สมชัย ศรีสุทธิยากร

รองศาสตราจารย์ สมชัย ศรีสุทธิยากร ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2501) นักวิชาการชาวไทย อดีตข้าราชการบำนาญมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารจัดการเลือกตั้ง[2] อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2564 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย (สร.)[3]รับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์และนโยบายพรรคเสรีรวมไทย ก่อนลาออกใน วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สมชัย ศรีสุทธิยากร
กรรมการการเลือกตั้ง
ดำรงตำแหน่ง
13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2561[1]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2561–2562)
เสรีรวมไทย (2564–2566)
คู่สมรสจิราวดี ศรีสุทธิยากร (เสียชีวิต)
สุกัญญา นิลสม (2561–ปัจจุบัน)

ประวัติ

เป็นชาวจังหวัดสมุทรสาคร จบการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สพบ.)[4] รับราชการเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. ตำแหน่งสุดท้ายเป็นรองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยี มธ.[1] เคยมีประสบการณ์เป็นกรรมการองค์กรกลางการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นกรรมการและเลขานุการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) เมื่อ พ.ศ. 2540–2545[1]

นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์สมชัย ยังเป็นเจ้าของตำรา ‘คู่มือความสามารถทั่วไป สอบบรรจุเข้าเป็นราชการพลเรือน ก.พ.’ และเปิดบรรยายติวสอบภาค ก. เพื่อรับราชการท้องถิ่น เกี่ยวกับ กม. 11 ฉบับ นับแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย   พรบ.การบริหารราชการแผ่นดิน พรบ.ท้องถิ่น ต่าง ไปจนถึง ระเบียบงานสารบรรณ[5]

ประวัติการศึกษา

ประสบการณ์การทำงาน

พ.ศ. 2553 ที่ปรึกษาการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

พ.ศ. 2553 ที่ปรึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พ.ศ. 2553 ที่ปรึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ข้าว ในส่วนการตลาดภายในประเทศ และการบริหารจัดการขนส่งและบริการ (Logistics) กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

พ.ศ. 2552–2553 ที่ปรึกษาในการจัดการให้มีกระบวนการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชุดที่ 3

พ.ศ. 2552 ที่ปรึกษาในการจัดระบบการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชุดที่ 3 โดยทำหน้าที่จัดเวทีสาธารณะในพื้นที่ต่าง ๆ 9 เวที ใน 9 จังหวัด กระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ

พ.ศ. 2550 กรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

พ.ศ. 2550 หัวหน้าทีมที่ปรึกษาในการประเมินผลการทำงานของกองทุนในสังกัดกระทรวงการคลัง จำนวน 5 กองทุน ได้แก่ กองทุนคุ้มครองเด็ก กองทุนผู้สูงอายุ  กองทุนแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการครู กองทุนรวมแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร และกองทุนแก้ไขปัญหาราคาอ้อยและน้ำตาล

พ.ศ. 2550 ที่ปรึกษาการประเมินผลการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ในการบริหาร  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

พ.ศ. 2548–2553 ที่ปรึกษาการวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) แผนบริหารการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) แผนจัดการความรู้ (KM.) แผนพัฒนาคุณภาพการบริหารการจัดการ (PMQA) และ การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและตัวชี้วัดผลสำเร็จในการทำงาน (KPIs.) สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พ.ศ. 2548 ที่ปรึกษาด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กระทรวงแรงงาน

พ.ศ. 2548 ที่ปรึกษาการวางแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี วุฒิสภา

พ.ศ. 2547–2548 ที่ปรึกษาการทำแผนข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) จังหวัดสมุทรสาคร

พ.ศ. 2547–2548 ที่ปรึกษาการวางแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนใต้ 4 จังหวัด (สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์)

พ.ศ. 2547–2548 หัวหน้าทีมที่ปรึกษาในการประเมินการทำงานตามยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทย ในนามของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) และบริษัท TRIS

พ.ศ. 2547 หัวหน้าทีมที่ปรึกษา การประเมินผลการปฏิบัติงานผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ 2 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา สตูล) บริษัท Thai Rating and Information Services (TRIS)

พ.ศ. 2545 หัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านมวลชนสัมพันธ์  โครงการเส้นทางลัดสู่ภาคใต้ (แหลมผักเบี้ย) โดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน 4 จังหวัด คือ นครปฐม สมุทรสาคร  สมุทรสงคราม และเพชรบุรี จำนวน 60 เวที

พ.ศ. 2561 สมชัยถูกถอดจากตำแหน่ง กกต. ด้วยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

ความเห็นทางการเมือง

หลัง คสช. มีประกาศให้เลื่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้ปกครองท้องถิ่น สมชัยเห็นว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นจะกลับมาเป็นปกติเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เขากล่าวว่าการหาบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ คสช. กำหนดจะไม่เป็นปัญหา และ กกต. พร้อมมีส่วนในกระบวนการสรรหา[7]

สมชัยกล่าวในคำแถลงซึ่งชี้ความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในประเทศไทยและประเทศสกอตแลนด์ในคราวร่วมสังเกตการณ์การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557 ว่า "ผู้สนับสนุนเอกราชของสกอตแลนด์และผู้คัดค้านเป็นมิตรต่อกัน ต่างฝ่ายต่อสู้ด้วยเหตุผล ไม่มีความรุนแรง"[8]

สมชัยแสดงความเห็นเกี่ยวกับการขายเสื้อรณรงค์ไม่รับรัฐธรรมนูญว่าอาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61 (1) ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดไม่เกิน 5 ปีด้วยก็ได้[9]

สมชัยกล่าวต่ออีกว่า ส่วนมาตรา 56 ของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. … ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการใด ๆ เพื่อเป็นการให้คุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง กรณีนี้ คสช. ไม่ได้มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ไม่ใช่ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานของรัฐ) แต่ คสช. สามารถใช้อำนาจหน้าที่ผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้อำนาจดังกล่าวที่อาจเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง และมาตรา 169 (4) ของรัฐธรรมนูญ กำหนดว่า คณะรัฐมนตรีต้องไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดอันอาจมีผลต่อการเลือกตั้ง กรณีนี้เป็นการบังคับในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง ดังนั้น คสช. ที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการดำเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลต่อการเลือกตั้ง[10]

ต่อมา สมชัยได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่าได้เตรียมเข้าไปสมัครเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 14.00 น. และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จังหวัดสมุทรสาคร ในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในวันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 19.30 น. ก่อนวันประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ประกาศเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ และมีมติสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัย สมชัย ศรีสุทธิยากรได้โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว ประกาศลาออกจากสมาชิกพรรค โดยกล่าวว่า

ขอบคุณ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยให้โอกาสลงรับสมัครเลือกตั้ง และให้การสนับสนุนต่าง ๆ ทำให้มีประสบการณ์ที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย แต่เมื่อแนวทางอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน คงขออนุญาตที่จะลาออกจากสมาชิกพรรคครับ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 สมชัยได้เริ่มเขียนนิยายสั้นล้อเลียนการเมืองเผยแพร่ในเฟซบุ๊กส่วนตัว และแฟนเพจที่ลิงก์กับเฟซบุ๊กส่วนตัว ใช้ชื่อว่า "สามก๊กฉบับชาติวิบัติ" โดยมีการประยุกต์เอาสำนวนของวรรณกรรมสามก๊ก ตลอดจนวรรณกรรมอื่น ๆ มาเขียนโดยล้อกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน โดยได้มีการรวมเล่มพิมพ์ออกจำหน่ายแล้ว 2 เล่ม[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูล

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง