที่ไมดานเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013, รัสลานากับกลุ่มผู้ประท้วงที่ไมดานในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013, กลุ่มผู้สนับสนุน EU ที่ไมดาน, กลุ่มยูโรไมดานที่จตุรัสยุโรป เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม, ต้นไม้ที่ตกแต่งด้วยธงกับโปสเตอร์, ฝูงชนฉีดน้ำที่มีลิตซียา, ฐานของอนุสาวรีย์เลนินที่ถูกโค่นล้ม
วันที่21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 (2013-11-21) – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014
(มีกลุ่มเล็กอีก จนถึงวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2014)
สถานที่ประเทศยูเครน, ส่วนใหญ่เกิดที่เคียฟ
สาเหตุเหตุหลัก:
  • รัฐบาลไม่ลงนามในความตกลงสมาคมยูเครน-สหภาพยุโรป[1]

เหตุอื่น ๆ:

  • นโยบายต่างประเทศของรัสเซีย[2] และการลงโทษทางการค้าของรัสเซีย[3]
  • การทุจริตของรัฐบาล[4]
  • ความรุนแรงของตำรวจ[5]
  • อำนาจของประธานาธิบดีวิกตอร์ ยากูโนวิชเพิ่มขึ้น[6]
เป้าหมาย
  • ลงนามใน ความตกลงสมาคม และ เขตการค้าเสรี[1]
  • ถอดถอนประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโกวิช[7]
  • การเลือกตั้งใหม่[8]
  • การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยูเครนฉบับปี ค.ศ. 2004
  • นานาชาติบอยคอตรัฐบาลวิกตอร์ ยากูโนวิช[9]
  • ถอนตัวออกจากสมาชิกสหภาพศุลกากร[10]
วิธีการการเดินขบวน, ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, การดื้อแพ่ง, civil resistance, hacktivism,[11] occupation of administrative buildings[nb 1]
ผล
  • การปฏิวัติยูเครน พ.ศ. 2557
  • ถอดถอนวิกตอร์ ยานูโกวิชออกจากตำแหน่ง
  • Return of 2004 constitution
  • Oleksandr Turchynov กลายเป็นผู้รักษาการประธานาธิบดี
  • Early presidential election
  • เกิดความตึงเครียดกับรัสเซีย
  • การล้มล้าง ยกเลิกกฎหมายควบคุมการชุมนุมสาธารณะ
  • ยูลียา ตือมอแชนกอ อดีตนายกรัฐมนตรียูเครนและหัวหน้าฝ่ายค้าน ถูกปล่อยออกจากเรือนจำ.[13]
  • Occupation of local governments[14]
  • แบน Party of Regions โดยรัฐบาลที่ควบคุมโดยผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล[15][nb 2]
  • นายกรัฐมนตรีMykola Azarovลาออก[17] President Yanukovych offers opposition the position of Prime Minister of Ukraine[14]
  • Amnesty to detained protesters, in exchange for surrendering all occupied buildings and streets ("The Hostage Laws")[18][19][20][21][22][23][24]
  • จุดเริ่มต้นของRussian military intervention[25][26] และ การผนวกไครเมียโดยประเทศรัสเซีย
  • จุดเริ่มต้นของสงครามในดอนบัสส์
  • The new Cabinet of Ukraine resumed preparations in signing of the EU Association treaty.[27]
คู่ขัดแย้ง

สหภาพยุโรป ผู้สนับสนุน EU

ฝ่ายค้านในสภา:

  • Batkivshchyna
  • Emblem of the Svoboda Svoboda
  • แนวร่วมพันธมิตรเพื่อการปฎิรูปประชาธิปไตย (UDAR)

พรรคอื่น ๆ:

  • Emblem of the KUNCongress of Ukrainian Nationalists[30]
  • Flag of the UNA-UNSO UNA–UNSO[31]
  • Democratic Alliance[32]
  • United Left and Peasants[33]

อื่น ๆ:

รัฐบาลยูเครน

  • กระทรวงกิจการภายใน
    • Berkut
    • กองกำลังภายใน (VV)[37] and other special assignment units
    • Road Auto Inspection (DAI)
  • หน่วยความมั่นคงกลาง

พรรคฝ่านรัฐบาล:

  • Party of Regions logo Party of Regions

อื่น ๆ:

  • ข้าราชการพลเรือนสามัญและผู้สนันสนุนรัฐบาล[38][nb 3]
  • ผู้สนับสนุนที่ถูกจ้าง[40]

พรรคการเมือง:

  • แนวร่วมยูเครน[41]

ทหาร:

ต่อต้านทั้งรัฐบาลและผู้ประท้วง

  • พรรคคอมมิวนิสต์[nb 5]
  • Russian Bloc
  • พรรคสังคมนิยมก้าวหน้า
  • Peasant Party of Ukraine
  • Labour Ukraine
  • Flag of Strong Ukraine Strong Ukraine
  • พรรคอุตสาหกรรมนิยม และ รัฐวิสาหกิจ
  • พรรคประชาชน
  • พรรคประชาธิปไตยประชาชน
  • Flag of Ukraine – Forward! Ukraine – Forward!

กลุ่มจากรัสเซีย

  • Flag of the Don Cossacks ดอนคอสแซ็ก[49]
  • Night Wolves[50]
ผู้นำ
Arseniy Yatsenyuk
วิตาลี คลิทช์โก
Oleh Tyahnybok
แปตรอ ปอรอแชนกอ
Yuriy Lutsenko
Oleksandr Turchynov
Andriy Parubiy
Andriy Sadovyi
Ruslana[51][52]
Tetiana Chornovol
Dmytro Bulatov
Dmytro Yarosh
Refat Chubarov
วิกตอร์ ยานูโกวิช
Mykola Azarov
Serhiy Arbuzov
Vitaliy Zakharchenko
Oleksandr Yefremov
Andriy Klyuyev
Hennadiy Kernes
Mikhail Dobkin
Viktor Pshonka
Olena Lukash
Yuriy Boyko
Leonid Kozhara
Dmytro Tabachnyk
จำนวน

เคียฟ:
ผู้ประท้วง 400,000–800,000 คน[53]
"หน่วยป้องกันตนเองsotnia" 12,000 นาย[54][55]

ทั่วยูเครน:
50,000 (ลวิว)[56]
20,000 (เชอคาซี)[57]
10,000+ (เทอร์โนพิล)[58]
เมืองอื่นๆ

การบังคับใช้กฎหมายในเคียฟ:

  • 4,000 Berkut
  • 1,000 Internal Troops

3,000 – 4,000 titushky[59]
ผู้สนับสนุนรัฐบาล/ต่อต้าน EU:
20,000–60,000 (เคียฟ)
40,000 (คาร์กิว)[60]
15,000 (ดอแนตสก์)[61]
10,000 (ซิมเฟโรปอล)[62]

ผู้สนับสนุนรัสเซีย 2,500 คน (เซวัสโตปอล)[63]
ความสูญเสีย
  • ตาย: 104 – 780[64]
  • บาดเจ็บ: 1,850 – 1,900 (sought medical help as of 21 January 2014)[65]
    681 (hospitalised as of 30 January 2014)[66][67]
  • หายตัว (probably abducted): 166–300[64][68] (as of 30 March 2014)
  • ถูกจับ: 234[69]
  • จำคุก: 140[69]
  • ตาย: 17[70]
  • บาดเจ็บ: 200 – 300 (sought medical help as of 21 January 2014)[71][72][73]
    52–75 policemen (hospitalised as of 2 December 2013)[72][73]

การเดินขบวนเริ่มขึ้นในคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เมื่อมีการประท้วงอุบัติขึ้นหลายแห่งพร้อมกันในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ หลังรัฐบาลยูเครนระงับการเตรียมลงนามความตกลงการสมาคม (Association Agreement) และความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป โดยสนับสนุนการพึ่งพาประเทศรัสเซียทางเศรษฐกิจมากขึ้น[76] ประธานาธิบดีได้ร้องขอเงินกู้และเงินอุดหนุน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[77] สหภาพยุโรปเต็มใจให้เงินกู้ 610 ล้านยูโร (838 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)[78] ทว่า รัสเซียเต็มใจเสนอเงินกู้ 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[78] รัสเซียยังเสนอราคาแก๊สแก่ยูเครนในราคาที่ถูกลง[78] นอกเหนือจากเงินแล้ว สหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบและกฎหมายในยูเครนอย่างมาก แต่รัสเซียไม่มีการกำหนดดังกล่าว[77] วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เริ่มมีการปะทะระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและกระบอง ส่วนผู้ประท้วงใช้ก้อนหินและหิมะ โดยตำรวจเป็นฝ่ายใช้ก่อน หลังการเดินขบวนไม่กี่วันให้หลัง มีจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้น[79] แม้การเรียกร้องให้รื้อฟื้นบูรณาการยูเครน-สหภาพยุโรปจะยังไม่ได้รับการสนองตราบจนปัจจุบัน แต่ยูโรไมดานได้แสดงลักษณะเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์นิยมทางการเมืองสำคัญแก่สหภาพยุโรปซ้ำ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น "การเดินขบวนนิยมยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์"[80]

การประท้วงยังดำเนินอยู่แม้จะมีตำรวจอยู่เป็นจำนวนมาก[81][82] อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งและหิมะเป็นปกติ ความรุนแรงทวีขึ้นในเช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน จากกำลังฝ่ายรัฐบาลได้ทำให้ระดับการประท้วงยกสูงขึ้น โดยมีผู้ประท้วง 400,000–800,000 คนเดินขบวนในเคียฟในวันสุดสัปดาห์ 1 ธันวาคมและ 8 ธันวาคม[83] หลายสัปดาห์นับจากนั้น ผู้เข้าร่วมการประท้วงอยู่ในช่วงระหว่าง 50,000 ถึง 200,000 คนระหว่างการชุมนุมที่มีการจัดตั้ง[84][85] เหตุจลาจลรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม และวันที่ 19 ถึง 25 มกราคมเพื่อสนองต่อความทารุณของตำรวจ (police brutality) และการปราบปรามของรัฐบาล[86] ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม อาคารผู้ว่าการหลายแห่งและสภาภูมิภาคหลายแห่งในทางตะวันตกของประเทศถูกยึดในการก่อการกำเริบโดยนักเคลื่อนไหวยูโรไมดาน[15]

ตามการสำรวจความคิดเห็นเมื่อเดือนธันวาคม 2556 (จัดทำโดยผู้สำรวจสามแห่ง) ผลปรากฏว่า ชาวยูเครนระหว่าง 45% และกว่า 50% สนับสนุนยูโรไมดาน ขณะที่มีผู้คัดค้านระหว่าง 42% ถึง 50%[87][88][89] พบว่าผู้สนับสนุนการประท้วงมากที่สุดอยู่ในเคียฟ (ราว 75%) และยูเครนตะวันตก (กว่า 80%)[87][90] ในการสำรวจความคิดเห็นเมื่อวันที่ 7 และ 8 ธันวาคม ผู้ประท้วง 73% ตั้งใจว่าจะประท้วงต่อไปในเคียฟนานจนกว่าข้อเรียกร้องของพวกตนจะได้รับการตอบสนอง[5] การสำรวจความคิดเห็นยังแสดงว่าประชาชนต่างวัยมีความเห็นแตกต่างกัน ขณะที่คนหนุ่มสาวส่วนมากสนับสนุนสหภาพยุโรป คนสูงวัย (กว่า 50 ปี) มักสนับสนุนสหภาพศุลกากรเบลารุส คาซัคสถานและรัสเซียมากกว่า[91]

จุดเปลี่ยนมาถึงเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เมื่อสมาชิกพรรคของประธานาธิบดีที่หลบหนีหรือแปรพักตร์มีจำนวนมากพอกระทั่งพรรคเสียเสียงข้างมากในรัฐสภายูเครน ส่งผลให้ฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก และมีองค์ประชุมเพียงพอในที่สุด ทำให้รัฐสภาสามารถผ่านชุดกฎหมายซึ่งถอนตำรวจออกจากเคียฟ ยกเลิกปฏิบัติการต่อต้านการประท้วง ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญปี 2547 ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และถอดถอนประธานาธิบดียานูโควิช ต่อมา ยานูโควิชหลบหนีไปยังเมืองคาร์คิฟ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ และปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของรัฐสภา รัฐสภากำหนดการเลือกตั้งล่วงหน้าในเดือนพฤษภาคม 2557[92][93]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/> ที่สอดคล้องกัน

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง