สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและประมุขของ 14 รัฐในเครือจักรภพ

สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 (อังกฤษ: Charles III) พระนามเต็ม ชาลส์ ฟิลิป อาร์เทอร์ จอร์จ (Charles Philip Arthur George; พระราชสมภพ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรและอีก 14 ประเทศเครือจักรภพ[หมายเหตุ 1]

สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
ประมุขเเห่งเครือจักรภพ
พระบรมฉายาลักษณ์ใน ค.ศ. 2023
พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
และเครือจักรภพ[หมายเหตุ 1]
ครองราชย์8 กันยายน พ.ศ. 2565  – ปัจจุบัน
(1 ปี 234 วัน)
ราชาภิเษก6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าเอลิซาเบธที่ 2
รัชทายาทเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์
พระราชสมภพ (1948-11-14) 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948 (75 ปี)
พระราชวังบักกิงแฮม ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เจ้าชายชาลส์แห่งเอดินบะระ
ชายา
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
ชาลส์ ฟิลิป อาร์เทอร์ จอร์จ[หมายเหตุ 2]
ราชวงศ์วินด์เซอร์[1]
พระราชบิดาเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ศาสนาโปรเตสแตนต์[หมายเหตุ 3]
การศึกษาGordonstoun School
ศิษย์เก่าทรินิตีคอลเลจ (MA)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สหราชอาณาจักร
แผนก/สังกัด
ปีที่รับใช้1971–1976
ชั้นยศรายการ
บังคับบัญชาเอชเอ็มเอส Bronington

ชาลส์เสด็จพระราชสมภพในพระราชวังบักกิงแฮมในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระอัยกา และกลายเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชมารดา ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1952

ชาลส์เสด็จขึ้นครองราชย์หลังพระราชมารดาเสด็จสวรรคตในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 ด้วยพระชนมพรรษา 73 พรรษา พระองค์เป็นรัชทายาทที่ดำรงพระยศองค์รัชทายาทยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังเป็นรัชทายาทที่พระชนมายุมากที่สุดที่สืบราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร พระราชพิธีราชาภิเษกจัดขึ้นที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2023

พระชนม์ชีพช่วงต้น

พิธีบัพติศมาชาลส์ (กลาง สวมเสื้อคลุมสำหรับพิธีบัพติศมา) ใน ค.ศ. 1948: (จากซ้ายไปขวา) สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระอัยกา; เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระราชมารดาที่อุ้มพระองค์; ฟิลิป พระราชบิดา และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระอัยยิกา

ชาลส์เสด็จพระราชสมภพเวลา 21:14 น. (เวลามาตรฐานกรีนิช) ของวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948[2] ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 โดยเป็นพระราชบุตรองค์แรกในเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ (ภายหลังเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2) กับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ[3] พระราชบิดามารดาให้กำเนิดพระราชโอรสธิดาอีก 3 พระองค์ คือ แอนน์ (ประสูติ ค.ศ. 1950), แอนดรูว์ (ประสูติ ค.ศ. 1960) และเอ็ดเวิร์ด (ประสูติ ค.ศ. 1964) จากนั้นในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1948 ชาลส์ตอนพระชนมบรรษา 4 สัปดาห์ ได้รับบัพติศมาเป็น ชาลส์ ฟิลิป อาร์เทอร์ จอร์จ ในห้องดนตรี พระราชวังบักกิงแฮมโดย Geoffrey Fisher อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี[หมายเหตุ 4][หมายเหตุ 5][7][8]

จอร์จที่ 6 สวรรคตในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และพระราชมารดาของชาลส์ขึ้นครองราชย์เป็นเอลิซาเบธที่ 2 ชาลส์จึงกลายเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงทันที พระองค์ได้รับตำแหน่งดยุคแห่งคอร์นวอลล์อัตโนมัติ ตามกฎบัตรของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษใน ค.ศ. 1337 และในฐานะพระราชโอรสองค์โตของกษัตริย์ และตำแหน่งดยุกแห่งรอธซี เอิร์ลแห่งคาร์ริก บารอนแห่งเรนฟรูว, ลอร์ดออฟดิไอลส์ และเจ้าชายและเกรตสจวตแห่งสกอตแลนด์ที่เป็นตำแหน่งฝ่ายสกอต[9] ต่อมา ในวันที่ 2 ของปีถัดมา ชาลส์เข้าร่วมพิธีราชาภิเษกองพระราชมารดาที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์[10] โดยพระองค์ทรงประทับนั่งระหว่างสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี พระอัยยิกา (ยาย) และเจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน พระมาตุจฉา (น้า) และพระมารดาทูนหัวของพระองค์

การศึกษา

โดยปกติแล้วพระราชวงศ์ที่มีพระชนม์ระหว่าง 5 – 8 ปีนั้นจะได้รับการศึกษาส่วนพระองค์ที่พระอาจารย์เข้ามาจัดการสอนถวายที่พระราชวังบักกิงแฮม หากแต่เจ้าชายเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรก (และรัชทายาทของอังกฤษพระองค์แรก) ที่เสด็จเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียน โดยทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนฮิลล์ เฮาส์ในเมืองลอนดอน และต่อมาที่โรงเรียนเตรียมความพร้อมด้านวิชาเคมีในเมืองเบิร์คแชร์ ซึ่งเจ้าชายฟิลิปพระบิดาของพระองค์ได้เสด็จเข้าศึกษาด้วยเช่นกัน ต่อมาพระองค์ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกอร์ดอนสตันในประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งนั่นทำให้พระองค์เป็นรัชทายาทพระองค์แรกๆ ที่เข้าศึกษาในระดับโรงเรียนมัธยมทั่วไป พระองค์ทรงนิยามการเรียนที่นั่นว่า "คำสั่งกักกัน" และมีความทรงจำที่เลวร้ายมากในการเรียนผ่านลายพระราชหัตถ์ถึงครอบครัวหลายฉบับ[11] [12]

พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในภาคศิลปศาสตรบัณฑิต[13] นอกจากนี้พระองค์ทรงยังเข้ารับการศึกษาภาษาเวลส์ที่มหาวิทยาลัยอาเบอริสต์วิธ ในเวลส์เป็นเวลาหนึ่งภาคการศึกษา[14]

เจ้าชายแห่งเวลส์

ชาลส์ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์และเอิร์ลแห่งเชสเตอร์ในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1958[15]

เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยทรงก่อตั้งองค์การการกุศลเยาวชน ปรินส์ทรัสต์ ในปี 1976 ทรงสนับสนุนปรินส์ชาริตี และทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ประธานหรือสมาชิกขององค์การการกุศลและองค์การอื่นอีกกว่า 400 แห่ง พระองค์ทรงเรียกร้องให้อนุรักษ์สิ่งก่อสร้างประวัติศาสตร์และความสำคัญของสถาปัตยกรรมในสังคม[16] ทรงพระราชนิพนธ์หรือร่วมทรงพระราชนิพนธ์หนังสือกว่า 20 เล่ม พระองค์ทรงสนับสนุนการเกษตรออร์แกนิกและการปฏิบัติเพื่อยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระหว่างเป็นผู้จัดการที่ดินกรรมสิทธิ์ดัชชีคอร์นวอล ทำให้ทรงได้รับรางวัลและการยกย่องจากกลุ่มสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่ม[17] พระองค์ทรงวิจารณ์อาหารดัดแปรพันธุกรรม ทรงสนับสนุนโฮมีโอพาธีและการแพทย์ทางเลือกอื่นซึ่งทำให้ได้รับกระแสวิจารณ์ ปรินส์ฟาวน์เดชัน ซึ่งเป็นหน่วยงานการกุศลหนึ่งของพระองค์ ตกเป็นเป้าวิจารณ์เนื่องจากมีการกล่าวหาว่ามีการมอบเกียรติยศและสัญชาติบริติชให้แก่ผู้บริจาค ซึ่งปัจจุบันตำรวจกำลังสอบสวนอยู่

ความสัมพันธ์และเสกสมรส

เสกสมรส

ครอบครัวสเปนเซอร์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอยเมย์ซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีเอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับเลดีซาราห์พี่สาวของเลดีไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร และเมื่อเจ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงเสกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่ต้องนับถือคริสตจักรแห่งอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำให้พระองค์เสกสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ด้วย อีกทั้งการที่สมเด็จพระราชชนนีมีพระราชประสงค์จะให้พระองค์เองกับเลดีฟรอมเมย์ได้เป็น "ทองแผ่นเดียวกัน" เจ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมตามพระทัย และพยายามทำพระองค์ให้คิดว่าไดอานานี้แหละ คือสุดยอดผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์ และเป็นผู้หญิงที่พระองค์รัก

สำนักพระราชวังประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981 ว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นที่อาสนวิหารนักบุญเปาโล กรุงลอนดอน ในวันที่ 29 กรกฎาคม ปีเดียวกัน แขกจำนวน 3,500 คนถูกเชิญมาในขณะที่ผู้ชมนับพันล้านคนทั่วโลกเฝ้ารอดูพระราชพิธี

หลังการอภิเษกสมรสไดอานาได้รับยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์นอกจากนี้ ไดอานายังเป็นสตรีสามัญชนคนแรกที่เสกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ และได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ด้วย

หย่าร้าง

ชาลส์และคามิลลาในการเปิดรัฐสภาเวลส์ คาร์ดิฟฟ์ ใน ค.ศ. 2011 ภาพทางการ

เหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคน ในระยะแรกเจ้าหญิงไม่สามารถทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตของความเป็นเจ้าหญิงได้ และทรงทุกข์ทรมานจากพระโรคบูลิเมีย (น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว) หลังจากหายจากพระโรค เจ้าหญิงได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายวิลเลียม หลังจากนั้นอีก 2 ปี พระองค์ได้มีพระประสูติกาลอีกครั้ง เจ้าชายแฮร์รี ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับเจ้าชายชาลส์มาก เนื่องจากพระองค์ทรงหวังว่าพระองค์น่าจะได้พระธิดาจากการประสูติกาลครั้งที่ 2 นี้ เนื่องจากโปรดลูกสาวของคามิลลามากอีกทั้งยังมีข่าวลือว่า แท้จริงแล้วเจ้าชายแฮร์รีอาจไม่ใช่พระโอรสของพระองค์ รายงานข่าวส่วนหนึ่งเชื่อว่าทั้งสองพระองค์เริ่มแยกกันอยู่หลังจากการเสกสมรสเพียง 5 ปี บางคนเชื่อว่าเนื่องจากเจ้าชายชาลส์ไม่สามารถทนได้ที่พระชายาได้รับความชื่นชมมากกว่าพระองค์ (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของเจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ภาระทั้งหมดกลับตกไปที่ไดอานาในฐานะที่ควรจะ "ทรงทนให้ได้" เจ้าหญิงพยายามอย่างยิ่งที่จะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับชาลส์ไว้ให้นานที่สุด แต่ไม่เป็นผล สื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าชายชาลส์กับคามิลลาอย่างครึกโครม รวมทั้งประโคมข่าวระหว่างเจ้าหญิงกับผู้ชายอีกหลายคน นั่นทำให้ทั้งสองพระองค์คิดว่า เรื่องราวทั้งหมดควรจะจบลงเสียที ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า "สงครามแห่งเวลส์" (War of Waleses)

อภิเษกสมรสครั้งที่สอง

คลาเรนซ์เฮ้าส์ประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 ว่าเจ้าชายชาลส์และคามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ จะเสกสมรสกันในวันที่ 8 เมษายน ปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 การเสกสมรสต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 เมษายน แทนเพราะเจ้าชายชาลส์ต้องเสด็จฯ ไปในการพระศพ

รวมทั้งได้มีการประกาศเพิ่มเติมด้วยว่าหลังจากเสกสมรสแล้ว คามิลลาจะดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (Her Royal Highness The Duchess of Cornwall) และหลังจากชาลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ จะดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงพระชายา (Her Royal Highness The Princess Consort) เชื่อกันว่าเนื่องจากอ้างอิงตามพระอิสริยยศของเจ้าชายอัลเบิร์ตพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายพระราชสวามี (His Royal Highness The Prince Consort)

ต่อมาในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงมีแถลงการณ์ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปีของสมเด็จพระราชินีนาถใจความว่า คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์จะทรงเป็นที่รู้จักในฐานะสมเด็จพระราชินี

กระทั่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคตเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 เจ้าชายชาลส์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ทำให้ คามิลลา ทรงขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร

พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร

พระราชดำรัสแก่รัฐสภาสกอตแลนด์ในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 2022 หลังพระราชพิธีราชาภิเษก 5 วัน

หลังการสวรรคตของพระราชมารดาในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 เจ้าชายชาลส์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 โดยพระองค์เป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในสหราชอาณาจักร แซงหน้าสถิติของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ที่ 59 ปีในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2011[18] พระองค์ยังขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตอนพระชนมพรรษา 73 พรรษา ทำให้เป็นบุคคลที่แก่ที่สุด แซงหน้าสถิติก่อนหน้าของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ที่ขึ้นครองราชย์ตอนพระชนมพรรษา 64 พรรษาใน ค.ศ. 1830[19]

ชาลส์และคามิลลาหลังพิธีราชาภิเษก

พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 กับคามิลลาจัดขึ้นในเวสตืมินสเตอร์แอบบีย์ในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2023[20] โดยมีการวางแผนมาหลายปีภายใต้ชื่อรหัส ปฏิบัติการลูกโลกทองคำ (Operation Golden Orb)[21][22] หลายรายงานก่อนพิธีราชาภิเษกเสนอแนะพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าชาลส์จะเรียบง่ายกว่าของพระราชมารดาใน ค.ศ. 1953[23]

ในช่วงปลายเดือนมกราคมปีถัดมา พระองค์ทรงเข้ารับการรักษาพระอาการประชวรต่อมลูกหมากโตที่คลินิกลอนดอน[24] ไม่กี่วันต่อมาสำนักพระราชวังได้ประกาศว่าพระองค์ได้รับการวินิจฉัยว่าทรงพระประชวรด้วยพระโรคมะเร็ง ทั้งนี้ คณะแพทย์ได้ถวายคำแนะนำให้งดพระราชกรณียกิจในการทรงเยี่ยมประชาชนออกไปก่อน และสมเด็จพระราชินีกับเจ้าชายแห่งเวลส์จะปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในช่วงเวลาดังกล่าว อนึ่ง สื่ออังกฤษระบุว่าพระโรคดังกล่าวมิใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก[25]

ที่ประทับและพระราชทรัพย์

ใน ค.ศ. 2023 เดอะการ์เดียน ประมาณการทรัพย์สินส่วนพระองค์ไว้ที่e 1.8 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง[26] จำนวนประมาณการนี้รวมสินทรัพย์ของดัชชีแลงแคสเตอร์ที่มีค่า 653 ล้านปอนด์ อัญมณีรวม 533 ล้านปอนด์ อสังหาริมทรัพย์ 330 ล้านปอนด์ ส่วนแบ่งและการลงทุน 142 ล้านปอนด์ ชุดสะสมแสตมป์มีค่าอย่างน้อย 100 ล้านปอนด์, ม้าแข่ง 27 ล้านปอนด์ ผลงานศิลปะ 24 ล้านปอนด์ และรถยนต์พระที่นั่ง 6.3 ล้านปอนด์[26] ทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่ชาลส์ได้รับจากพระราชมารดาได้รับการยกเว้นภาษีมรดก[26][27]

พระตำหนักแคลเรนซ์ ที่ประทับในลอนดอนของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ตั้งแต่ ค.ศ. 2003

พระตำหนักแคลเรนซ์ ซึ่งเคยเป็ยที่ประทับของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี เป็นที่ประทับในลอนดอนของสมเด็จพระเจ้าชาลส์อย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 2003 หลังบูรณะด้วยค่าใช้จ่ายถึง 4.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง[28][29]

พระบรมราชอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHis Majesty (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การขานรับYour Majesty (พระเจ้าข้า/เพคะ)
ลำดับโปเจียม1

พระยศ

ชาร์ลมีพระราชอิสริยยศจำนวนมากทั้งในเครือจักรภพ โดยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งในประเทศและทั่วโลก[30][31][32][33][34] ในแต่ละดินแดนที่พระองค์เป็นประมุข พระิสรริยยศของพระองค์เป็นไปตามนี้: พระมหากษัตริย์แห่งเซนต์ลูเชียและดินแดนอื่น ๆ ของพระองค์ (King of Saint Lucia and of His other Realms and Territories) ในเซนต์ลูเชีย พระมหากษัตริย์แห่งออสเตรเลียและดินแดนอื่น ๆ ของพระองค์ (King of Australia and His other Realms and Territories) ในออสเตรเลีย ฯลฯ ส่วนในไอล์ออฟแมนที่เป็นดินแดนภายใต้อธิปไตย พระองค์เป็นที่รู้จักในฐานะลอร์ดแห่งแมน

มีการคาดการณ์ตลอดช่วงรัชสมัยเอลิซาเบธที่ 2 ว่าชาลส์จะเลือกพระนามรัชสมัยใดในช่วงขึ้นครองราชย์ พระองค์อาจขึ้นครองราชย์เป็น จอร์จที่ 7 หรือใช้พระนามหนึ่งในนั้นแทน ชาลส์ที่ 3[35] มีรายงานว่าพระองค์อาจใช้พระนามจอร์จเพื่ออุทิศแด่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระอัยกา และเพื่อหลีกเลี่ยงความเกี่ยวโยงกับพระมหากษัตริย์ที่มีข้อขัดแย้งองค์ก่อนหน้าที่มีพระนามชาลส์[หมายเหตุ 6][36][37] ราชสำนักของชาลส์ยืนยันไว้ใน ค.ศ. 2005 ว่ายังไม่มีการตัดสินพระทัยอีก[38] การคาดการณ์ยังคงมีต่อไปไม่กี่ชั่วโมงหลังการสวรรคตของพระราชมารดา[39] จนกระทั่งลิซ ทรัสส์ประกาศไว้และทางพระตำหนักแคลเรนซ์ยืนยันว่าชาลส์จะใช้พระนามรัชสมัยเป็น ชาลส์ที่ 3[40][41]

  • 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายชาร์ลส์แห่งเอดินบะระ (His Royal Highness Prince Charles of Edinburgh)
  • 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 – 8 กันยายน ค.ศ. 2022: ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (His Royal Highness The Duke of Cornwall)
    • ในสกอตแลนด์: 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 – 8 กันยายน ค.ศ. 2022: ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งรอธซี (His Royal Highness The Duke of Rothesay)
  • 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1958 – 8 กันยายน ค.ศ. 2022: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายแห่งเวลส์ (His Royal Highness The Prince of Wales)
    • ในสกอตแลนด์: ค.ศ. 2000 – 2001: พระกรุณา ข้าหลวงพระองค์ใหญ่แห่งสมัชชาใหญ่แห่งคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์
  • 8 กันยายน ค.ศ. 2022 – ปัจจุบัน: ฮิสมาเจสตี สมเด็จพระราชาธิบดี (His Majesty The King)

ตราอาร์ม

ตราอาร์มเจ้าชายแห่งเวลส์ (1958–2022)ตราอาร์มกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรตราอาร์มกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรสำหรับใช้ในสกอตแลนด์ตราอาร์มกษัตริย์แห่งแคนาดา

พระราชโอรส

พระนามประสูติสมรสพระโอรสธิดา
วันที่พระมเหสี
เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (1982-06-21) 21 มิถุนายน ค.ศ. 1982 (41 ปี)29 เมษายน ค.ศ. 2011แคเธอริน มิดเดิลตันเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์
เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์
เจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์
เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ (1984-09-15) 15 กันยายน ค.ศ. 1984 (39 ปี)19 พฤษภาคม ค.ศ. 2018เมแกน มาร์เคิล

พงศาวลี

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรถัดไป
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
และราชอาณาจักรเครือจักรภพ

(8 กันยายน พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน)
สมเด็จพระราชินีคามิลลา
ไม่มี (พระองค์แรก) ลำดับโปเจียม (ฝ่ายหน้า)
เจ้าชายแห่งเวลส์
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์
(พ.ศ. 2501–2565)
เจ้าชายวิลเลียม
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งคอร์นวอลล์
ดยุกแห่งรอธซี

(พ.ศ. 2495–2565)
เจ้าชายวิลเลียม
เอิร์ลเมานต์แบ็ทแตนแห่งพม่า ประธานสหวิทยาลัยโลก
(พ.ศ. 2521–2538)
สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง