สิบสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่

สิบสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่ (จีน: 十大建筑; อังกฤษ: Ten Great Buildings) คือโครงการก่อสร้างอาคารสาธารณะ 10 แห่งในกรุงปักกิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2502 เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มนโยบายก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าของเหมา เจ๋อตง อาคารส่วนใหญ่สร้างเสร็จในช่วงระยะเวลา 10 เดือนก่อนถึงกำหนดเส้นตาย คือ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2502

อาคารมหาศาลาประชาชน

อาคารเหล่านี้ได้รับการออกแบบโดยสมาชิกของสถาบันออกแบบสถาปัตยกรรมปักกิ่ง โดยทำงานร่วมกับสำนักวางแผนปักกิ่งและกระทรวงการก่อสร้าง [1] สถาปนิกใช้การผสมผสานอย่างลงตัวของรูปแบบพื้นฐาน 3 รูปแบบ ได้แก่ ความทันสมัย สถาปัตยกรรมสากล และสัจนิยมสังคมนิยมที่แสดงออกมาในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสตาลิน และประวัติศาสตร์นิยม ที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมจีนดั้งเดิม

อาคารใหม่ขนาดใหญ่เหล่านี้สร้างขึ้นอย่างใหญ่โต พร้อมกับมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ทันสมัย ซึ่งช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ "จีนใหม่" ของเหมา เจ๋อตง

พระราชวังวัฒนธรรมแห่งชาติ

อาคาร

สนามกีฬาผู้ใช้แรงงาน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
สถานีรถไฟปักกิ่ง

อาคารทั้ง 10 แห่ง ได้แก่:[2][3]

  • มหาศาลาประชาชน – ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นที่ตั้งของสภานิติบัญญัติของจีน สภาประชาชนแห่งชาติ และใช้สำหรับพิธีการอื่น ๆ
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน – เดิมรู้จักกันในชื่อพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การปฏิวัติจีน ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของจัตุรัสเทียนอันเหมิน[4]
  • พระราชวังวัฒนธรรมแห่งชาติ – ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของถนนฉางอานตะวันตก เป็นอาคารสูงขนาดกลางที่ผสมผสานองค์ประกอบการออกแบบของจีนดั้งเดิม ได้รับรางวัลมากมายในฐานะตัวอย่างการออกแบบสไตล์จีนสมัยใหม่[5]
  • สถานีรถไฟปักกิ่ง – ออกแบบโดยสถาปนิก หยาง ติงเป่า และเฉิน เติ้งอ้าว เป็นสถานีรถไฟที่ทันสมัยที่สุดในประเทศจีนในช่วงเวลาของการก่อสร้าง[6] นับตั้งแต่มีการก่อสร้าง ก็ทำหน้าที่เป็นสถานีรถไฟที่บริการทั้งภายในและระหว่างประเทศจำนวนมาก รวมถึงบริการไปยังมอสโก อูลานบาตอร์ และเปียงยาง[7] สร้างขึ้นเพื่อแทนที่สถานีรถไฟปักกิ่งเดิมที่เฉียนเหมิน ใกล้จัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2444[8]
  • สนามกีฬาผู้ใช้แรงงาน – เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ ได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2547 และปัจจุบันมีความจุ 66,161 ที่นั่ง และใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน[9]
  • หอนิทรรศการเกษตรแห่งชาติ – นายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ดูแลการวางแผนของอาคารหลังนี้ ถูกใช้งานครั้งแรกในปี 2502 เพื่อจัดแสดงนิทรรศการความสำเร็จด้านการเกษตรแห่งชาติครบรอบ 10 ปี [10]
  • เตี้ยวหยูไท่ สเตท เกสต์เฮาส์ – เป็นคอมเพล็กซ์โรงแรมและเกสต์เฮาส์ สร้างขึ้นบนพื้นที่ของสวนอายุ 800 ปีที่ย้อนกลับไปในราชวงศ์จิน อาคารนี้รวมเอาองค์ประกอบการออกแบบของสถาปัตยกรรมสวนจีนแบบดั้งเดิม[11][12] เดิมทีสงวนไว้สำหรับแขกและเจ้าหน้าที่ของพรรค (ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ เจียง ชิง ภริยาของประธานเหมา) ปัจจุบันเกสต์เฮาส์เปิดให้สาธารณชนเข้าชม
  • โรงแรมหมินซู – ตั้งอยู่บนถนนฉางอานฝั่งตะวันตก ใช้สำหรับเป็นที่จัดการประชุมคณะผู้แทนต่างประเทศจำนวนมากและมักใช้สำหรับการแถลงข่าว[13]
  • โรงแรมชาวจีนโพ้นทะเล –อาคารเดิมได้ถูกทำลายไปในปี 2533[14] อาคารใหม่บนพื้นที่เดิมได้เป็นส่วนหนึ่งของเครือ Prime Hotel แล้ว[15]
  • พิพิธภัณฑ์ทหารแห่งการปฏิวัติประชาชนจีน – ตั้งอยู่บนถนนฟู่ซิง เป็นพิพิธภัณฑ์สงครามขนาดใหญ่และครบวงจรเพียงหนึ่งเดียวในจีน การจัดแสดงมุ่งเน้นไปที่สงครามในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะสงครามกลางเมืองจีน แต่ยังครอบคลุมถึงสงครามอาวุธโบราณ และสมัยใหม่อื่นๆ[16]

สถาปัตยกรรม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง