สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร

พระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร

สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร หรือ พระนามเดิม คามิลลา โรสแมรี แชนด์ หรือเป็นที่รู้จักในพระนาม คามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ เป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: Camilla Rosemary Shand, Camilla Parker Bowles; 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2490)

คามิลลา
พระฉายาลักษณ์ทางการ พ.ศ. 2563
สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร
และเครือจักรภพ
ดำรงพระยศ8 กันยายน พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน
(1 ปี 232 วัน)
ราชาภิเษก6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าฟิลิป
(พระราชสวามี)
พระราชสมภพ17 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
ลอนดอน อังกฤษ สหราชอาณาจักร
คามิลลา โรสแมรี แชนด์
คู่อภิเษกแอนดรูว์ พาร์กเกอร์-โบลส์ (2516–2538)
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (2548–ปัจจุบัน)
พระบุตรทอม พาร์กเกอร์-โบลส์
ลอรา โลปส์
ราชวงศ์ราชวงศ์วินด์เซอร์ (เสกสมรส)
พระราชบิดาบรูซ แชนด์
พระราชมารดาโรซาลินด์ แชนด์

สมเด็จพระราชินีเสด็จพระราชสมภพที่อีสต์ซัสเซ็กซ์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ทรงเป็นธิดาของนายบรูซ ชานด์และนางโรซาลินด์ ชานด์ (สกุลเดิม คิวบิต) พระราชมารดาของพระองค์เป็นธิดาของโรแลนด์ คิวบิตที่ 3 บารอนแห่งอาซท์คอมบี้ และเติบโตขึ้นมาในชนชั้นสูงของอังกฤษ ใน พ.ศ. 2516 พระองค์ทรงสมรสกับทหารในกองทัพอังกฤษชื่อแอนดรูว์ พาร์กเกอร์-โบลส์ ทั้งคู่มีบุตรสองคน ก่อนหย่าร้างใน พ.ศ. 2538

ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์

ความสัมพันธ์ของคามิลลาและเจ้าชายชาลส์ (พระอิสริยยศขณะนั้น) ตกเป็นข่าวดังขึ้น ในที่สุดแคลเรนซ์เฮาส์ประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ว่าเจ้าชายชาลส์และคามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ จะอภิเษกสมรสในวันที่ 8 เมษายน ปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 การอภิเษกสมรสต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 เมษายน แทนเพราะเจ้าชายชาลส์ต้องเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระศพ

หลังจากอภิเษกสมรสคามิลลาดำรงพระอิสริยยศเป็น ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (Her Royal Highness the Duchess of Cornwall) และเป็นพระวิมาดาของเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ และเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ พระโอรสทั้ง 2 พระองค์ของพระสวามีกับไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ อดีตพระชายา

สมเด็จพระราชินี

วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต ทำให้เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระสวามี ทรงสืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และคามิลลาทรงกลายเป็นสมเด็จพระราชินี (Queen Consort) [1] วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565 ทรงเข้าร่วมพิธีการประกาศสืบราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 โดยทรงเป็นสักขีพยานในพิธีร่วมกับ เจ้าชายวิลเลียม[2]

หลังทรงดำรงพระอิสริยยศแล้ว สมเด็จพระราชินีมีพระราชเสาวนีย์ ทรงแทนที่ตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ ด้วยตำแหน่งที่ทันสมัยและเป็นทางการน้อยกว่า คือ สหายราชินี[3]

สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา พร้อมด้วย ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา ในการเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งแรกในรัชกาล

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 สมเด็จพระราชินีคามิลลา โดยเสด็จสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ในการเสด็จเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการเสด็จเยือนครั้บแรกในฐานะพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีของทั้งสองพระองค์[4] ในตอนต้นนั้น จะเสด็จเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสก่อนจะเสด็จไปเยอรมนี แต่ได้ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนกันยายนปีเดียวกัน เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบกรณีการปฏิรูประบบบำนาญในฝรั่งเศส[5]

พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา จัดขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้รับการสวมพระมหามงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือโดยสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี[6]

ฐานันดรและพระราชอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชินีคามิลลา
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHer Majesty (ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การขานรับYour Majesty (พระเจ้าข้า/เพคะ)
ลำดับโปเจียม1 (ฝ่ายใน)

พระอิสริยยศ

  • 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2516: นางสาวคามิลลา โรสแมรี แชนด์ (Miss Camilla Rosemary Shand)
  • 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2538: นางแอนดรูว์ พาร์กเกอร์ โบลส์ (Mrs Andrew Parker Bowles)
  • 3 มีนาคม พ.ศ. 2538 – 9 เมษายน พ.ศ. 2548: นางคามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ (Mrs Camilla Parker Bowles)
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2548 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565: เฮอร์รอยัลไฮเนส ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (Her Royal Highness The Duchess of Cornwall)
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2564 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565: เฮอร์รอยัลไฮเนส ดัชเชสแห่งเอดินบะระ (Her Royal Highness The Duchess of Edinburgh)
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2565 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566: เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินี พระอัครมเหสี (Her Majesty The Queen Consort)
  • 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน: เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินี (Her Majesty The Queen)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในเครือจักรภพ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

หมายเหตุ

ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักรถัดไป
เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ
ในฐานะเจ้าชายพระราชสวามี
คู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
(8 กันยายน 2565 – ปัจจุบัน)

ยังดำรงตำแหน่ง
ไม่มี ลำดับโปเจียม (ฝ่ายใน)
แห่งสหราชอาณาจักร

เจ้าหญิงแห่งเวลส์
ไดอานา สเปนเซอร์
เจ้าหญิงแห่งเวลส์
แคเธอรีน มิดเดิลตัน
ไดอานา สเปนเซอร์
ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์
ใน เจ้าชายชาลส์ ดยุกแห่งคอร์นวอลล์

แคเธอรีน มิดเดิลตัน
ไดอานา สเปนเซอร์
ดัชเชสแห่งรอธเซย์
ใน เจ้าชายชาลส์ ดยุกแห่งรอธเซย์

แคเธอรีน มิดเดิลตัน


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง