สุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

ปรากฏการณ์สุริยุปราคาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคำนวณปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้ล่วงหน้าถึง2ปี[1] และเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนี้กับราชอาคันตุกะยังบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนได้ชื่อว่า "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ส่วนประชาคมดาราศาสตร์สากลได้เรียกสุริยุปราคาในครั้งนี้ว่า "King of Siam's eclipse" (อุปราคาของพระเจ้ากรุงสยาม)[1] เหตุการณ์ดังกล่าวยังนำไปสู่การค้นพบธาตุฮีเลียม โดย ปีแยร์ ฌ็องซ็อง กัปตันบุลล็อกได้สเก็ตช์ลักษณะของโคโรนาของดวงอาทิตย์ ขณะสังเกตการณ์จากทะเลเซเลบีส[2]

สุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411
ภาพสเก็ตช์โคโรนาของดวงอาทิตย์โดยกัปตันบุลล็อก
แผนที่
ประเภท
แกมมา-0.0443
ความส่องสว่าง1.0756
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา6 นาที 45 วินาที
พิกัด10.6N 102.2E
ความกว้างของเงามืด245 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
บดบังมากที่สุด5:12:10
แหล่งอ้างอิง
แซรอส133
บัญชี # (SE5000)9207

การค้นพบฮีเลียม

นักดาราศาสตร์ ปีแยร์ ฌ็องซ็อง สังเกตสุริยุปราคาครั้งนี้จากคุนตูร์ รัฐไฮเดอราบัด อินเดียของอังกฤษ นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกนับตั้งแต่ทฤษฎีของกุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟซึ่งเสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2402 ว่า เส้นเฟราน์โฮเฟอร์ในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์มีความสัมพันธ์กับแถบเปล่งแสงของธาตุเคมีต่างชนิดที่มีอยู่ในดวงอาทิตย์ ฌ็องซ็องสังเกตการณ์สุริยุปราคาดังกล่าวด้วยสเปกโตรมิเตอร์ เขาสังเกตพบแถบสีเหลืองสว่าง (ความยาวคลื่น 587.49 นาโนเมตร) ในสเปกตรัมของเปลวสุริยะซึ่งไม่อาจเป็นธาตุโซเดียมอย่างที่เคยสันนิษฐานไว้เดิมได้ และในภายหลัง ก็สามารถสังเกตพบแถบเดิมโดยไม่จำเป็นต้องสังเกตในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาขึ้นก่อน ผลแบบเดียวกันยังถูกพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ นอร์แมน ล็อกเยอร์ และทั้งการสื่อสารของฌ็องซ็องและล็อกเยอร์ถูกนำเสนอไปยังสถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2411[3][4]

การคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การคำนวณสุริยุปราคาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ[5]

  1. คำนวณหาตำแหน่งของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ โดยใช้ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาในต่างประเทศ
  2. คำนวณเพื่อตรวจสอบว่า จะมีโอกาสเกิดอุปราคาได้หรือไม่
  3. คำนวณว่าการเกิดอุปราคาจะมีลักษณะอย่างไร จะเห็นได้ที่ไหน และเวลาเท่าไรถึงเท่าไรตามระบบเวลามาตรฐาน

พระองค์ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึงสองปี ว่าเส้นศูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ ตำบลหว้ากอ ตรงละติจูด 11 องศา 38 ลิปดาเหนือ และลองติจูด 99 องศา 39 ลิปดาตะวันออก สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นนานที่สุดอยู่ตรงเชิงเขาหลวง โดยที่พระองค์ทรงคำนวณขึ้นมาด้วยพระองค์เอง ไม่มีอยู่ในหลักฐานการคำนวณของหอดูดาวกรีนิซ[5] ฝ่ายการคำนวณของกรีนิซนั้นแสดงเฉพาะแนวศูนย์กลางของการพาดผ่านของเงามืดเพียงเส้นเดียว แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยากรณ์ว่าอุปราคานั้นจะเห็นมืดทั้งดวงตั้งแต่ชุมพรถึงปราณบุรี[5] นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งก็ได้ทำนายสุริยุปราคาคราวนี้ด้วยเช่นกัน แต่คำนวณผิดพลาดไป 2 นาที[6]

การตรวจสอบย้อนหลังด้วยคอมพิวเตอร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพร่วมกับเจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกต่างประเทศ

ค่ายหลวงหว้ากอ อยู่ในตำแหน่งใกล้กับเส้นกึ่งกลางของคราส โดยสูงค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย คราสเริ่มจับ (สัมผัสที่ 1) เวลา 10:32:23 น. จับหมดดวง (สัมผัสที่ 2) เวลา 12:00:31 น. กินลึกสุดเวลา 12:03:55 น. มุมเงยดวงอาทิตย์ 84.8° เริ่มคลายออก (สัมผัสที่ 3) เวลา 12:07:18 น. คลายหมดดวง (สัมผัสที่ 4) เวลา 13:35:13 น. ส่วนกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เห็นเป็นสุริยุปราคาชนิดบางส่วนโดยกินลึกถึง 96% เวลา 12:03:33 น. ตามเวลามาตรฐานประเทศไทยในปัจจุบัน [7]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง