องค์การระดับภูมิภาค

องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินการภายในภูมิภาคเฉพาะ

องค์การระดับภูมิภาค (อังกฤษ: regional organization: RO) ถือเป็นองค์การระหว่างประเทศ (IO) ในมิติหนึ่ง เนื่องจากองค์การเหล่านี้เกิดมาจากการรวมสมาชิกภาพในระดับนานาชาติและครอบคลุมไปถึงหน่วยงานทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่เหนือรัฐชาติรัฐใดรัฐหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเป็นสมาชิกขององค์การเหล่านี้มีคุณสมบัติและลักษณะที่บ่งบอกเขตหรือตามแนวการแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์ที่ถูกกำหนดเอาไว้อย่างเด่นชัด เช่น ทวีป หรือภูมิรัฐศาสตร์ เช่น กลุ่มเศรษฐกิจ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการบูรณาการทั้งในด้านของการเมืองและเศรษฐกิจ หรือการเจรจาระหว่างรัฐหรือหน่วยงานภายในขอบเขตทางภูมิศาสตร์หรือภูมิรัฐศาสตร์

องค์การที่มีการจัดกลุ่มเกือบทุกประเทศในทวีปของตน หมายเหตุ ตุรกีเป็นสมาชิกของทั้งสภายุโรป (CoE) และความร่วมมือเอเชีย (ACD) ดูเพิ่มเติมที่: องค์การระหว่างประเทศ
แผนภาพแสดงองค์การระดับภูมิภาคขนาดเล็กหลายแห่งที่มีสมาชิกไม่ทับซ้อนกัน
แผนภาพแสดงกลุ่มพันธมิตรขนาดใหญ่ที่ไม่ทับซ้อนกันหลายกลุ่ม สีพาสเทลบ่งบอกถึงประเทศของผู้สังเกตการณ์/ผู้ร่วมงาน หรือผู้สมัคร

ทั้งสองรูปแบบสะท้อนแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของการพัฒนาและความเป็นมาในอดีตซึ่งได้รับการส่งเสริมมาตั้งแต่ช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนการแพร่กระจายของกลุ่มองค์การต่าง ๆในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมทำไมคุณสมบัติหรือลักษณะของสถาบันหรือองค์การจึงแตกต่างกัน ตั้งแต่ในระดับความร่วมมือแบบหลวม ๆ ไปจนถึงความร่วมมือในระดับภูมิภาคอย่างเป็นทางการ[1] โดยองค์การระดับภูมิภาคส่วนใหญ่มักจะทำงานร่วมกับองค์การพหุภาคีที่มีชื่อเสียง เช่น สหประชาชาติ[2] ซึ่งแม้ว่าในหลายกรณีองค์การระดับภูมิภาคจะถูกเรียกกันง่าย ๆ ว่าเป็นองค์การระหว่างประเทศ แต่ในหลายครั้งก็ควรจะใช้คำว่าองค์การระดับภูมิภาค เพื่อเน้นย้ำถึงขอบเขตที่ชัดเจนมากขึ้นของสมาชิกภายในกลุ่ม

ตัวอย่างขององค์การระดับภูมิภาค ได้แก่ สหภาพแอฟริกา (AU), สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN), สันนิบาตอาหรับ (AL), สหภาพอาหรับมาเกร็บ (AMU), ประชาคมแคริบเบียน (CARICOM), สภายุโรป (CoE), สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (EAEU), สหภาพยุโรป (EU), สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC), องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO), องค์การที่ปรึกษากฎหมายแห่งเอเชียและแอฟริกา (AALCO), สหภาพเมดิเตอร์เรเนียน (UfM), สหภาพประชาชาติอเมริกาใต้ (USAN)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Tanja A. Börzel and Thomas Risse (2016), The Oxford Handbook of Comparative Regionalism. Oxford: Oxford University Press.
  • Rodrigo Tavares (2009), Regional Security: The Capacity of International Organizations. London and New York: Routledge.
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง